ขลิบปลายอวัยวะเพศชาย ลดกลิ่น ลดโรค เสริมความมั่นใจ
การขลิบปลายอวัยวะเพศชาย สามารถทำได้ทุกวัย ช่วยให้ทำความสะอาดง่าย ไม่หมักหมมจนเกิดผลเสียต่อสุขภาพ เช่น หนังหุ้มปลายอักเสบ มีกลิ่น ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
เมื่อรู้ว่าตัวเองรับเชื้อ HIV เข้าร่างกาย คนส่วนใหญ่อาจคิดว่าตัวเองติดเชื้อเอชไอวีหรือเป็นโรคเอดส์แล้ว แต่รู้หรือไม่? ว่าถ้าร่างกายรับเชื้อ HIV แล้วรีบทานยาต้าน HIV ให้เร็วที่สุด ยาต้าน HIV ก็จะมีประสิทธิภาพในการลดโอกาสติดเชื้อ HIV สูงขึ้น
ในบทความนี้จะมากล่าวถึงข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับยาต้าน HIV ให้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงรับเชื้อ รวมถึงผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาต้านไวรัสในการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับยาต้าน HIV และพร้อมรับการรักษาอย่างปลอดภัย
สารบัญบทความ
ยาต้าน HIV (Antiretroviral Therapy) คือ ยาที่นำมาใช้ต้านหรือยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัส HIV แบ่งตัวหรือไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว อีกทั้งยังมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายให้สามารถทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคและเชื้อไวรัสต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
HIV ติดทางไหน? โดยทั่วไปแล้วเชื้อ HIV จะมาจากการมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสรับเลือดผู้มีเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกาย หรืออาจรับมาจากแม่สู่ลูกในครรภ์ ในกรณีที่ได้รับเชื้อ HIV จะทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง ถ้าไม่รับการรักษา เชื้อก็อาจจะพัฒนากลายเป็นโรคเอดส์และโรคฉวยโอกาสอื่น ๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตง่ายขึ้น
ด้วยเหตุนี้ยา HIV จึงมีความจำเป็นอย่างมากในกรณีที่ร่างกายมีความเสี่ยงรับเชื้อ HIV หรือร่างกายมีเชื้อ HIV สำหรับผู้ที่คิดว่าตนเองมีความเสี่ยงติดเชื้อ HIV ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อรับยาต้าน HIV ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ในส่วนของผู้ที่มีเชื้อ HIV อยู่ก็จำเป็นต้องยาต้านเชื้อ HIV ตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดตลอดชีวิต ไม่หยุดยาเองโดยเด็ดขาด เพื่อกดเชื้อไวรัสไม่ให้แบ่งตัวหรือแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นได้
ในปัจจุบันมีการผลิตยาต้าน HIV หลายประเภท ซึ่งยาต้านไวรัสHIVแต่ละประเภทมักจะใช้ร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาให้สูงขึ้น โดยยาต้าน HIV แบ่งออกเป็นประเภทหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
ยาต้านกลุ่ม PIs คือ ยาที่ช่วยหยุดไม่ให้เอนไซม์ Protease สามารถรวมตัวกับโปรตีนเพื่อเพิ่มจำนวน เชื้อไวรัส ซึ่งยาประเภทนี้จะช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อได้เป็นอย่างดี โดยสามารถใช้กับยาต้าน HIV ประเภทอื่นได้ แต่ผลข้างเคียงยาต้าน HIVกลุ่มนี้จะทำให้ปวดศีรษะ, ปวดท้อง, ท้องเสีย, คลื่นไส้, อาเจียน, กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น
ยาที่จัดอยู่ในกลุ่ม PIs
Atazanavir (ATV), Nelfinavir (NFV), Darunavir (DRV), Fosamprenavir (FPV), Saquinavir (SQV), Indinavir (IDV), Lopinavir (LPV), Ritonavir (RTV)
ยาต้านกลุ่ม INSTIs คือ ยาที่ช่วยลดการกระจายเชื้อไวรัส โดยการยับยั้งเอนไซม์ Integrase ที่เชื่อม DNA ไวรัสเข้ากับ DNA เม็ดเลือดขาว เมื่อเอนไซม์ไม่สามารถเชื่อม DNA ไวรัสกับ DNA เม็ดเลือดขาวได้ก็จะทำให้เชื้อไม่สามารถกระจายตัวได้ ยาต้านกลุ่มนี้สามารถใช้ร่วมกับยาต้าน HIV กลุ่มอื่นได้แต่ก็จะพบผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้, อาเจียน, ปวดท้อง, ปวดศีรษะ และอื่น ๆ
ยาที่จัดอยู่ในกลุ่ม INSTs
Bictegravir (BIC), Dolutegravir (DTG), Elvitegravir (EVG), Raltegravir(RAL)
ยาต้านกลุ่ม NRTIs คือ ยาที่ช่วยหยุดการทำงานของเอนไซม์ Reverse Transcriptase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เชื้อเอชไอวีใช้เปลี่ยนสารพันธุกรรม RNA เป็น DNA เมื่อเชื้อไวรัสไม่สามารถเปลี่ยนสารพันธุกรรมให้เป็น DNA จึงไม่สามารถเข้าสู่เม็ดเลือดขาวที่เป็น Host cell ได้ และยาต้านกลุ่ม NRTIs สามารถใช้กับยาต้าน HIV กลุ่มอื่นเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ แต่จะมีผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ, คลื่นไส้, อาเจียน, ปวดท้อง, ท้องเสีย ซึ่งอาการเหล่านี้จะไม่รุนแรงและหายเองได้
ยาที่จัดอยู่ในกลุ่ม NRTIs
Emtricitabine (FTC), Tenofovir Disoproxil Fumarate (TDF), Abacavir (ABC), Lamivudine (3TC), Didanosine (DDI), Zidovudine (AZT)
ยาต้านกลุ่ม NNRTIs คือ ยาที่ช่วยหยุดการทำงานของเอนไซม์ Reverse Transcriptase เช่นเดียวกันกับยากลุ่ม NRTIs แต่จะจับเอนไซม์ Reverse Transcriptase ตำแหน่งใกล้ Nucleoside ไม่ให้เปลี่ยนเชื้อไวรัสสารพันธุกรรมจาก RNA เป็น DNA ซึ่งต่างจากยากลุ่ม NRTIs ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในเซลล์ก่อน โดยยาต้านกลุ่ม NNRTIs สามารถใช้ร่วมกับยารักษา HIV ประเภทอื่น ๆ ได้ แต่จะมีอาการข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ, คลื่นไส้, อาเจียน, ปวดท้อง, ท้องเสีย เป็นต้น
ยาที่จัดอยู่ในกลุ่ม NNRTIs
Dolutegravir (DTG), Efavirenz (EFV), Etravirine (ETR), Nevirapine (NVP), Rilpivirine (RPV)
การทานยาต้าน HIV จะเป็นประโยชน์มากกับทั้งตนเองและบุคคลรอบข้าง ดังนี้
หากจำเป็นต้องเสี่ยงติดเชื้อเอชไอวีสูงต่อเนื่อง การทานยาต้าน HIV ช่วยได้ โดยยา PEP จะช่วยป้องกันการติดเชื้อ และยา PrEP จะช่วยป้องกันกรณีก่อนสัมผัสเชื้อ แต่ยาทั้งสองประเภทจำเป็นจะต้องให้แพทย์เป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น
หมายเหตุ แม้ว่าจะทานยาป้องกันแล้ว แต่หากมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยก็ควรตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มเติม เพราะยาต้าน HIV ไม่ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในซิฟิลิส และไม่สามารถป้องกันเชื้อ HPV ได้
(hpvคือ เชื้อไวรัส Human papillomavirus ที่ทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก มะเร็งช่องปาก โรคหูดหงอนไก่ และอื่น ๆ ร่างกายมักได้เชื้อนี้จากการมีเพศสัมพันธ์)
เมื่อทานยาต้าน HIV แล้ว ตัวยาจะช่วยควบคุมและลดการแบ่งตัวของเชื้อ HIV ไม่ให้ทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่กำจัดเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ
เมื่อร่างกายมีเชื้อ HIV และกินยาต้าน HIV สม่ำเสมอและตรงเวลาทุกวันตามที่แพทย์สั่ง จะช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรง และลดโอกาสติดโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ เช่น วัณโรค, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, ปอดอักเสบ, โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น
หากติดเชื้อ HIV และไม่ได้เข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง จะทำให้การติดเชื้อ HIV พัฒนากลายเป็นโรคเอดส์ ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายลดลงจนไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคได้ และยังเพิ่มโอกาสเกิดโรคฉวยโอกาสอื่น ๆ ที่เป็นเหตุทำให้เสียชีวิต ดังนั้นการทานยาต้าน HIV จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากไวรัสเอชไอวีลง
เมื่อทานยาต้านไวรัสเอดส์ตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ก็จะทำให้เชื้อเอชไอวีในร่างกายลดลง ซึ่งจะช่วยลดโอกาสแพร่เชื้อไวรัสเอชไอวีให้กับผู้อื่น อีกทั้งยังช่วยป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสจากแม่สู่ลูกในครรภ์ได้อีกด้วย
ยาต้าน HIV ที่ใช้ป้องกันและลดความเสี่ยงการติดเชื้อเอชไอวีแบ่งออกตามลักษณะการใช้งาน 2 ชนิด คือ ยาต้าน HIV ก่อนสัมผัสเชื้อ (PrEP) และใช้ยาต้าน HIV หลังสัมผัสเชื้อ (PEP) ยาป้องกันแต่ละชนิดจะมีวิธีการใช้งาน ดังนี้
Pre-Exposure Prophylaxis หรือที่เรียกว่ายา PrEP คือ ยาที่ให้ผู้มีผลเลือดลบ (ไม่พบเชื้อ) ทานก่อนเสี่ยงสัมผัสเชื้อเอชไอวี ก่อนเริ่มยาจำเป็นจะต้องให้แพทย์ประเมินสภาพของผู้รับยาก่อนว่ามีความเสี่ยงติดเชื้อ HIV แล้วแพทย์จะให้ทานยาป้องกันHIV 1 ชนิดวันละ 1 เม็ดติดต่อกันในช่วงที่มีความเสี่ยง และจะต้องตรวจเลือดทุก ๆ 3 เดือนเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพยา
ทั้งนี้ยา PrEP ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้นในกรณีที่ต้องการมีเพศสัมพันธ์ ควรเข้ารับการตรวจ HIV ก่อนเพื่อลดโอกาสการเกิดโรคติดต่อที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์
Post-Exposure Prophylaxis หรือที่เรียกว่ายา PEP คือ ยาต้านฉุกเฉินที่ต้องทานหลังจากสัมผัสเชื้อเอชไอวีหรือมีความเสี่ยงติดเชื้อ โดยเมื่อสัมผัสถูกเชื้อ HIV จำเป็นต้องรีบพบแพทย์เพื่อทานยา PEP ทันทีหรือภายใน 72 ชั่วโมงเพื่อให้ยามีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อไวรัสได้ โดยยา PEP จะช่วยป้องกันเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ประมาณ 80%
โดยแพทย์จะให้ทานยาต้าน HIV วันละ 3 ชนิดต่อเนื่องจนครบ 28 วัน และหลังจากนั้นก็จะต้องเข้ารับการตรวจเลือดทุก ๆ 1 และ 3 เดือน แต่การทานยา PEP อาจพบผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ รู้สึกอ่อนเพลีย แต่อาการเหล่านี้จะหายในระยะเวลาไม่นาน
กรณีที่เจอเหตุการณ์เสี่ยงติดเชื้อเอชไอวี ให้รีบพบแพทย์เพื่อรับยาต้าน HIV ฉุกเฉินโดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ในที่นี้ก็จะยกตัวอย่างยาต้านฉุกเฉินที่สามารถใช้ทานกรณีเสี่ยงรับเชื้อไม่เกิน 72 ชั่วโมง ดังนี้
|
Kocitaf |
Teevir |
ส่วนประกอบหลัก |
|
|
ประเภทของกลุ่มยา |
NNRTIs (2) + INSTI (1) |
NNRTIs (2) + INSTI (1) |
ผลข้างเคียงเมื่อใช้ยา |
|
|
ยาต้าน HIV มีช่วงราคาต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของยา จำนวนเม็ดยา และสถานที่จำหน่าย โดยยาต้าน HIV ราคาเริ่มต้นตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่น เช่น
ในกรณีที่จำเป็นต้องทานยาต้าน HIV ผู้ป่วยจำเป็นต้องแจ้งประวัติโรคหรือยาประจำตัวกับแพทย์ทุกครั้ง เนื่องจากยาบางชนิดจะส่งผลต่อระดับยาต้านเอดส์ หรืออาจเกิดผลข้างเคียง เช่น
เพื่อให้ยาต้าน HIV ออกฤทธิ์ได้เต็มประสิทธิภาพ ผู้ป่วยจะต้องปรึกษากับแพทย์เพื่อจัดยาตามความเหมาะสมต่อไป
ยาต้าน HIV เป็นยาช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีเชื้อเอชไอวีด้วยการลดการเพิ่มจำนวนเชื้อ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ และกดไม่ให้เชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ สำหรับในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อจากการสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง หากทานยาต้าน HIV ทันทีก็จะช่วยป้องกันและลดโอกาสการติดเชื้อไวรัสได้มากถึง 80%
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์นอกจากจะต้องระวังเชื้อ HIV แล้วยังต้องระวังโรคติดต่อที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น เริม และเชื้อ HPV ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก หูดหงอนไก่ และโรคอื่น ๆ ด้วย แต่ในส่วนของเชื้อ HPV ในปัจจุบันก็มีวัคซีน HPV ที่ช่วยป้องกันเชื้อได้ โดยทั้งเพศหญิงและเพศชายควรฉีดเมื่อมีอายุ 9-26 ปีเพื่อให้วัคซีนมีประสิทธิภาพสูงสุด
สำหรับผู้ที่ต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับยาต้าน HIV มีความเสี่ยงต้องการเข้ารับการตรวจ HIV ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือต้องการใช้บริการอื่น ๆ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมงตามช่องทางดังนี้
ช่องทางการติดต่อ
References
Following an HIV Treatment Regimen: Steps to Take Before and After Starting HIV Medicines. (2021, August 4). HIVInfo. https://HIVinfo.nih.gov/understanding-HIV/fact-sheets/following-HIV-treatment-regimen-steps-take-and-after-starting-HIV
Bernstein, S. (2024, March 5). HIV Drugs: ART Interactions. WebMD. https://www.webmd.com/HIV-aids/HIV-drug-interactions
Medline Plus [Internet]. Bethesda (MD): National Library of Medicine (US); [updated 2020 Jun 24]. HIV Medicines; (n.d.) https://medlineplus.gov/HIVmedicines.html
Labhardt, ND. Brown, JA. Sass, N. Ford, N & Rosen, S. (2023). Treatment Outcomes After Offering Same-Day Initiation of Human Immunodeficiency Virus Treatment—How to Interpret Discrepancies Between Different Studies. Clinical Infectious Diseases, 77(8): 1176-1184). https://academic.oup.com/cid/article/77/8/1176/7179925#
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)