ขลิบปลายอวัยวะเพศชาย ลดกลิ่น ลดโรค เสริมความมั่นใจ
การขลิบปลายอวัยวะเพศชาย สามารถทำได้ทุกวัย ช่วยให้ทำความสะอาดง่าย ไม่หมักหมมจนเกิดผลเสียต่อสุขภาพ เช่น หนังหุ้มปลายอักเสบ มีกลิ่น ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
เชื้อ HIV หรือ Human Immunodeficiency Virus เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์รูปแบบหนึ่งที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ ซึ่งหากติดเชื้อ HIV แล้ว เชื้อจะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องจนเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ ปัจจุบันการวินิจฉัยการติดเชื้อ HIV นั้นทำได้เพียงการตรวจ HIV เท่านั้น ซึ่งหากตรวจพบเร็วก็สามารถทานยาต้านไวรัสและดูแลสุขภาพเพื่อส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันได้
บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับการตรวจ HIV ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการตรวจ HIV, กลุ่มเสี่ยงที่ควรตรวจ HIV, ขั้นตอนการตรวจ, ค่าใช้จ่าย และข้อมูลอื่น ๆ ที่น่าสนใจ จะมีข้อมูลอะไรบ้างไปดูกันเลย
สารบัญบทความ
การตรวจ HIV คือการนำสารคัดหลั่งจากร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการขูดเซลล์จากช่องปาก หรือเจาะเลือดไปตรวจหาเชื้อ HIV ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีบริการตรวจ HIV ตามสถานพยาบาลต่าง ๆ รวมไปถึงคลินิกนิรนาม สภากาชาดไทย โดยผู้เข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว
อีกทั้งปัจจุบันผู้ที่สงสัยว่าตนเองจะมีความเสี่ยงในการรับเชื้อ HIV ก็สามารถหาซื้อชุดตรวจ HIV ด้วยตนเองที่ร้านขายยา เพื่อมาทำการตรวจด้วยตนเองได้ โดยหากได้ผลบวกก็ยังต้องเข้ารับการตรวจในสถานพยาบาลซ้ำอีกครั้งเพื่อยืนยันผลและเข้ารับการรักษาต่อไป
การตรวจ HIV เป็นเพียงวิธีเดียวที่จะช่วยวินิจฉัยได้ว่าผู้เข้ารับการตรวจนั้นได้รับเชื้อ HIV หรือไม่ หากพบเชื้อ HIV และเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องทันที ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยลดความกังวลใจและยังสามารถดูแลสุขภาพ รวมไปถึงสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อลดความเสี่ยงที่ระบบภูมิคุ้มกันจะถูกทำลายจนนำไปสู่การเป็นผู้ป่วยเอดส์อย่างเต็มขั้นและอาจเกิดโรคแทรกซ้อนจากเอดส์ได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคเริม โรคมะเร็ง หรือวัณโรค เป็นต้น ดังนั้นการตรวจ HIV จึงมีความสำคัญและมีความจำเป็นมากสำหรับผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงหรือสงสัยว่าตนจะได้รับเชื้อ HIV
ปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์ได้พัฒนาให้มีวิธีการตรวจ HIV หลากหลายรูปแบบ โดยแต่ละรูปแบบจะมีวิธีการตรวจ ระยะความเสี่ยงที่สามารถตรวจพบเชื้อรวมไปถึงระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจต่างกันดังนี้
การตรวจในรูปแบบ Anti-HIV เป็นการตรวจหาแอนติบอดีที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเมื่อพบว่าได้รับเชื้อ HIV สามารถตรวจพบเชื้อ HIV ด้วยวิธีนี้ได้หลังจากได้รับเชื้อประมาณ 4 สัปดาห์ หลังจากทำการตรวจสามารถทราบผลได้ภายใน 1-2 ชั่วโมง
การตรวจในรูปแบบหาแอนติเจนในเชื้อ HIV เป็นการตรวจโปรตีนของเชื้อ p24 Antigen การตรวจรูปแบบนี้เป็นการตรวจการติดเชื้อ HIV ในระยะแรกหรือระยะเฉียบพลัน โดยสามารถตรวจด้วยวิธีนี้หลังจากได้รับเชื้อ 14-15 วันซึ่งเป็นระยะที่ร่างกายของผู้ติดเชื้อยังไม่สร้างแอนติบอดี หรือมีแอนติบอดีต่ำจนไม่สามารถตรวจวัดด้วยวิธีอื่น ๆ ได้
การตรวจในรูปแบบ NAT (Nucleic Acid Testing) เป็นการตรวจติดตามปริมาณของเชื้อไวรัสก่อนและหลังการรักษา HIV จะใช้วิธีนี้กับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ HIV และตรวจคัดกรองเลือดจากผู้บริจาคโลหิต การตรวจรูปแบบนี้เป็นการตรวจที่มีความรวดเร็วมากที่สุด สามารถตรวจพบเชื้อ HIV ได้ตั้งแต่ 3-7 วันหลังจากได้รับเชื้อ
การตรวจในรูปแบบ Rapid HIV Test เป็นการตรวจ HIV ที่ใช้คัดกรองเบื้องต้น โดยใช้เวลาทราบผลหลังตรวจเพียง 20 นาที แต่ถ้าหากอ่านผลการตรวจแล้วเป็นบวกหรือพบว่าติดเชื้อผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการตรวจซ้ำอีกครั้งด้วยวิธีการตรวจแบบ Anti-HIV หรือ NAT เพื่อทำการยืนยันว่าผู้ป่วยติดเชื้อ HIV จริง
การตรวจ HIV ควรตรวจหลังจากมีความเสี่ยง 2-4 สัปดาห์ เนื่องจากการตรวจเร็วเกินไปก็อาจจะทำให้ยังไม่พบเชื้อ แต่ถ้าตรวจช้าเกินไปก็อาจจะทำให้เชื้อทำลายระบบภูมิคุ้มกันจนเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นได้
การตรวจ HIV ไม่ได้จำเป็นเฉพาะผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันเท่านั้นแต่ยังมีกลุ่มเสี่ยงอื่น ๆ ที่ควรจะตรวจ HIV ด้วยเช่นกัน โดยมีกลุ่มคนที่ควรตรวจ HIV ดังต่อไปนี้
การตรวจ HIV นั้นไม่ได้มีวิธีการเตรียมตัวที่ยุ่งยากหรือซับซ้อน เพียงแต่ต้องสำรวจตัวเองและทำการจองคิวเข้ารับการตรวจในสถานพยาบาลหรือสถาบันที่ให้บริการ โดยมีรายละเอียดการเตรียมตัวสำหรับการเข้ารับการตรวจ HIV ดังนี้
ขั้นตอนการตรวจ HIV จะใช้เวลาประมาณ 40 นาทีถึง 1 ชั่วโมง โดยจะมีขั้นตอนการตรวจดังต่อไปนี้
ปัจจุบันมีการตรวจ HIV ด้วยตัวเองโดยการใช้ชุดตรวจ HIV โดยมีวิธีใช้งานชุดตรวจ HIV ด้วยตนเองและตัวอย่างชุดตรวจ HIV ที่จำหน่ายในประเทศไทยดังนี้
ผลตรวจ HIV มี 4 รูปแบบ ดังนี้
หลังจากทราบผลการตรวจ HIV แล้ว ไม่ว่าผลตรวจเป็นบวกหรือลบก็จะมีวิธีการดูแลตนเองที่แตกต่างกันไป โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
การตรวจ HIV มีราคาแตกต่างกันขึ้นอยู่กับรูปแบบวิธีการตรวจและสถานพยาบาลที่เลือก โดยบทความนี้ได้รวบรวมราคาโดยประมาณของการตรวจ HIV โดยมีรายละเอียดดังนี้
ทำความรู้จักกับการตรวจ HIV ไปแล้วหลาย ๆ คนอาจจะยังมีคำถามบางข้อเกี่ยวกับการตรวจ HIV ซึ่งเราได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตรวจ HIV มาฝากทุกคนแล้ว จะมีคำถามอะไรบ้างไปดูกันเลย
การตรวจ HIV ในสถานพยาบาลจะใช้วิธีเจาะเลือดซึ่งเป็นวิธีเดียวกับการตรวจสุขภาพทั่วไป หรือหากเป็นการตรวจ HIV ด้วยตนเองโดยการเจาะปลายนิ้วหรือใช้น้ำลายก็จะไม่มีอาการเจ็บปวด อีกทั้งยังเกิดผลข้างเคียงได้น้อยมาก
การตรวจ HIV นั้นจะใช้เวลาในกระบวนการตรวจ 1 วัน แต่ระยะเวลาที่จะทราบผลนั้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับรูปแบบการตรวจที่ใช้ รวมไปถึงสถานพยาบาลที่เข้ารับการตรวจ ดังนั้นผู้เข้ารับการตรวจสามารถสอบถามจากสถานพยาบาลโดยตรงถึงเวลาที่ใช้ในการตรวจ
การตรวจ HIV เป็นขั้นตอนการวินิจฉัยการติดเชื้อ HIV ที่หลาย ๆ คนมองข้าม เนื่องจากมีความเข้าใจผิดว่าหากร่างกายแข็งแรงจะหมายถึงไม่ได้ติดเชื้อ HIV ทำให้เมื่อตรวจพบเชื้อก็มักจะมีอาหารแทรกซ้อนหรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงจนกลายเป็นผู้ป่วยเอดส์ แต่หากทำการตรวจ HIV ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะเป็นการป้องกันเชื้อ HIV ให้กับทั้งตนเองและคู่นอนอีกทั้งหากพบเชื้อก็สามารถรักษาได้ทันทีอีกด้วย
ใครที่ต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจ HIV หรือกำลังมองหาโปรแกรมตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สามารถติดต่อที่โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้เลย เพราะเรามีแพทย์คอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลตนเองและการตรวจ HIV พร้อมทั้งมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ต่าง ๆ พร้อมให้บริการ หากสนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่เบอร์ 02-118-7893 หรือ Line : @samitivejchinatown ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
References
Barton, J. (2022). HIV Testing is Self-Care: Taking the Test is Taking Care of You .https://www.nachc.org/hiv-testing-is-self-care-taking-the-test-is-taking-care-of-you/
Center of Disease Control and Prevention. (2022). What types of tests are available, and how do they work?. https://www.cdc.gov/hiv/basics/hiv-testing/test-types.html
World Health Organization. (2023). HIV and AIDS.https://www.who.int/teams/global-hiv-hepatitis-and-stis-programmes/hiv/testing-diagnostics
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)