ไทรอยด์เป็นพิษ คืออะไร? ทำความรู้จักโรคและวิธีสังเกตอาการด้วยตัวเอง!
ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism, Overactive Thyroid) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินความจำเป็น ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์โต ระบบเผาผลาญมีปัญหา ฯลฯ
การตรวจสมอง เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองความผิดปกติหรือโรคต่าง ๆ โดยในปัจจุบันมีการใช้เครื่อง MRI (Magnetic Resonance Imaging) ในการตรวจสุขภาพสมอง ซึ่ง MRI จะเป็นการใช้คลื่นสนามแม่เหล็ก ไม่จำเป็นต้องใช้รังสี ภาพมีความคมชัด ใกล้เคียงกับอวัยวะจริง ดังนั้น การตรวจสแกนสมองด้วย MRI จึงเป็นวิธีการตรวจที่ปลอดภัยและแม่นยำมากที่สุดในขณะนี้
ในบทความนี้ จะแนะนำถึงข้อดีของการตรวจสมองด้วย MRI พร้อมขั้นตอนการเตรียมตัว รวมถึงเหตุผลว่านอกจากการตรวจสุขภาพประจำปีแล้ว ทำไมเราถึงต้องตรวจคลื่นสมองด้วยเช่นกัน
สารบัญบทความ
การตรวจสมอง เป็นวิธีการวินิจฉัยโรคที่ให้ผลลัพธ์ชัดเจน ตรงจุด และเป็นวิธีที่สามารถหาสาเหตุได้อย่างแม่นยำมากกว่าการตรวจเพียงการซักปรุะวัติเท่านั้น
โปรแกรมการตรวจสมองนั้น จะเป็นการแสดงภาพของเนื้อเยื่อและอวัยวะอื่น ๆ บริเวณสมอง รวมถึงเส้นประสาท หลอดเลือดต่าง ๆ ซึ่งแพทย์จะสามารถทราบและเห็นถึงความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว ทำให้วินิจฉัยถึงโรคได้ และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
เมื่อไรที่จำเป็นจะต้องรับการตรวจสมอง? นอกจากผู้ป่วยที่เกิดอุบัติเหตุที่อาจส่งผลกระทบต่อสมองแล้ว อาการเหล่านี้ตั้งแต่เล็กน้อยจนไปถึงอาการที่ส่งผลต่อร่างกายอย่างไม่ปกติ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสมองเช่นกัน เช่นอาการดังต่อไปนี้
การตรวจสมองด้วย MRI ดีอย่างไร? ข้อดีของการตรวจสมองด้วยเครื่อง MRI มีดังนี้
ตรวจสมองด้วย MRI ต่างกับการตรวจด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography Scan) หรือ CT Scan อย่างไร? ปัจจุบันการตรวจความผิดปกติของอวัยวะภายในต่าง ๆ ก็มักจะใช้ทั้งสองเทคโนโลยีนี้ในการตรวจขึ้นอยู่กับผู้รับการรักษา หรือความจำเป็นในการเลือกเทคโนโลยีการตรวจ ทั้งสองแบบนี้มีความแตกต่างกันดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
MRI ไม่ต้องใช้รังสีในการตรวจสมอง แต่ใช้คลื่นแม่เหล็กซึ่งเป็นการสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าบริเวณรอบตัวของผู้รับการตรวจ โดยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้ยังไม่พบผลกระทบต่อสุขภาพ จึงเป็นวิธีที่ปลอดภัยมากกว่า ในส่วนของ การใช้ CT สแกนสมองนั้น จะมีการใช้แสงเอกซเรย์ฉายลงบนตัวผู้รับการตรวจเพื่อให้เกิดเงาภาพ ซึ่งรังสีเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อบางจุดได้
การตรวจสมองด้วย MRI จะไม่มีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบของสารเพิ่มความชัดของภาพ ซึ่งไม่ทำให้เกิดผลกระทบกับไต ในขณะที่การทำ CT Scan จะมีการฉีดสารทึบแสง โดยในสารนี้จะมีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดพิษกับไตได้ ดังนั้นในผู้รับการตรวจที่มีประวัติโรคไต จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษมากกว่าหากตรวจด้วย CT Scan
MRI นั้นจะเหมาะกับการตรวจเนื้อเยื่ออ่อน เนื่องจากผลแสดงภาพของ MRI สามารถแยกความแตกต่างของเนื้อเยื่อได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้แล้วการใช้คลื่นสนามแม่เหล็กของ MRI จะมีการตรวจจับการเคลื่อนที่โปรตอนของน้ำ ซึ่งอวัยวะที่มีส่วนประกอบของน้ำมากก็จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี ในขณะที่กระดูกนั้นมีส่วนประกอบของน้ำน้อย ดังนั้น CT Scan จึงเหมาะกับการตรวจกระดูก
การตรวจ CT Scan จะมีระยะเวลาที่สั้นกว่าตรวจด้วย MRI โดย CT Scan นั้นใช้เวลาในการตรวจประมาณ 10-15 นาที ในขณะที่ MRI ใช้เวลาประมาณ 30-90 นาที
การตรวจคลื่นสมองด้วย MRI นอกจากจะทราบความผิดปกติหรือโรคที่มีสาเหตุมาจากสมองแล้ว ยังสามารถทราบโรคอื่น ๆ ได้อีกด้วย ดังนี้
หากจะเข้ารับการตรวจสมองด้วย MRI ควรจะต้องมีการเตรียมตัวก่อนล่วงหน้า ดังนี้
การตรวจสมองด้วย MRI มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
การตรวจสมองนั้น ขั้นตอนไม่เยอะและยุ่งยากอย่างที่คิด ทั้งนี้การตรวจสมองด้วย MRI เป็นวิธีที่ปลอดภัย วินิจฉัยโรคได้หลากหลาย รวดเร็วและแม่นยำ หากมีอาการปวดหัว หรือเกิดความผิดปกติบนร่างกายอย่างต่อเนื่อง ควรเข้ารับการตรวจสมอง เพื่อให้ทราบถึงโรคและวางแผนการรักษาได้ทันท่วงที
นอกจากนี้ การตรวจสมองก็เป็นวิธีการตรวจสุขภาพที่ดีอย่างหนึ่ง เพื่อที่จะได้วางแผนดูแลสุขภาพ หรือป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต รวมถึงท่านใดที่วางแผนสร้างครอบครัว เพิ่มการตรวจสมองเป็นการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานก็ได้เช่นกัน
เพราะสุขภาพของคุณเป็นเรื่องสำคัญ ให้โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ดูแล สอบถามค่าบริการตรวจ MRI สมอง ราคาค่าใช้จ่าย หรือปรึกษาการตรวจสมอง ติดต่อ :
References
Cleveland Clinic Medical Professional. (2022, September 5). Brain MRI: What It Is, Purpose, Procedure & Results. Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/diagnostics/22966-brain-mri
Head MRI Information. (2024, February 19). Mount Sinai - New York. https://www.mountsinai.org/health-library/tests/head-mri
Mayo Clinic Staff. (2023, September 9). MRI. Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/mri/about/pac-20384768
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)