ตาปลาที่เท้า เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง
ตาปลาที่เท้าเป็นภาวะที่ผิวหนังแข็งตัวเป็นก้อนกลมนูน มีจุดดำตรงกลาง เกิดจากแรงกดทับซ้ำ ๆ ทำรู้สึกให้เจ็บเมื่อเดิน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสม
หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ที่เคยติดโควิด-19 มาก่อน และได้รับการรักษาจนหายแล้ว แต่ยังมีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย ผมร่วง ผื่นแพ้ หลงๆ ลืมๆ หากคุณมีอาการเหล่านี้ไม่ควรนิ่งนอนใจ เนื่องจากอาการเหล่านี้อาจจะเป็นสัญญาณเตือนบางอย่าง ว่าเชื้อโควิดยังหลงเหลืออยู่และคุณกำลังเข้าข่ายภาวะลองโควิด หรือ Long COVID แล้ว
บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับภาวะลองโควิด (Long COVID) คืออะไร สาเหตุการเกิด อาการของภาวะ Long covid วิธีป้องกันและฟื้นฟูร่างกาย และตอบคำถามทุก ที่คุณสงสัยเกี่ยวกับอาการของภาวะลองโควิด เพื่อที่จะรู้ได้เท่าทัน และเตรียมพร้อมรับมือ ดูแลตัวเองได้อย่างถูกวิธี
สารบัญบทความ
ภาวะลองโควิด (Long COVID) หรือชื่ออื่นๆ ที่เรียก ได้แก่ Post-COVID Syndrome, Long COVID, Post-COVID Conditions, Post-acute COVID-19, Chronic COVID และ Long-haul COVID-19 เป็นภาวะที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยที่เคยเป็นโควิด-19 และรักษาจนหายแล้ว แต่ยังคงมีอาการผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็น
ซึ่งเป็นอาการผิดปกติที่หลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 โดยกระทรวงสาธารณสุขได้เผยว่า ภาวะลองโควิดสามารถพบได้ถึง 30-50% และมักพบกับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เชื้อลงปอด และมีโรคประจำตัวเรื้อรังร่วมด้วย รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีโรคกลุ่มอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ
โดยภาวะลองโควิดมักเกิดหลังจากที่ได้รับเชื้อนาน 4-12 สัปดาห์ขึ้นไป และส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะรักษาเชื้อโควิด-19 หายแล้วก็ตาม
ทางการแพทย์ยังไม่สามารถยืนยันสาเหตุที่แท้จริงของภาวะลองโควิด (Long COVID) ได้ แต่สันนิษฐานว่าภาวะลองโควิดอาจจะเกิดจากรอยโรคที่หลงเหลือจากการติดเชื้อต่ออวัยวะต่างๆภายในร่างกาย ผลข้างเคียงโควิดหรือเชื้อไวรัสที่ยังตกค้างอยู่ในร่างกายของผู้ป่วยโควิด-19 แม้ว่าจะไม่ได้แสดงอาการออกมา แต่โดยธรรมชาติของร่างกายแล้วจะกระตุ้นภูมิคุ้มเพื่อต่อต้านเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ
ทั้งนี้หากมีอาการที่ส่งสัญญาณเตือนว่าคุณอาจจะเข้าข่ายภาวะลองโควิด ควรไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อตรวจประเมินร่างกาย และรับการรักษาที่เหมาะสม เนื่องจากภาวะลองโควิดสามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน และหากปล่อยไว้นานอาจเกิดอันตรายได้ นอกจากนี้ผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ควรหมั่นสังเกตและประเมินร่างกายตัวเองอยู่เสมอหลังจากหายป่วย
ภาวะลองโควิดเป็นภาวะที่เกิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว โดยมีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณ 30 - 50% นอกจากนี้ในบางงานวิจัยพบว่าผู้ป่วยถึงครึ่งหนึ่งมีอาการของภาวะ Long COVID อย่างน้อยหนึ่งอาการ โดยผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงเป็นภาวะลองโควิด มีดังนี้
ทั้งนี้ แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงหรือเข้าข่ายในการเกิดภาวะลองโควิด ยังต้องคอยหมั่นสังเกตอาการและร่างกายของตนเอง เนื่องจากมีรายงานว่าผู้ป่วยที่ไม่เข้าข่ายเสี่ยงภาวะลองโควิด สามารถเกิดภาวะลองโควิดได้เช่นเดียวกัน
สำหรับผู้ที่สงสัยว่ากลุ่มอาการลองโควิดมีอะไรบ้าง อาการลองโควิดเป็นอย่างไร โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ อาการลองโควิดที่พบได้ทั่วไป ภาวะข้างเคียงที่เกิดจากการติดเชื้อโควิด และผลข้างเคียงจากการรักษาโควิด-19
อาการลองโควิด (Long COVID) ที่สามารถพบได้ทั่วไป อาการลองโควิดเบื้องต้นที่พบได้มากที่สุด 13 อันดับ ได้แก่
นอกจากนี้ยังสามารถพบอาการที่อาจจะดูไม่สัมพันธ์กับการติดเชื้อโควิด-19 ได้ ได้แก่
1. ผมร่วงหลังโควิด-19
ผู้ป่วยบางคนหลังจากรักษาโควิด-19 หายขาดแล้ว อาจจะภาวะลองโควิดจากการผมร่วงทั่วทั้งบริเวณหนังศีรษะ โดยทั่วไปแล้วผมของมนุษย์มักจะร่วงที่ประมาณ 100 เส้นต่อวัน แต่อาการผมร่วงหลังติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีผมร่วงถึง 1,000 เส้นต่อวัน ซึ่งถือว่าค่อนข้างเยอะกว่าปกติ
สาเหตุหลักของอาการผมร่วงหลังการติดเชื้อโควิด-19 สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ผลข้างเคียงจากการใช้ยา ความเครียดทั้งจากการติดเชื้อโควิด-19 และการพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล การได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อร่างกายในช่วงติดเชื้อ รวมไปถึงเชื้อไวรัสอาจจะทำปฏิกิริยากับร่างกาย ทำให้ร่างกายปล่อยสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ และส่งผลต่อระบบในร่างกายทำให้เส้นผมร่วงในที่สุด
2. ผื่นคัน หรือตุ่มแดง
แม้ว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 จะเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ แต่ผู้ป่วยบางรายอาจพบผื่นที่มีลักษณะเป็นผื่นแดง (Maculopapular) ผื่นผิวหนัง ผื่นลมพิษ คล้ายเส้นใยเล็กๆ อาจจะมีอาการบวมแดง มีตุ่มน้ำ หรือมีอาการคันคล้ายกับผื่นลมพิษร่วมด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้มักพบตามเวลานิ้วเท้า มือ และเท้า
อาการผื่นแดงโควิด ผื่นลมพิษสามารถส่งผลกระทบต่อหลายอวัยวะในระยะยาวได้ (Multiorgan Effects) ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีรายงานการเสียชีวิตจากอาการทางผิวหนังของผู้ป่วยโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นภาวะลองโควิด แต่หากมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก มีไข้ หรือมีอาการผื่นคันร่วมด้วยควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยทันที เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกวิธี และเหมาะสมมากที่สุด
3. อาการหลงลืม สมาธิสั้น
ผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19 บางรายอาจจะมีอาการหลงๆ ลืมๆ หรือ มีปัญหาด้านความคิด สมาธิสั้นลง คิดช้า รู้สึกสมองล้าๆ รวมไปถึงปัญหานอนไม่หลับร่วมด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการของลองโควิดที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยสันนิษฐานว่าเชื้อไวรัสอาจมีผลต่อระบบประสาทและสมอง และเชื้อไวรัสอาจทำลายเนื้อเยื่อตาข่ายป้องกันของสมอง
นอกจากนี้การแข็งตัวของเลือดที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เสี่ยงต่อภาวะสมองขาดเลือด หากเกิดบริเวณไม่ใหญ่ อาการจะไม่แสดงออกชัดเจน อาการที่แสดงออกจะมีเพียง หลงลืม และสมาธิสั้นลง ไม่สามารถจดจ่ออะไรนานๆได้
ภาวะข้างเคียงที่เกิดจากการติดเชื้อโควิด-19 สามารถเกิดได้กับผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรงจากการติดเชื้อ และสามารถส่งผลข้างเคียงต่อภูมิคุ้มกันของร่างกาย และอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย ได้ดังนี้
สามารถเกิดได้กับกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ที่พักรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะผู้ป่วยที่รักษาอยู่ห้อง ICU (Intensive Care Unit) ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ
นอกจากนี้การนอนรักษาตัวเป็นเวลานาน อาจทำให้แขนขาไม่ค่อยมีแรงและรู้สึกเหนื่อยได้ง่ายกว่าเดิม แผลกดทับ ภาวะซึมเศร้า และวิตกกังวล (Post - Traumatic Stress Disorder) ซึ่งเกิดจากความเครียด ซึ่งเป็นเข้าข่ายภาวะลองโควิด
ผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่มักไม่พบอาการแทรกซ้อนจากยาที่ใช้รักษาเชื้อไวรัส เนื่องจากเป็นการใช้ยารักษาในระยะเวลาสั้นๆ เพียงเท่านั้น
แต่ทั้งนี้สามารถพบอาการแทรกซ้อนได้กับยาที่ใช้รักษาอาการข้างเคียงอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่รักษาเชื้อโควิด-19 ได้แก่ กลุ่มยาสเตียรอยด์ อาจจะทำให้รู้สึกเหมือนเป็นกรดไหลย้อน แสบกระเพาะ และค่าน้ำตาลไม่คงที่
ภาวะลองโควิด (Long COVID) สามารถส่งผลในระยะยาวกับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวได้ โดยมีอาการ ดังนี้
ผู้ป่วยโรคหัวใจมีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนสูงกว่าผู้ป่วยทั่วไป เมื่อร่างกายพยายามต่อต้านเชื้อไวรัส อาจจะทำให้ “เกิดภูมิต้านทานของตัวเองต่อกล้ามเนื้อหัวใจและต่อเยื่อหุ้มหัวใจ” ซึ่งส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง ทำให้การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง หากอยู่ในภาวะลองโควิดอาจจะมีอาการใจสั่น เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ
สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เชื้อไวรัสโควิด-19 จะเข้าไปยับยั้งการทำงานของเซลล์ที่ตับอ่อน ที่มีหน้าที่สร้างอินซูลินให้แก่ร่างกาย โดยผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนมากมักเกิดจากการขาดอินซูลินในร่างกาย เมื่ออินซูลินในร่างกายลดลงจะทำให้อาการของโรคเบาหวานรุนแรงมากกว่าเดิม
ซึ่งอาการที่พบได้ในผู้ใหญ่จะมีอาการหิวน้ำบ่อย ปากแห้ง คอแห้ง ปัสสาวะบ่อยขึ้น และในเด็กมักมีอาการหายใจเร็วขึ้น เหนื่อย และอาการหอบหายใจไม่ทัน
เชื้อไวรัสโควิด-19 มีผลโดยตรงกับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่เป็นโรคทางเดินหายใจ เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสจะทำให้เกิดอาการปอดอักเสบ และเชื้อไวรัสทำให้เกิดการอุดกั้นในถุงลมซึ่งส่งผลต่อการเแลกเปลี่ยนและการลำเอียงออกซิเจน ซึ่งทำให้กระแสเลือดในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
นอกจากนี้เชื้อไวรัสโควิด-19 ยังทำให้เกิดรอยโรคแผลเป็นหรือพังผิดต่างๆ ในปอด ทำให้ปอดแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ไม่ดีเท่าเดิม ซึ่งอาการที่แสดงออกคือ หายใจได้ไม่เต็มปอด เป็นโควิดแล้วเหนื่อยง่าย ไม่สดชื่น ไอเรื้อรังแม้ว่าจะหายจากโควิดแล้วก็ตาม
ภาวะลองโควิด (Long COVID) สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีความกังวลเกี่ยวกับอาการของตนเองว่าจะมีอาการรุนแรง แรงร้าย หรือมีภาวะแทรกซ้อนหรือไม่ นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายที่รักษาตัวในห้อง ICU สามารถเกิดอาการผิดปกติทางจิตใจหลังจากประสบสถานการณ์กระทบกระเทือนจิตใจรุนแรง ได้ (Post-traumatic stress disorder : PTSD)
โดยจากการเก็บข้อมูลของผู้ป่วยในต่างประเทศพบว่า 1 ใน 4 ของผู้ที่หายจากโควิด จะพบความผิดปกติด้านจิตใจ ได้แก่ ภาวะวิตกกังวล ภาวะนอนไม่หลับ และปัญหาด้านอารมณ์ ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจจะพบหลายอาการร่วมกัน
ภาวะอักเสบทั่วร่างกายในเด็ก ภาวะลองโควิดในเด็ก ภาวะมิสซี (MIS-C) หรือที่การแพทย์เรียกว่า Multisystem Inflammatory Syndrome in Children เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับเด็กและวัยรุ่น ซึ่งแตกต่างจากภาวะลองโควิด (Long COVID) ทั่วไป
โดยจะมีการอักเสบในระบบร่างกายทั่วทั้งร่างกาย และอาจมีอาการรุนแรงจนต้องเข้ารักษาที่ห้อง ICU นอกจากนี้สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนจนอาจทำให้เสียชีวิตได้
ภาวะลองโควิดในเด็ก หรือ อาการอักเสบหลายระบบในเด็กเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่สูงผิดปกติ อาจมีอาการคล้ายโรคคาวะซากิ โดยภาวะอักเสบทั่วร่างกายในเด็กมักทำให้เกิดความผิดปกติในหลายระบบทั่วทั้งร่างกาย ได้แก่
ภาวะลองโควิดในเด็กมักพบหลังหายจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 2 - 6 สัปดาห์ ซึ่งในประเทศไทยภาวะลองโควิดในเด็ก ยังไม่ค่อยพบมากนัก
จากรายงานพบว่าภาวะลองโควิดในเด็ก และวัยรุ่นมีโอกาสเกิดเพียง 0.14% เท่านั้น ถือเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างน้อย แต่อย่างไรก็ตาม เด็กที่เคยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้ปกครองควรสังเกตอาการและดูแลลูกหลานอย่างใกล้ชิด หากมีอาการควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาโดยทันที
ในปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนสามารถช่วยป้องกันภาวะลองโควิด (Long COVID) ได้ แต่มีรายงานพบว่าผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะลองโควิด มีอาการดีขึ้นหลังได้รับการฉีดวัคซีน นอกจากนี้การฉีดวัคซีนสามารถช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะลองโควิด อาการความรุนแรงของภาวะลองโควิดได้
สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 หรือเพิ่งหายจากภาวะลองโควิด สามารถเข้ารับวัคซีนได้ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้ดังนี้
ผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน
ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว
ทั้งนี้ผู้ที่เคยป่วยโควิด-19 มาก่อน สามารถเข้ารับวัคซีนได้ตามปกติ ไม่มีผลอันตรายเพิ่มขึ้นจากการรับวัคซีน แต่หากอยู่ในระหว่างระยะกักตัว ไม่แนะนำให้รับวัคซีน ควรรอให้พ้นระยะกันตัวไปก่อน
วิธีการป้องกันภาวะลองโควิด (Long COVID) ที่ดีที่สุดคือการไม่ติดเชื้อโควิด-19 ควรฉีดวัคซีนเพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อโควิด-19 บรรเทาความรุนแรง และลดโอกาสการเกิดภาวะลองโควิด สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่อยู่ในพื้นที่สาธารณะ ล้างทำความสะอาดมือบ่อยๆ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ และรักษาระยะห่างจากบุคคลอื่น 1.5 -2 เมตร
สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อนแล้ว คงเกิดข้อสงสัยว่าแล้วจะรักษาอาการลองโควิดได้ยังไง หากมีภาวะลองโควิดควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย และรับการรักษาโดยทันที ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อบรรเทาอาการ
สำหรับผู้ที่มีอาการลองโควิด (Long COVID) และได้รับการตรวจร่างกาย พร้อมทั้งการวินิจฉัยจากแพทย์แล้ว ควรปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อบรรเทาอาการรุนแรงที่เกิดขึ้น
เมื่อหายป่วยจากโรคโควิด-19 แล้ว ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ปลา ถั่วชนิดต่างๆ เพื่อซ่อมแซม และสร้างเสริม เนื้อเยื่อ เซลล์ต่างๆ ที่ถูกทำลาย
นอกจากนี้การรับประทานอาหารประเภทแป้งไม่ขัดสี สามารถช่วยลดอัตราการดูดซึมน้ำตาลได้ เนื่องจากน้ำตาลมีส่วนเพิ่มทำให้การอักเสบรุนแรงกว่าเดิม ที่สำคัญผู้ป่วยภาวะลองโควิดควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกายของตนเอง
สำหรับผู้ป่วยภาวะลองโควิด ไม่แนะนำให้ออกกำลังกายหนักหรือหักโหมมากเกินไป ทันทีหลังจากที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากปอดและอวัยวะอื่นๆในร่างกาย อาจยังมีส่วนที่เสียหายอยู่ และไม่พร้อมใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ การหักโหมออกกำลังกายมากเกินไปสามารถทำให้อาการต่างๆ แย่ลงได้
แนะนำสำหรับผู้ที่เพิ่งหายจากโควิด-19 หรือ ภาวะลองโควิด ควรเริ่มออกกำลังกายจากท่าเบาๆ เน้นการเคลื่อนไหวช้าๆ เพื่อให้ปอดไม่ทำงานหนักจนเกินไป และไม่ควรรีบหักโหมออกกำลังกายหนักโดยเด็ดขาด
ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีอาการปอดอักเสบรุนแรงขณะที่ติดเชื้อโควิด-19 ควรได้รับการดูแลต่อเนื่องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อบรรเทาอาการและฟื้นฟูร่างกายจากภาวะลองโควิด
สำหรับผู้ป่วยที่ความเครียดอ่อนล้าจากการปัญหานอนไม่หลับสะสมตั้งแต่ติดเชื้อ สามารถปรึกษาจิตแพทย์เพื่อพูดคุย ฟื้นฟูจิตใจ และหาทางออกให้สภาพจิตใจกลับมาเป็นปกติเหมือนก่อนหน้านี้
สำหรับผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ควรตรวจสุขภาพเพื่อเช็คว่าร่างกายได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อโควิด-19 หรือที่เรียกว่า ลองโควิด (Long COVID) เนื่องจากภาวะลองโควิดสามารถส่งผลเสียให้แก่ร่างกายในระยะยาวได้ โดยทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์มีโปรแกรมตรวจสุขภาพ Long COVID และ โปรแกรมฟื้นฟูร่างกายเสริมประสิทธิภาพให้ร่างกายโดยการเติมวิตามินให้ร่างกาย มีรายละเอียดดังนี้
1. โปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพและเสริมประสิทธิภาพร่างกายด้วยการให้วิตามินทางเส้นเลือด
โปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพสำหรับผู้ที่เคยโควิดเชื้อ-19 และรักษาหายดีแล้ว โดยโปรแกรมนี้เป็นการเติมวิตามินให้ร่างกายโดยผ่านทางเส้นเลือด ผู้ที่เคยติดโควิด-19 ที่รู้สึกไม่มั่นใจ และรู้สึกร่างกายไม่แข็งแรงเท่าตอนก่อนติดเชื้อโควิด–19 สามารถเติมวิตามินให้ร่างการเพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรง โดยมีรายละเอียดดังนี้
2. โปรแกรมตรวจสุขภาพ Long COVID 2022
สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 และรักษาหายดีแล้ว หากต้องการตรวจสุขภาพเพื่อเช็คว่าร่างกายของคุณมีความผิดปกติที่เข้าข่ายภาวะลองโควิด (Long COVID) หรือไม่ หรือหากมีอาการผิดปกติหลังจากที่รักษาโรคโควิด-19 หายดีแล้ว แต่ยังมีอาการอ่อนเพลีย หายใจได้ไม่เต็มปอด สมาธิสั้น และอาการอื่นๆ ที่เข้าข่ายภาวะลองโควิด
โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีโปรแกรมตรวจสุขภาพ Long COVID 2022 นอกจากจะได้ตรวจสุขภาพเช็คร่างกายของคุณว่าเข้าข่ายภาวะลองโควิดหรือไม่? ยังจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อฟื้นฟูให้ร่างกายกลับมาปกติโดยเร็ว โดยมีรายละเอียดดังนี้
อาการลองโควิดนั้นอาจจะไม่ได้เกิดกับผู้ป่วยทุกคน ในผู้ป่วยบางรายเมื่อหายจากการติดเชื้อโควิดแล้วอาจจะไม่ลงเหลืออาการหลังโควิดไว้เลยก็ได้ แต่ในทางกลับกันผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการผิดปกติลงเหลืออยู่แตกต่างกันไปตั้งแต่ช่วง 1 - 3 เดือนก็เป็นไปได้
การรักษาอาการลองโควิดนั้นไม่ได้มียาที่รักษาให้หายได้ทันที จะค่อย ๆ ฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยไปตามอาการที่ผู้ป่วยมี อย่างเช่น การรับประทานอาหารเสริม รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ หรือออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อเสริมสร้างร่างกาย เพราะหลักสำคัญในการบรรเทาอาการลองโควิดก็คือการรักษาและฟื้นฟูร่างกายให้กลับมามีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงดังเดิม
ภาวะลองโควิด หรือ Long COVID คือ อาการที่เกิดขึ้นหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 โดยผู้ป่วยบางรายเมื่อรักษาหายแล้ว แต่ยังคงมีอาการผิดปกติบางอย่างคงอยู่ ซึ่งเมื่อพบว่าตนเองเข้าข่ายภาวะลองโควิด ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย และรับการรักษาโดยทันที เพื่อบรรเทาอาการผิดปกติต่างๆที่เกิดขึ้น เนื่องจากภาวะลองโควิดส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวัน และหากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดความรุนแรงได้
หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หายใจไม่เต็มปอด กล้ามเนื้ออ่อนแรง ภาวะสมองล้า หรือภาวะซึมเศร้าหลังจากติดเชื้อโควิด-19 สามารถติดต่อสอบถามกับทีมแพทย์และเข้ารับการตรวจภาวะลองโควิดที่โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ได้ผ่านทางไลน์ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)