ตาปลาที่เท้า เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง
ตาปลาที่เท้าเป็นภาวะที่ผิวหนังแข็งตัวเป็นก้อนกลมนูน มีจุดดำตรงกลาง เกิดจากแรงกดทับซ้ำ ๆ ทำรู้สึกให้เจ็บเมื่อเดิน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสม
เพราะไวรัสโควิด-19 เป็นไวรัสที่มุ่งเป้าไปที่ทำลายปอด ซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่สำคัญในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ ส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือดในปอดและร่างกายทุกระบบ และเมื่อใดก็ตามที่เชื้อโควิด 19 สามารถเข้าไปขัดขวางการทำงานของปอดให้ผิดปกติ จะนำมาซึ่งวิกฤติจนไปสู่การเสียชีวิตได้ ดังนั้นเราควรติดตามข่าวสารอยู่ตลอดถึงจำนวนผู้ติดเชื้อ อาการโควิด อัตราการเสียชีวิตและวิธีป้องกันตัวเองให้รอดพ้นจากการติดเชื้ออันตรายนี้
สารบัญบทความ
เนื่องจากโรคโควิด-19 ส่งผลต่อผู้คนในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะมีอาการที่สามารถแบ่งได้ตามอาการเป็น 3 ระดับด้วยกัน เช่น
เป็นผู้ป่วยอาการไม่มาก หรือ ไม่มีอาการ หรือ อาการน้อย ๆ เช่น มีใข้ ไอ น้ำมูก ตาแดง ผื่นขึ้น ถ่ายเหลว จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ไม่มีโรคร่วม สามารถพักรักษาที่โรงพยาบาลสนาม หรือ โฮสพิเทล หรือ แยกกักตัวที่บ้าน รักษาด้วยการทำ Home Isolation
เป็นผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว หายใจลำบาก ไอแล้วรู้สึกเหนื่อย แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้ง/วัน หน้ามืด วิงเวียน
มีปัจจัยเสี่ยงอาการรุนแรงหรือโรคร่วม เช่น อายุมากกว่า 60 ปี โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ ไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่คุมไม่ได้ ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม ตับแข็ง ภูมิคุ้มกันต่ำ และเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 1000 ผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเหนื่อยหอบ พูดไม่เป็นประโยค หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกตลอดเวลา เอกซเรย์พบปอดอักเสบรุนแรง อาการโควิดลงปอด มีภาวะปอดบวม ความอิ่มตัวของเลือดน้อยกว่า 96% หรือลดลงของออกซิเจนมากกว่า 3% หลังออกแรง ของค่าที่วัดได้ในครั้งแรกที่ออกแรง ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
และเมื่อใดก็ตามที่พบว่ามีอาการโควิดอยู่ในระดับรุนแรง ควรติดต่อเข้ารับการรักษาทันที ด้วยการติดต่อล่วงหน้าก่อนไปพบแพทย์หรือไปสถานพยาบาลเสมอ ในขณะที่ผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงและไม่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ก็ควรรักษาตัวอยู่ที่บ้าน
“ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่” เป็นไวรัสสายพันธุ์ที่ 7 ที่ยังไม่เคยพบมาก่อน และภายหลังได้รับการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า “ โควิด-19 ” คาดว่าไวรัสตัวนี้ถูกค้นพบจากสัตว์ และเริ่มมาจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน อาการโควิดนั้นจำแนกออกเป็น 5 สายพันธุ์ ดังต่อไปนี้
เป็นโควิดสายพันธุ์บราซิล รุนแรง แพร่กระจายง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม และภูมิคุ้มกันของวัคซีนในการป้องกันสายพันธุ์นี้ลดลง อาการโควิดคือ ปวดศีรษะ มีไข้สูง เจ็บคอ ส่วนมากจะมีประวัติใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ มีโอกาสติดเชื้อซ้ำที่รุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ
เป็นโควิดสายพันธุ์อังกฤษที่แพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น มากถึง 40-70% และยังเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดี อาการโควิดคือ มีไข้ 37.5๐C ขึ้นไป ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยร่างกาย หนาวสั่น หายใจหอบเหนื่อย อาเจียนหรือท้องเสีย การรับรสหรือได้กลิ่นผิดปกติ มีโอกาสเจ็บป่วยและเสียชีวิตสูงขึ้น 30%
เป็นโควิดสายพันธุ์แอฟริกาที่มีอัตราการแพร่เชื้อไวขึ้น 50% จากสายพันธุ์เดิม และมีการกลายพันธุ์ในตำแหน่งสำคัญ จึงทำให้เชื้อไวรัสสามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ ดังนั้นผู้ที่เคยติดเชื้อแล้วก็ยังติดซ้ำได้อีก อาการโควิดคือ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยร่างกาย ท้องเสีย ตาแดง การรับรสหรือได้กลิ่นผิดปกติ มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง นิ้วมือหรือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี
เป็นโควิดสายพันธุ์อินเดียที่จับเซลล์มนุษย์ง่ายขึ้น สามารถกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดลต้าพลัส จึงทำให้ผู้สัมผัสเชื้อติดเชื้อง่ายกว่าเดิม และสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้ดี อาการโควิดคือ มีอาการทั่วไปคล้ายหวัดธรรมดา ปวดศีรษะ มีน้ำมูก เจ็บคอ การรับรสชาติปกติ
เป็นโควิดกลายพันธุ์สายพันธุ์ล่าสุดที่ถูกค้นพบครั้งแรกในแอฟริกา หลบหลีกภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น เข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น แต่ผู้ป่วยอาการโควิดสายพันธุ์ใหม่นี้มักติดเชื้อในลักษณะที่เป็นระบบทางเดินหายใจส่วนบน ไม่ลงปอด อาการป่วยจึงไม่รุนแรง จมูกยังสามารถได้กลิ่น ลิ้นรับรสได้ดี ไม่ค่อยมีไข้ ไอมาก มีอาการเจ็บคอ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปอดอักเสบ มีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน
สำหรับผู้ที่ติดโควิดสายพันธุ์ใหม่ เช่น สายพันธุ์โอมิครอน (B.1.1.529) จะพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการเล็กน้อยหรือแทบจะไม่แสดงอาการเลย หรือ อาจพบอาการเหล่านี้ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ไม่ค่อยมีไข้ จมูกยังได้กลิ่น ลิ้นยังสามารถรับรสได้ อาจมีอาการไอเล็กน้อย ไอแห้ง เหงื่อออกมากตอนกลางคืน ปอดอักเสบ อาการที่กล่าวมาเหล่านี้เป็นอาการโควิดระลอกใหม่ ซึ่งแตกต่างจากอาการโควิดเดิม ที่จะมีไข้อุณหภูมิ 37.5๐C ขึ้นไป ไม่รับรส ไม่รับกลิ่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ตาแดง มีผื่นและถ่ายเหลว
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : สังเกตอาการโควิดระลอกใหม่ เป็นอย่างไร รู้ไว้ ปลอดภัย ห่างไกลโควิด
โดยเฉลี่ยแล้วผู้ที่ติดเชื้อไวรัส โควิด-19 จะแสดงอาการป่วยใน 5–6 วัน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจแสดงอาการโควิดหลังจากติดเชื้อ 14 วันก็เป็นได้ มี 5 อาการหลัก ๆ ที่สังเกตด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ ว่าเป็นอาการโควิดวันแรก ซึ่งก็คือ มีไข้ เจ็บคอ ไอแห้ง ๆ น้ำมูลไหล หายใจเหนื่อยหอบ ซึ่งเป็นอาการคล้ายกับไข้หวัด และบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่นปอดอักเสบ แต่อาการที่พบได้ช้ดเจนกว่าอื่น ๆ คือ “ไม่ได้กลิ่น - ไม่รู้รส”
อาการปอดที่ทำงานได้น้อยลง บวกกับการติดเชื้อโควิด ยิ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของปอดโดยตรง ทำให้ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนก๊าซที่น้อยลง เป็นผลให้ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำลงตามลำดับ กลุ่มที่เสี่ยงมากคือ ผู้มีโรคประจำตัว ผู้มีน้ำหนักเกิน ผู้สูงอายุติดโควิด อาการโควิดลงปอดที่แสดงออกมามีดังต่อไปนี้
สามารถที่จะเช็กอาการโควิดลงปอดเบื้องต้นด้วยตนเอง ด้วยการใช้อุปกรณ์วัดค่าออกซิเจนในเลือดบริเวณปลายนิ้ว (Fingertip Pulse Oximeter) ที่มีค่าไม่ต่ำกว่า 94% และมีอาการเหนื่อยหอบร่วมด้วยเมื่อใดที่สงสัยว่ามีอาการโควิดลงปอด ให้พบแพทย์เพื่อทำการยืนยันผลตรวจโดยการทำเอกซเรย์ปอด (Chest X-ray) เพื่อเริ่มขั้นต้นการรักษา ซึ่งแน่นอนย่อมเป็นการให้ยาโควิดตามลักษณะอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก เพื่อยับยั้งความรุนแรงและการกระจายตัวของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปยังอวัยวะอื่น ๆ ต่อไปในขณะเดียวกันผู้ป่วยก็สามารถดูแลอาการโควิดลงปอดเบื้องต้นด้วยตัวเองก่อนเข้ารับการรักษาจากแพทย์โดยตรงก่อนได้ ดังนี้
อาการโควิด-19 นั้น ถ้านับจากวันที่ 1–5 ปกติจะมีอาการที่แสดงออกคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รู้สึกเพลีย ๆ อาจจะมีเจ็บคอ หรือมีน้ำมูกบ้าง แต่หลังจากวันที่ 5 แล้ว ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการที่ผิดปกติมากกว่าไข้หวัดใหญ่ คือ จะรู้สึกเหนื่อยมากขึ้นผิดปกติ หรือหอบมากขึ้น บางรายจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และปอดอักเสบ เป็นต้น
ผู้ป่วยโควิด-19 มีการติดเชื้อที่พบได้อยู่ 3 รูปแบบ ที่มีอาการโควิดตั้งแต่ระดับเบาจนถึงระดับรุนแรง ดังนั้นวิธีรักษาโควิดก็จะแตกต่างกันไป
เนื่องจากอาการไม่รุนแรงจึงไม่จำเป็นต้องรักษาที่โรงพยาบาล เพียงแค่ทำการกักตัว 14 วัน หรือที่เรียกว่า Home Isolation โดยได้รับการดูแลพร้อมอุปกรณ์ขั้นพื้นฐาน เช่น ยาโควิด ฟ้าทะลายโจร หรือเข้ารักษาตัวที่ Hospitel โดยได้รับการดูแลจากแพทย์ตลอด 24 ชั่วโมง
เนื่องจากมีอาการรุนแรงกว่าผู้ป่วยสีเขียว เช่น ผื่นแดงโควิด ปวดเมื่อยตามตัว เหนื่อยหอบง่าย ไอหนักขึ้น หายใจแล้วแน่นหน้าอก ให้รีบรักษาตัวที่โรงพยาบาล
การรักษาผู้ป่วยสีแดงจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ในโรงพยาบาลอย่างใกล้ชิดที่ห้อง ICU โดยผู้ป่วยจะได้รับเครื่องช่วยหายใจ ระหว่างรอเตียงควรนอนคว่ำ หากหายใจไม่ออกให้นอนตะแคงประมาณ 45 องศา หากเป็นสตรีตั้งครรภ์ให้นอนตะแคงซ้ายเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดี พยายามขยับขาป้องกันลิ่มเลือด และดื่มน้ำเยอะ ๆ กินอาหารที่มีประโยชน์ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
เชื้อโควิดกี่วันหายนั้น ขึ้นกับอาการของแต่ละคน โดยจะดูที่อาการของผู้ป่วยเป็นหลัก หลังครบกำหนดที่โรงพยาบาลหรือกระทรวงสาธารณะสุขกักตัวผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 10 วัน เมื่อแพทย์ตรวจพบว่าไม่มีอาการโควิดที่เข้าข่ายระยะแพร่เชื้อ จะถือว่าผู้ป่วยนั้นสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ
บทความอ่านเพิ่มเติม : ตอบคำถาม ติดเชื้อโควิดกี่วันหาย? หายแล้วยังแพร่เชื้อได้หรือไม่
วิธีที่จะป้องกันไม่ให้เกิดอาการโควิด ไม่ให้เกิดการติดเชื้อโควิด-19 คือ
การป้องกันไม่ให้เด็กติดโควิด ผู้สูงอายุติดโควิด หรือติดโควิดรอบ 2 นั้น ทุก ๆ คนต้องรู้จักการดูแลตัวเองหลังติดโควิด (ถ้าเคยเป็น) ตามแนวทางป้องกันที่ระบุไว้ข้างต้น ถึงแม้ว่าจะเป็นโควิดรอบใหม่ที่แพร่เชื้อได้ง่ายกว่าเดิม ก็ยังคงเป็นแนวทางป้องกันที่มีประสิทธิภาพเช่นเดิม
อาการโควิดรอบใหม่นี้ เป็นการกลายพันธุ์ของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งแพร่กระจายสู่คนในสังคมได้อย่างรวดเร็ว โอกาสติดโควิดรอบ 2 ก็สูงขึ้น ข้อแนะนำก็คือ ให้ถือปฏิบัติในแนวทางป้องกันไม่ต่างจากการป้องกันโควิดสายพันธุ์ก่อน ๆ มากนัก เพื่อไม่ให้เกิดการติดอาการโควิดรอบใหม่
เพื่อให้เกิดความสบายใจว่าหายจากอาการโควิด หรือ เป็นลองโควิด หรือไม่นั้น ทางเราขอแนะนำให้ติดต่อ สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับอาการโควิดรอบใหม่ได้ที่ โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ที่ LINE @samitivejchinatown หรือเบอร์โทร 02-118-7893 ตลอด 24 ชั่วโมง
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)