บทความสุขภาพ

สังเกตอาการโควิดระลอกใหม่ เป็นอย่างไร รู้ไว้ ปลอดภัย ห่างไกลโควิด

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงเป็นโรคติดต่อภายในสังคม มียอดผู้ติดเชื้อสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งเกิดการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 เกิดเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่หรือสายพันธุ์ย่อยที่มีการแพร่กระจายของเชื้อได้เร็วยิ่งกว่าเดิม อาการโควิดรอบใหม่ มีจะติดง่ายขึ้น แต่มีความรุนแรงน้อยลงจริงไหม? อาการโควิดรอบ 3 เป็นอย่างไร หาคำตอบได้ในบทความนี้


สารบัญบทความ
 


อาการโควิดรอบใหม่

อาการโควิดรอบใหม่ที่แพร่ระบาดในไทยปัจจุบันคือโควิดสายพันธุ์ย่อย BA.5 ซึ่งเป็นเชื้อกลายพันธุ์ของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน พบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ย่อย BA.5 เป็นครั้งแรกที่ประเทศแถบแอฟริกาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 หลังจากนั้นจึงแพร่ระบาดออกเป็นวงกว้างทั่วโลก

เชื้อโควิดสายพันธุ์ย่อย BA.5 เป็นสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวังจากประกาศขององค์กรอนามัยโลก (WHO) เนื่องจากแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็วกว่าโควิดสายพันธุ์อื่นๆ คาดว่าจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักของการแพร่ระบาดทั่วโลก ทั้งยังแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้ดีในเซลล์ปอด อาการโอมิครอนเสี่ยงปอดอักเสบมากยิ่งขึ้น นอกไปจากนี้ อาการโควิดระลอกใหม่ของเชื้อโควิดสายพันธุ์ย่อย BA.5 ยังหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันเก่ง สามารถติดเชื้อซ้ำได้ง่าย  


รู้จักอาการโควิดแต่ละสายพันธุ์

รู้หรือไม่ว่า ในการระบาดของโควิดรอบใหม่ ทำให้มีเชื้อโควิดกลายพันธุ์จากที่ต่างๆ แพร่ระบาดหลายสายพันธุ์ อาการโควิดสายพันธุ์ต่างๆ ที่ระบาดในประเทศไทยแสดงอาการไม่เหมือนกัน อาการโควิด 19 เบื้องต้นของโควิดระลอกใหม่ มีดังนี้

 

1. โควิดสายพันธุ์แกมม่า

โควิดสายพันธุ์แกมม่า พบครั้งแรกในประเทศบราซิล เป็นสายพันธุ์ที่มีการแพร่กระจายของเชื้อง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม มีอัตราการแพร่กระจายของเชื้อเร็วกว่าเดิมถึง 2.5 เท่า ทำให้ประสิทธิภาพวัคซีนในการป้องกันไวรัสลดลง และมีโอกาสติดเชื้อซ้ำ นับว่ารุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ

 

2. โควิดสายพันธุ์อัลฟ่า

โควิดสายพันธุ์อัลฟ่า พบครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ ในเมืองเคนต์ แพร่ระบาดเข้ามาในไทยช่วงเดือนมกราคม 2564 อาการเบื้องต้นของโควิดสายพันธุ์อัลฟ่า ได้แก่ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดศีรษะ ไข้สูง 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป หนาวสั่น หอบเหนื่อย อาเจียนหรือท้องเสีย และการรับรสหรือได้กลิ่นผิดปกติ โควิดสายพันธุ์อัลฟ่าแพร่เชื้อง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น 40-70% เลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดี มีโอกาสเจ็บป่วยและเสียชีวิตสูงขึ้น 30% 

 

3. โควิดสายพันธุ์เบต้า

โควิดสายพันธุ์เบต้า พบครั้งแรกที่ประเทศแอฟริกาใต้ ในอ่าวเนลสันแมนเดลา แพร่ระบาดเข้ามาในไทยช่วงเดือนมิถุนายน 2564 อาการคือ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ท้องเสีย ตาแดง มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง นิ้วมือหรือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี เชื้อสายพันธุ์เบต้ามีกลายพันธุ์ในตำแหน่งสำคัญ ทำให้ผู้ที่เคยติดเชื้อแล้วสามารถติดโควิดรอบ 2 ได้

 

4. โควิดสายพันธุ์เดลต้า

โควิดสายพันธุ์เดลต้า พบครั้งแรกที่ประเทศอินเดียก่อนแพร่ระบาดไปทั่วโลก มีอาการทั่วไปคล้ายหวัดธรรมดาคือ ปวดศีรษะ มีน้ำมูก เจ็บคอ แต่สามารถรับรสชาติได้ปกติ โควิดสายพันธุ์เดลต้าสามารถกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดลต้า พลัส ได้ ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายกว่าเดิม 

 

5. โควิดสายพันธุ์โอมิครอน

โควิดสายพันธุ์โอมิครอนเป็นสายพันธุ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เป็นสายพันธุ์ระดับน่ากังวล (VOC) อาการเบื้องต้นคือ ไอมาก เจ็บคอ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ลิ้นรับรสได้ดี จมูกยังได้กลิ่น ไม่ค่อยมีไข้ อย่างไรก็ตามสายพันธุ์นี้มีการกลายพันธุ์ส่วนโปรตีนหนามมากถึง 32 ตำแหน่ง หลบภูมิต้านทานได้ดีมาก ทำให้แพร่กระจายเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว


อาการโควิดระลอกใหม่ เป็นอย่างไร

โควิดสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่กำลังระบาดในประเทศไทยแพร่กระจายเชื้อได้เร็วกว่าเดิม รวมถึงมีอาการแตกต่างจากอาการแรกเริ่มของโควิดสายพันธุ์ก่อนๆ อาการโควิดระลอก 3 อาการของคนเป็นโควิดระลอกใหม่ที่หากพบ ให้สังเกตตัวเองว่าอาจติดโควิดรอบใหม่ มีดังนี้

 

อาการโควิดระลอกใหม่ต่างจากเดิมอย่างไร

อาการโควิดเดิม
 

  • มีไข้
  • ไอ
  • เจ็บคอ
  • น้ำมูกไหล
  • ลิ้นไม่รับรส
  • จมูกไม่ได้กลิ่น

อาการโควิดระลอกใหม่
 

  • ไม่มีไข้
  • ตาแดง
  • น้ำมูกไหล
  • ผื่นขึ้น
  • ไอแห้ง
  • ปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อย
  • เหงื่อออกมากตอนกลางคืน

อาการโควิดระลอกใหม่ที่ควรพบแพทย์

อาการโควิดรอบใหม่ที่ควรพบแพทย์ ได้แก่

 

  • มีไข้สูง
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ปวดไปถึงกระดูก
  • ไอเยอะขึ้น
  • เจ็บคอ
  • หายใจติดขัด
  • หายใจแล้วรู้สึกแน่นหน้าอก

หากพบอาการเหล่านี้ ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและรักษา เนื่องจากเป็นสัญญาณเตือนว่าอาการโควิดสายพันธุ์ใหม่เริ่มรุนแรงขึ้น ให้รีบแจ้งโรงพยาบาลเพื่อนำตัวผู้ป่วยมาอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที


วิธีรักษาอาการโควิดรอบใหม่

หลังจากทราบว่าตัวเองมีอาการโควิดรอบใหม่ สามารถยคดคำแนะนำดังต่อไปนี้เป็นข้อปฏิบัติได้
 

  • หากมีอาการรุนแรง ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษา
  • หากอาการไม่รุนแรง สามารถทำ Home Isolation อยู่บ้านได้
  • ติดต่อ 1330 กด 14 สายด่วน สปสช. หรือแอดไลน์ สปสช. @nhno หรือกรอกข้อมูลผ่านแบบฟอร์ม https://crmsup.nhso.go.th/ เพื่อรับยารักษาอาการโควิด เช่น ยาแก้ไอ ยาแก้เจ็บคอ โพรไบโอติกส์
  • กักตัว 14 วัน เว้นระยะห่างจากผู้อื่นในสังคม รอบึงสมาชิกในครอบครัว
  • สังเกตอาการเบื้องต้นของตัวเอง ว่าพบผื่นแดงโควิด ปวดเมื่อยตามตัว เหนื่อยหอบง่ายไหม หากมีอาการที่รุนแรงขึ้น เช่น ไอหนักขึ้น หายใจแล้วแน่นหน้าอก ควรรีบพบแพทย์
  • กินยาตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น ฟ้าทะลายโจร ไม่ควรกินเกินวันละ 180 มิลลิกรัม
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • จัดห้องให้อากาศถ่ายเทสะดวก
  • แยกของใช้ส่วนตัว
  • หากจำเป็นต้องอาศัยอยู่ร่วมกับผู้อื่น ให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา จัดเตียงห่างอย่างน้อย 1 เมตร ใช้ห้องน้ำเป็นคนสุดท้ายและทำความสะอาดหลังใช้เสมอ
  • ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์เสมอ

แนวทางป้องกันโควิดระลอกใหม่

โควิดรอบใหม่สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่าโควิดสายพันธุ์ก่อนๆ มาก จึงควรระมัดระวังตัวมากขึ้นกว่าเดิม แนวทางป้องกันโควิดระลอกใหม่ มีดังนี้
 

  • ระวังไม่ให้การ์ดตก สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่ออยู่รวมกับผู้อื่น
  • ใส่หน้ากากอนามัยให้ถูกวิธี โดยสวมให้แนบสนิทกับใบหน้า ขอบของหน้ากากครอบตั้งแต่บริเวณจมูกถึงคาง
  • เปลี่ยนหน้ากากอนามัยบ่อยๆ ไม่ใช้หน้ากากอนามัยซ้ำ
  • ไม่เก็บหน้ากากอนามัยในที่ที่เสี่ยงต่อการสะสมโรค เช่น วางไว้บนโต๊ะขณะรับประทานอาหาร ใส่ในกระเป๋ากางเกง
  • เว้นระยะห่างทางสังคมอยู่เสมอ โดยให้ห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร
  • หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด
  • แยกอุปกรณ์ของใช้ส่วนตัว เช่น ช้อนส้อม ตะเกียบ แก้วน้ำ จากผู้อื่น
  • หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
  • ฉีดวัคซีนให้ครบโดส รวมถึงเข็มกระตุ้น เข็ม 3 และเข็ม 4

การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโควิดรอบใหม่

การฉีดวัคซีนจะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้ สามารถป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หลายสายพันธุ์ การฉีดวัคซีนจะสามารถช่วยป้องกันโควิดรอบใหม่ได้ เนื่องจากภูมิต้านทานโควิด-19 จากสายพันธุ์ก่อนๆ อาจไม่สามารถป้องกันการติดโควิดระลอกใหม่ได้ จึงควรฉีดวัคซีนเพื่อเสริมภูมิต้านทานให้ร่างกาย 

สำหรับผู้ที่เคยติดโควิดแล้ว หลังติดโควิดฉีดวัคซีนจะทำให้ป้องกันโควิดรอบใหม่ได้ดีขึ้น เพราะเชื้อโควิดที่เคยติดกับเชื้อที่กำลังแพร่ระบาดอยู่อาจจะคนละสายพันธุ์กัน รวมถึงภูมิต้านทานที่ร่างกายได้มาจะค่อยๆ ลดลงหลังผ่านไป 3-6 เดือน จึงควรฉีดวัคซีนซ้ำไม่ให้เกิดอาการโควิดรอบใหม่ ผู้ที่ไม่เคยติดโควิดมาก่อนก็ควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นหรือวัคซีนเข็ม 3 เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานด้วยเช่นกัน


ข้อสรุป

อาการโควิดรอบใหม่ในประเทศไทยคือการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ย่อย BA.5 ซึ่งเป็นเชื้อกลายพันธุ์ของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน อาการโควิด 19 เบื้องต้นของโควิดระลอกใหม่ ได้แก่ อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไอ ไข้ ปวดศีรษะ เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ มีน้ำมูก จมูกไม่ได้กลิ่นลิ้นไม่รับรส เป็นต้น อาการโควิดรอบใหม่แพร่กระจายสู่คนในสังคมได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงมีโอกาสติดซ้ำได้ง่ายขึ้น

แนวทางการป้องกันไม่ให้ติดโควิดรอบใหม่ไม่ต่างจากการป้องกันโควิดสายพันธุ์ก่อนๆ มากนัก ที่สำคัญคือต้องระวังตัวไม่ให้การ์ดตก และฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย สำหรับผู้ที่ติดโควิดระลอกใหม่แล้วควรสำรวจตัวเองว่ามีอาการลองโควิดหรือไม่ รวมถึงทำการดูแลตัวเองหลังติดโควิดเพื่อฟื้นฟูร่างกายอีกด้วย

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการโควิดรอบใหม่ ความแตกต่างของอาการแต่ละสายพันธุ์ สนใจโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด หรือโปรแกรมรับวิตามินหลังติดโควิด สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับทีมแพทย์โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
 

แอดไลน์ สมิติเวช ไชน่าทาวน์
โควิดรอบใหม่
 

 

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​