ตาปลาที่เท้า เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง
ตาปลาที่เท้าเป็นภาวะที่ผิวหนังแข็งตัวเป็นก้อนกลมนูน มีจุดดำตรงกลาง เกิดจากแรงกดทับซ้ำ ๆ ทำรู้สึกให้เจ็บเมื่อเดิน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสม
ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อโอมิคอน ณ ตอนนี้ยอดผู้ติดเชื้อโควิดในเด็กจากทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และถึงแม้ว่าการที่เด็กติดโควิดส่วนใหญ่กว่า 90% จะมีอาการไม่รุนแรง แต่ก็ยังมีบางกลุ่มที่มีอาการรุนแรงและต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เหตุนี้จึงทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายๆ คนค่อนข้างจะมีความกังวลใจ และเริ่มหาข้อมูลวิธีดูแลและรับมือต้องทำอย่างไร ถ้าหากลูกติดโควิด-19 เพื่อเป็นการป้องกันความรุนแรง
บทความนี้จะช่วยผู้ปกครอง หรือผู้ที่มีเด็กเล็กอาศัยอยู่ในบ้านมาเตรียมความพร้อมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ถ้าหากลูกหลานและเด็กติดโควิด-19 ต้องรับมืออย่างไร วิธีรักษาโควิดในเด็กเล็ก ควรกินยาอะไร อาการเด็กติดโควิดมักจะมีอาการอย่างไร อาการ Mis-C ภาวะลองโควิดในเด็ก พร้อมทั้งแนวทางป้องกันให้ลูกหลานของคุณห่างไกลจากเชื้อโควิด-19
สารบัญบทความ
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 พบว่ามีเด็กติดโควิด-19 มากขึ้น ประมาณร้อยละ 13 ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิดทั้งหมด โดยส่วนใหญ่สาเหตุที่เด็กติดโควิดมักมาจากการสัมผัสและใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยไม่มีการป้องกัน ไม่สวมหน้ากาก ไม่เว้นระยะห่าง และไม่ได้ทำความสะอาดร่างกายอย่างเหมาะสม ทำให้ติดเชื้อ SARS-CoV-2 ที่ก่อให้เกิดโรคโควิดในเด็กในที่สุด
และถึงแม้ว่าโรคโควิดในเด็กมักจะไม่ค่อยพบความรุนแรงที่น่าเป็นกังวล แต่ยังคงมีผู้ป่วยเด็กบางกลุ่มที่จำเป็นต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ถ้าหากติดเชื้อโควิด ได้แก่ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคพันธุกรรมเมตาบอลิก และเด็กที่มีภาวะอ้วน เป็นต้น
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่ลูกๆ ติดโควิด-19 และมีอายุต่ำกว่า 1 ขวบ นับว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่ากังวลและอาการโควิดในทารกมักจะมีอาการของโรคมากกว่าเด็กโตที่ติดโควิด เพราะร่างกายและระบบภูมิคุ้มกันในเด็กเล็กยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ และช่องทางเดินหายใจมีขนาดเล็กกว่าเด็กโต โดยอาการเด็กติดโควิดส่วนใหญ่มักจะมีอาการคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ในเด็ก
เด็กติดโควิดส่วนใหญ่มักแสดงอาการเจ็บป่วยที่หลากหลาย แตกต่างกันไปตามแต่ละคน โดยส่วนใหญ่อาการโควิดในเด็กจะมีอาการไม่ค่อยรุนแรงนัก หรือ มีอาการคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ สำหรับบ้านไหนที่มีเด็กอาศัยอยู่ในบ้านสามารถสังเกตดังต่อไปนี้ว่าลูกติดโควิดหรือไม่
ทั้งนี้ในกรณีเด็กติดโควิดที่มีอาการรุนแรงอาจจะมีอาการแน่นหน้าอก กระสับกระส่าย หายใจลำบาก ไม่สามารถดื่มนมหรือกินอาหารได้ หรือ มีอาการเขียวตามร่างกาย โดยระยะฟักเชื้อในเด็กติดโควิดมักใช้เวลาประมาณ 14 วัน และ มักมีอาการของโรค 4-5 วันหลังจากได้รับเชื้อ ถ้าหากมีอาการที่กล่าวไปข้างต้นควรตรวจ ATK และรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและเข้ารับการรักษาทันที
สิ่งที่ต้องทำเมื่อรู้ว่าลูกติดโควิดมีค่อนข้างหลายอย่าง ทั้งนี้ในกรณีที่ตรวจ ATK แล้วพบว่าเด็กติดโควิดสามารถปฏิบัติตามวิธีต่อไปนี้ ได้แก่
สำหรับการติดโควิดในเด็ก สามารถแบ่งระดับความรุนแรงของอาการที่แสดงออกเป็น 2 แบบหลักๆ ได้แก่
ทั้งนี้สำหรับผู้ปกครองคนไหนที่ลูกติดโควิด ในระดับที่ 1 สามารถรักษาโรคโควิดในเด็กได้ตามอาการ เช่น
นอกจากนี้ควรมีอุปกรณ์ที่ใช้ติดตามอาการและบรรเทาอาการในกรณีที่เด็กติดโควิดที่บ้าน ได้แก่
เป็นโควิดกินยาอะไร ? ในกรณีที่เด็กติดโควิดและอยู่ในขณะรอเจ้าหน้าที่และโรงพยาบาลติดต่อกลับมา หรือ รอทางโรงพยาบาลส่งยามาให้ ผู้ปกครองสามารถให้เด็กทานยาเพื่อบรรเทาอาการของโรคได้
แม้จะมีรายงานว่า 90% ของเด็กติดโควิดส่วนใหญ่มักจะมีอาการไม่รุนแรง หรือ บางรายแทบจะไม่มีอาการ แต่ยังมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดกับเด็กที่ติดโควิด ได้แก่
ภาวะลองโควิดในเด็ก หรือ ภาวะ Mis-C (Multisystem Inflammatory Syndrome in Children) เป็นภาวะที่อาจจะเกิดขึ้นกับเด็กที่เคยติดโควิดมาก่อน ซึ่งภาวะ Mis-C เป็นภาวะลองโควิดที่พบในเด็กประมาณร้อยละ 25-45 โดยมักมีอาการอักเสบตั้งแต่ 2 ระบบทั่วร่างกาย มีอาการคล้ายกับโรคคาวาซากิ (Kawasaki Disease) ได้แก่
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุว่าทำไมเด็กติดโควิดจึงเกิดภาวะ Mis-C แต่ในวงการแพทย์คาดว่าภาวะลองโควิดในเด็กอาจจะเกิดชิ้นส่วนของเชื้อโควิดในเด็ก ที่ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย จนทำให้เกิดอาการอักเสบในระบบต่างๆ โดยส่วนใหญ่แพทย์มักจะรักษาเด็กที่มีภาวะ Mis-C ด้วยวิธีรักษาแบบประคับประคองอาการ และใช้กลุ่มยาต้านการอักเสบ
แม้ว่าภาวะ Mis-C จะเป็นภาวะที่พบได้น้อย แต่ผู้ปกครองจำเป็นต้องเฝ้าระวังและสังเกตอาการลูกหลานของคุณที่เคยติดโควิดมาก่อนให้ดี เพราะภาวะ Mis-C หรือ ภาวะลองโควิดในเด็กอาจจะมีความรุนแรงอาจจะอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
สามารถอ่านข้อมูลกับ ภาวะมิสซี (Mis-C) อาการลองโควิดในเด็กที่พ่อแม่ไม่ควรละเลย เพิ่มเติมได้ที่นี่
หลังจากที่ยอดการติดโควิดในเด็กเพิ่มมากขึ้น องค์กรอนามัยโลก (WHO) และศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้แนะนำวิธีและแนวทางในการป้องกันไม่ให้เด็กติดโควิด และป้องกันการแพร่เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่ก่อให้เกิดโควิด-19 ดังนี้
แนะนำให้ผู้ปกครองสอนวิธีล้างมือที่ถูกต้องตามมาตรฐาน 7 ขั้นตอน หลีกเลี่ยงการเอามือสัมผัสบริเวณตา จมูก ปาก และปฏิบัติตัวให้ถูกสุขลักษณะ เช่น ถ้าหากเด็กๆ จามต้องปิดปากและปิดจมูกด้วยกระดาษทิชชู่ หรือ มือปิดไว้ และเอาทิชชู่ไปสิ่งในถังขยะพร้อมทั้งล้างมือให้สะอาด
สำหรับการเว้นระยะห่างของเด็กที่ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เด็กๆ ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับบุคคลอื่นในระยะห่าง 6 ฟุต หรือ 1 เมตร และในกรณีที่มีเพื่อนในวัยเดียวกันมาเล่นที่บ้านแนะนำให้เล่นกันนอกบ้านบ้าน และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้ของเล่นหรืออุปกรณ์ร่วมกัน
ในกรณีที่มีเด็กติดโควิดกักตัวอยู่ในบ้าน หรือ อยู่ร่วมกับคนติดโควิด ผู้ปกครองควรล้างมือด้วยสบู่กับน้ำสะอาด หรือ แอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ที่สูงกว่า 70% ทุกครั้งหลังจากจับสิ่งของและของเล่นที่เด็กใช้ รวมไปถึงการสัมผัสตัวเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือผ้าปู และควรเว้นระยะห่าง สวมใส่หน้ากากอนามัยอยู่เสมอ
สำหรับเด็กที่อายุมากกว่า 2 ขวบขึ้นไป แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน หรือไปในที่สาธารณะ แต่สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ขวบ หรือ ยังไม่สามารถถอดหน้ากากอนามัยด้วยตนเอง ไม่แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัย เพราะระบบทางเดินหายใจของเด็กยังพัฒนาไม่เต็มที่ การสวมหน้ากากอนามัยอาจจะทำให้ขาดออกซิเจนและเป็นอันตรายได้
ในกรณีที่มีเด็กเล็กภายในบ้านผู้ปกครองอาจจะใช้การเว้นระยะห่างอย่างต่ำ 2 เมตร หรือ ใช้ผ้าคลุมรถเข็นที่มีเด็กอยู่ข้างในแทน
ในปัจจุบันวัคซีนในเด็กอายุที่ต่ำกว่า 5 ขวบ ยังอยู่ในระหว่างกระบวนการศึกษา โดยคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในปี 2565 ทำให้ ณ ตอนนี้มีเพียงวัคซีนสำหรับผู้ใหญ่ วัยรุ่น และเด็กโตที่มีอายุตั้งแต่ 5-11 ปีขึ้นไป แต่ผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลไปลูกจะติดโควิด เพราะวัคซีนสำหรับเด็กๆ สามารถช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กๆ มีร่างกายแข็งแรง สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ และวัคซีนป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบ Hib เป็นต้น
โควิดในเด็กเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ถ้าหากเด็กติดโควิดแนะนำให้ผู้ปกครองประเมินอาการเบื้องต้นว่าอาการเด็กติดโควิดรุนแรงหรือไม่ ถ้าหากไม่รุนแรงอาจจะเป็นการรักษาด้วยการทานยาตามอาการ แต่ถ้าหาลูกติดโควิดมีอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง หอบหืด หายใจลำบาก อกบุ๋ม ปากเขียว ระดับออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 95% งอแง และไม่อยากอาหารและดื่มนม แนะนำให้ผู้ปกครองรีบติดต่อโรงพยาบาลทันที เพื่อส่งตัวเด็กไปโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาให้ทันท่วงที
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเด็กติดโควิด โควิดในเด็กความแตกต่างของอาการแต่ละสายพันธุ์ สนใจโปรแกรมตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด หรือโปรแกรมรับวิตามินหลังติดโควิด สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับทีมแพทย์โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)