ตาปลาที่เท้า เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง
ตาปลาที่เท้าเป็นภาวะที่ผิวหนังแข็งตัวเป็นก้อนกลมนูน มีจุดดำตรงกลาง เกิดจากแรงกดทับซ้ำ ๆ ทำรู้สึกให้เจ็บเมื่อเดิน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสม
ฟ้าทะลายโจรเป็นสมุนไพรที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน และเป็นยาในบัญชีหลักแห่งชาติที่ผ่านเมื่อปี 2559 มีสรรพคุณบรรเทาอาการเจ็บคอ อาการไอ จึงทำให้เป็นยาที่นิยมใช้รักษาในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 อย่างไรก็ตาม มีทั้งข้อมูลที่ว่า ฟ้าทะลายโจรรักษาโรคโควิด-19 ได้จริง บ้างก็ว่าเพียงบรรเทาอาการ หรืออาจมีคำเตือนว่าเป็นอันตรายต่อตับ บทความนี้จะพาไปทำความรู้จัก “ฟ้าทะลายโจร” ยาทางเลือกรักษาโควิด-19
สารบัญบทความ
ฟ้าทะลายโจร (ชื่อวิทยาศาสตร์ Andrographis Paniculata) คือ สมุนไพรรสขมที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในหลายประเทศ มักนำมารับประทานเพื่อบรรเทาอาการของโรคหวัด ไข้ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อย รวมถึงอาการอักเสบของระบบทางเดินหายใจส่วนบนได้ มีสารสำคัญที่ชื่อว่า “แอนโดรกราโฟไลด์” (andrographolide) มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสต่างๆ
ยาฟ้าทะลายาโจรที่จัดจำหน่ายในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบดังนี้
รูปแบบผงยา โดยการนำส่วนเหนือดินของฟ้าทะลายโจรมาตากแห้ง แล้วนำไปบดผงยา ผงยาสามารถนำไปทำได้ทั้งฟ้าทะลายโจรแบบเม็ดและฟ้าทะลายโจรแบบแคปซูล
ฟ้าทะลายโจรแบบผงจะมีไฟเบอร์จากใบไม้และสารแอนโดรกราโฟไลด์ Andrographolide โดยองค์การอาหารและยา ระบุว่า ยาจากผงฟ้าทะลายโจร ควรมีความเข้มข้นของ Andrographolide ไม่น้อยว่ากว่า 1%
ยาฟ้าทะลายโจรสกัดทำมาจากการสกัดสารแอนโดรกราโฟไลด์ หรือ Andrographolide ในฟ้าทะลายโจรมาเท่านั้น ต่างจากฟ้าทะลายโจรแบบผงตรงที่จะไม่มีใบหรือกากไฟเบอร์เจือปนอยู่ มักมาในรูปแบบของฟ้าทะลายโจรแบบแคปซูล
สมุนไพรฟ้าทะลายโจรช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด แก้ไอ และเจ็บคอ รวมถึงบรรเทาโรคไข้หวัดใหญ่ได้ ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันใหม่ ทำให้เชื้อโรคในร่างกายลดน้อยลงจนหายไปในที่สุด
ฟ้าทะลายโจรต้านสารอนุมูลอิสระที่อยู่ภายในการแข็งตัวของเลือด ช่วยบรรเทาอาการอักเสบ อีกหนึ่งสรรพคุณที่มีประโยชน์ของฟ้าทะลายโจรคือช่วยยับยั้งสารที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบของร่างกาย
ฟ้าทะลายโจรจะขับสารพิษที่อยู่ในระบบทางเดินอาหารออกมา ป้องกันผนังลำไส้ไม่ให้เกิดการระคายเคือง ไม่ให้ลำไส้เคลื่อนไหวจนเสียดท้อง ช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย อาหารเป็นพิษ หรือท้องเดินได้ ช่วยให้การทำงานของระบบขับถ่ายปกติ
อาการเลือดออกหรือปวดหน่วงๆ จากโรคริดสีดวงทวารสามารถบรรเทาได้ด้วยฟ้าทะลายโจร การรับประทานฟ้าทะลายโจรจะทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น ไม่บาดหรือเสียดสีจนเจ็บปวด จึงทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ช่วยรักษาอาการปวด
โรคงูสวัดสามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานฟ้าทะลายโจรแบบแคปซูลก่อนอาหารประมาณ 2-3 เม็ด วันละ 3 มื้ออาหาร ติดต่อกันเป็นเวลา 3 สัปดาห์
ไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อยคือเชื้อที่ผังอยู่ในต่อมน้ำเหลือง หรือตามเนื้อเยื่อผนังลำไส้เล็ก เชื้อตัวนี้มีส่วนทำให้ร่างกายอ่อนแอ การรับประทานฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน 3 สัปดาห์จะช่วยให้เชื้อที่ฝังอยู่นี้สลายตัวไปได้อัตโนมัติ
ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 ควรใช้ยาฟ้าทะลายโจรภายใต้การดูแลของแพทย์ โดยทั่วไปแล้ว จะได้รับฟ้าทะลายโจรตามขนาดที่กำหนดคือ 180 มิลลิกรัมต่อวัน แบ่งทานวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 60 มิลลิกรัม
จากการวิจัยพบว่าสารแอนโดรกราโฟไลด์มีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสโควิด-19 (SARS-CoV-2) ในเซลล์เนื้อเยื่อ แต่ไม่สามารถป้องกันไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้
ฟ้าทะลายโจรมี 3 กลไกที่เกี่ยวข้องในการรักษาโควิด-19 คือ
1.การยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส (Virostatic) ไม่มีฤทธิ์ป้องกันการเข้าเซลล์หรือกำจัดไวรัส
2.ลดการอักเสบ ซึ่งมีผลในการลดไข้ลดอาการหวัด ไอ เจ็บคอ
3.ปรับภูมิคุ้มกัน เสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง
ยาฟ้าทะลายโจรใช้เมื่อเริ่มมีอาการป่วยเล็กน้อย ทำ Home Isolation ระหว่างกักตัว 14 วัน เช่น คัดจมูก มีน้ำมูก มีอาการไอ ไข้หวัด ผื่นแดงโควิด และไม่ควรทานยาฟ้าทะลายโจรเกินวันละ 180 มิลลิกรัม
ก่อนทานควรสังเกตขนาดปริมาณสาร Andrographolide ในตัวยาว่ามีขนาดเท่าไหร่ต่อหนึ่งแคปซูล รวมกันแล้วไม่ควรทานเกินวันละ 180 มิลลิกรัม ทั้งนี้ ไม่ควรทานยาฟ้าทะลายโจรติดต่อกันเกินห้าวัน หากอาการป่วยไม่ดีขึ้นใน 3 วัน ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อดูอาการ
รศ.ภญ.ดร.มยุรี อาจารย์จากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มาวิทยาลัย องค์การเภสัชกรรม แนะนำให้รับประทานฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน 5 วัน หากอาการไม่ดีขึ้นและไม่มีความเสี่ยงเรื่องโรคตับ ก็อาจจะรับประทานต่อได้อีก แต่ก็ไม่ควรเกิน 14 วันต่อเนื่อง
แต่หากผู้ป่วยโควิด-19 มีความเสี่ยงโรคตับร่วมด้วย ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะหากรับประทานยาฟ้าทะลายโจรเป็นเวลานาน ค่าเอนไซม์บางชนิดในตับจะสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดพิษในตับได้ ทั้งนี้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ ที่สำคัญ ห้ามใช้ฟ้าทะลายโจรคู่กับยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) เด็ดขาด โดยเสริมว่า ขณะที่ยังไม่มีอาการป่วย ไม่ควรบริโภคยาฟ้าทะลายโจรเพื่อผลในการป้องกันโรค
กลุ่มคนที่ไม่ควรใช้ยาฟ้าทะลายโจร ได้แก่
* เนื่องจากการใช้ยาดังกล่าวร่วมกับยาฟ้าทะลายโจร อาจเสริมฤทธิ์กันได้ หากจำเป็นต้องใช้ ยาฟ้าทะลายโจร ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
การใช้ฟ้าทะลายโจรในเด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 หรือมีอาการ Mis-c แบ่งตามช่วงวัยได้ดังนี้
อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดจากการรับประทานฟ้าทะลายโจร เช่น
วิธีในการเลือกยาฟ้าทะลายโจรที่ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย หลีกเลี่ยงฟ้าทะลายโจรปลอม หรือคำถามที่ว่าฟ้าทะลายโจรยี่ห้อไหนดี ควรพิจารณาจากข้อมูลบนฉลากยา ได้แก่
ต้องขึ้นต้นด้วยอักษรตัว G ทั้งนี้สามารถนำเลขทะเบียนดังกล่าวไปตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ในเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้
ผู้ป่วยไม่ควรได้รับสาร Andrographolide เกิน 180 มิลลิกรัมต่อวัน ก่อนซื้อควรอ่านฉลากหาปริมาณสารบรรจุให้ละเอียด
ควรอ่านฉลากให้ถี่ถ้วนก่อนว่ายาที่ซื้อมานั้น มีวันหมดอายุวันที่เท่าไหร่ ยาใกล้หมดอายุแล้วหรือไม่
โรงงานที่ผลิตต้องถูกต้องตามที่ขึ้นทะเบียนอย. โรงงานควรมีตัวตนอยู่จริง และควรมีมาตรฐาน GMP ตามกฎหมายกำหนด
ควรเก็บรักษายาฟ้าทะลายโจรในที่แห้ง ที่สะอาด ใส่ในภาชนะบรรจุปิดสนิท เก็บยาให้พ้นจากแสงแดด ห้าทิ้งยาไว้ในรถยนต์ เพราะหากจอดทิ้งไว้กลางแดดอุณหภูมิในรถจะสูงขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้ยาเสื่อมสภาพได้ อีกหนึ่งข้อควรคำนึงในการเก็บยาฟ้าทะลายโจรคือควรเก็บไว้ในภาชนะบรรจุเดิม เนื่องจากมีฉลากยาและวันที่ได้รับยาระบุไว้ จะทำให้ทราบระยะเวลาที่ควรเก็บยาที่เหลือได้
ฟ้าทะลายโจรเป็นยาสมุนไพร มีสาร Andrographilide คือสารออกฤทธิ์สำคัญ มีสรรพคุณฟ้าทะลายโจร แก้เจ็บคอ แก้ไข้ แก้หวัด สามารถกินเพื่อการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสได้ แต่ไม่มีฤทธิ์ป้องกันการเข้าเซลล์หรือกำจัดไวรัส จึงไม่สามารถกินฟ้าทะลายโจรเพื่อรักษาโรคโควิด-19 ได้ แต่สามารถกินเพื่อบรรเทาอาการ เจ็บคอ ไข้ ไอ มีน้ำมูกได้
ผู้ป่วยโควิด-19 ควรรับประทานฟ้าทะลายโจรตามขนาดที่กำหนด คือ 180 มิลลิกรัมต่อวัน ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ติดต่อกัน 3-5 วัน จะช่วยให้อาการเจ็บคอ ไข้หวัดลดลง ฟ้าทะลายโจร แก้อักเสบได้
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟ้าทะลายโจร หรือหากรับประทานฟ้าทะลายโจรแล้วมีอาการไม่พึงประสงค์ สามารถติดต่อสอบถามกับทีมแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
Reference
Hossain MS, Zannat Urbi Z, Sule A, Rahman KMH. Andrographis paniculata (Burm. f.) Wall. ex Nees: A review of ethnobotany, phytochemistry, and pharmacology. TSWJ 2014, Article ID 274905, 28 pages
Wagner L., Cramer H, Klose P, Lauche R, Gass F, Dobos G, Langhorst J. Herbal Medicine for Cough: a Systematic Review and Meta-Analysis. Forsch Komplementmed. 2015;22:359- 368.
Worasuttayangkurna L, Nakareangritb W, Kwangjaic J, Sritangosa P, Pholphana N, Watcharasit P, et al. Acute oral toxicity evaluation of Andrographis paniculata-standardized first true leaf ethanolic extract. Toxicology Reports. 2019;6:426–430.
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)