ตาปลาที่เท้า เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง
ตาปลาที่เท้าเป็นภาวะที่ผิวหนังแข็งตัวเป็นก้อนกลมนูน มีจุดดำตรงกลาง เกิดจากแรงกดทับซ้ำ ๆ ทำรู้สึกให้เจ็บเมื่อเดิน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสม
เล็บขบ เป็นอาการที่พบได้ทั่วไป โดยส่วนใหญ่จะเริ่มสังเกตจากลักษณะผิวหนังข้างขอบเล็บที่บวมขึ้นเล็กน้อย มีอาการปวดเมื่อเมื่อเดิน หรือเท้ากระทบสิ่งของ หรือในบางคนอาจรู้สึกตัวในตอนที่มีอาการปวดมากแล้ว จนไม่สามารถสวมใส่รองเท้าที่หุ้มเต็มเท้าได้
แม้ว่าเล็บขบจะดูเหมือนเป็นปัญหาทั่วไปและสามารถหายได้เอง แต่ทราบหรือไม่ว่าอาจมีภาวะแทรกซ้อนของโรคเท้าที่เกิดจากเล็บขบได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นการดูแลสุขภาพเท้าเมื่อเกิดเล็บขบจึงเป็นเรื่องสำคัญ
สารบัญบทความ
เล็บขบ คือ การที่ขอบหรือมุมเล็บมีการเจริญเติบโตลงไปแทงทะลุเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังบริเวณข้างนิ้ว ส่งผลให้เกิดการบวมแดง มีความรู้สึกปวด เจ็บเนื้อใต้เล็บ ส่วนใหญ่มักเกิดบนนิ้วหัวแม่โป้งเท้า
อาการปวดของเล็บขบนั้นมาจากการที่เล็บเจริญเข้าไปใต้ชั้นเนื้อเยื่อจนผิวหนังบริเวณขอบเล็บอักเสบ ในบางรายอาจมีอาการคันร่วมด้วย ดังนั้นหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดการติดเชื้อและเพิ่มความรุนแรงของอาการได้ โดยเฉพาะกับผู้ป่วยเบาหวานที่จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อมากกว่าปกติ
แม้ว่าโดยส่วนใหญ่การที่เล็บเจริญเติบโตลึกลงไปใต้ผิวหนังบริเวณข้างเล็บจะเป็นสาเหตุหลักของการเกิดเล็บขบ แต่ก็ยังมีปัจจัยเสริมอื่น ๆ ที่สามารถกระตุ้นให้เกิดเล็บขบได้เช่นกัน ซึ่งปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เป็นเล็บขบ มีดังนี้
การตัดเล็บเท้าที่ไม่ถูกต้องนั้นจะทำให้มีโอกาสเกิดเล็บขบได้ จึงไม่ควรตัดลึกหรือสั้นจนเกินไป รวมถึงไม่ตัดบริเวณข้างเล็บให้เป็นมุมแหลม
การทาเล็บหรือต่อเล็บ รวมถึงการติดเล็บปลอมที่มักจะกักเก็บความชื้น ส่งผลให้เล็บเป็นเชื้อรา เกิดการติดเชื้อหรือระคายเคืองต่อสารเคมี
การใส่รองเท้าที่คับเกินไปจะทำให้รองเท้าบีบบริเวณหน้าเท้ามากเกินไปจนเล็บเกิดการบีบตัวกดทับลงไปใต้ผิวหนัง
หากนิ้วมีการเบียดซ้อนกัน ส่งผลกับรูปทรงเล็บก็มีโอกาสเกิดเล็บขบได้ โดยเฉพาะรูปทรงเล็บที่งุ้มเข้าหากันผิดปกติ
การไม่ดูแลและทำความสะอาดเล็บก็อาจเกิดให้มีแบคทีเรียสะสมบริเวณข้างเล็บ เมื่อเล็บมีการเจริญเติบโตเข้าชั้นผิวหนังจึงอาจเกิดโอกาสการติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ
การที่นิ้วมีการกระทบกับวัตถุอื่นบ่อย ๆ อาจทำให้รูปร่างของเล็บเปลี่ยนไปจากแรงกระทบนั้น ๆ และเมื่อเล็บยาวขึ้นก็จะมีทิศทางการเติบโตตามรูปร่างจากการกระทบ ตัวอย่างกีฬาที่ใช้เท้า เช่น การเตะฟุตบอล เป็นต้น
ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต หรือภาวะน้ำหนักเกินซึ่งอาจมีอาการเท้าบวม เล็บเจริญเติบโตเข้าเนื้อได้ง่ายกว่าปกติ จึงมีโอกาสเกิดเล็บขบได้
โดยทั่วไปแล้ว วิธีรักษาเล็บขบด้วยตัวเองสามารถทำได้โดยทำการตัดเล็บขบออก หากมีอาการบวมแดง เล็บฝังไม่ลึกมาก หลังจากตัดเล็บขบออกแล้วให้ดูแลความสะอาดบริเวณเล็บก็สามารถทำให้เล็บขบหายเองได้
หากมีอาการปวดรุนแรง มีหนองหรือเลือดไหลออกมาบริเวณเล็บ เล็บยาวฝังลึกมากกว่าที่จะสามารถตัดได้ด้วยตนเองได้ หรือยังมีอาการติดเชื้อหลังตัดเล็บขบออกไปแล้ว อาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง
เล็บขบสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงโดยเฉพาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน สังเกตว่าในผู้ป่วยที่มีแผลเบาหวานที่เท้าจะไม่สามารถหายเองได้ เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานจะมีภาวะการไหลเวียนเลือดผิดปกติ ส่งผลให้เส้นประสาทที่เท้าถูกทำลาย เมื่อเกิดแผลบริเวณเท้าจึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายจากการที่แผลไม่สามารถบรรเทาเองได้
ดังนั้นการที่ผู้ป่วยเบาหวานมีอาการเล็บขบจึงควรรีบไปพบแพทย์ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้จนมีอาการปวดบวมรุนแรง เพราะอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ มีเลือดหรือน้ำหนองไหล รวมถึงระยะแผลแพร่กระจาย
วิธีรักษาเล็บขบเบื้องต้น สามารถทำได้ดังนี้
สำหรับผู้ที่มีอาการบวมหรือปวดไม่รุนแรง สามารถทำการตัดเล็บด้วยตนเองได้ แต่สำหรับวิธีรักษาเล็บขบเป็นหนอง มีเลือดไหลและมีอาการปวดรุนแรงร่วมด้วย แพทย์อาจมีการใช้ยาชาก่อนทำการตัดเล็บขบออก
การตัดเนื้อเยื่อและถอดเล็บจะเป็นการรักษาสำหรับผู้ที่มีการเกิดเล็บขบในบริเวณเดิมซ้ำ ๆ ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อ ทำให้อาการเล็บขบไม่หายขาดหรือหายช้า ในกรณีนี้แพทย์จะมีการใช้ยาชาก่อนทำการถอดเล็บและตัดเนื้อเยื่อเช่นกัน
ในบางกรณีที่เล็บขบเกิดขึ้นซ้ำบ่อย อาจเป็นเพราะมีหนองสะสมอยู่ภายใน กรณีนี้จะต้องทำการเจาะหนองออก ตัดแต่งเล็บ และทำการเย็บเนื้อผิวหนังป้องกันไม่ให้เล็บฝังลึกเข้าไปเพิ่ม
หลังจากการรักษาเล็บขบแล้ว การดูแลรักษาอาการบวมให้ลดลงหรือลดปวด สามารถใช้ประคบเย็นและยาบรรเทาอาการปวดได้ หลีกเลี่ยงการแช่น้ำเป็นระยะเวลานาน การเล่นกีฬาทางน้ำ และกีฬาที่ต้องใช้เท้าเป็นหลัก
เล็บขบ เป็นอาการที่มักพบได้บ่อยบริเวณนิ้วหัวแม่โป้งเท้า เกิดจากการที่เล็บมีการเจริญเติบโตลึกลงไปใต้ผิวหนังมากผิดปกติจนเกิดอาการบวมแดง อักเสบ และในบางกรณีอาจมีอาการติดเชื้อ รวมถึงมีเลือดและหนองไหล
อาการเล็บขบอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ โดยเฉพาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่แผลไม่สามารถบรรเทาด้วยตนเองได้ หรือแผลมีอาการติดเชื้อรุนแรงจนแพร่กระจายในบริเวณกว้างขึ้น
ดังนั้นหากมีอาการเล็บขบ จึงควรรีบทำการรักษาโดยการตัดเล็บขบออกสำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงมาก แต่หากมีอาการปวดบวมอย่างรุนแรง ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ และควรป้องกันดูแลรักษาความสะอาดเล็บเพื่อลดโอกาสการเกิดเล็บขบซ้ำ
สมิติเวช ไชน่าทาวน์ ห่วงใยทุกปัญหาสุขภาพ หากมีอาการเล็บขบเกิดขึ้นซ้ำบ่อยครั้ง มีอาการไม่หายขาดเป็นระยะเวลานาน ให้สถาบันสุขภาพผิวพรรณจากสมิติเวชดูแล
ติดต่อโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ผ่านช่องทางดังนี้
References
Ingrown Toenails: Signs, Causes, Treatment & Prevention. (2023, July 8). Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17664-ingrown-toenails
Ingrown toenail. (2024, July 29). NHS inform. https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/skin-hair-and-nails/ingrown-toenail/
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)