บทความสุขภาพ

วิธีดูแลผู้สูงอายุติดโควิด ติดต่อที่ไหน ต้องทำอย่างไร?

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567

ผู้สูงอายุติดโควิด 

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้หลายคนเกิดความกังวล กลัวว่าถ้าพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย เมื่อผู้สูงอายุติดโควิดแล้วจะเป็นอะไรหรือเปล่า อาการจะรุนแรงกว่าวัยรุ่น หรือ ผลกระทบหลังจากลองโควิดจะรุนแรงกว่าคนอื่นๆ หรือไม่ ? ทำให้หลายคนต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมว่าวิธีดูแลผู้สูงอายุติดโควิดต้องทำอย่างไร เมื่อติดโควิดแล้วต้องติดต่อที่ไหน หากผู้สูงอายุติดโควิด ต้องรักษายังไง ? 

บทความนี้จะช่วยเตรียมความพร้อมถ้าหากผู้สูงอายุที่บ้านติดโควิดต้องทำอย่างไร พร้อมทั้งบอกวิธีสังเกตเพื่อป้องกันความรุนแรงของโรค เพราะผู้สูงอายุติดโควิดมีโอกาสเกิดอาการรุนแรงและมีความเสี่ยงเสียชีวิตสูงกว่าคนทั่วไป  ดังนั้นควรสังเกตอาการผู้สูงอายุในบ้าน ให้การดูแล และใส่ใจเป็นพิเศษ 


สารบัญบทความ
 


ผู้สูงอายุติดโควิด

ในช่วงแรกขอการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผู้ป่วยสูงอายุจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง และดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากผู้สูงที่มีอายุมากกว่า 70 ปี ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่สามารถป้องกันเชื้อไวรัส หรือเชื้อโรคจะลดลง และถึงแม้ว่าผู้สูงอายุที่มีสุขภาพร่างกายแรงแข็งก็ยังคงมีโอกาสเสี่ยงติดโควิด-19 ได้มากกว่าคนในวัยอื่นๆ 

นอกจากนี้ผู้สูงอายุติดโควิดที่มีโรคประจำตัว ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด จะมีความเสี่ยงติดโควิดได้ง่าย และอาจจะทำให้อาการรุนแรงมากกว่าผู้สูงอายุติดโควิดทั่วไป ซึ่งอาการอาจจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

แต่ในปัจจุบันได้มีการปรับให้ผู้สูงอายุที่ติดโควิดที่มีอายุมากกว่า 75 ปี และมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ให้ปรับเป็นผู้ป่วยในกลุ่มสีเหลืองและสามารถรักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation) ได้ 


ผู้สูงอายุติดโควิด อาการต่างจากคนทั่วไปอย่างไร

รายงานจากประเทศฝรั่งเศสพบว่าผู้สูงอายุติดโควิด โดยเฉลี่ยอายุประมาณ 84 ปี บวกลบ 7 ปี หากติดเชื้อโควิด-19 มักจะมีอาการที่แสดงออก ดังต่อไปนี้ 
 

  • รู้สึกร้อนๆ หนาวๆ อาจจะไม่จำเป็นต้องมีไข้สูง 
  • ไอ คันคอ 
  • หมดแรง อ่อนเพลียกะทันหัน 
  • หายใจเร็ว มีอาการหอบหืด
  • ท้องเสีย ถ่ายเหลว 
  • ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางสมอง อาจจะเกิดอาการสับสน หรือทับซ้อนขึ้นมาได้ 
  • ผู้ป่วยอายุที่มากกว่า 80 ปี อาจจะหมดแรงกะทันหัน และล้มลง  
 

อาการผู้สูงอายุติดโควิดที่น่าเป็นห่วง

ถ้าหากผู้สูงอายุติดโควิดที่มีอาการต่อไปนี้ แนะนำให้รีบติดต่อโรงพยาบาลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อส่งตัวผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที เนื่องจากอาการต่อไปนี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาและเฝ้าระวังเป็นพิเศษ โดยอาการสีแดงของผู้สูงอายุติดโควิดที่น่าเป็นห่วง ได้แก่ 

 

  • แน่นหน้าอกตลอดเวลา หายใจลำบากเจ็บหน้าอก 
  • หอบเหนื่อย พูดไม่เป็นประโยค 
  • ซึมเศร้า เรียกและไม่รู้สึกตัว ร่างกายและสมองตอบสนองช้า 
  • ปอดบวมขั้นรุนแรง 

ผู้สูงอายุติดโควิด ติดต่อที่ไหน

สำหรับบ้านไหนที่มีผู้ป่วยติดโควิด ไม่ว่าจะเป็น ผู้สูงอายุติดโควิด วัยรุ่น วัยทำงาน หรือเด็กติดโควิด ถ้าตรวจพบเชื้อด้วยการตรวจ ATK แล้ว สามารถติดต่อหน่วยงานผ่านช่องทางต่อไปนี้ เพื่อประสานให้ทางหน่วยงาน หรือ โรงพยาบาลส่งยามาให้ที่บ้าน 

ในกรณีผู้ป่วยเลือกดูแลรักษาที่บ้าน (Home Isolation) หรือ ผู้สูงอายุติดโควิดที่มีอาการรุนแรงสามารถติดต่อเพื่อหาเตียงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งช่องทางการติดต่อหน่วยงาน สำหรับผู้สูงอายุติดโควิด 

 

  • โทรศัพท์เข้าสายด่วน 1330 แล้วกด 14 

ผู้ป่วยที่มีผลตรวจ ATK เป็นบวก สามารถติดต่อโทรเข้าสายด่วน 1330 กด 14 เพื่อติดต่อของรับยาและเพื่อจัดหาหน่วยบริการมาดูแลแบบ Home Isolation ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และสามารถโทรได้จากทุกจังหวัด 

 

  • ไลน์ออฟฟิเชียล 

สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถติดต่อผ่านสายด่วน 1330 สามารถติดต่อรับยาเพื่อรักษาตัวเองที่บ้านผ่านไลน์ออฟฟิเชียล @nhso หรือ https://lin.ee/zzn3pU6 ภายในเมนูจะมีฟอร์มให้กรอกข้อมูลเพื่อรับการดูแลแบบ Home Isolation โดยที่ไม่จำเป็นต้องกังวลว่าจะกรอกไม่ถูกต้อง เนื่องจากสามารถสอบถามแอดมินได้ระหว่างเวลา 08.00-20.00 น. ในทุกวัน

 

  • ลงทะเบียนด้วยตัวเองด้วยการสแกน QR code 

และอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่มีผลตรวจ ATK เป็นบวกสามารถสแกน QR code ที่อยู่บนเว็บไซต์ สปสช.เมื่อสแกน QR code แล้วให้กรอกชื่อ เบอร์โทร ที่อยู่ ข้อมูลส่วนตัว และโรคประจำ โดยที่เมื่อกรอกข้อมูลครบแล้วเมื่อผ่านไป 15-20 นาที สามารถเข้ามาตรวจสอบได้ว่ามีหน่วยงานไหนเข้ามาดูแลทำ Home Isolation ให้ 

ทั้งนี้ถ้าหาผู้สูงอายุติดโควิดมีอาการรุนแรง รักษาที่ไหน ? สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงสามารถติดต่อสายด่วน 1330 เพื่อติดต่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 


ข้อปฏิบัติในการดูแลผู้สูงอายุติดโควิด

ผู้สูงอายุติดโควิด ควรทำอย่างไร ? สำหรับข้อปฏิบัติในการดูแลผู้สูงอายุติดโควิด สามารถแบ่งประเภทผู้ป่วยออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ 
 

กรณีผู้สูงอายุเป็นผู้ป่วยติดเตียง

 

  • หากเป็นผู้สูงอายุติดโควิด ที่มีอายุมากกว่า 75 ปี จำเป็นต้องติดต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อนำส่งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล เนื่องจากผู้ป่วยสูงอายุติดโควิดจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง 
  • สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา
  • หากมีไข้สูง ต้องติดต่อหน่วยงานทันที 
  • สังเกตอาการและวัดอุณหภูมิทุกวัน 
 

กรณีผู้สูงอายุติดบ้าน ต้องการสังคม

 

  • อยู่ห้องส่วนตัว แยกพื้นที่กับคนในบ้านอย่างชัดเจน 
  • สังเกตอาการตนเอง หากอาการแย่ลงรีบติดต่อโรงพยาบาลหรือหน่วยงานทันที 
  • ในกรณีที่เตียงเต็ม ให้พิจารณา Home Isolation 
  • หากมีไข้สูง ต้องติดต่อโรงพยาบาลทันที 

ทั้งนี้ผู้สูงอายุติดโควิดนอกจากการรักษาที่ดีและใกล้ชิดแล้ว ยังต้องการกำลังใจโดยการดูแลรักษาที่บ้าน (Home Isolation) ช่วยให้สุขภาพจิตใจของผู้ป่วยที่ติดเชื้อดีขึ้นได้


ผู้สูงอายุติดโควิด รักษายังไง กินยาอะไร

แม้ว่าการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอน จะมีผู้ติดเชื้อที่มีแนวโน้มมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรง ไม่จำเป็นต้องพักรักษาที่โรงพยาบาล แต่ต้องแยกกักตัวที่บ้านเพื่อสังเกตอาการ ทำให้กลุ่มผู้สูงอายุติดโควิดในปัจจุบันถูกจัดเป็นกลุ่มผู้ป่วยสีเหลือง พร้อมทั้งสามารถพักรักษาตัวและกักตัวที่บ้านได้ 

ผู้สูงอายุติดโควิด รักษายังไง กินยาอะไร ? ในกรณีที่ผู้ป่วยติดโควิดการรักษาผู้สูงอายุติดโควิดต้องใช้ยาต้านไวรัส โดยในตอนนี้มี 3 ชนิด ได้แก่ ยาฟาวิพิราเวียร์ ยาแพ็กซ์โลวิด และยาโมลนูพิราเวียร์  และผู้ป่วยจะได้รับยาตามอาการที่มี เช่น ยาแก้ไอ ยาลดไข้ และยาแก้เจ็บคอ ซึ่งการดูแลผู้สูงอายุติดโควิดไม่ได้แตกต่างจากผู้ป่วยทั่วไป แต่นอกจากการดูแลที่ดีแล้ว กำลังใจยังเป็นสิ่งสำคัญ อย่าลืมที่จะส่งมอบพลังบวกให้แก่ผู้ป่วยด้วย 


ผู้สูงอายุกักตัว Home Isolation อย่างไร

สำหรับผู้สูงอายุติดโควิดที่แพทย์พิจารณาว่ามีอาการไม่รุนแรง สามารถพักรักษาและกักตัวที่บ้าน หรือ Home Isolation ได้ ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำต่อไปนี้ 

 

  • แยกห้อง และของใช้ส่วนตัวของผู้ป่วย ออกจากคนในบ้าน 
  • เปิดหน้าต่างให้มีอากาศถ่ายเท และอยู่ให้ห่างจากคนอื่นมากที่สุด โดยเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร 
  • ในกรณีไม่ได้อยู่คนเดียว ให้สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา
  • ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่สัมผัสของใช้ 
  • แยกซักเสื้อผ้า และผ้าปูที่นอนออกจากคนอื่น 
  • แยกทิ้งขยะ และมัดปากถุงให้แน่นสนิท 

ทั้งนี้ผู้สูงอายุติดโควิดและผู้ป่วยคนอื่นๆ ควรหมั่นสังเกตอาการตนเอง และประเมินอาการเบื้องต้นด้วยการใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ ทุกวัน และใช้เครื่องวัดระดับออกซิเจนในเลือดแบบหนีบนิ้วเพื่อประเมินการแลกเปลี่ยนก๊าซในปอด โดยตัวเลขของเครื่องวัดระดับออกซิเจนควรอยู่ที่ 97-100% ถ้าหากตัวเลขต่ำกว่า 94% จำเป็นต้องเฝ้าระวังและสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพราะเชื้อไวรัสอาจจะลงปอดและทำให้ปอดเสียหายได้ 


แนวทางป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุติดโควิด

ด้วยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส แนวทางป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุติดโควิด นับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะสามารถช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ โดยสามารถปฏิบัติตามแนวทางต่อไปนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ติดโควิด 
 

สำหรับผู้สูงอายุ

 

  • หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด หรือ หลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่คนส่วนใหญ่ต้องออกจากบ้าน 
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสมือผู้สูงอายุ
  • สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่อต้องออกจากบ้าน 
  • ล้างมือด้วยบ่อยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลบ่อยๆ 
  • หากออกไปข้างนอก เมื่อกลับมาที่บ้านควรรีบอาบน้ำสระผม และทำความสะอาดร่างกายทันที 
  • หากผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ว่าจำเป็นต้องไปพบแพทย์ตามนัด หรือ สามารถส่งยามาทางขนส่งได้หรือไม่ ในกรณีที่ผู้สูงอายุมีอาการโรคประจำตัวคงที่ 

สำหรับผู้ดูแล

ในกรณีที่มีผู้สูงอายุติดโควิดภายในบ้าน ผู้ดูแลสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ 

 

  • ผู้ดูแลหลักควรมีคนเดียว โดยพิจารณาจากผู้ที่ไม่มีความจำเป็นต้องออกจากบ้าน สามารถอยู่บ้านได้ และต้องไม่ใช่ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ 
  • ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องออกไปข้างนอก ควรหลีกเลี่ยงการใช้ขนส่งสาธารณะ และหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด 
  • ระหว่างควรล้างมือด้วยสบู่ หรือ เจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ 
  • ในกรณีที่ผู้ดูแลเสี่ยงติดเชื้อ ควรเปลี่ยนผู้ดูแลใหม่ทันที 

ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดในผู้สูงอายุ

จากข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 24 ก.พ. 2565 พบว่าผู้สูงอายุติดโควิดที่มีอายุมากกว่า 70 ปี มีโอกาสเสียชีวิตได้สูงเกือบ 3% ในขณะที่ผู้ป่วยที่อายุอยู่ระหว่าง 60-69 ปี มีโอกาสเสียชีวิตเพียง 0.6% และผู้ป่วยที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี มีโอกาสเสียชีวิต 0.2% แม้ว่าผู้สูงอายุจะมีโอกาสติดเชื้อได้น้อยกว่าวัยอื่นๆ แต่อัตราการเสียชีวิตของผู้สูงอายุติดโควิดกลับมีมากกว่าหลายเท่า 

ทั้งนี้ผู้สูงอายุติดโควิดที่มีประวัติการฉีดวัคซีนมีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่าผู้สูงอายุติดโควิดที่ไม่ได้รับวัคซีน โดยมีรายละดังนี้ 

 

  • ผู้สูงอายุติดโควิดที่ไม่มีประวัติการฉีดวัคซีน มีอัตราการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 60
  • ผู้สูงอายุติดโควิดที่มีประวัติการฉีดวันซีน 1 เข็ม มีอัตราการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 8 
  • ผู้สูงอายุติดโควิดที่มีประวัติการฉีดวันซีน 2 เข็ม มีอัตราการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 29
  • ผู้สูงอายุติดโควิดที่มีประวัติการฉีดวันซีน 3 เข็ม มีอัตราการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 2 

ทั้งนี้ถ้าเทียบผู้สูงอายุติดโควิดที่มีประวัติไม่ได้รับวัคซีน กับ ผู้สูงอายุติดโควิดที่มีประวัติการฉีดวันเสียจะเห็นได้ว่าโอกาสการเสียชีวิตลดลง 6 เท่า และถ้าหากเทียบกับผู้สูงอายุติดโควิดที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นโอกาสการเสียชีวิตในผู้ป่วยลดลงมากถึง 41 เท่า นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้สูงอายุควรฉีดวัคซีน  และหลังติดโควิด ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นก็สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้ 


ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุหลังติดโควิด

สำหรับผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด ไม่ว่าจะเป็น ผู้ป่วยสูงอายุติดโควิด หรือผู้ป่วยในวัยอื่นๆ หลังจากที่หายโควิดแล้วอาจจะเกิดภาวะลองโควิด (Long Covid) ที่จะส่งผลกระทบต่อการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน และส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ ควรตรวจสุขภาพหลังติดโควิด เพื่อประเมินสุขภาพและร่างกายของตนเอง โดยทางโรงพยาบาลสติเวช ไชน่าทาวน์มีโปรแกรมที่จะตรวจสุขภาพและช่วยฟื้นฟูร่างกาย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 
 

โปรแกรมฟื้นฟูร่างกายด้วยการให้วิตามินทางเส้นเลือด

สำหรับผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มักจะได้รับผลกระทบทำให้สุขภาพและร่างกายไม่แข็งแรงเท่าก่อนหน้านี้ โดยโปรแกรมนี้จะเป็นการช่วยฟื้นฟูร่างกายด้วยการเติมวิตามินทางเส้นเลือดเพื่อให้ร่างกายกลับมาแข็งแรง 


 

โปรแกรมตรวจมะเร็งปอด ป้องกันไว้ก่อน หลังติดโควิด


ข้อสรุป

ในปัจจุบันผู้สูงอายุติดโควิด ถูกจัดอยู่ในผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองสามารถเลือกพักรักษาและกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) ได้ตามดุลยพินิจของแพทย์ แม้ว่าอัตราผู้สูงอายุติดโควิดจะน้อยกว่า แต่ผู้สูงอายุติดโควิดมีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าวัยอื่นๆ และยิ่งในผู้ป่วยที่ไม่ได้มีประวัติรับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จะยิ่งมีโอกาสการเสียชีวิตมากกว่า ผู้ที่มีประวัติการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (เข็มที่ 3) มีอัตราการเสียชีวิตเพียง 2% ซึ่งลดลงมาถึงมาก 41 เท่า 

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโควิด ผู้สูงอายุติดโควิดความแตกต่างของอาการแต่ละสายพันธุ์ สนใจโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด หรือโปรแกรมรับวิตามินหลังติดโควิด สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับทีมแพทย์โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


 

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​