บทความสุขภาพ

Home Isolation ผู้ป่วยโควิด รักษาตัวที่บ้าน มีวิธีปฏิบัติตัวอย่างไร?

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567

home isolation

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังไม่คลี่คลายลง ตัวเลขผู้ป่วยยังคงเพิ่มขึ้นในทุกๆ วัน ส่งผลให้บางพื้นที่มีโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ป่วยบางคนจำเป็นต้องดูแลรักษาตัวที่บ้าน เพื่อควบคุมไม่ให้โรคโควิด-19 แพร่ระบาดไปสู่คนในครอบครัว เพื่อน หรือคนที่ทำงานได้

จึงเกิดการรักษาโควิดแบบ Home Isolation ขึ้น โดย Home Isolation หรือการแยกกักตัวที่บ้านเหมาะกับผู้ป่วยบางกลุ่ม เช่น กลุ่มที่อาการไม่ร้ายแรงและสามารถเฝ้าสังเกตอาการที่บ้านได้ หรือผู้ป่วยที่ไม่สะดวกจะย้ายไปพักรักษาตัวในสถานพยาบาล การเตรียมสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยให้เอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวจากโควิดจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ



สารบัญบทความ
 


รู้จัก ‘Home Isolation’ คืออะไร?

การแยกกักตัวที่บ้าน หรือ Home Isolation คือ แนวทางการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่เฝ้าดูอาการที่บ้าน เพื่อให้สามารถดูแลรักษาตัวเองและพักฟื้นได้แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาลก็ตาม 

โดยผู้ป่วยโฮมไอโซเลชั่นที่ทำแยกกักตัวที่บ้านก็ยังได้รับความดูแลจากแพทย์เพื่อเฝ้าติดตามอาการป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะเป็นการเฝ้าดูแลจากระยะไกลก็ตาม โดยจะมีทีมแพทย์คอยสังเกตอาการและให้คำแนะนำออนไลน์ทุกวันผ่าน Telehealth หรือ Telemedicine ซึ่งคือบริการดูแลสุขภาพทางไกลผ่านเครื่องมือสื่อสาร


Home Isolation สำหรับผู้ป่วยแบบไหน

Home Isolation (โฮมไอโซเลชั่น) หรือการแยกกักตัวที่บ้าน เป็นการรักษาที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในเกณฑ์ดังนี้
 

  1. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ หรืออาการไม่หนัก ที่รอเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยแพทย์พิจารณาแล้วว่าสามารถ Home Isolation รักษาตัวเองที่บ้านได้ 
  2. ผู้ป่วยที่รักษาตัวที่โรงพยาบาล สถานที่กักตัว Hospitel หรือสถานที่ที่รัฐจัดให้อย่างน้อยครบ 10 วัน และแพทย์มีความเห็นให้ทำ Home Isolation ต่อได้

ผู้ป่วยที่รักษาตัวที่โรงพยาบาล สถานที่กักตัว Hospitel หรือสถานที่ที่รัฐจัดให้อย่างน้อยครบ 10 วัน และแพทย์มีความเห็นให้ทำ Home Isolation ต่อได้


คุณสมบัติของผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ Home Isolation

home isolation คือ

คุณสมบัติของผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์เข้ารับการรักษาแบบ
Home Isolation มีดังนี้ 

 

  1. เป็นผู้ติดเชื้อที่สบายดี หรือไม่มีอาการ เป็นผู้ป่วยสีเขียว (Asymptomatic Cases)
  2. สุขภาพร่างกายแข็งแรง
  3. มีอายุไม่เกิน 60 ปี
  4. สามารถกักตัวได้ในที่พักอาศัยของตนเอง
  5. อาศัยอยู่คนเดียว หรือมีผู้ร่วมอาศัยด้วยไม่เกิน 1 คน
  6. ไม่มีภาวะอ้วน หรือภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน (ดัชนีมวลกายต้องไม่เกิน 30 กิโลกรัม./ม.2 หรือ มีน้ำหนักตัวไม่เกิน 90 กิโลกรัม)
  7. ไม่มีโรคประจำตัวดังต่อไปนี้ โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ โรงปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงไตเรื้อรัง (ระยะที่ 3,4) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคอื่นๆ ตามดุลพินิจของแพทย์

เช็คอาการ คุณติดโควิดระดับไหน

รักษาตัวที่บ้าน

ก่อนที่จะเข้ารับการกักตัวแบบ
Home Isolation ได้ ต้องทราบก่อนว่าอาการโควิด-19 ที่เป็นอยู่นั้นมีอาการระดับใด โดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข กรมควบคุมโรค ได้แบ่งระดับผู้ป่วยโควิด-19 ตามอาการออกเป็น 3 ระดับดังนี้
 

1. ผู้ป่วยสีเขียว

 

  • มีอาการเบาคล้ายหวัด หรือไม่มีอาการเลย
  • มีอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส
  • มีอาการไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ
  • มีผื่นแดงโควิด
  • ถ่ายเหลว
  • ไม่มีอาการหายใจลำบาก
  • ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย
  • ไม่มีอาการหายใจเร็ว
  • ไม่มีอาการปอดอักเสบ
  • ไม่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรครุนแรงหรือโรคร่วมสำคัญ


2. ผู้ป่วยสีเหลือง

 

  • แน่นหน้าอก
  • หายใจไม่สะดวก หายใจลำบาก หายใจเร็ว 
  • เวียนหัว อ่อนเพลีย ไอแล้วมีอาการเหนื่อย
  • ขับถ่ายเหลว 3 ครั้งต่อวันขึ้นไป
  • มีอาการหน้ามืด วิงเวียน
  • ปอดอักเสบ
  • มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือ โรคร่วมสำคัญ ข้อใดข้อหนึ่ง


3. ผู้ป่วยสีแดง

 

  • แน่นหน้าอกตลอดเวลา หายใจแล้วเจ็บหน้าอก
  • ตอบสนองช้า ไม่รู้สึกตัว มีอาการซึม
  • หอบเหนื่อย พูดไม่เป็นประโยค
  • ปอดอักเสบรุนแรง ระบบหายใจมีปัญหา หายใจลำบาก
  • มีภาวะปอดบอม ความอิ่มตัวของเลือดน้อยกว่า 96% หรือมีภาวะลดลงของออกซิเจน 3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกขณะออกแรง

ขั้นตอนการเข้ารับ Home Isolation

  โฮมไอโซเลท

คำถามที่พบบ่อยคือเมื่อติดเชื้อโควิดแล้วต้องทำอย่างไร โดยการรักษาโควิดที่บ้านมีขั้นตอนดังนี้
 

  • เมื่อรู้ตัวว่าเสี่ยง หรือมีอาการใกล้เคียง ให้ใช้ชุดตรวจโควิด Antigen Test Kit ที่ผ่านการรับรองการกรมการอาหารและยา ตรวจโควิด-19 ด้วยตัวเองหรือตรวจจากหน่วยตรวจโควิดเชิงรุก
  • หากติดเชื้อ (มีผลตรวจเป็นบวก) ให้ติดต่อ 1330 กด 14 สายด่วน สปสช. หรือแอดไลน์ สปสช. @nhno หรือกรอกข้อมูลผ่านแบบฟอร์ม https://crmsup.nhso.go.th/ 
  • รอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ หลังจากจับคู่ผู้ป่วยกับคลินิกศูนย์บริการสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลที่จะรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยในระบบ Home isolation
  • รับคำวินิจฉัยจากแพทย์ หากอยู่ในกลุ่มสีเขียวที่ไม่มีอาการ สามารถกักตัวรักษา Home Isolation ได้

สิ่งที่ผู้ป่วยจะได้รับการสนับสนุนเมื่อต้องทำ HI

สิ่งที่ผู้ป่วยโควิด-19 จะได้รับเมื่อรักษาตัวอยู่บ้าน Home Isolation คือ
 

  1. อาหาร 3 มื้อ
  2. อุปกรณ์ประเมินอาการ คือ ปรอทวัดไข้ และเครื่องวัดออกซิเจนในเลือดแบบหนีบนิ้ว เพื่อประเมินการแลกเปลี่ยนก๊าซในปอดว่าปกติหรือไม่ ค่าปกติจะอยู่ที่ 91-100% หากต่ำกว่า 94% เป็นภาวะที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะมีแนวโน้มที่เชื้อโควิด-19 จะลงปอด ควรรีบติดต่อแพทย์
  3. ยารับประทาน ตามดุลพินิจของแพทย์
  4. ประเมินอาการผ่านระบบ telemedicine ทุกวัน โดยผู้ป่วยและบุคคลากรทางการแพทย์จะสามารถพูดคุยโต้ตอบกันได้แบบ Real-time 
  5. หากอาการเปลี่ยนแปลงหรือแย่ลง ให้รีบแจ้งทีมแพทย์ และนำตัวส่งโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจะมีรถไปรับเพื่อนำส่งเข้ารับการักษาที่โรงพยาบาล

ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ป่วย Home Isolation

การปฏิบัติตัว home isolation

การปฏิบัติตัว Home Isolation
สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ขณะโฮม ไอโซเลทจากกรมควบคุมโรคมีดังนี้
 

  1. ไม่ออกจากที่พัก
  2. อยู่ในห้องส่วนตัวตลอดเวลา 
  3. ไม่ให้บุคคลอื่นมาเยี่ยม
  4. หากอยู่ในที่พักอาศัยร่วมกับบุคคลอื่น ต้องรักษาระยะห่างไม่ต่ำกว่า 2 เมตร และสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
  5. ไม่รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
  6. ล้างมือด้วยสลู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งหลังสัมผัสของใช้ต่างๆ 
  7. แยกของใช้ส่วนตัวกับผู้อื่น 
  8. แยกซักเสื้อผ้า และเครื่องนอน ด้วยน้ำและสบู่ หรือผงซักฟอก
  9. ใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่นที่อาศัยอยู่ในที่พัก
  10. แยกขยะ โดยมัดปากถุงให้แน่น

ข้อแนะนำสำหรับสถานที่กักตัว Home Isolation

การกักตัว Home Isolation สำหรับผู้ที่พักอาศัยอยู่บ้าน หรือคอนโดมิเนียม ควรเตรียมสถานที่ดังนี้
 

  1. แยกส่วนหรือพื้นที่เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร
  2. หากมีพื้นที่จำกัด ให้ทำฉากกั้นระหว่างผู้กักตัวและผู้อาศัยท่านอื่นๆ
  3. จัดห้องพักให้อากาศถ่ายเทสะดวก ปลอดโปร่ง มีแสงแดดเข้าถึง
  4. แยกของใช้ส่วนตัว
  5. ซักผ้าด้วยน้ำอุณหภูมิ 60-90 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 25 นาที ตากแดดให้แห้ง
  6. หากต้องใช้ห้องน้ำร่วมกับสมาชิกในบ้าน ให้ใช้ห้องน้ำเป็นคนสุดท้าย และทำความสะอาดให้เรียบร้อย

ของใช้และยาที่จำเป็นสำหรับ Home Isolation

รักษา home isolation

ของใช้ที่ต้องมีสำหรับ
วิธีการรักษาโควิดที่บ้านหรือการกักตัว Home Isolationคือ
 

  1. อุปกรณ์ทานอาหารส่วนตัว เช่น ช้อนส้อม จามชาม แก้วน้ำ
  2. ถุงแยกขยะติดเชื้อ
  3. หน้ากากอนามัย โดยควรสวมตลอดเวลาที่ไม่ได้อยู่คนเดียว
  4. ยาสามัญประจำบ้าน สำหรับปฐมพยาบาลเบื้องต้อน เช่น ยาลดไข้ เจลแก้ไข้
  5. เจลแอลกอฮอล์ สบู่ล้างมือ
  6. แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ 70% ใช้ทำความสะอาดของใช้หรือสิ่งของที่ใช้รวมกับผู้อื่น เช่น ลูกบิด ราวบันได
  7. ปรอทวัดไข้ และเครื่องวัดออกซิเจนแบบหนีบนิ้ว ซึ่งทางโรงพยาบาลจะเป็นผู้จัดส่งให้
  8. ของใช้ส่วนตัว เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ห้ามใช้ร่วมกับผู้อื่นโดดเด็ดขาด

 

ยารักษาโควิดที่บ้าน มีอะไรบ้าง


สำหรับคำถามที่ว่า เป็นโควิดกินยาอะไร? ยาที่ผู้ป่วยที่รักษาโควิดด้วยตัวเองโดยการทำ Home Isolation ควรมีติดไว้ที่บ้าน คือให้ผู้ป่วยพิจารณาจากอาการของผู้ป่วย เพื่อบรรเทาอาการโควิดตามอาการที่ผู้ป่วยมี ดังนี้

- ยาโรคประจำตัวของผู้ป่วย
- ยาลดไข้
- ยาแก้ไอ
- ยาละลายเสมหะ
- ยาลดน้ำมูก
- ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก
 

ข้อควรระวังในการใช้ยา

กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องระวังเรื่องยาขณะรักษาตัวที่บ้าน Home Isolation คือ
 

  • กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ระหว่างรอเตียง พยายามตรวจน้ำตาลในเลือดให้สม่ำเสมอ หากน้ำตาลสูง สามารถใช้ยาเดิมที่หมอจ่ายให้ได้ แต่หากน้ำตาลต่ำ ต้องงดอินซูลิน หรือยาประเภทกิน เพราะเมื่อเป็นโควิด น้ำตาลต่ำจะอัยตรายกว่าปกติ
 

  • กลุ่มที่ทานยาขับปัสสาวะ

ในกรณีที่ดื่มน้ำน้อย ควรงดหรือลดยาลงไปก่อน เพราะการปัสสาวะออกมาโดยที่ไม่มีน้ำเติมเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียและขาดน้ำได้ หากมีอาการไข้ร่วมด้วย จะยิ่งส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลียยิ่งกว่าเดิม


วิธีสังเกตอาการสำหรับผู้ป่วย Home Isolation

ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ทำ Home Isolation ต้องหมั่นสังเกตอาการตัวเอง วัดอุณหภูมิด้วยอุปกรณ์ประเมินอาการที่ได้รับมา และวัดออกซิเจนทุกวัน หากรักษา home isolation กักตัวอยู่บ้านจนหายจากโรคแล้ว ให้สังเกตอาการลองโควิดด้วย

หากอาการป่วยรุนแรงขึ้น มีอาการหอบเหนื่อย ไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ ให้รีบติดต่อแพทย์เพื่อประสานไปยังโรงพยาบาลที่รักษาอยู่ และดำเนินการรับผู้ป่วยเข้ามารักษาที่โรงพยาบาลเป็นขั้นต่อไป ขณะเดินทางไปโรงพยาบาลต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา


รักษาตัวที่บ้าน Home Isolation กักตัวกี่วัน

ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ทำ Home Isolation รักษาตัวที่บ้าน ต้องกักตัวอยู่บ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 10 วัน นับตั้งแต่วันที่เริ่มมีอาการป่วย หรือตรวจพบเชื้อ หากครบ 10 วันแล้วยังมีอาการควรแยกตัวจนกว่าอาการจะหายไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง เพื่อลดการแพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่น ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์หากไม่มั่นใจในระยะเวลาการหยุดกักตัว 
 


ข้อสรุป

การทำ Home Isolation แบบถูกวิธี จัดสถานที่กักตัวให้เหมาะสม สามารถเพิ่มความปลอดภัยให้ตัวเอง ยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสังคมได้ ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง หรือไม่มีอาการ การกักตัว Home Isolation เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยหยุดการแพร่เชื้อโควิด-19 ไปยังคนในครอบครัวหรือคนในชุมชน ทั้งยังช่วยลดความแออัดของผู้ป่วยในโรงพยาบาลอีกด้วย 
 

แอดไลน์ สมิติเวช ไชน่าทาวน์

 

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​