บทความสุขภาพ

โรคติดต่อทางเพสสัมพันธุ์ ทำความรู้จักอันตรายเมื่อมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน

บทความโดย: seoteam seoteam วันที่อัพเดท: 14 พฤษภาคม 2567

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากการติดเชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ป่วยติดเชื้อหรือเป็นพาหะ ซึ่งมีอยู่หลายโรค โดยโรคเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก โดยบางคนที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาจพบอาการรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หรือบางคนอาจเสียชีวิตได้ ดังนั้น จึงควรรู้จักวิธีป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไว้เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น



สารบัญบทความ


โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ุคืออะไร เกิดจากอะไรได้บ้าง?

โรคติดต่อทางเพสสัมพันธุ์ คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อเพราะกิจกรรมทางเพศ หรือการมีเพศสัมพันธ์ุที่ไม่มีการป้องกันอย่างเหมาะสม จนเป็นที่มาและสาเหตุโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ุ การติดเชื้อของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ุสามารถเกิดขึ้นได้ผ่านการร่วมเพศทางปาก ทางช่องคลอด และทางทวารหนัก ซึ่งมีทั้งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ุผู้หญิงและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ุผู้ชาย โดยชนิดของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ุจะขอไปกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป


โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีโรคอะไรบ้าง?

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีอะไรบ้าง

ปัจจุบันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบเห็นได้บ่อย ๆ มีอยู่หลายโรค โดยในบทความนี้ เราจะมาเรียนรู้และทำความรู้จักเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดต่าง ๆ ทั้งในเรื่องอาการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วิธีป้องกัน และการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อให้ทุกคนสามารถป้องกันตัวเองจากโรคเหล่านี้ได้

โรคหนองใน (Gonorrhea)

โรคหนองใน มีทั้งหนองในแท้และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หนองในเทียม ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียคนละชนิด โดยอาการของโรคหนองในแท้และหนองในเทียมในผู้หญิงมักมีอาการตกขาวผิดปกติ ปัสสาวะแล้วเจ็บหรือแสบ ส่วนผู้ชายอาจจะพบหนองไหลออกมาจากอวัยวะเพศ หรือในบางรายอาจไม่แสดงอาการของโรค แต่สามารถแพร่เชื้อไปยังคนอื่นได้ถ้ามีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน

โรคซิฟิลิส (Syphilis)

โรคซิฟิลิสเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Treponema pallidum โดยอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดนี้ที่พบบ่อยคือ มีแผลริมแข็งที่บริเวณอวัยวะเพศ ไม่เจ็บ ซึ่งส่วนใหญ่แผลหายได้เอง แต่เชื้อจะยังอยู่ หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงในภายหลัง เช่น การติดเชื้อจนมีผลต่อระบบหัวใจ สมอง รวมถึงระบบประสาท จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

โรคเอดส์ (AIDS)

โรคเอดส์ เป็นโรคที่ร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องขั้นรุนแรง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ในระยะแรกผู้ป่วยอาจไม่มีอาการ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เชื้อ HIV จะทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวจนทำให้ร่างกายอ่อนแอและเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ วัณโรค ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดนี้ให้หายขาด แต่สามารถควบคุมได้ด้วยยาต้าน HIV

โรค HPV (Human Papilloma Virus)

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ HPV คือโรคที่เกิดจากไวรัส Human papillomavirus ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มก่อมะเร็งที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งช่องคลอดและมะเร็งปากมดลูก โดยเฉพาะสายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก นอกจากนี้ ยังมี HPV สายพันธุ์ที่ไม่ก่อมะเร็งแต่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศ และอีกกลุ่มคือ HPV สายพันธุ์ส่วนมากที่ไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ ที่เป็นอันตรายหลังติดเชื้อ สามารถหายได้เองด้วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย 

โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis Type B)

โรคไวรัสตับอักเสบบีเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Hepatitis ชนิดบี ซึ่งสามารถติดต่อได้ผ่านทางเลือด น้ำเชื้อ รวมถึงน้ำหลั่งอื่น ๆ เช่นน้ำเหลือง โดยพบในประเทศไทยประมาณ 5-7% ของจำนวนประชากรทั้งหมด โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ แต่หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และมะเร็งตับได้

โรคเริมที่อวัยวะเพศ (Genital herpes)

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เริมเกิดจากเชื้อไวรัส Herpe Simplex Virus (HSV) ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน อาการที่พบบ่อยคือ มีตุ่มขึ้นที่อวัยวะเพศหญิง ปัสสาวะแสบขัด และบางคนอาจแสดงอาการในรูปแบบของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในปาก ซึ่งจะมีตุ่มน้ำใสขึ้นในช่องปาก โดยเชื้อจะหลบอยู่ในร่างกาย เมื่อร่างกายอ่อนแอก็สามารถทำให้โรคเริมกำเริบได้

โรคพยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis)

โรคพยาธิในช่องคลอดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากโปรโตซัว Trichomonas vaginalis หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘Trich’ โดยการแสดงอาการมักจะเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีอาการใด ๆ ที่สามารถสังเกตเห็นได้ แต่ผู้ป่วยบางคนอาจแสดงอาการประมาณ 5-28 วันหลังติดเชื้อ โดยอาจมีอาการตกขาวผิดปกติ แสบและคันช่องคลอด หรือรู้สึกเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์หรือปัสสาวะ


ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเสี่ยงที่มีความเกี่ยวข้อง ดังนี้

  • ไม่ใช้ถุงยางอนามัยหรือสวมใส่อย่างไม่ถูกต้องเหมาะสมในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
  • มีพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยง เช่น มีคู่นอนหลายคน มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย
  • มีประวัติการติดเชื้อหรือมีคู่นอนที่มีประวัติการติดเชื้อ ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงที่จะกลับมาติดเชื้อได้

วิธีการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทำอย่างไรได้บ้าง?

การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีหลายวิธีที่สามารถทำได้เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ดังนี้

  • ใช้ถุงยางอนามัยระหว่างมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง ซึ่งเป็นวิธีที่ป้องกันการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ใช้ยา PrEP สำหรับต้านไวรัส HIV ใช้ในโอกาสก่อนที่จะสัมผัสกับเชื้อไปจนหมดระยะเสี่ยง หรือยา PEP ซึ่งช่วยในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV แบบฉุกเฉิน สำหรับผู้ที่สัมผัสเชื้อมาไม่เกิน 72 ชั่วโมง
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ เช่น การตรวจ HIV โดยเฉพาะคนที่มีคู่นอนหลายคนหรือมีพฤติกรรมทางเพศที่มีความเสี่ยง
  • ทำความรู้จักคู่นอน โดยเฉพาะเรื่องพฤติกรรมและประวัติสุขภาพ
  • การฉีดวัคซีนสำหรับบางโรค เช่น วัคซีน HPV

การวินิจฉัยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ภัยเงียบที่อาจมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

การติดเชื้อของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้น ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการให้เห็นในระยะแรก ทำให้มีโอกาสแพร่กระจายเชื้อโดยไม่รู้ตัว จึงถือเป็นภัยเงียบที่อาจทำให้หลายคนมองข้ามเพราะยากที่จะสังเกตความผิดปกติเหล่านี้ได้ด้วยตนเอง ดังนั้น การตรวจวินิจฉัย และคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จึงมีความสำคัญ โดยคุณสามารถเริ่มจากการตรวจที่โรงพยาบาลหรือคลินิกเฉพาะทางเป็นประจำ เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อตัวคุณเองและบุคคลรอบข้าง


วิธีรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทำอย่างไรได้บ้าง?

วิธีรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค โดยโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น หนองใน ซิฟิลิส สามารถใช้ยาปฏิชีวนะรักษา โดยผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะตามคำสั่งของแพทย์อย่างครบถ้วนและถูกต้องเพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา

ส่วนโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสตับอักเสบบี หรือ เอดส์ ในปัจจุบันยังไม่มียาตัวไหนที่กำจัดเชื้อไวรัสได้ แต่สามารถรักษาให้อาการดีขึ้นและป้องกันไม่ให้โรคลุกลาม โดยผู้ป่วยจะต้องพบแพทย์เพื่อรับการรักษาตามอาการอย่างต่อเนื่อง


โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถหายขาดได้ไหม? เป็นแล้วหายได้หรือไม่?

การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจมีคำถามว่าถ้าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แล้วจะสามารถรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้หรือไม่? ซึ่งคำตอบก็ขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ โดยถ้าเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสามารถหายขาดได้ ถ้ากินยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง 

ในขณะที่ ถ้าเป็นเชื้อไวรัส เมื่อติดเชื้อแล้วจะไม่สามารถหายขาดได้และสามารถรักษาได้ตามอาการเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ยังสามารถประคองไม่ให้อาการแย่ลงหรือไม่ให้เชื้อเกิดการแพร่กระจายได้หากอยู่ในการควบคุมของแพทย์ผู้รักษา


สรุปเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รู้ทัน ป้องกันได้!

จะเห็นได้ว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ค่อนข้างมีความซับซ้อนและอาจทำให้ผู้ติดเชื้อมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนได้หากไม่รักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งแม้โรคบางอย่างจะสามารถกลับมาหายเป็นปกติได้ แต่ก็มีอีกหลายโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ในปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การใช้ถุงยางอนามัย และการฉีดวัคซีนที่เหมาะสม จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรใส่ใจ

หากคุณหรือใครบางคนที่คุณรู้จักอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรรีบเข้ารับคำปรึกษาและรับการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำ โดยสามารถติดต่อได้ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ซึ่งมีทีมแพทย์มากประสบการณ์ในการรักษา และพร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง ติดต่อเราได้ที่ Line : @samitivejchinatown หรือโทร 02-118-7893 


References 
 

National Library of Medicine. (n.d.). Sexually transmitted diseases. STD | Venereal Disease | MedlinePlus. https://medlineplus.gov/sexuallytransmitteddiseases.html 

Sexually transmitted diseases (STDs) - Symptoms and causes - Mayo Clinic. (2023, September 8). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/sexually-transmitted-diseases-stds/symptoms-causes/syc-20351240 

Sharkey, L. (2023, April 11). Everything you need to know about sexually transmitted diseases. Healthline. https://www.healthline.com/health/sexually-transmitted-diseases 

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​