ผ่าตัดไทรอยด์ (Thyroid Surgery) แนะนำข้อควรรู้ก่อน-หลังเข้ารับการรักษา
ผ่าตัดไทรอยด์คือหนึ่งในวิธีการรักษาของผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ ผู้มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ปัจจุบันการผ่าตัดมีหลายวิธีที่ฟื้นตัวเร็ว ไม่มีรอยแผลเป็น และลดโอกาสเกิดผลข้างเคียง
การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ยังเป็นปัญหาที่ทุกคนในสังคนยังคงต้องเผชิญอยู่ โดยเชื้อไวรัสนี้สามารถติดต่อสู่คนได้โดยการหายใจเอาละอองฝอยน้ำมูกหรือน้ำลายของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านการพูดคุย จาม หรือไอ หรือติดจากมือที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 จากพื้นผิวในสภาพแวดล้อม ผู้ที่ติดเชื้อสามารถแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นโดยที่จะมีอาการหรือไม่มีอาการป่วยก็ได้
การกักตัว 14 วัน จึงจำเป็นสำหรับผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคโควิด-19 หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากระยะฟักตัวของโรค หรือระยะเวลาหลังจากที่รับเชื้อแล้วแสดงอาการหรือตรวจพบเชื้อมีระยะประมาณ 2-14 วัน ควรกักตัวครบ 14 วันนับจากวันสุดท้ายที่ติดต่อใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ เพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายโรคโควิด-19 สู่ผู้อื่นในสังคม หลังติดโควิด ฉีดวัคซีนก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการลดความเสี่ยงที่จะมีโอกาสติดรอบ 2 ได้
สารบัญบทความ
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 การกักตัว 14 วัน ถึงแม้ไม่มีอาการเป็นเรื่องจำเป็น เพราะถึงแม้ไม่มีอาการป่วย เช่น มีน้ำมูก ไอ จาม ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีเชื้อโควิด-19 อยู่ในร่างกาย จึงต้องกักตัว 14 วัน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยเหตุผลที่ต้องกักตัว Self-quarantine อยู่บ้าน 14 วัน เนื่องจากระยะฟักตัวโควิด-19 อยู่ที่ 2-14 วัน
เชื้อโควิดกี่วันหาย จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค โดยทั่วไปแล้วระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสโควิด-19 จะอยู่ที่ 2-14 วันหลังรับเชื้อ และแสดงอาการหลังจาก 11-12 วัน ช่วง 1-2 วันก่อนมีอาการและช่วง 2-3 วันหลังเริ่มมีอาการคือช่วงที่สามารถกระจายเชื้อได้มากที่สุด ผู้ป่วย 1 คน สามารถแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นได้ 2-4 คน จึงควรกักตัว 14 วัน เพื่อลดการแพร่
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 ออกเป็นหลายสายพันธุ์ ซึ่งโควิดแต่ละสายพันธุ์มีระยะฟักตัวโดยเฉลี่ยแตกต่างกันไป ดังนี้
จะเห็นได้ว่าเชื้ออาการโควิดรอบใหม่ อย่างโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน มีระยะฟักตัวที่สั้นที่สุด ส่งผลให้มีการแพร่เชื้อที่เร็วขึ้น และกระจายเชื้อได้ในวงที่กว้างขึ้น ทำให้การควบคุมโรคและการตรวจรักษาโรคลำบากกว่าเชื้อไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีระยะฟักตัวสั้นกว่า
กรมควบคุมโรค แบ่งระดับความเสี่ยงต่อการติดโรคของผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด-19 เป็น 3 ระดับ ดังนี้
ผู้ที่ไม่ได้สวมหน้ากากอนามัยตลอดช่วงเวลาที่การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ โดยแบ่งออกเป็น
กล่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงจะต้องกักตัว 14 วัน และตรวจ ATK ด้วยตนเองอย่างน้อยสองครั้ง ควรตรวจในวันที่ 5 และ 10 นับจากวันที่สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในกรณีที่มีอาการ ไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดเมื่อยตัว ควรตรวจ ATK ในทันที เพื่อป้องกันโรค mis c ที่อาจเกิดขึ้น
กลุ่มผู้เสี่ยงต่ำ คือกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิดที่ไม่เข้าเกณ์ผู้เสี่ยงสูง กลุ่มผู้เสี่ยงต่ำ ไม่ต้องกักตัว สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงการไปอยู่ในพื้นที่แออัด สวมหน้ากากอนามัย และควรสังเกตอาการตนเองจนครบ 14 วัน
กลุ่มผู้ไม่มีความเสี่ยง คือกลุ่มผู้ใกล้ชิดกับผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ จัดเป็นผู้ไม่มีความเสี่ยง แต่ยังต้องสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือให้เป็นประจำเพื่อป้องกันตัวเองจากโรคโควิด-19
ขั้นตอนการกักตัว 14 วัน วิธีกักตัว 14 วัน Home Isolation ให้ปลอดภัย แนะนำให้ปฏิบัติดังนี้
เพื่อความปลอดภัยและการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในกรณีที่คุณต้องอยู่ร่วมกับบุคคลที่กำลังกักตัว 14 วัน นี่คือสรุปคำแนะนำสำหรับการปฏิบัติ โดยมีดังนี้
ในช่วงระหว่างการกักตัว 14 วัน ควรหมั่นสังเกตอาการของตัวเองดังนี้
มีอาการไข้สูง วัดอุณหภูมิร่างกายได้เกิน 37.5 องศาเซลเซียส มีอาการตัวร้อนตัวหนาว มีอาการหน้ามืดวิงเวียน
มีอาการไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจไม่สะดวก หายใจลำบาก หายใจเร็ว หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก
มีอาการปวดเมื่อยตามตัว ท้องเสีย ถ่ายเหลว หรือมีผื่นแดงโควิดขึ้นตามร่างกาย
หากมีอาการตามข้อใดข้อหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งข้อตามที่กล่าวไปข้างต้น กักตัวครบ 14 วันแล้วมีไข้ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการเพิ่มเติม ควรไปเดินทางไปพบแพทย์ด้วยรถยนต์ส่วนตัว สวมหน้ากากอนามัยตลอดการเดินทางทั้งผู้ป่วยและผู้ร่วมเดินทาง หากเดินทางโดยรถยนต์ให้เปิดหน้าต่างรถเพื่อถ่ายเทอากาศเสมอ
การกักตัว 14 วันที่บ้าน ไม่ได้พบเจอกับบุคคลภายนอกหรือคนที่ตัวเองรัก อาจทำให้ผู้ที่ต้องกักตัว Home Isolation เกิดอาการเบื่อหน่าย หรืออาจทำให้มีความเครียดสะสมจนถึงขึ้นสุขภาพจิตตก ซึมเศร้าขึ้นมาได้ จึงมีแนวทางกักตัวให้ไม่เครียด ดังต่อไปนี้
ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับให้เป็นเวลา เปิดม่านเพื่อรับแสงแดด ทำให้ร่างกายรับรู้นาฬิกาชีวิตในประจำวัน หากใกล้เวลานอนแล้วไม่สามารถนอนให้หลับได้ สามารถออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายออกกำลัง ทำให้หลับง่ายขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงโควิดลงปอดอีกด้วย
ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน ลดการรับประทานไขมันแปรรูป ไขมันทรานส์ และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ควรรับประทานอาหารหรือขนมจุกจิกในระหว่างมื้อ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการนอน ทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ
ควรจัดตารางออกกำลังอย่างน้อย 30-60 นาทีต่อวัน เพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค หากต้องนั่งหน้าจอทำงานหรือเรียนออนไลน์ตลอดทั้งวัน แนะนำให้ลุกเดิน ยืดตัว หรือเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ 30 นาที ไม่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานจนเกินไป
ผ่อนผลายความเครียดในแบบที่ตัวเองชอบ เช่น หางานอดิเรกที่ตัวเองชอบทำ เพื่อไม่ให้ตัวเองเครียดจนเกินไป หรือสามารถฝึกสมาธิ ทำโยคะเพื่อช่วยในการผ่อนคลายได้ การติดต่อกับครอบครัวและเพื่อนอย่างสม่ำเสมอก็เป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มกำลังใจระหว่างกักตัว 14 วัน
การดูแลตัวเองหลังติดโควิด เพียงแค่ทำความสะอาดของใช้ส่วนตัวของตัวเองอยู่เสมอ รักษาความสะอาดของห้องที่อยู่อาศัย หมั่นล้างมือด้วยสบู่และเจลแอลกอฮอล์ สวมหน้ากากอนามัยเสมอหากจำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
หลังจากกักตัว 14 วันแล้ว และคุณไม่มีอาการเสี่ยงหรือป่วยเป็นโรค COVID-19 คุณสามารถดำเนินชีวิตปกติได้ตามปกติโดยไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติมในเชิงการแพร่กระจายของโรค อย่างไรก็ตาม การเพิ่มภูมิคุ้มกันโดยการฉีดวัคซีนที่ทางรัฐบาลจัดให้ จะช่วยลดความเสี่ยงที่คุณอาจติดโควิดรอบ 2 ได้
หลังจากกักตัวครบ 14 วัน แล้วพบว่ามีอาการไข้สูง ไอมาก เหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก ให้รีบติดต่อแพทย์หรือสถานพยาบาล หรือสามารถโทรปรึกษาสายด่วนกรมควบคุมโรคได้ที่เบอร์ 1422
หากกักตัว 14 วัน แล้วไม่มีอาการ สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ แต่ต้องปฏิบัติตัวตามมาตรการ New Normal คือ ต้องสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือด้วยสบู่และเจลแอลกอฮอล์ เว้นระยะห่างกับคนในสังคม เพื่อป้องกันการติดเชื้อของโรคโควิด-19 ต่อไป
หลาย ๆ คนอาจกำลังสงสัยว่าเป็นโควิดแล้วเป็นอีกได้ไหม และ โควิดกักตัวกี่วันกันแน่ วันนี้เราได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโควิด-19 มาให้ดังนี้
ควรกักตัวจนครบ 14 วัน เนื่องจากระยะแพร่เชื้อของโรคอยู่ระหว่างช่วง 2-14 วันหลังสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ
หากกักตัวไม่ครบ 14 วัน ไม่ควรออกนอกสถานที่พักของตน เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อโควิด-19 สู่ผู้อื่น
ผู้ป่วยที่ออกจากโรงพยาบาลหลังเข้ารับการรักษาครบ 14 วัน หรือกลับมากักตัวที่บ้านจนครบ 14 วัน จัดเป็นผู้พ้นระยะการแพร่เชื้อ สามารถเข้าตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิดได้
ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจโควิด-19 แต่สามารถตรวจ ATK ด้วยตนเองเพื่อยืนยันว่าไม่ติดเชื้อได้ ทั้งนี้ ควรสังเกตอาการตัวเองว่ามีอาการลองโควิดหรือไม่
การกักตัว 14 วัน เป็นหนึ่งในมาตรการที่จะช่วยในการควบคุมไม่ให้ไวรัสอาการโควิด-19 แพร่ระบาดไปสู่ผู้อื่นในสังคมเป็นวงกว้าง ผู้ที่ทำการกักตัว 14 วันควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค เพื่อให้ทั้งตัวเองและผู้คนรอบตัวปลอดภัย โดยไม่ควรที่จะละเลยสุขภาพจิตของตัวเองในขณะกักตัว 14 วันด้วย
หากผู้ป่วยมีอาการไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือมีอาการซึมเศร้าในระหว่างการกักตัว 14 วัน สามารถปรึกษากับทีมแพทย์โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)