ตาปลาที่เท้า เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง
ตาปลาที่เท้าเป็นภาวะที่ผิวหนังแข็งตัวเป็นก้อนกลมนูน มีจุดดำตรงกลาง เกิดจากแรงกดทับซ้ำ ๆ ทำรู้สึกให้เจ็บเมื่อเดิน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสม
เมื่อสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ดูไม่มีท่าทีว่าจะจบลง ทำให้ผู้คนต้องหาวิธีการปรับตัวในการอยู่ร่วมกับเชื้อโควิด-19 รูปแบบใหม่ จึงเกิดการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นแบบ New Normal เพื่อที่จะได้กลับไปใช้ชีวิตประจำวันใกล้เคียงเดิมพร้อมกับการดูแลสุขภาพตนเอง
ปัจจุบัน ผู้คนส่วนใหญ่ที่ได้รับเชื้อโควิด-19 และมีอาการที่ไม่ค่อยรุนแรง มักเลือกรักษาแบบ Home Isolation เนื่องด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง ทั้งเรื่องค่าใช้จ่าย ความสะดวกในการพักผ่อน การทำงาน ฯลฯ
ฉะนั้น บทความนี้จะบอกเล่าข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้ยารักษาโควิด เพื่อที่จะดูแลตนเองได้อย่างปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นยาโควิด มีอะไรบ้าง ต้องกินกี่วัน การใช้ยาโควิด กลุ่มสีเขียว สีเหลือง สีแดง มีความแตกต่างกันอย่างไร? รวมไปจนถึงหากต้องการยาโควิด ซื้อที่ไหนได้บ้าง สามารถซื้อด้วยตนเองที่ร้านขายยาได้หรือไม่ ที่นี่มีคำตอบให้คุณ
สารบัญบทความ
ยาโควิด คือ ยาสำหรับต้านไวรัสโควิด-19 เพื่อไม่ให้เกิดการเพิ่มจำนวนของไวรัสและยับยั้งการแพร่กระจายไปยังเซลล์อื่นๆ ของร่างกาย ลดระดับความรุนแรงของโรค ลดอัตราการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการฟื้นตัวของร่างกายได้เร็วขึ้น เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันถูกรบกวนน้อยลงนั่นเอง
ทางการแพทย์ จะมีการแบ่งระดับความรุนแรงของอาการโควิดไว้ 3 ระดับ ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยสีเขียว กลุ่มสีเหลือง และกลุ่มสีแดง ซึ่งแต่ละระดับจะมีอาการ วิธีปฏิบัติตัว หรือการเลือกใช้ยาโควิดที่แตกต่างกันไป ดังนี้
ผู้ป่วยสีเขียว คือ กลุ่มที่มีระดับความรุนแรงของอาการโควิดน้อย หรือไม่มีอาการใดๆเลย โดยผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มสีเขียวจะต้องไม่มีโรคประจำตัวหรือไม่มีปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความรุนแรงของอาการ จึงจะสามารถเลือกเข้ารับการรักษาได้ทั้งแบบ Hospitel และแบบ Home Isolation ซึ่งอาการที่มักพบบ่อยในกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว ได้แก่
ผู้ป่วยสีเหลือง คือ กลุ่มที่มีระดับความรุนแรงของอาการโควิดปานกลาง มีความเสี่ยงหรือมีโรคประจำตัวร่วมที่อาจทำให้เกิดการพัฒนาความรุนแรงของอาการโควิดได้ โดยผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองนี้ ควรเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อเฝ้าระวังอาการที่เกิดขึ้น โดยผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มสีเหลือง สามารถประเมินเบื้องต้นได้จาก
ผู้ป่วยสีแดง คือ กลุ่มที่มีระดับความรุนแรงของอาการโควิดมาก จำเป็นต้องรีบเข้ารับการรักษาโดยเร็ว เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มสีแดง จะมีอาการดังต่อไปนี้
รู้หรือไม่? ยาโควิดต้านไวรัสที่ใช้ในการรักษา ไม่ได้มีเพียงแค่ชนิดเดียว โดยปกติแล้ว ยาที่ใช้รักษาหลัก จะเป็นยาโควิดชื่อ แพกซ์โลวิด (Paxlovid) โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ซึ่งแต่ละชนิดจะมีลักษณะเด่นที่เหมาะกับกลุ่มผู้ป่วยที่แตกต่างกัน ดังนี้
แพกซ์โลวิด (Paxlovid) เป็นยาโควิดชนิดเม็ดที่มีส่วนผสมของตัวยา Nirmatrelvir กับ Ritonavir สามารถเข้าไปยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสภายในเซลล์ได้ ซึ่งได้รับคำแนะนำจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติและองค์การอนามัยโลกว่า เหมาะสำหรับผู้ป่วยโควิดที่มีระดับความรุนแรงของอาการเพียงเล็กน้อยไปจนถึงระดับปานกลาง แต่มีปัจจัยเสี่ยงสูงที่จะเกิดระดับความรุนแรงของอาการมากขึ้น
“แบบนี้ยาโควิด กินตอนไหน?” สำหรับยาชนิดนี้ จะรับประทานครั้งละ 3 เม็ด วันละ 2 ครั้ง ต่อเนื่องกัน 5 วัน โดยผลข้างเคียงอาจทำให้มีอาการท้องเสีย ความดันโลหิตสูง หรือปวดกล้ามเนื้อได้ และไม่ควรใช้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคตับหรือไตขั้นรุนแรงและผู้ที่ยังไม่ได้รับการรักษาเชื้อ HIV
โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) เป็นยาโควิดต้านไวรัสที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติแนะนำให้ใช้เฉพาะกรณีฉุกเฉินที่ไม่มียาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) หรือเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) เนื่องจากยาชนิดนี้มีประสิทธิภาพน้อยกว่าการรักษาแบบอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงสามารถเข้าไปยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส เมื่อจำนวนไวรัสภายในร่างกายน้อยลง จะทำให้สามารถลดระดับความรุนแรงของโรคได้ โดยยารักษาโควิดชนิดนี้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลและเสียชีวิตสูง
“ยาโควิด กินกี่วัน? กินยังไง?” ยาโมลนูพิราเวียร์ จะรับประทานครัังละ 4 เม็ด ทุก 12 ชั่วโมง ต่อเนื่องกัน 5 วัน ซึ่งผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่ อาการท้องร่วง คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ และยาโมลนูพิราเวียร์ ไม่แนะนำให้ใช้ในบุคคลที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากยังไม่มีผลรายงานการศึกษาที่ชัดเจน
เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) คือ ยาโควิดต้านไวรัสที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้เป็นยารักษาโควิดผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล เหมาะสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูง มีโอกาสที่จะพัฒนาไปเป็นระดับอาการที่รุนแรง
การใช้ยาโควิด 19 ชนิดนี้ จะให้ผ่านทางการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ซึ่งจะต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ส่วนผู้ป่วยนอกจะได้รับยาชนิดนี้ 3 วันต่อเนื่องกัน และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ อาจมีอาการคลื่นไส้ ภาวะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity) ปฏิกิริยาภูมิแพ้แบบฉับพลัน เป็นต้น
หากในกรณีที่ไม่มียาโควิด ร้านขายยาทั่วไปที่มีจำหน่ายยาสามัญประจำบ้าน ก็สามารถใช้เพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้นในระดับไม่รุนแรงที่มาจากโควิดได้เช่นกัน โดยยาสามัญประจำบ้านที่นำมาใช้เป็นยาโควิดบรรเทาตามอาการได้ มีดังนี้
บางกรณี เมื่อเกิดอาการโควิดขึ้นแล้ว ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคประจำตัวกำเริบได้ด้วยเช่นเดียวกัน การที่เรามียาโรคประจำตัวที่เพียงพอติดไว้ ก็จะทำให้เราสามารถควบคุมโรคประจำตัวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ ส่งผลให้ความเสี่ยงที่จะเกิดการพัฒนาระดับความรุนแรงของอาการโควิดไปในระดับสูงลดลงได้
ยาแก้ไอแบบเม็ด (Dextromethorphan) สามารถใช้เป็นยาโควิดบรรเทาอาการไอได้ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการปอดอักเสบร่วมกับอาการไอ เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ซึ่งวิธีการรับประทานที่ปลอดภัย คือ การทานตามปริมาณที่แพทย์หรือเภสัชกรให้คำแนะนำ อีกทั้งยาแก้ไอ ทำได้เพียงแค่บรรเทาอาการไอที่เป็นผลมาจากโควิด-19 เท่านั้น ไม่สามารถป้องกันการเชื้อโควิดลงปอดได้
บางราย เมื่อได้รับเชื้อโควิด-19แล้ว อาจมีอาการเป็นหวัด น้ำมูกไหล การใช้ยาลดน้ำมูก (Chlorpheniramine : CPM) จะสามารถช่วยลดน้ำมูก เสมหะต่างๆ ส่งผลให้บุคคลนั้นหายใจได้สะดวกมากยิ่งขึ้น แต่ถึงอย่างนั้น ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับตับและไต ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้งาน อีกทั้งควรใช้ยาลดน้ำมูกในปริมาณที่เหมาะสม เนื่องจาก หากใช้ปริมาณมากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดอาการคอแห้ง ปากแห้ง ง่วงซึมได้
บุคคลที่ได้รับเชื้อโควิด-19 บางครั้งอาจมีอาการน้ำมูกไหล จาม คันตา คันคอได้ การที่มียาแก้แพ้ติดตัวไว้ โดยเฉพาะกลุ่มยาแก้แพ้ที่ไม่มีฤทธิ์ในการทำให้เกิดการง่วงซึม ก็จะช่วยบรรเทาให้อาการเหล่านี้ลดลง แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ควรรับประทานตามปริมาณที่ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
อาการท้องเสีย เป็นหนึ่งในอาการโควิดที่สามารถเกิดขึ้นได้ ฉะนั้น การที่มีผงเกลือแร่ ORS (Oral Rehydration Salts) ก็จะช่วยป้องกันเรื่องที่ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากเกินไป และช่วยทดแทนพลังงานร่างกายไม่ให้เกิดอาการอ่อนเพลียได้อีกด้วย
ผงเกลือแร่ สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่ชงเกลือแร่กับน้ำดื่มสะอาด และจิบทีละนิดไปเรื่อยๆ ส่วนบุคคลที่เป็นโรคไต หรือโรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนรับประทาน
หลายๆคน อาจมีคำถามในใจว่า “แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าการใช้ยาโควิด กินอะไรบ้าง หรือแต่ละคนเหมาะที่จะกินยาตัวไหนบ้าง?”
โดยทั่วไปแล้ว ยารักษาโควิดจะถูกประเมินตามระดับอาการผู้ป่วย รวมไปจนถึงปัจจัยเสี่ยงของแต่ละบุคคล ซึ่งจะมีเกณฑ์ดังต่อไปนี้
กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ ไม่ควรรับประทานยาต้านไวรัส เนื่องจากส่วนใหญ่ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถหายเองได้ และสามารถเลือกรูปแบบการรักษาแบบ Hospitel หรือแบบ Home Isolation ตามความสะดวก
กลุ่มผู้ป่วยระดับความรุนแรงน้อย ไม่มีภาวะปอดอักเสบ หรือไม่พบปัจจัยเสี่ยงใดๆ มีเพียงแค่อาการโควิดทั่วไป เช่น มีไข้เล็กน้อย น้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ ฯลฯ ก็จะสามารถใช้ยาสามัญประจำบ้านทั่วไปในการบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น เช่น ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก ฟ้าทะลายโจร เป็นต้น ซึ่งในขั้นนี้ อาจพิจารณาให้ยาโควิดอย่าง ฟาวิพิราเวียร์(Favipiravir) ได้ในบางรายบุคคล
กลุ่มผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงน้อย แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะพัฒนาไปเป็นกลุ่มระดับความรุนแรงมาก หรือมีโรคประจำตัว รวมไปจนถึงการมีภาวะปอดอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลาง จะพิจารณาให้ยาโควิด 1 ชนิด ได้แก่ ยาฟาวิพิราเวียร์(Favipiravir), ยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir), โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ ซึ่งแน่นอนว่า กลุ่มนี้ควรเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อเฝ้าระวังอาการเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
กลุ่มผู้ป่วยนี้ จะได้รับยาโควิดเป็นยาเรมดิซิเวียร์(Remdesivir) เนื่องจากผู้ป่วยมีระดับความรุนแรงมาก จึงควรเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
เมื่อเด็กติดโควิด การใช้ยาโควิดสำหรับเด็ก จะมีเกณฑ์การพิจารณาคล้ายคลึงกับที่กล่าวไปในข้างต้น ดังนี้
ยาโควิด คนท้องหรือผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก ซึ่งการพิจารณาจ่ายยาแต่ละชนิด มีดังนี้
การใช้ยาโควิด คนแก่หรือผู้สูงอายุ จะต้องพิจารณาถึงโรคประจำตัว ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น หัวใจ ปอด ไต ฯลฯ เนื่องจากในกลุ่มผู้สูงอายุระบบภูมิคุ้มกันอาจไม่ดีเท่ากับวัยหนุ่มสาว จึงทำให้เมื่อผู้สูงอายุติดโควิด-19 จะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มผู้ป่วยสีเหลืองทันที โดยยาที่สามารถใช้ในกลุ่มนี้ได้ คือ ยาฟาวิพิราเวียร์(Favipiravir), ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir), ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid)
ผู้ที่มีโรคประจำตัวเมื่อได้รับเชื้อโควิด-19 จะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัวที่มี รวมไปจนถึงยารักษาโรคประจำตัวต่างๆที่ใช้เป็นประจำ เนื่องจากแพทย์จะต้องตรวจเช็คว่า ยาโรคประจำตัวกับยาโควิดที่กำลังจ่ายให้ไป มีปฏิกิริยาร่วมกันหรือสามารถใช้ร่วมกันได้หรือไม่
ยารักษาตามอาการ ใช้ได้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีระดับความรุนแรงน้อย ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ซึ่งสามารถใช้ได้โดยการนำยาสามัญประจำบ้านมาบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น เช่น การใช้ยาลดไข้ เมื่อตรวจแล้วพบว่าอุณหภูมิภายในร่างกายสูงเกิน 37 องศาเซลเซียส การใช้ยาลดน้ำมูก เมื่อมีอาการคล้ายหวัด น้ำมูกไหล หรือการใช้ยาแก้ไอ เมื่อมีอาการไอ เจ็บคอ เป็นต้น
ยาฟ้าทะลายโจร เป็นยาสมุนไพรที่เป็นยาทางเลือกของการรักษาโควิด-19 ซึ่งยาฟ้าทะลายโจรสามารถบรรเทาอาการโควิดที่เกิดขึ้นได้ แต่ไม่สามารถป้องกันเชื้อโควิด-19ได้ โดยการเลือกใช้ยาฟ้าทะลายโจรขณะกักตัว ควรเลือกซื้อที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เท่านั้น และไม่ควรใช้ยาฟ้าทะลายโจรร่วมกับยาต้านไวรัสโควิด-19 ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น รวมไปจนถึงหากรับประทานไปแล้ว 3 วัน อาการไม่ดีขึ้น ควรหยุดใช้งานและปรึกษาแพทย์ทันที
ยาฟาวิพิราเวียร์(Favipiravir) เป็นยาต้านไวรัสโควิดที่สามารถเข้าไปช่วยยับยั้งการเพิ่มจำนวนหรือการแพร่กระจายไปยังเซลล์อื่นๆ ซึ่งในการทำ Home Isolation อาจได้รับยาชนิดนี้จากหน่วยงานทางการแพทย์ โดยยาฟาวิพิราเวียร์(Favipiravir) จะรับประทานตามน้ำหนักตัว ดังนี้
มาถึงในพาร์ทนี้ หลายๆคนคงมีคำถามในใจว่า แล้วหากเราต้องการจะรักษาแบบ Home Isolation กักตัว 14 วัน จะสามารถหายาจากไหนได้บ้าง? หรือสามารถเดินเข้าไปซื้อเองได้เลยไหม? คุณไม่ต้องกังวลในส่วนนี้เลย เพราะว่า หากคุณเป็นผู้ป่วยที่ระดับความรุนแรงน้อย ไม่มีความเสี่ยงใดๆ ต้องการรักษาตามอาการ คุณสามารถซื้อยาสามัญประจำบ้าน เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้ตามร้านขายยาทั่วไป
ส่วนผู้ที่มีระดับความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง หรือมีความเสี่ยงบางอย่างเกิดขึ้น ยารักษาเฉพาะทางหรือยาประจำตัวต่างๆ จะต้องได้รับจากใบสั่งยาของแพทย์เท่านั้น ไม่สามารถซื้อด้วยตนเองได้ ซึ่งยาโควิด ราคา ค่าใช้จ่ายต่างๆอาจขึ้นอยู่กับแต่ละแห่ง
การที่มีเจลลดไข้ติดไว้ จะทำให้เมื่อจู่ๆ คุณเกิดตัวร้อน ไม่สบาย เป็นไข้ ก็ยังสามารถหยิบใช้เจลเพื่อลดอุณหภูมิของร่างกายได้ เมื่ออุณหภูมิร่างกายลดลง จะทำให้ความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือโรคประจำตัวกำเริบลดลงไปด้วย
ปรอทวัดไข้ ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งจำเป็นที่ควรมีติดไว้ในบ้าน เนื่องจากการวัดอุณหภูมิร่างกายเบื้องต้น สามารถบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และทำให้เราประเมินความรุนแรงของอาการเบื้องต้นได้อีกด้วย
เครื่องวัดระดับออกซิเจนในเลือด เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เนื่องจากหากเราตรวจพบว่า ค่าออกซิเจนในเลือดลดลงอย่างมาก จะต้องรีบเข้ารับการรักษาอย่างด่วนที่สุด เนื่องจากระดับออกซิเจนในเลือด มีความสัมพันธ์กับระบบต่างๆ ภายในร่างกาย โดยเฉพาะระบบหายใจ จึงทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดระบบหายใจล้มเหลว หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งระดับความรุนแรงที่เป็นไปได้คืออาจถึงขั้นเสียชีวิต
โดยทั่วไป ตัวเลขปกติที่ควรจะวัดได้ จะอยู่ที่ประมาณ 97% - 100% หากตรวจพบว่าตัวเลขอยู่ในระดับต่ำกว่า 94% ควรเฝ้าระวังอาการหรือรีบเข้ารับการรักษาโดยเร็ว
ถึงแม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 จะยังไม่สิ้นสุดลง แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ยังจำเป็นที่จะต้องดำเนินชีวิตต่อไป จึงทำให้สเปรย์แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อสำคัญมากในยุคนี้ เพราะการที่มีพกไว้ จะทำให้เราลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการสัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งถือว่าเป็นการป้องกันดูแลตนเองได้ในระดับหนึ่ง
โดยสเปรย์แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ ควรจะต้องมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อย่างน้อย 75% จึงจะสามารถฆ่าเชื้อได้ ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งการเช็ดบริเวณที่มีผู้คนสัมผัสบ่อยๆ อย่างเช่น ลูกบิด ที่จับประตู เก้าอี้ สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ อีกทั้งยังฉีดลงบนฝ่ามือ เพื่อทำให้เรามั่นใจในการใช้ชีวิตได้มากขึ้นนั่นเอง
การใช้ยารักษาโควิด เป็นการใช้ยาเพื่อยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสและลดโอกาสที่จะเกิดการแพร่กระจายไปยังเซลล์อื่นๆ ได้ โดยยาโควิดแต่ละชนิด เหมาะกับกลุ่มคนที่แตกต่างกัน การจ่ายยาโควิดจึงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ ซึ่งในส่วนของผู้ที่ได้รับยาโควิดนั้น ควรจะต้องทานยาในปริมาณที่เหมาะสมตามที่ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ และควรสังเกตอาการตนเองอยู่เสมอ หากมีความผิดปกติใดๆเกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อความปลอดภัย
โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ พร้อมให้บริการคุณด้วยทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่ทันสมัยตามมาตรฐานสากล ให้คุณสามารถมั่นใจได้เหมือนมีคุณหมอเป็นเพื่อนบ้าน
หากสนใจเข้ารับการรักษา การตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิด หรือต้องการปรึกษาเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ Line : @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
References
คณะกรรมการกำกับดูแลรักษาโควิด-19. (2565, 22 มีนาคม). แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25650324144250PM_CPG%2022%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%B2.pdf
Katella, K. (2022, November 29). COVID-19 Treatments: What We Know So Far. YaleMedicine. https://www.yalemedicine.org/news/covid-19-treatment-drugs
Molnupiravir 200 Mg Capsule (EUA) - Uses, Side Effects, and More. (n.d.). WebMD. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-183164/molnupiravir-oral/details
Stewart, J. (2022, July 20). Paxlovid. Drugs.com. https://www.drugs.com/paxlovid.html
Zimmer, C., Wu, K.J., & Corum, J. (2022, August 31). Coronavirus Drug and Treatment Tracker. The New York Times. https://www.nytimes.com/interactive/2020/science/coronavirus-drugs-treatments.html
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)