ผ่าตัดไทรอยด์ (Thyroid Surgery) แนะนำข้อควรรู้ก่อน-หลังเข้ารับการรักษา
ผ่าตัดไทรอยด์คือหนึ่งในวิธีการรักษาของผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ ผู้มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ปัจจุบันการผ่าตัดมีหลายวิธีที่ฟื้นตัวเร็ว ไม่มีรอยแผลเป็น และลดโอกาสเกิดผลข้างเคียง
การเปลี่ยนเพศหรือการข้ามเพศถือเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิตของใครหลายคน โดยหนึ่งในขั้นตอนหลักนั่นก็คือการเทคฮอร์โมนเพื่อให้ร่างกายเปลี่ยนไปสู่เพศที่ต้องการ โดยการเทคฮอร์โมนทั้งชายและหญิงต่างก็มีความซับซ้อนและต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังภายใต้การดูแลของแพทย์ ซึ่งมีหลายอย่างที่ควรทำความเข้าใจในการเตรียมตัว และวางแผนเพื่อไปสู่การเป็นคนข้ามเพศหรือ Transgender อย่างปลอดภัย
สารบัญบทความ
สำหรับใครที่สงสัยว่าการเทคฮอร์โมนคืออะไร? การเทคโฮโมนเป็นกระบวนการให้ฮอร์โมนเพศที่ตรงข้ามกับเพศกำเนิดเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปสู่รูปลักษณ์ของอีกเพศหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชัดเจนโดยเฉพาะด้านร่างกาย โดยฮอร์โมนใหม่เหล่านี้จะเข้าไปกดฮอร์โมนเพศเดิม ทำให้ร่างกายแสดงลักษณะทางเพศตามฮอร์โมนใหม่มากขึ้น ซึ่งต้องผ่านขั้นตอนการปรึกษาจิตแพทย์ก่อนเพื่อวินิจฉัยสภาพจิตใจ จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการพบแพทย์เฉพาะทางต่อไป
ปัจจุบัน การเทคฮอร์โมนสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ยาเทคฮอร์โมนของผู้หญิงเพื่อเปลี่ยนเป็นผู้ชาย และยาเทคฮอร์โมนผู้ชายเพื่อเปลี่ยนเป็นผู้หญิง โดยแต่ละประเภทก็มีรายละเอียดดังนี้
การเทคฮอร์โมนเพื่อสร้างลักษณะความเป็นหญิง (Feminizing Hormone) เป็นการนำฮอร์โมนเพศหญิงหรือก็คือคือฮอร์โมนเอสโตรเจนเข้าสู่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและมีลักษณะของความเป็นผู้หญิงมากขึ้น ซึ่งในกรณีที่ผู้รับการเทคฮอร์โมนยังมีอวัยวะเพศชายอยู่ อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น การใช้ยากดการทำงานของฮอร์โมนเพศชาย (Anti-androgen) เพื่อยับยั้งการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนของเพศชาย ทำให้การเปลี่ยนแปลงของร่างกายเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนมากขึ้น
การเทคฮอร์โมนเพื่อสร้างลักษณะความเป็นชาย (Masculinizing Hormone) เป็นการให้ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนเข้าสู่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง, เสียงทุ้ม, มีหนวด และมีลักษณะโครงหน้าที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่เหมือนผู้ชายมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ฮอร์โมนเพศหญิงที่เคยมีอยู่เดิมจะถูกยับยั้งและลดลง ส่งผลให้การตกไข่ลดลงและประจำเดือนเริ่มขาด รวมถึงอาจมีอาการตกขาวมีเลือดปน โดยควรติดตามอาการและได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ตลอดกระบวนการเทคฮอร์โมนประเภทนี้
การเทคฮอร์โมนเพื่อสร้างลักษณะความเป็นหญิง (Feminizing Hormone) และการเทคฮอร์โมนเพื่อสร้างลักษณะความเป็นชาย (Masculinizing Hormone) มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยความแตกต่างหลัก ๆ คือชนิดของฮอร์โมนที่ใช้ ซึ่งในการเทคฮอร์โมนเพื่อสร้างความเป็นหญิงจะใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นหลัก พร้อมกับใช้ยากดฮอร์โมนเพศชายควบคู่กันไป เพื่อยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนเดิม ในขณะที่การเทคฮอร์โมนเพื่อสร้างลักษณะความเป็นชายจะใช้ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายมีลักษณะคล้ายเพศชายมากขึ้น โดยการเทคฮอร์โมนทั้งสองแบบล้วนต้องดำเนินการภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
สำหรับใครที่อยากเทคฮอร์โมน การเทคฮอร์โมนนั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่จะนำไปสู่การมีรูปลักษณ์ที่สอดคล้องกับเพศวิถีที่แท้จริง ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญและจะมีผลอย่างมากต่อการใช้ชีวิตในอนาคต โดยความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นหลังจากเทคฮอร์โมน มีดังนี้
หลังจากเริ่มขั้นตอนการเทคฮอร์โมนเพศหญิง ร่างกายจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะเพศหญิง โดยความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นมีดังนี้
หลังจากเริ่มเทคฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนเพื่อเปลี่ยนเป็นผู้ชาย ร่างกายจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะเพศชาย ดังนี้
การตัดสินใจเทคฮอร์โมนมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการเตรียมตัวก่อนเริ่มเทคฮอร์โมนจะช่วยให้คุณมีความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ได้เป็นอย่างดี โดยสิ่งที่ต้องเตรียมตัวก็มีดังนี้
ก่อนเริ่มเทคฮอร์โมน ขั้นตอนแรกที่ไม่ควรมองข้ามคือการตรวจร่างกายอย่างละเอียด คล้ายกับการตรวจสุขภาพประจำปี โดยต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติสุขภาพที่ผ่านมาและปัญหาสุขภาพที่มีอยู่ เพื่อให้แพทย์ประเมินความเสี่ยงและวางแผนการเทคฮอร์โมนได้อย่างเหมาะสม ควรตรวจร่างกายอย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นการตรวจหัวใจ สมอง ปอด เพื่อจะได้ระบุปัญหาสุขภาพหรือโรคประจำตัวที่อาจมีผลต่อการเทคฮอร์โมน ซึ่งขั้นตอนการตรวจร่างกายนี้ถือเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะช่วยให้การเริ่มต้นเทคฮอร์โมนเป็นไปอย่างปลอดภัยมากที่สุด
นอกจากการตรวจสุขภาพผู้หญิงหรือตรวจสุขภาพผู้ชายแล้ว ขั้นตอนหลักที่ขาดไม่ได้ในการเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มเทคฮอร์โมนคือ การประเมินสภาพและความพร้อมด้านจิตใจ ซึ่งการปรับเปลี่ยนรูปร่างให้สอดคล้องกับเพศที่ต้องการนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตได้ โดยการพูดคุยกับจิตแพทย์จะช่วยประเมินความพร้อมทางจิตใจ รวมถึงมีการแนะนำวิธีจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้น เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือความกดดันต่าง ๆ
การพูดคุยและทำความเข้าใจกับแพทย์ผู้ดูแลเกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนทั้งหมดของการเทคฮอร์โมนจะช่วยให้คุณได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนและชัดเจนเกี่ยวกับรูปแบบการเทคฮอร์โมน, ขนาดยา, ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงความถี่ในการติดตามอาการ นอกจากนี้ คุณยังสามารถสอบถามข้อสงสัยต่าง ๆ เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและวางแผนการติดตามผลอย่างละเอียด เมื่อมีความเข้าใจที่ชัดเจนก็จะทำให้การเริ่มต้นเทคฮอร์โมนเกิดขึ้นได้อย่างราบรื่นและไร้ความกังวล
การเทคฮอร์โมนเป็นกระบวนการที่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด โดยคนที่ต้องการเทคฮอร์โมนจะต้องผ่านเกณฑ์และคุณสมบัติที่กำหนดคือ มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ซึ่งเป็นช่วงอายุที่มีวิจารณญาณและมีความสามารถในการตัดสินใจแล้ว ส่วนคนที่มีอายุระหว่าง 18-20 ปีจะต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ปกครองก่อน เพราะถือว่ายังอยู่ในวัยที่ไม่สามารถตัดสินใจในเรื่องสำคัญได้ โดยการกำหนดหลักเกณฑ์เหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ที่เทคฮอร์โมนจะมีสภาพจิตใจที่พร้อมและรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้
แม้การเทคฮอร์โมนจะเป็นก้าวสำคัญในการสร้างรูปลักษณ์ให้สอดคล้องกับเพศสภาพที่ต้องการ แต่ก็อาจนำมาซึ่งผลข้างเคียงบางประการที่ควรระมัดระวังและติดตามอย่างใกล้ชิด โดยผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหลังเทคฮอร์โมน ได้แก่
การดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมหลังเทคฮอร์โมนมีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้ร่างกายปรับตัวได้ดีและลดความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น โดยมีแนวทางการดูแลตัวเอง ดังนี้
การเทคฮอร์โมนเป็นกระบวนการที่ต้องทำอย่างรอบคอบและเตรียมความพร้อมอย่างเหมาะสม เมื่อเริ่มเทคฮอร์โมนแล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ และบุคลิกภาพ แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงบางประการ ดังนั้นจึงต้องมีการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม เพื่อให้กระบวนการข้ามเพศด้วยการเทคฮอร์โมนเป็นไปอย่างปลอดภัยมากที่สุด
หากใครเตรียมวางแผนที่จะเทคฮอร์โมนหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ซึ่งมีทีมแพทย์เฉพาะทางพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง โดยสามารถติดต่อผ่าน Line : @samitivejchinatown หรือโทร 02-118-7893
References
Deutsch, MB. (2016, June 17). Overview of feminizing hormone therapy | Transgender Care. Ucsf.edu. https://transcare.ucsf.edu/guidelines/feminizing-hormone-therapy
Mayo Clinic Staff. (2021, March 18). Feminizing Hormone Therapy - Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/feminizing-hormone-therapy/about/pac-20385096
Unger, CA. (2016). Hormone therapy for transgender patients. Translational Andrology and Urology, 5(6), 877–884. https://doi.org/10.21037/tau.2016.09.04
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)