บทความสุขภาพ

ตาปลาที่เท้า เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง

บทความโดย: seoteam seoteam วันที่อัพเดท: 29 พฤศจิกายน 2567

ตาปลาที่เท้า

หากรู้สึกเจ็บที่ฝ่าเท้าทุกครั้งที่เดิน นี่อาจเป็นสัญญาณของโรคตาปลาที่เท้า ซึ่งเกิดได้จากแรงกดทับซ้ำ ๆ หรือเกิดการเสียดสีจนเกิดพังผืดเป็นผิวแข็ง ๆ ขึ้นที่ฝ่าเท้า โดยปัญหานี้มักพบได้บ่อยสำหรับคนที่ต้องยืนหรือเดินเป็นเวลานาน รวมถึงการสวมรองเท้าที่ไม่เหมาะสม แม้ว่าตาปลาที่เท้าจะไม่ได้เป็นอันตราย แต่ก็อาจทำให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ยากมากยิ่งขึ้น 


สารบัญบทความ


ตาปลาที่เท้าคืออะไร

ตาปลาเกิดจาก

ตาปลาที่เท้า เป็นลักษณะอาการที่ผิวหนังแข็งตัวเป็นก้อนนูน และมีจุดดำตรงกลางคล้ายมองผ่าน ๆ คล้ายตาของปลา เมื่อกดจะรู้สึกเจ็บเนื่องจากมีรากที่ฝังลึกลงไปในชั้นผิวหนัง โดยปกติแล้วตาปลาที่เท้ามักพบที่บริเวณฝ่าเท้า ขอบเท้า หรือปลายนิ้วก้อยเท้า แต่ตาปลาก็สามารถเกิดขึ้นที่ส่วนอื่นได้เหมือนกัน เช่น ตาปลาที่มือ หากบริเวณนั้นมีการใช้งานที่ก่อให้เกิดแรงกดทับหรือเสียดสีบริเวณนั้นเป็นประจำ


ตาปลาที่เท้าอันตรายมากแค่ไหน

โดยทั่วไปแล้วโรคตาปลาที่เท้าไม่ได้เป็นอันตรายถึงชีวิตแต่ก็เป็นโรคที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา นอกจากความเจ็บปวดที่ส่งผลต่อการเดินและการทำกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว ยังอาจทำให้เกิดการอักเสบ เลือดออก หรือติดเชื้อได้ 

โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลเบาหวานที่เท้า หรือผู้ที่แผลหายช้ากว่าปกติ อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรงได้ ดังนั้นเมื่อเริ่มมีอาการควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง และหลีกเลี่ยงการรักษาด้วยตนเองที่อาจทำให้เกิดบาดแผลและนำไปสู่การติดเชื้อที่รุนแรงได้


ตาปลาที่เท้าเกิดจากอะไร

สาเหตุของการเกิดตาปลาที่เท้า ที่พบได้บ่อยมีดังนี้

  • รองเท้าที่สวมรัดหรือหลวมเกินไป ไม่พอดีกับเท้า 
  • สวมรองเท้าโดยไม่สวมถุงเท้า อาจทำให้เท้าเสียดสีจนเกิดตาปลาได้
  • เดินไกล หรือยืนนาน ๆ จนเกิดการกดทับ
  • โครงสร้างของเท้าผิดปกติ เช่น นิ้วเท้าหงิกงอ นิ้วเท้างุ้ม

ลักษณะอาการของตาปลาที่เท้า

บางคนอาจพบว่าเท้าเป็นตุ่มแข็ง ๆ กดแล้วเจ็บแบบนี้เป็นตาปลาที่เท้ารึเปล่า? เพื่อให้สังเกตอาการได้ง่ายขึ้น เรามาดูกันว่าอาการของตาปลาที่เท้ามีลักษณะอย่างไรบ้าง

  • มีก้อนกลมนูนแข็งที่ผิวหนังบริเวณเท้า
  • มีจุดสีดำหรือสีน้ำตาลอยู่ตรงกลางก้อนแข็ง ๆ 
  • รู้สึกเจ็บเมื่อถูกกดหรือเมื่อเดิน
  • ผิวหนังบริเวณนั้นหนาและแข็งกว่าปกติ
  • เมื่อกดหรือบีบรอบ ๆ จะรู้สึกเจ็บเหมือนมีหนามแทง
  • บางครั้งอาจมีอาการคันร่วมด้วย
  • เมื่อแช่น้ำอุ่น ผิวหนังส่วนที่แข็งจะนิ่มลง
  • อาการเจ็บจะรุนแรงขึ้นเมื่อเดินหรือยืนเป็นเวลานาน
  • บางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปทั่วเท้าได้
  • มักพบในบริเวณที่รับน้ำหนักมาก เช่น ส้นเท้า หรือใต้นิ้วเท้า

หากพบลักษณะอาการดังกล่าวนี้ เราสามารถประเมินในเบื้องต้นได้ว่าเป็นตาปลาที่เท้า ซึ่งควรดูแลบริเวณตาปลาให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการอักเสบที่อาจเกิดขึ้นได้


วิธีการป้องกันการเป็นตาปลาที่เท้า

สำหรับใครที่กลัวหรือกังวลว่าตัวเองจะเป็นตาปลาที่เท้า เราสามารถป้องกันการเกิดตาปลาที่เท้าได้ไม่ยาก เพียงใส่ใจในการดูแลเท้าและเลือกรองเท้าให้เหมาะสม เราลองมาดูวิธีป้องกันการเป็นตาปลาที่เท้าง่าย ๆ ที่สามารถทำเองได้กัน

  • เลือกรองเท้าที่มีขนาดพอดี ไม่คับหรือหลวมเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน
  • สวมถุงเท้าที่พอดี ไม่รัดแน่นเกินไป
  • ทาครีมบำรุงเท้าเป็นประจำเพื่อให้ผิวนุ่มชุ่มชื้น
  • หลีกเลี่ยงการยืนหรือเดินนาน ๆ โดยไม่พัก
  • ใช้แผ่นรองเท้าเพื่อลดแรงกดที่ฝ่าเท้า
  • ตรวจสอบเท้าเป็นประจำเพื่อสังเกตความผิดปกติ
  • นั่งพักเป็นระยะหากต้องยืนทำงานเป็นเวลานาน
  • แช่เท้าในน้ำอุ่นเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

วิธีการรักษาตาปลาการเป็นที่เท้า

การรักษาตาปลาที่เท้าสามารถทำได้หลายวิธี ตั้งแต่วิธีการรักษาด้วยตนเองง่าย ๆ อย่างการแช่เท้าในน้ำอุ่น 15-20 นาทีเพื่อให้ผิวหนังนุ่ม แล้วค่อย ๆ ขัดด้วยหินขัดเท้าเบา ๆ เพื่อให้ตาปลาบางลง ทาครีมบำรุงเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น หรือใช้แผ่นรองเท้าเพื่อลดแรงกดทับ 

นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาตาปลาที่เท้าด้วยการใช้ยาอย่างการใช้พลาสเตอร์สำหรับรักษาตาปลา ที่มีส่วนผสมของสารละลายกรดซาลิไซลิกที่ช่วยละลายเนื้อตาปลา อย่างไรก็ตามหากตาปลาที่เท้ามีขนาดใหญ่หรือเจ็บมาก แนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการผ่าตาปลา ซึ่งจะเป็นการผ่าตัดเล็ก ๆ เพื่อเอาเนื้อตาปลาออก 

ที่สำคัญเลยก็คือไม่ควรตัดตาปลาเองโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดบาดแผล ติดเชื้อ หรือลุกลามเป็นแผลที่รักษาได้ยาก นอกจากวิธีเหล่านี้แล้วยังมีวิธีการรักษาอื่นในกรณีที่เป็นตาปลาที่เท้ามานานและรักษาด้วยวิธีอื่นไม่หายอย่างการจี้เย็นด้วยไนโตรเจนเหลวหรือการใช้เลเซอร์ ซึ่งจำเป็นต้องทำโดยแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญ


ตาปลาที่เท้า โรคเท้าที่ไม่ควรมองข้าม

เป็นตาปลา

เท้าเป็นอวัยวะสำคัญที่ต้องรับน้ำหนักตลอดทั้งวัน เมื่อมีอาการเท้าด้านแข็ง กดแล้วเจ็บ เป็นผิวนูนขึ้นมา อาจเป็นสัญญาณของตาปลาที่เท้า หากปล่อยไว้อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ 

การรักษาตาปลาที่เท้ามีหลายวิธี ตั้งแต่การดูแลเบื้องต้นด้วยตนเอง ไปจนถึงการรักษาโดยคุณหมอด้วยวิธีการผ่าตัด จี้ด้วยไนโตรเจนเหลว หรือเลเซอร์ สำหรับคนที่กำลังเป็นตาปลาที่เท้าและต้องการปรึกษาแพทย์ สมิติเวช ไชน่าทาวน์ พร้อมให้การดูแลรักษาโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่


References

Dany Paul Baby,MD.. Understanding Corns and Calluses -- the Basics. (2023, April 20). https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/understanding-corns-calluses-basics

Mayo Clinic Staff. Corns and calluses - Diagnosis and treatment. (2024, May 9). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/corns-and-calluses/diagnosis-treatment/drc-20355951

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​