ศูนย์รังสีวิทยา

ศูนย์รังสีวิทยา

ศูนย์รังสีวิทยา โรงพยาบาลสมิติเวชไชน่าทาวน์ ให้บริการตรวจทางรังสี คลื่นเสียงความถี่สูงและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมถึงการรักษาด้วยรังสีร่วมรักษา มีโปรแกรมการตรวจที่หลากหลาย เช่น การตรวจทั้งร่างกาย การตรวจโรคหลอดเลือดหัวใจ การตรวจไต การตรวจกระดูก/ปอด/ต่อมไทรอยด์/ตับ/กระเพาะอาหารและลำไส้ เป็นต้น ซึ่งรายงานผลโดยรังสีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
 
ผู้ป่วยที่จะเข้ารับการตรวจต้องได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์ พร้อมใบส่งตัวเพื่อเข้ารับการตรวจทางรังสีทุกครั้ง นอกจากนี้  ยังเปิดให้บริการศูนย์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์เส้นเลือดหัวใจ (Advanced Cardiac Imaging Center) เพื่อให้บริการตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดหัวใจโดยเฉพาะอีกด้วย

บริการของศูนย์รังสีวิทยาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่ม 1 : บริการงานทางด้านรังสีวิทยาวินิจฉัย (Diagnostic Radiology)
 

  1. ถ่ายภาพรังสีทั่วไป (General Radiography)
  2. การตรวจอวัยวะภายในด้วยระบบดิจิตอล
    • ตรวจระบบทางเดินอาหาร:
    • ตรวจหลอดอาหาร (Esophagogrnm)
    • กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น (Upper GI Study)
    • ตรวจกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กทั้งหมด (Gi follow through)
    • ตรวจลำไส้ใหญ่ (Barium Enema)

• ตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ Intravenous Pyelogram (IVP),
  Voiding Cystourethrography (VCUG)
• ตรวจมดลูก/รังไข่ (Hysterosalpingography)
• ตรวจทางช่องที่ผิดปกติต่าง (Fistolography)

  1. การตรวจเอกซเรย์เต้านมด้วยระบบดิจิตอล (Digital Mammography)
  2. การตรวจด้านคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasonography)
  3. การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (64 slice computed tomography)
  4. การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Magnetic Resonance Imaging (MRI)
  5. การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (Cardiac Computed Tomography)
  6. การตรวจหัวใจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiac Magnetic Resonance Imaging)

 
กลุ่ม 2 : บริการงานทางด้านรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษา (Intervention Radiology)
 

  1. การตรวจและรักษาผ่านเส้นเลือดโดยการใช้สายสวน (Vascular Intervention)
    • การตรวจหลอดเลือดแดงในช่องท้อง (Abdominal Angiogram)
    • การตรวจหลอดเลือดของตับ (Hepatic Angiogram)
    • การตรวจหลอดเลือดของไต (Renal Angiogram)

• การตรวจหลอดเลือดแดงในช่องอก (Thoracic Angiogram)

  • การตรวจหลอดเลือดของปอด (Bronchial Angiogram, Pulmonary Angiogram)

• การตรวจหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (Peripheral Vascular Angiogram)
• การตรวจหลอดเลือดดำ (Venogram)
• การรักษา/ขยายหลอดเลือดตีบด้วยบอลลูน หรือใส่ขดลวดขยายหลอดเลือด (Percutaneous
   Transluminal Angioplasty (PTA) and stent Deployment)
• การรักษาโดยการใช้สารหรือวัสดุทางการแพทย์ ไปอุดกั้นทางเดินของเลือดในผู้ป่วยที่มีอาการไอ
  เป็นเลือดหรือเลือดออกในช่องท้อง

  • Embolization of hemoptysis, GI bleeding, Tumor bleeding
  • Transhepatic Oily Chemoembolization (TOCE)

• การใส่เครื่องกรองลิ่มเลือดที่ตำแหน่งเส้นเลือดใหญ่ (IVC filter placement)
• การรักษาเส้นลือดขอดโดยใช้คลื่นวิทยุ (Endovenous Radiofrequency Ablation)
 

  1. การตรวจและรักษาที่ไม่ผ่านทางหลอดเลือดโดยใช้เครื่องมือทางรังสี เช่น Ultrasound, Fluoroscopy หรือ CT Scan ร่วมด้วย (Non-vascular Intervention)
    • การเจาะตัดชิ้นเนื้อในร่างกายผ่านทางผิวหนัง (Percutaneous Core Needle Biopsy) เช่น
    • การเจาะตัดชิ้นเนื้อของก้อนในปอด (Lung Biopsy)
    • การตัดเจาะชิ้นเนื้อของก้อนในช่องท้อง (Abdominal mass Biopsy)
    • การเจาะตัดชิ้นเนื้อของก้อนในเต้านม (Breast Biopsy)

• การเจาะดูดของเหลวภายในร่างกายผ่านทางผิวหนัง (Percutaneous Aspiration)
• การใส่สายระบายที่ไต (Percutaneous Nephrostomy)
• การใส่สายระบายของเหลวในร่างกาย เช่น หนอง (Percutaneous Drainage)
• การใส่สายระบายน้ำดีในตับ (Percutaneous Transhepatic Biliary Drainage)
• การรักษามะเร็งตับโดยใช้คลื่นความร้อน (Radiofrequency Ablation)

pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​