ผ่าตัดไทรอยด์ (Thyroid Surgery) แนะนำข้อควรรู้ก่อน-หลังเข้ารับการรักษา
ผ่าตัดไทรอยด์คือหนึ่งในวิธีการรักษาของผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์ ผู้มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ปัจจุบันการผ่าตัดมีหลายวิธีที่ฟื้นตัวเร็ว ไม่มีรอยแผลเป็น และลดโอกาสเกิดผลข้างเคียง
แม้ว่าโรคโควิด-19 ที่ทุกคนทราบกันดีว่าเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ แต่นอกจากอาการหายใจลำบากหายใจได้ไม่เต็มแล้ว การติดเชื้อโควิด-19 ยังมีสัญญาณเตือนอย่างอื่นด้วย คือ ความผิดปกติทางผิวหนัง หรือ ผื่นแดงโควิด ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนัง พบว่าอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมด ประมาณ 0.2 - 20% มีอาการผื่นแดง หรือผื่นลักษณะอื่นๆร่วมด้วย
เชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ได้มีผลกับระบบทางเดินหายใจเท่านั้น เชื้อไวรัสยังสามารถทำให้เกิดความผิดปกติหลายระบบภายในร่างกาย บทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจอาการผื่นแดง ผื่นคัน และอาการผิดปกติทางผิวหนัง ที่เป็นสัญญาณเตือนว่าคุณอาจจะติดเชื้อโควิด รวมไปถึงตอบคำถามที่สงสัยกันว่า ผื่นโควิดคันไหม ผื่นโควิดมีอาการยังไง มีลักษณะแบบไหนถึงจะเรียกว่าผื่นโควิด ในบทความนี้ได้รวมคำตอบทุกปัญหาที่คุณสงสัยไว้หมดแล้ว
สารบัญบทความ
ผื่นโควิด หรือ Covid Rash เป็นอาการที่พบในโควิดสายพันธุ์ใหม่ โควิดกลายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha) หรือ สายพันธุ์ B.1.1.7 ซึ่งพบครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ และหลายประเทศในแถบยุโรป
โดยวารสารโรคผิวหนังของสหราชอาณาจักร เผยว่าผื่นแดงโควิดหรือผื่นผิวหนังจากการติดเชื้อโควิด-19 สามารถเกิดขึ้นบนร่างกายของผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 หลังจากมีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ หรือบางรายอาจพบผื่นแดงโควิดก่อนที่จะมีอาการผิดปกติอย่างอื่น เช่น ไข้สูง ลิ้นไม่รับรส จมูกไม่ได้กลิ่น หรืออาการอื่นๆ
ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการผิดปกติทางผิวหนังในประเทศแถบยุโรปและประเทศแถวเอเชียจะมีอาการผิดปกติทางผิวหนังแตกต่าง โดยผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศแถบยุโรปจะมีอาการที่ไม่พบในประเทศไทย คือ ปลายมือปลายเท้าม่วงคล้ำ ในทางการแพทย์เรียกว่า Covid Toe สาเหตุมาจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น และผู้ป่วยโควิด-19 ในแถวประเทศแถบเอเชียจะมีอาการผื่นแดงโควิดทั่วทั้งตัว ผื่นลมพิษ หรือผื่นใสแบบตุ่มน้ำ
ทั้งนี้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมด ประมาณ 0.2 - 20% มีอาการผื่นแดงโควิด หรือผื่นลักษณะอื่นๆร่วมด้วย ดังนั้นไม่ควรละเลยอาการผิดปกติในร่างกาย แม้ว่าจะเล็กน้อยก็ตาม เพราะอาจจะเป็นสัญญาเตือนว่าคุณกำลังเข้าข่ายติดเชื้อโควิด-19
จากวารสาร British Journal of Dermatology พบว่ามีความเกี่ยวข้องระหว่างผื่นที่บริเวณผิวหนังกับโรคโควิด-19 โดยได้ระบุไว้ จากข้อมูลผู้ป่วยที่มีผลตรวจโควิดเป็นบวก 88% มีอาการของผื่นแดงโควิดขึ้นตามร่างกายร่วมด้วย
ในปัจจุบันยังไม่มีผลวิจัยยืนยันแน่ชัดว่าสาเหตุของผืนแดงโควิดว่าเกิดจากอะไร แต่ในทางการแพทย์สันนิษฐานว่าผื่นแดงโควิด (Maculopapular) ตุ่มแบน รอยแดง หรือตุ่มใสโควิดที่กระจายบนผิวหนังตามส่วนต่างๆ บนร่างกาย อาจจะมาจากผลข้างเคียงของยาที่ใช้ในการรักษาเชื้อโควิด-19 หรือมาจากการที่เลือดภายในร่างกายไหลเวียนไม่ดีทำให้เกิดเป็นผื่นแดง ผื่นตุ่มใส หรือผื่นแบบอื่นๆขึ้นมา
โดยปกติแล้วอาการผื่นแดงโควิด มักจะค่อยๆจางหายไปเองเมื่อผู้ป่วยรักษาอาการโควิด-19 หายแล้ว ประมาณ 7-14 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณ และความรุนแรงของผื่นแดงโควิดที่ขึ้นตามบนร่างกายของผู้ป่วย
จากการศึกษาทางการแพทย์แบบ Systemic Review อาการผิดปกติทางผิวหนัง ผื่นคันโควิด หรือผื่นแดงโควิด สามารถพบได้ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิดประมาณ 0.2 - 20.4% โดยส่วนใหญ่แล้ว 55% ของผู้ที่มีอาการผื่นแดงโควิดมักพบหลังอาการของโรค และ 35% พบอาการผื่นแดงโควิดพร้อมกับอาการอื่นๆของโรคร่วมด้วย ทั้งนี้อาการผื่นแดงโควิดสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยหลายกลุ่ม ได้แก่
และข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยว่า ผื่นแดงโควิดมักพบในผู้ป่วยในวัยรุ่น ที่มีอาการโรครุนแรงเล็กน้อยไปจนถึงปานกลาง เช่น ตาแดง น้ำมูกไหล ไม่มีไข้ โดยจะมีอาการผื่นแดงโควิดร่วมด้วย อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นอาการผื่นแดงโควิดมักไม่มาเดี่ยวๆ แต่มักจะมาร่วมกับอาการอื่นร่วมด้วย หากคุณมีอาการผื่นแดงร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น หายใจได้ไม่เต็มปอด น้ำมูกไหล ไข้สูง ลิ้นไม่รับรส และอาการโรคอื่นๆ อาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณอาจจะติดเชื้อโควิด-19
นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีภาวะลองโควิด สามารถเกิดผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง แขนขา ข้อศอก หน้าอก และแผ่นหลังได้เช่นเดียวกับผู้ป่วยโควิด และผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะแทรกซ้อนหลังหายป่วยโควิด หรือ MIS-C อาจจะมีการอักเสบที่ระบบภายในร่างกายทำให้เกิดการผิดปกติบริเวณผิวหนังได้เช่นเดียวกัน
ผื่นแบบไหนถึงจะเข้าข่ายเป็นโควิด หรือ ผื่นโควิดมีลักษณะรูปร่างเป็นอย่างไร? เป็นคำถามที่พบบ่อย โดยสามารถสังเกตอาการผิดปกติทางผิวหนังได้ตาม 8 ลักษณะผื่น ที่เข้าข่ายว่าคุณเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ได้ดังนี้
ผื่นโควิดที่นิ้วเท้า หรือที่เรียกว่า Covid Toe มีลักษณะเป็นตุ่มสีแดง และสีม่วง นูนๆที่นิ้ว หรือนิ้วเท้า ส่วนใหญ่มักมีอาการเจ็บร่วมและอาการคันร่วมด้วย ผื่นแดงโควิดที่เท้าส่วนใหญ่มักพบในเด็ก และพบในคนผิวขาว (Caucasian) มากกว่าคนผิวสี หรือ ผู้ป่วยโควิดที่มีอาการรุนแรงเล็กน้อยถึงปานกลาง และมักพบในประเทศที่มีอาการหนาวเย็น
ผื่นโควิดบริเวณคอและหน้าอกส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นสีชมพูอ่อน และสีแดง สำหรับผู้ที่มีผิวสองสีผื่นอาจจะมีมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้ม สีม่วง หรือสีเทาได้ โดยผื่นโควิดชนิดนี้มักขึ้นหลังจากการติดเชื้อไวรัส และใช้เวลารักษานานกว่าผื่นแบบอื่นๆ
ผื่นและตุ่มใสที่ขึ้นบริเวณปาก หรือข้างในปาก จะมีลักษณะเป็นตุ่มเม็ดเล็กๆ ใสๆ ในปากหรือบริเวณริมฝีปาก นอกจากนี้ผื่นและตุ่มใสที่ขึ้นที่ปาก เมื่อรักษาหายแล้วมักส่งผลให้ริมฝีปากแห้ง และปากลอกเป็นขุยได้
ผื่นแดงโควิด (Maculopapular Rash) มีลักษณะเป็นผดแดงเล็ก มักขึ้นตามแขน ขา และข้อศอก ส่วนใหญ่ที่พบผื่นแดงโควิดตามผิวหนังมักมีอาการไม่รุนแรง ผื่นแดงโควิดจะมีอาการคันที่รุนแรง โดยมันพบกับผู้ป่วยในกลุ่มที่ติดเชื้อไวรัสอื่นๆร่วมด้วย
ตุ่มน้ำใส (Papulovesicular Exanthem) มีลักษณะเหมือนผดแดงปนตุ่มใส มักมีอาการคันเล็กน้อย แต่ไม่มีอาการเจ็บ สามารถเกิดได้ทั่วทั้งร่างกาย ในผู้ป่วยบางรายจะพบอาการผื่นตุ่มน้ำร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ สับสน หรือ จมูกไม่ได้กลิ่น
ผื่นกลีบกุหลาบ (Livedo Reticularis หรือ Racemosa like Pattern) เป็นผื่นที่มีลักษณะคล้ายร่างแห หรือตาข่าย ผื่นชนิดนี้เกิดจากการไหลเวียนของเลือดที่ช้ากว่าผิด ทำให้เกิดเป็นผื่นคล้ายร่างแหขึ้มากบริเวณผิวหนัง มีทั้งสีอ่อนและสีเข้ม สามารถพบได้ในผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงปานกลาง แต่ผื่นกลีบกุหลาบ ร่างแหพบได้น้อยมาก
นอกจากนี้ผื่นกลีบกุหลาบ ร่างแห จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับภาวะ Cutis Marmorata ที่เกิดเฉพาะในเด็ก ซึ่งเป็นลักษณะทางผิวหนังที่ปกติในเด็ก ดังนั้นเมื่อเกิดผื่นกลีบกุหลาบ ร่างแห ควรปรึกษาแพทย์ก่อน บางทีคุณอาจจะไม่ได้ติดเชื้อโควิด-19 เพียงแค่เป็นอาการของ Cutis Marmorata เท่านั้น
ผื่นลักษณะคล้ายจุดเลือดออกใต้ผิวหนัง หรือ ผื่นเส้นเลือดอักเสบ (Vasculitic) ผื่นชนิดนี้มักเกิดจากเส้นเลือดอักเสบ มักขึ้นบริเวณขา พบได้ 6 - 8 % ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิดที่มีอาการรุนแรงมาก และมักพบในผู้ป่วยผู้สูงอายุ และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เมื่อมีอาการผื่นลักษณะคล้ายจุดเลือดออกใต้ผิวหนังจะมีอาการค่อนข้างนาน อาจจะนานเป็นสัปดาห์
ผื่นลมพิษ หรือทางการแพทย์เรียกว่า Urticarial Rash จะมีอาการเหมือนลมพิษทั่วไป มักขึ้นตามลำตัวและแขนขา โดยผื่นลมพิษสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งช่วงก่อน ระหว่าง หรือหลังที่มีอาการติดเชื้อโควิด-19 มักพบผื่นลมพิษร่วมกับอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ แค่เพียงผื่นลมพิษอย่างเดียวไม่สามารถบอกได้ว่าคุณติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากผื่นลมพิเศษมีลักษณะคล้ายกับอาการโรคอื่นๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้ยา ลมพิษ หรือโรคภูมิแพ้ ดังนั้นเมื่อเกิดผื่นลมพิษตามตัวควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน
ไข้ออกผื่น (Viral Exanthem) เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัส มีลักษณะเป็นผดผื่นขึ้นมาตามบริเวณผิวหนังบนร่างกาย รอยจุด ตุ่มนูนสีชมพูไปจนถึงสีแดงแผ่ขยายออกเป็นวงกว้างมากกว่าผื่นทั่วๆ ไป ส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกคันบริเวณผิวหนังที่ผื่นขึ้น แต่ในบางครั้งอาจจะมีอาการคันร่วมด้วย ไข้ออกผื่นมักมีอาการร่วมกับ เป็นไข้สูง ปวดหัว หรืออ่อนเพลีย
ผื่นโควิดส่วนใหญ่มักขึ้นตามแขนขา ข้อศอก ท้อง หน้าออก และนิ้วเท้า มักมีลักษณะเป็นสีชมพู แดง ม่วง ไปจนถึงสีเทา ทำให้สีผิวบริเวณที่เกิดผื่นเปลี่ยนแปลงไป บางคนอาจจะเป็นผื่นแดงโควิด หรือ สีน้ำตาลเข้มเนื่องจากสีผิวเดิมเข้มอยู่แล้ว
ทั้งนี้ อาการความรุนแรงของสีผิวที่เปลี่ยนแปลง และผื่นที่ขึ้นบนร่างกายจะขึ้นอยู่แต่กับละบุคคล รวมไปถึงของประเภทของผื่นด้วย เช่น หากเป็นผื่นกลีบกุหลาบ ร่างแห หรือไข้ออกผื่น จะค่อนข้างมีอาการความรุนแรงของสีผิวที่เปลี่ยนไป
อาการบวมแดงส่วนใหญ่มักเกิดกับผื่นโควิดที่นิ้วเท้า (Covid Toe) ซึ่งจะมีอาการเป็นจุดแดง ม่วงคล่ำ นูนบริเวณนิ้ว ปลายเท้า หรือนิ้วเท้า มักพบในผู้ป่วยที่อายุน้อย และพบกับผู้ป่วยที่มีผิวขาว มากกว่าผู้ป่วยที่มีผิวสองสี นอกจาก Covid Toes แล้วยังมีผื่นลมพิษที่มีอาการบวมร่วมด้วย โดยส่วนใหญ่ของผื่นชนิดนี้จะมักเกิดขึ้นบริเวณลำตัวและแขนขา
ผื่นโควิดส่วนใหญ่ มักจะมีอาการคันร่วมด้วย โดยความรุนแรงของอาการคันจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ทั้งนี้ผื่นโควิดที่มีอาการคันร่วมด้วย ได้แก่ Covid Toes, ผื่นบริเวณริมฝีปาก, ผื่นแดงโควิดบริเวณคอและหน้าอก
ผื่นโควิดไม่ได้มีเพียงแค่ ผื่นแดงโควิดเท่านั้น ในบางกรณีผู้ป่วยบางรายอาจจะเกิดตุ่มน้ำใสได้ โดยจะมีลักษณะเป็นผดแดงปนตุ่มน้ำใสบริเวณริมฝีปาก ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคันเล็กน้อยร่วมด้วย และไม่รู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัส ซึ่งอาจจะทำให้บางคนอาจจะคิดว่าเป็นโรคสุกใส ทั้งนี้ตุ่มน้ำ (Papulovesicular Exanthem) ที่เป็นสัญญาณเตือนโรคโควิด-19 มักมีอาการผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดหัว จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส
การเกิดผื่นขึ้นแบบฉับพลันสามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย ทั้งนี้คุณหากมีอาการเกิดผื่นขึ้นฉับพลัน ควรไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง พร้อมรับการรักษาที่ถูกวิธี เนื่องจากที่ผื่นขึ้นแบบฉับพลัน อาจจะไม่ใช่สัญญาณเตือนโรคโควิด-19 บางทีคุณอาจจะแพ้อะไรบางอย่าง เช่น แพ้การสัมผัส แพ้อาหาร แพ้ยา หรือโรคภูมิแพ้
อาการผื่นโควิดส่วนใหญ่มักมีร่วมกับอาการผิดปกติอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็น มีไข้สูง ไอเรื้อรัง หายใจลำบาก เหนื่อยหอบง่าย อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นรับรสไม่ได้ หรือ ท้องเสีย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคคล ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการผื่นแดงโควิดร่วมกับอาการผิดปกติอย่างเดียว หรือ ผู้ป่วยบางรายอาจจะมี
อาการผื่นโควิดร่วมกับอาการผิดปกติหลายอย่างรวมกัน แต่โดยส่วนมากของผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 ไม่มีเพียงอาการผื่นแดงโควิดเพียงอย่างเดียว
หากต้องการความมั่นใจว่าคุณติดเชื้อโควิด-19 คุณควรจะมีอาการผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย โดยอาการผิดปกติที่มักเกิดขึ้นพร้อมกับผื่นแดงโควิด มีดังนี้
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอาการผื่นแดงโควิดมักมีอาการผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย ซึ่งอาการโรคโควิด-19 มักมีอาการไข้สูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส โดยจะมีไข้สูงติดต่อกันนานเกิน 42 ชั่วโมง บางคนอาจจะเกิดความสับสนระหว่างโรคโควิด-19 และ โรคไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากมีอาการโรคที่คล้ายคลึงกัน แต่โรคโควิด-19 มักมีอาการหายใจลำบาก หายใจได้ไม่เต็มปอดร่วมด้วย
เนื่องจากโรคโควิด-19 เป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจโดยตรง ทำให้อาการหายใจลำบาก หายใจได้ไม่เต็มปอด เป็นอาการที่พบร่วมกับผื่นแดงโควิดได้บ่อย ทั้งนี้อาการผิดปกติระบบทางเดินหายใจมีสาเหตุมาจากปอดติดเชื้อไวรัสทำให้ปอดทำงานผิดปกติ ซึ่งทำให้กระแสเลือดและร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
นอกจาก ผื่นแดงโควิด ไข้สูง ความผิดปกติระบบทางเดินหายใจแล้ว โรคโควิด-19 ยังมีอาการผิดปกติทางร่ายกายอื่นๆ ที่บ่งบอกว่าคุณอาจจะกำลังติดเชื้อโควิด-19 ได้แก่
เนื่องจากผื่นแดงโควิดและผื่นภูมิแพ้มีลักษณะคล้าย อาจจะทำให้เกิดความสับสนว่าแท้จริงแล้วผื่นแดงโควิดเป็นแบบไหน และเกิดความสับสนระหว่างผื่นแดงโควิดและผื่นภูมิแพ้ได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก การแยกลักษณะของผืนแดงโควิดและผื่นภูมิแพ้ สามารถแยกได้ ดังนี้
อาการผื่นแดงโควิด
ผื่นแดงโควิดมีลักษณะคล้ายตาข่ายเส้นใยเล็กๆ หรือตุ่มน้ำที่ผิวคล้ายอีสุกอีใส นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายอาจมีผื่นลักษณะคล้ายผื่นลมพิษ เนื่องจากผื่นแดงโควิดดูได้ค่อนข้างยาก ผู้ป่วยจำเป็นสังเกตอาการอื่นๆร่วม ไม่ว่าจะเป็น ไข้สูง หายใจลำบาก อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายเป็นต้น
อาการผื่นภูมิแพ้
ผื่นภูมิแพ้มีลักษณะเป็นผื่นแดง มักมีอาการคันร่วมด้วย ไม่เหมือนผื่นแดงโควิดที่มีลักษณะคล้ายตาข่าย ทั้งนี้อาการผื่นภูมิแพ้มักพบในเด็ก สามารถสังเกตผื่นภูมิแพ้ได้จากผิวหนังที่เป็นผื่นได้ง่าย และใช้เวลารักษานานกว่าคนทั่วไป โดยส่วนใหญ่ผื่นภูมิแพ้มักขึ้นเมื่อเจอแมลงกัดต่อย หรือเมื่อผิวหนังโดนสารเคมีบางชนิด
ทั้งนี้หากไม่มั่นใจว่ากำลังเป็นผื่นภูมิแพ้ หรือ ผื่นแดงโควิด แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกวิธีที่สุด และเหมาะกับผิวหนังของแต่ละคน
หลังจากตรวจหาเชื้อโควิด-19 แล้วพบว่าผลตรวจเป็น Positive ควรติดต่อไปที่โรงพยาบาลที่ใกล้และสะดวกมากที่สุด เพื่อหาเตียงและสถานที่กักตัว 14 วัน ตามที่รัฐบาลกำหนด และควรรีบรักษาอาการป่วยโควิด-19 ทันที ทั้งนี้การรักษาอาการโควิด-19 สำคัญที่สุด เนื่องจากโรคควิด-19 ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจโดยตรง หากอาการโควิด-19 ดีขึ้นจะช่วยลดโอกาสการเสียชีวิต และเมื่ออาการโควิด-19 มีความรุนแรงลดลงจะส่งผลต่อความรุนแรงของผื่นแดงโควิดลดลงตามไปด้วย
ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาอาการผื่นแดงโควิดโดยเฉพาะ หากมีอาการที่รุนแรงและคันมาก แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ เพื่อบรรเทาอาการแพ้หรือคัน และผู้ที่พักรักษาตัวที่บ้าน หรือ home isolation สามารถใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการคันได้ ดังนี้
ควรหลีกเลี่ยงการเกา แกะ แคะ ที่อาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง และลดการทาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและสกินแคร์จนกว่าผื่นจะหายไป อาการของผื่นแดงโควิดส่วนใหญ่มักจะค่อยๆดีขึ้น ตามอาการของโรคโควิด-19 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอาการผื่นแดงโควิดผื่นมักจะค่อยๆจางไปเองภายใน 7 - 14 วัน ทั้งนี้ผื่นแดงโควิดไม่ใช่อาการที่ส่งผลรุนแรงต่อร่างกาย เหมือนอาการผิดปกติระบบทางเดินหายใจ และยังไม่พบรายงานผู้เสียชีวิตจากผื่นแดงโควิดในประเทศไทย
อาการผื่นโควิด (Covid Rash) เป็นหนึ่งในอาการของเชื้อไวรัสโควิดกลายอัลฟ่า (Alpha) เป็นอาการผิดปกติทางผิวหนัง โดยผื่นโควิดมีลักษณะที่หลากหลาย โดยผื่นโควิดที่พบได้บ่อย ได้แก่ ผื่นแดงโควิดรูปร่างคล้ายกับตาข่าย ผื่นแดงโควิดที่เท้า ผื่นแดงและตุ่มใส ผื่นแดงกลีบกุหลาบ ร่างแห ไข้ออกผื่น และอื่นๆ แม้ผื่นแดงโควิดจะเป็นอาการที่พบไม่บ่อย ประมาณ 0.2 - 20% จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมด
ทั้งนี้ผื่นแดงโควิดที่ขึ้นตามตัวมักมาพร้อมกับอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการคัน ปวดหัว ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีไข้ ไม่คัน แต่รู้สึกอ่อนเพลีย แขนขาไม่ค่อยมีแรง แม้ว่าในประเทศไทยยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต แต่ไม่ควรนิ่งนอนใจหรือปล่อยทิ้งไว้ หากมีอาการควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และเข้ารับการรักษาทันที
หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติทางผิวหนังสามารถติดต่อสอบถามกับทีมแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)