ตาปลาที่เท้า เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง
ตาปลาที่เท้าเป็นภาวะที่ผิวหนังแข็งตัวเป็นก้อนกลมนูน มีจุดดำตรงกลาง เกิดจากแรงกดทับซ้ำ ๆ ทำรู้สึกให้เจ็บเมื่อเดิน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสม
แม้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะลดลงเป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้การแพร่ระบาดยังคงมีต่อเนื่อง และปัจจุบันปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังไม่หมดไป การฉีดวัคซีนโควิด-19 จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อโควิด-19 ในบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับการเกิดโรคโควิด-19 การฉีดวัคซีนโควิด-19 รวมไปถึงผลกระทบของการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในแง่มุมต่าง ๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกาย
สารบัญบทความ
เป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่า วัคซีนโควิด-19 ไม่สามารถป้องกันโควิด-19 ได้ 100% แต่วัคซีนโควิด-19 มีส่วนช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้ ซึ่งองค์การอนามัยโลก (World Health Organization-WHO) ได้รายงานว่า ผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่าผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนถึง 10 เท่าเลยทีเดียว
ถึงแม้ว่าหลายคนจะฉีดวัคซีนไปแล้ว ก็ยังคงมีโอกาสที่จะติดเชื้อโควิด-19 ได้อยู่ เพราะฉะนั้นแล้วการดูแลตนเองไปพร้อม ๆ กับการฉีดวัคซีนป้องกันไปด้วยจะช่วยให้มีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 ได้น้อยกว่าปกติ รวมไปถึงการดูแลตนเองให้ดีหลังจากที่เป็นโควิด-19 และการศึกษาข้อมูลลองโควิดเตรียมพร้อมไว้ก่อน เพื่อหาแนวทางในการรักษาในอนาคตต่อไป
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 หรือที่เราเรียกว่าโรคโควิด-19 ซึ่งมาสาเหตุมาจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) อันส่งผลทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจ ซึ่งการค้นพบครั้งแรกที่อู่ฮั่น ประเทศจีน มีการสันนิษฐานว่าเป็นการติดเชื้อมาจากค้างคาว
แม้ว่าต้นกำเนิดของการแพร่เชื้อโควิด-19 อาจจะถูกสันนิษฐานว่ามาจากสัตว์ในช่วงแรก แต่ในปัจจุบันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ติดต่อได้จากคนสู่คน โดยผ่านละอองจากอากาศของผู้ที่ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการไอ จาม การสัมผัสถูกละอองเหล่านั้น ซึ่งสังเกตด้วยตาเปล่าไม่ได้
สำหรับผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการโควิดค่อย ๆ แสดงออกมาภายใน 5-7 วันหลังจากที่มีการรับเชื้อ เช่น มีไข้สูงถึง 37.5 องศาขึ้นไป มีน้ำมูก แสบคอ มีอาการไอ ปวดศีรษะ อ่อนเพลียง่าย จมูกไม่ได้กลิ่นหรือสูญเสียการรับรส บางรายอาจจะมีผื่นแดงโควิด เป็นต้น และในส่วนของอาการโควิดรอบใหม่จะมีอาการคล้าย ๆ กัน แต่จะติดเชื้อได้ง่ายและรวดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น ซึ่งส่งให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
คำถามที่ว่า “เชื้อโควิดกี่วันหาย” จากข้อมูลหลังจากที่เป็นโควิด-19 แล้ว โดยปกติอาการต่าง ๆ จะหายภายใน 14 วัน ซึ่งหลังจาก 14 วันหากมีการตรวจ ATK แล้วพบว่ายังขึ้น 2 ขีด แสดงว่ายังมีเชื้อโควิด-19 อยู่ภายในร่างกายแต่ไม่สามารถแพร่เชื้อได้แล้ว และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ เพียงแต่ต้องดูแลตนเองให้หายดีเป็นปกติ ปฏิบัติตัวและรักษาระยะห่างตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้
วัคซีนโควิด-19 มีอะไรบ้าง? หลาย ๆ คนคงยังไม่ทราบ วันนี้ได้รวบรวมชนิดของวัคซีนโควิด-19 ทั้ง 4 ชนิดมาให้ความรู้ ดังนี้
วัคซีนโควิด 19 ชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccines) คือ วัคซีนโควิด-19 ที่มีเชื้อไวรัสที่ถูกทำลายด้วยความร้อน สารเคมี หรือรังสี จนทำให้ไม่สามารถแพร่เชื้อและเพิ่มจำนวนเซลล์ได้ แต่ยังสามารถกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันโควิด-19 เช่น วัคซีนโควิดซิโนแวค (Sinovac)
วัคซีนโควิด 19 ชนิดสารพันธุกรรม (mRNA vaccines) คือ วัคซีนโควิด-19 ที่จะทำหน้าที่พา mRNA เข้าเซลล์และช่วยให้เซลล์ผลิตสารโปรตีนสไปค์ของเชื้อไวรัส เพื่อสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย โดยที่ร่างกายจะเกิดการเรียนรู้เชื้อไวรัสและเรียนรู้วิธีที่จะต่อสู้กับเชื้อไวรัส หากได้รับเชื้อในครั้งต่อ ๆ ไป โดย mRNA vaccines ได้แก่ ไฟเซอร์ (Pfizer) และ โมเดอน่า (Moderna)
วัคซีนโควิด 19 ชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Viral Vector vaccines) คือ วัคซีนโควิด-19 ที่เชื้อไวรัสถูกทำให้เสื่อมประสิทธิภาพลง และถูกนำมาดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อใช้เป็นพาหะ ซึ่งหากนำมาฉีดเข้าสู่ร่างกายมนุษย์จะเลียนแบบการติดเชื้อแบบธรรมชาติ ได้แก่ Astra Zeneca, CanSinoBio, Johnson and Johnson และ Gamaleya
วัคซีนโควิด 19 ชนิดทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein Subunit Vaccines) คือ วัคซีนโควิด-19 ที่สร้างโปรตีนของเชื้อไวรัสแล้วนำมาผสมกับสารกระตุ้นภูมิ จากนั้นฉีดเข้าสู่ร่างกายเพื่อไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ต่อต้านเชื้อโควิด-19 ได้แก่ Novavax เป็นต้น ซึ่งวิธีการผลิตวัคซีนแบบนี้เป็นนวัตกรรมที่มีมาแล้วค่อนข้างนาน โดยเป็นวิธีผลิตแบบเดียวกันกับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีนั่นเอง
ปัจจุบันวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย มีให้บริการหลายยี่ห้อหรือหลายแบรนด์ด้วยกัน ซึ่งมีทั้งหมด 8 แบรนด์ด้วยกัน ดังนี้
การฉีดวัคซีนโควิด-19 ถึงแม้ว่าจะสามารถช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ แต่การฉีดวีคซีนโควิด-19 ในกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูงอันได้แก่ เด็ก คนท้อง ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว ล้วนต้องศึกษาหาข้อมูลก่อน สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ ดังนี้
สำหรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กติดโควิดนั้น สามารถทำได้แต่ต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองก่อน การฉีดวัคซีนโควิด-19 จะช่วยให้เด็กมีภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสการติดเชื้อได้ และลดโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อทางปอดและหัวใจซึ่งถือว่าเป็นโรคโควิดรุนแรงในเด็ก (Multisystem inflammatory syndrome in children : mis-c) หรือที่เราเรียกว่า “ภาวะมิสซี” นั่นเอง
โดยในคำแนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด -19 สำหรับเด็กและวัยรุ่น ฉบับที่ 7 แนะนำให้เด็กที่อายุ 6 เดือน - 5 ปี ให้ฉีด Pfizer ฝาแดง และสำหรับเด็กที่อายุ 5-11 ปี ให้ฉีด Pfizer ฝาส้ม หรือ Moderna
การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในคนท้องสามารถทำได้ตามปกติ โดยต้องมีอายุครรภ์ 12 สัปดาห์หรือ 3 เดือนขึ้นไป สำหรับวัคซีนที่สามารถฉีดได้มี 2 แบรนด์ ได้แก่ Pfizer และ Moderna ทั้งนี้สำหรับผู้ตั้งครรภ์ที่มีโรคประจำตัวหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ไม่แนะนำให้ฉีดเพราะจะเสี่ยงสูงมาก ดังนั้นจึงต้องทำการปรึกษาแพทย์ก่อนฉีดวัคซีนทุกครั้ง
การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุติดโควิด เริ่มตั้งแต่ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป โดยวัคซีนที่นิยมฉีดในผู้สูงอายุ คือ AstraZenaca เนื่องจากจะมีผลข้างเคียงน้อยกว่าคนอายุน้อย ๆ อาการอ่อนเพลีย เป็นไข้จะเป็นประมาณ 1-2 วัน ก็จะหายไปเอง ซึ่งถือว่าเป็นไม่นานเท่าคนอายุน้อย
ผู้สูงอายุที่แบ่งตามคำแนะนำของสมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย เดือน พ.ค.64 ได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
ทั้งนี้การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้สูงอายุมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง เพราะผู้สูงอายุแต่ละคนมีอาการเจ็บป่วยและโรคประจำตัวต่างกัน หากต้องการฉีดวัคซีนโควิด-19 ต้องปรึกษาแพทย์ก่อน
กรณีที่เป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว แต่ต้องการฉีดวัคซีนโควิด-19 สามารถทำได้เช่นกัน แต่ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทำการฉีดวัคซีนโควิด-19 ซึ่งการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้มีโรคประจำตัวนั้นเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างมากเนื่องจากผู้ที่มีโรคประจำตัวหากติดเชื้อโควิด-19 มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างปอดอักเสบ อันเป็นผลทำให้เสียชีวิตได้
ผู้ที่ต้องการจะฉีดวัคซีนควรทราบสิ่งที่ต้องระวังและการปฏิบัติตัวก่อนทำการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อจะได้เตรียมความพร้อมให้ร่างกายซึ่งมีดังนี้
1.การดูแลตนเองก่อนฉีดวัคซีน
2.การเตรียมความพร้อมก่อนฉีด
หลังจากที่ฉีดวัคซีนเรียบร้อยแล้ว การดูแลตนเองยังไม่จบเพียงเท่านี้ โดยข้อปฏิบัติหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 มีดังนี้
เป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 ก็เหมือนกับการฉีดวัคซีนชนิดอื่น ๆ ซึ่งอาจจะมีผลข้างเคียงแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน ดังนั้นหากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์ในทันที
หลายคนมีอาการผิดปกติหลังที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 แต่ไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่าอาการที่เป็นอยู่ต้องไปพบแพทย์หรือไม่? สามารถเช็คได้ดังนี้
สิ่งที่เป็นคำถามกวนใจหลายคน คือ การฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นเป็นสิ่งจำเป็นไหม? ต้องบอกว่า ค่อนข้างจำเป็นเนื่องจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ตามระยะเวลาที่กำหนดจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันอาการลองโควิดได้ด้วย
สำหรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 กระตุ้นเข็มที่ 3 ให้ปฏิบัติ ดังนี้
วัคซีนโควิด-19 ฉีดได้ที่ไหน? สามารถค้นหาข้อมูลได้โดยเพิ่มเพื่อนที่ LINE OA “หมอพร้อม” จากนั้นตามขั้นตอน ดังนี้
ซึ่งในปัจจุบันศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 มีให้บริการจำนวนมากทั้งหน่วยงานที่เป็นทั้งของภาครัฐและเอกชน เพราะฉะนั้นแล้วสามารถเลือกฉีดวัคซีนได้ตามสถานที่ที่เราสะดวก
คำถามที่เป็นข้อสงสัยของหลาย ๆ เกี่ยวกับเรื่องโควิด-19 ได้ถูกรวบรวมไว้แล้ว ซึ่งสามารถหาคำตอบได้ตามหัวข้อ ต่อไปนี้
คำถามที่หลายคนอยากทราบ คือ หลังติดโควิด ฉีดวัคซีนได้หรือไม่? คำตอบ คือ สามารถฉีดได้ โดยมีข้อปฎิบัติ ดังนี้
การฉีดวัคซีนโควิด-19 ต่างยี่ห้อ/ชนิด ระหว่างเข็มสามารถทำได้สำหรับผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวหรือมีสุขภาพร่างกายปกติ ในส่วนของผู้ไม่ควรฉีดสูตรไขว้ หรือหากต้องการฉีดต้องปรึกษาแพทย์ก่อนฉีดทุกครั้ง ได้แก่
กรณีที่มีการฉีดวัคซีนอื่น เช่น วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนป้องกันโรค คอตีบ-บาดทะยัก วัคซีนป้องกันโรคหัด-หัดเยอรมัน มาก่อนให้เว้นระยะห่าง 4 สัปดาห์ แล้วจึงค่อยฉีดวัคซีนโควิด-19
การติดโควิด-19 ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาหลายรูปแบบซึ่งต้องประเมินตามอาการ หากรุนแรงมากต้องไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่หากไม่รุนแรงสามารถรักษาแบบ home isolation ได้ ทั้งนี้จะดีกว่ามากหากเราหาทางป้องกันไม่ให้ตนเองเจ็บป่วย เพราะจะส่งผลกระทบหลายอย่างทั้งร่างกาย การดำเนินชีวิต รวมไปถึงเรื่องงานด้วย
เพราะฉะนั้นแล้วควรฉีดวัคซีนโควิด-19 กับสถานพยาบาลที่มีความน่าเชื่อถือ สะอาด ปลอดภัยและให้บริการดี อีกทั้งยังดูแลรวมไปถึงให้คำแนะนำได้ตลอด โดยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามกับทีมแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893
References
Hospital Clínico Universitario de Santiago de Compostela. (2021). How do inactivated vaccines work?. from http://www.covid19infovaccines.com/en-posts/how-do-inactivated-vaccines-work
Maragakis, L., & Kelen, G. D. (2022). Is the COVID-19 Vaccine Safe?. from http://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/coronavirus/is-the-covid19-vaccine-safe
UNICEF. (2022). What you need to know about COVID-19 vaccines Answers to the most common questions about coronavirus vaccines. from http://www.unicef.org/coronavirus/what-you-need-to-know-covid-vaccine?gclid=Cj0KCQiA45qdBhD-ARIsAOHbVdEgDD1bAeFuUOxymKzntiskWiTo56Vq_ENW8FaVHQoAoGj2M2am0WIaAt53EALw_wcB
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)