ตาปลาที่เท้า เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง
ตาปลาที่เท้าเป็นภาวะที่ผิวหนังแข็งตัวเป็นก้อนกลมนูน มีจุดดำตรงกลาง เกิดจากแรงกดทับซ้ำ ๆ ทำรู้สึกให้เจ็บเมื่อเดิน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสม
เป็นโควิดแล้วเป็นอีกได้ไหม? คำถามคาใจใครหลายๆ คนในช่วงที่สถาณการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย บางคนติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปรอบหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังมีการแพร่ระบายของเชื้อสายพันธ์ุใหม่มาเรื่อยๆ จนเกิดเป็นคำถามที่ว่าติดโควิดแล้วติดอีกได้ไหม วันนี้โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ จะมาให้คำตอบและคำแนะนำในหัวข้อนี้
สารบัญบทความ
สำหรับคำถามที่ว่า เป็นโควิดแล้วเป็นอีกได้ไหม เพิ่งหายจากโควิด จะติดอีกไหม คำตอบคือ มีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้ ในเชื้อไวรัสโควิด-19 ก่อนที่จะเกิดโควิดสายพันธุ์โอมิครอน พบว่าผู้ป่วยโรคโควิด-19 จะไม่มีการติดเชื้อซ้ำ ภายใน 4 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน แต่หลังจากนั้นมีโอกาสที่จะติดเชื้อซ้ำได้ เนื่องจากภูมิต้านทานในร่างกายตก กลับมาเทียบเท่ากับผู้ที่ไม่เคยได้รับเชื้อโควิด-19 มาก่อน ทำให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อเท่ากัน
ส่วนข้อมูลการติดเชื้อซ้ำในโควิดสายพันธุ์โอมิครอน จากการศึกษาข้อมูลทั่วโลกพบว่า มีการติดเชื้อซ้ำได้ภายใน 1-2 เดือนแรก มากถึง 10-20% มีการศึกษาดูค่า CT (Cycle threshold) หรือ ค่าการเพิ่มของสารพันธุกรรมไวรัสโควิด จากการตรวจ RT-PCR ผลการศึกษกพบว่า ค่า CT (Cycle threshold) ในผู้ป่วยลดลง และมีอาการขึ้นมาใหม่ จากเดิมที่ผู้ป่วยไม่มีไข้ กลับมามีไข้สูงอีกครั้ง
หากการติดเชื้อครั้งที่ 1 มีปริมาณเชื้อไวรัสน้อยและมีอาการของโรคไม่รุนแรง อาจจะมีระดับภูมิคุ้มกันที่ไม่สูงพอที่จะต้านเชื้อไวรัส เมื่อไปสัมผัสเสี่ยงกับผู้ที่มีปริมาณเชื้อไวรัสมาก จึงอาจติดโควิดรอบสองได้
ผู้ที่หายดีจากการติดเชื้อโควิดรอบแรก หากระบบการทำงานของภูมิคุ้มกันไม่ได้ดีนัก ภูมิขึ้นไม่เยอะ หรือภูมิลดอย่างรวดเร็วอาจ ก็สามารถติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 ได้ ส่วนคำถามที่ว่าติดโควิดแล้วมีภูมิกี่เดือน โดยปกติแล้ว ระดับภูมิคุ้มกันควรจะสามารถป้องกันได้อย่างน้อย 3-6 เดือน
เชื้อไวรัสคนละสายพันธุ์กัน อาจจะทำให้ภูมิคุ้มกันป้องกันได้ไม่ดีนัก เช่น ในการติดเชื้อครั้งที่ 1 เป็นสายพันธุ์ย่อย BA.1 ของ Omicron (โอมิครอน) ต่อมาติดสายพันธุ์ย่อยที่สอง คือ BA.2 ภูมิคุ้มกันในการต้าน Omicron อาจต้านสายพันธุ์ย่อย BA.2 ได้ไม่ดีนัก จึงมีโอกาสติดเชื้อครั้งที่ 2 ได้
กลุ่มคนที่เสี่ยงติดโควิดซ้ำได้ มีดังนี้
1.ผู้ที่ยังไม่ได้เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19
2.ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ
3.ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ
4.ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “หมอยง” กล่าวผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัวของตนว่า การติดเชื้อโควิด-19 ครั้งแรกจะทำให้มีภูมิต้านทานระดับหนึ่ง เมื่อติดเชื้อซ้ำในครั้งที่สอง อาการจะลดลงกว่าตอนที่ติดเชื้อในครั้งแรก เช่นเดียวกับกับโรคทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น โรคหวัด RSV ไข้หวัดใหญ่ เมื่อติดครั้งแรกจะมีอาการมากที่สุด ในครั้งต่อๆ ไป อาการของโรคจะลดลงเรื่อยๆ
อีกหนึ่งข้อมูลจากการศึกษาวิจัยในประเทศกาตาร์ เปรียบเทียบผู้ที่ติดโควิด-19 รอบ 2 จำนวน1,304 คน กับ ผู้ที่ติดโควิดรอบแรก 6,520 คน พบว่า ผู้ที่ติดเชื้อซ้ำเข้าโรงพยาบาลน้อยกว่าผู้ที่ติดเชื้อครั้งแรกถึง 90% และผู้ที่ติดเชื้อเป็นครั้งที่ 2 ไม่มีใครต้องเข้าห้องฉุกเฉินหรือเสียชีวิตเลย
สิ่งที่ควรทำเมื่อตรวจพบว่าตัวเองติดเชื้อโควิด-19 อีกครั้งคือ การทำ Home Isolation อยู่บ้านกักตัว 14 วัน ให้หายโควิด ไม่แพร่เชื้อไปยังครอบครัว คนรอบตัว ผู้อื่นในสังคม ข้อปฏิบัติในการทำ Home Isolation มีดังนี้
1.ไม่ออกจากที่พัก อยู่ในห้องส่วนตัวตลอดเวลา
2.ห้ามให้บุคคลอื่นมาเยี่ยม
3.สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
4.หากอยู่ในที่พักอาศัยร่วมกับบุคคลอื่น ต้องรักษาระยะห่างไม่ต่ำกว่า 2 เมตร และ
5.ไม่รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
6.แยกของใช้ส่วนตัวกับผู้อื่น
7.แยกซักเสื้อผ้า และเครื่องนอน ด้วยน้ำและสบู่ หรือผงซักฟอก
8.ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งหลังสัมผัสของใช้ต่างๆ
9.ใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่นที่อาศัยอยู่ในที่พัก
10.หากแยกห้องน้ำไม่ได้ ให้ใช้ห้องน้ำเป็นคนสุดท้ายในบ้าน และทำความสะอาดหลังใช้เสมอ
11.แยกขยะ โดยมัดปากถุงให้แน่น
วิธีป้องกันการเป็นโควิดซ้ำ รายละเอียดไม่ต่างจากการป้องกันตัวจากโรคโควิด-19 มากนัก เพราะการระวังตัวอยู่เสมอเป็นวิธีการป้องกันเชื้อไวรัสได้ดีที่สุด สำหรับการป้องกันการเป็นโควิดซ้ำ มีรายละเอียดเพิ่มเติมจากปกติดังนี้
ถึงแม้การติดเชื้อโควิด-19 รอบ 2 อาการจะไม่รุนแรงเท่าการติดเชื้อโควิด-19 ในรอบแรก แต่ก็ต้องคำนึงถึงสภาพร่างกายที่อาจเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น อาการปวดศีรษะ ความจำแย่ลง ผมร่วง จมูกไม่ได้กลิ่น สมาธิสั้นลง นอนหลับยาก เป็นต้น นอกเหลือจากอาการเหล่านี้แล้ว สิ่งที่ควรคำนึงถึงด้วยคือ ภาวะลองโควิด สภาพร่างกาย ภูมิคุ้มกันหลังติดเชื้อ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิดซ้ำควรตรวจภาวะลองโควิด เพื่อเช็คสภาพร่างกายของตัวเอง
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 เป็นรอบที่สองควรตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิดเพื่อเช็คว่ามีภาวะลองโควิดหรือไม่ ทางโรงพยาบาลสมิติเวชไชน่าทาวน์มีโปรแกรมตรวจสุขภาพ Long COVID โดยมีรายละเอียดดังนี้
นอกเหนือไปจากการตรวจสุขภาพร่างกายว่าเข้าข่ายภาวะลองโควิดหรือไม่แล้ว ทางโรงพยาบาลสมิติเวชไชน่าทาวน์ ยังมี โปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพและเสริมประสิทธิภาพร่างกายด้วยการให้วิตามินหลังติดโควิดทางเส้นเลือด อีกด้วย สามารถอ่านรายละเอียดของโปรแกรมได้ตามรูปภาพด้านล่างนี้
พึ่งหายจากโควิด จะติดอีกไหม? คำตอบของคำถามนี้คือ มีโอกาสติดอีก หากมีภูมิต้านทานต่ำ สัมผัสผู้ติดเชื้อใกล้ชิด หรือได้รับเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ อย่างไรก็ตาม อาการของผู้ที่ติดโควิดซ้ำสองจะไม่รุนแรงเท่าผู้ที่ติดโควิดครั้งแรก แต่ก็อาจสภาพร่างกายเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น นอนหลับยาก สมาธิแย่ลง ผมร่วง ทั้งนี้ควรตรวจสุขภาพเพื่อเช็คอาการลองโควิด
โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์มีโปรแกรมตรวจสุขภาพ Long COVID และโปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพและเสริมประสิทธิภาพร่างกายด้วยการให้วิตามินทางเส้นเลือด หากสนใจหรือมีข้อสงสัยเรื่องโควิดติดแล้วติดอีกได้ไหมเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามกับทีมแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)