มะเร็งลำไส้ใหญ่ รู้ให้ทัน ป้องกันอาการลุกลาม รักษาหายได้
มะเร็งลำไส้ใหญ่ หนึ่งในโรคร้ายที่อาการของโรคไม่ชัดเจนในช่วงแรก แต่ถ้าเห็นอาการผิดปกติด้านการขับถ่ายไว ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้อาการของโรครุนแรงและรักษาหายได้
การผ่าตัดไทรอยด์เป็นหนึ่งในวิธีรักษาผู้ป่วยที่มีก้อนเนื้องอกขนาดใหญ่บริเวณต่อมไทรอยด์ โดยก้อนเนื้อดังกล่าวได้เข้าไปกดทับบริเวณหลอดอาหารจึงส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจโดยตรง ตลอดจนผู้มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดไทรอยด์เป็นพิษ จึงทำให้จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดไทรอยด์ ในปัจจุบันวิธีการผ่าตัดไทรอยด์ได้ถูกพัฒนาเป็นอย่างมากด้วยการใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์สมัยใหม่ ทำให้เพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในการรักษา รวมถึงลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนภายหลัง
สารบัญบทความ
การผ่าตัดไทรอยด์ (Thyroidectomy) คือ การรักษาการทำงานผิดปกติของต่อมไทรอยด์ โดยมีการผ่าเอาก้อนเนื้อบริเวณต่อมไทรอยด์ออก ซึ่งมีลักษณะเป็นทรงกลมหรือวงรีอยู่บริเวณด้านหน้าของลำคอ ผู้ป่วยสามารถคลำหรือมองเห็นชัดเจนได้ที่คอ ต่อมไทรอยด์จะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนสำหรับควบคุมการเผาผลาญและการกักเก็บพลังงานในร่างกาย ซึ่งโรคที่พบบ่อยในต่อมไทรอยด์ ได้แก่ โรคคอพอก มะเร็งต่อมไทรอยด์ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น
หากก้อนเนื้อดังกล่าวมีขนาดใหญ่มาก อาจส่งผลต่อการกลืน การหายใจ และการใช้ชีวิต ทำให้กลืนอาหารได้ลำบาก หายใจติดขัด รวมถึงมีภาวะเสี่ยงเป็นก้อนเนื้อร้ายซึ่งส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกายส่วนอื่น ๆ ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดก้อนไทรอยด์ออก
การผ่าตัดไทรอยด์ มีกี่แบบ? การผ่าตัดไทรอยด์มีหลากหลายวิธี โดยแต่ละวิธีมีรูปแบบการรักษาที่แตกต่างกัน ซึ่งแพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาตามลักษณะก้อนเนื้อและความรุนแรงของอาการ โดยรูปแบบการรักษาต่อมไทรอยด์มีรายละเอียดดังนี้
ก้อนเนื้อทีต่อมไทรอยด์สามารถรักษาด้วยวิธีการจี้สลายก้อนไทรอยด์ (Thyroid Microwave Ablation) เป็นการใช้เข็มขนาดเล็กสอดเข้าไปที่ก้อนเนื้อเพื่อปล่อยพลังงานไมโครเวฟทำให้ก้อนเนื้อดังกล่าวค่อย ๆ ยุบตัวลงโดยไม่ส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง ฟื้นตัวไว การรักษาดังกล่าวไม่ใช่การผ่าตัดจึงช่วยลดความเสี่ยงจากการผ่าตัดและเกิดรอยแผลเป็นที่คอ เหมาะสำหรับผู้ที่รักษาก้อนไทรอยด์ขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่มะเร็ง ผู้ที่ไม่สามารถดมยาสลบสำหรับวิธีผ่าตัดได้ ทั้งนี้ จำนวนครั้งในการจี้สลายขึ้นอยู่กับขนาดก้อนที่คอ
การผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิด (Open Thyroidectomy) คือ วิธีการผ่าตัดแบบดั้งเดิมบริเวณกลางลำคอ โดยสามารถผ่าตัดก้อนเนื้อออกจากต่อมไทรอยด์ได้ทุกขนาด เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ แต่อาจมีข้อจำกัดบางประการ เนื่องจากการผ่าตัดไทรอยด์อาจทำให้มีรอยแผลเป็นจากการผ่าตัดชัดเจน บางรายอาจเกิดแผลเป็นนูนหรือคลีลอยด์ ซึ่งส่งผลต่อความสวยงามได้ ทำให้ผู้ป่วยต้องรักษารอยแผลเพิ่มเติม
การผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้อง (Endoscopic Subtotal Thyroidectomy) คือ การผ่าตัดไทรอยด์ด้วยการส่องกล้องความละเอียดสูง โดยส่องกล้องผ่านทางรักแร้, หลังหู, บริเวณลานนม และทางช่องปาก ซึ่งเป็นวิธีผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องที่มีความปลอดภัยสูง ข้อดีคือ แผลผ่าตัดไทรอยด์จะมีขนาดเล็กกว่าการผ่าตัดแบบเปิด ไม่เห็นรอยแผลจากภายนอก แต่อาจมีข้อจำกัดโดยผู้ป่วยต้องมีขนาดต่อมไทรอยด์ข้างละไม่เกิน 8 เซนติเมตร และก้อนเนื้อขนาดไม่เกิน 6 เซนติเมตร
การผ่าตัดไทรอยด์นั้นเป็นวิธีการรักษามาตรฐานด้วยการผ่าตัดนำก้อนเนื้อออก โดยมีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามารักษา ทำให้ลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เหมาะสำหรับการผ่าตัดไทรอยด์เป็นพิษ โรคมะเร็งไทรอยด์ ซึ่งการผ่าตัดใช้เวลาไม่นาน ระยะเวลาฟื้นตัวเร็ว มีอาการเจ็บแผลเล็กน้อย
ในขณะที่การจี้สลายก้อนไทรอยด์เป็นวิธีการทำให้ก้อนเนื้อมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ ในระยะเวลา 6-12 เดือนด้วยการใช้คลื่นพลังงานไมโครเวฟ การจี้สลายก้อนเนื้อไม่ทำให้เกิดรอยแผลเป็นที่คอ ใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีขนาดก้อนเนื้อไม่ใหญ่มากและไม่ใช่ก้อนเนื้อมะเร็ง รวมถึงผู้ป่วยที่ไม่สามารถดมยาสลบได้ ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความนิยมสูงในการรักษาต่อมไทรอยด์โดยไม่ต้องผ่าตัด ทั้งนี้ การผ่าตัดไทรอยด์อาจมีราคาและค่ารักษาพยาบาลสูงกว่าการจี้สลายก้อนไทรอยด์
การรักษาก้อน ที่ต่อมไทรอดย์ |
จี้สลายไทรอยด์ |
ผ่าตัดไทรอยด์ แบบส่องกล้อง |
ผ่าตัดไทรอยด์ แบบเปิด |
วิธีการรักษา |
ใช้เข็มปล่อยพลังงานไมโครเวฟรักษาก้อนเนื้อ |
ผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง |
ผ่าตัดบริเวณกลางลำคอ |
เหมาะสำหรับ |
|
|
|
ระยะเวลา การรักษา |
6-12 เดือน (ขึ้นอยู่กับขนาดก้อนเนื้อ) |
1-3 ชั่วโมง |
1-2 ชั่วโมง |
ระยะเวลาฟื้นตัว |
หลังทำการรักษาใช้ชีวิตได้ตามปกติ |
1-2 สัปดาห์ |
2-3 สัปดาห์ |
ผลข้างเคียง |
|
|
|
ค่าใช้จ่าย (เริ่มต้น) |
68,000 บาทเป็นต้นไป |
150,000 บาทเป็นต้นไป |
110,000 บาทเป็นต้นไป |
การผ่าตัดไทรอยด์นั้นแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาอาการและสภาพร่างกายของผู้ป่วย เพื่อประเมินวิธีการรักษาที่เหมาะสมมากที่สุด ซึ่งผู้ป่วยที่มีแนวโน้มต้องผ่าตัดต่อมไทรอยด์มีดังต่อไปนี้
ภายหลังการตรวจวินิจฉัยอาการโดยแพทย์เฉพาะทางเรียบร้อยแล้ว สำหรับผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับผ่าตัดไทรอยด์ทั้งแบบเปิดหรือส่องกล้องจะมีการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดไทรอยด์ ดังนี้
การผ่าตัดไทรอยด์เป็นการรักษาโดยแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทางซึ่งมีความปลอดภัยสูงและมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อย อย่างไรก็ตามหลังผ่าตัดไทรอยด์อาจมีผลข้างเคียงต่าง ๆ ดังนี้
ทั้งนี้ ผลข้างเคียงหลังผ่าตัดไทรอยด์อาจขึ้นอยู่กับวิธีการผ่าตัด การฟื้นตัวของร่างกาย ตลอดจนการดูแลตนเองหลังผ่าตัดตามคำแนะนำของแพทย์
หลังผ่าตัดไทรอยด์ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และวิธีการดูแลตนเองให้ถูกต้อง เพื่อลดโอกาสการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง โดยคำแนะนำการดูแลตนเองหลังผ่าตัดไทรอยด์มีดังนี้
ผ่าตัดไทรอยด์อันตรายไหม? การผ่าตัดไทรอยด์เป็นการผ่าตัดที่ใช้เครื่องมือทางการแพทย์และเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำ โดยปัจจุบันการผ่าตัดสามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดแบบเปิดและการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง ซึ่งเป็นวิธีการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยสูง ใช้เวลาพักฟื้นน้อย และไม่เห็นรอยแผลเป็นจากภายนอก โดยเฉพาะการส่องกล้องผ่านช่องปาก ทั้งนี้ แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยและประเมินอาการของผู้ป่วยเพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด
สำหรับผู้ที่ต้องการปรึกษาการผ่าตัดไทรอยด์ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ซึ่งมีทีมแพทย์เฉพาะทางพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านช่องทางดังต่อไปนี้
References
Kristeen Cherney, K. (2022, August 22). Surgery for Thyroid Cancer: What to Know. Healthline Media. https://www.healthline.com/health/medullary-thyroid-cancer/thyroidectomy-thyroid-cancer-surgery#potential-side-effects
Petty, A. (2023, January 24). What To Know Expect During Thyroid Surgery Recovery. HealthCentral. https://www.healthcentral.com/condition/thyroid/thyroid-surgery-recovery
Schwalbe, F.(2022, August 16). Thyroid Surgery: Breaking Down the Different Types. GoodRX Health. https://www.goodrx.com/health-topic/thyroid/types-of-thyroid-surgery
Shannon Johnson, S. (2018, October 17). Everything you need to know about thyroid gland removal. MedicalNewsToday. https://www.medicalnewstoday.com/articles/323369#risks-and-side-effects
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)