วุ้นตาเสื่อม ภัยเงียบต่อการมองเห็น เสี่ยงเป็นโรคจอประสาทตา
ภาวะวุ้นตาเสื่อม คืออาการที่ตามองเห็นหยากไย่หรือจุดดำเวลามองไปบนฟ้า เกิดจากหลายสาเหตุ แต่หากเริ่มมองเห็นแคบลง มีแสงวาบ อาจมีโรคแทรกซ้อนอันตรายต่อดวงตา
สารบัญบทความ
การเอกซเรย์ปอด (Chest X-ray) คือ การตรวจเช็คอวัยวะภายในของบริเวณส่วนทรวงอกที่ประกอบไปด้วยโครงกระดูก ปอด และหัวใจเป็นหลัก โดยรูปแบบการทำงานของเครื่องเอกซเรย์ปอดจะใช้รังสีวิทยาฉายในการบันทึกถ่ายภาพส่วนทรวงอกลงแผ่นฟิล์มสีดำ จากนั้นแพทย์จะนำแผ่นฟิล์มที่จับภาพทรวงอกของคนไข้ไปล้าง เพื่อให้ได้ภาพรังสีเอกซเรย์ปอดทั้งหมด
ปัจจุบันวิทยาการเอกซเรย์ปอดได้มีการพัฒนาให้ภาพฉายรังสีถูกสแกนเป็นระบบดิจิตอล ทำให้ผู้ป่วยใช้เวลารอผลการดำเนินการจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอดได้โดยไม่เสียเวลา
การเอกซเรย์ปอดเป็นหนึ่งในการตรวจสุขภาพประจำปีที่สำคัญในการวินิฉัยข้อมูลให้คนไข้รับทราบสภาวะร่างกายภายในส่วนทรวงอกของตัวเองในปัจจุบันดังต่อไปนี้
โดยทั่วไป วิธีเอกซเรย์ปอดแบ่งการตรวจออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่
การเอกซเรย์ปอดด้วยรังสีเอ็กซ์ (CXR) คือ การใช้รังสีเอ็กซ์ชนิดนี้เป็นตัวกลางในการฉายภาพถ่ายอวัยวะภายในส่วนทรวงอก เพื่อให้แพทย์ตรวจเช็คสภาพการทำงานผิดปกติอวัยวะภายในของผู้ป่วย
โดยวิธีการทำงานของรังสีนี้ เมื่อถูกฉายไปยังส่วนร่างกายในระหว่างการบันทึกภาพ ตัวเนื้อเยื่อของร่างกายที่ถูกจับฉายไว้นั้น จะทำการดูดซึมรังสีเอ็กซ์แล้วบันทึกภาพลงในแผ่นฟิลม์
จากนั้นจะเกิดภาพ ดำ เทา หรือ ขาว ในส่วนบริเวณที่ถูกถ่าย โดยความเข้มข้นของสีภาพถ่าย จะเป็นตัวบ่งชี้ลักษณะโครงสร้างอวัยวะบริเวณทรวงอกแต่ละส่วน เช่น สีขาวเกิดจากความเข้มข้นของสารแคลเซียมสูงโดยส่วนใหญ่จะเป็นสีที่แสดงส่วนของโครงสร้างกระดูก สีดำเกิดจากบริเวณเนื้อเยื่อมีอากาศ มักจะเป็นบริเวณส่วนของปอด
การเอกซเรย์ปอดด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) คือ การใช้รังสีเอ็กซ์ในการฉายไปยังอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทั้งหมดที่ต้องการจะตรวจ แล้วหลังจากทำการฉายเสร็จเรียบร้อยตัวคอมพิวเตอร์จำทำการสแกนและประมวลผลภาพฉายลงในระบบดิจิตอลหรือแสดงเป็นภาพถ่ายแบบ 3 มิติ ในการโชว์รูปกับคนไข้
โดยวิธีการทำงานของเอกซเรย์ปอดนี้ ทางแพทย์จะทำการตรวจเช็คบริเวณส่วนทรวงอกแบบเชิงลึก เพื่อทำการดูสภาพการทำงานของขนาดเนื้อเยื่อที่ครอบคลุมก้อนปอด ที่ประกอบไปด้วย เส้นเลือดปอด เส้นเลือดแดงใหญ่ เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ ปริมาณน้ำในปอด และความจุของปอด
อีกทั้งเอกซเรย์ปอดชนิด CT Scan สามารถตัวเช็คโครงสร้างกระดูกโดยรอบของบริเวณทรวงอกอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการดูลักษณะของโครงกระดูกที่เสียหาย ทั้งการแตกหัก บิดเบี้ยว การทับอวัยวะส่วนอื่น ๆ และการติดเชื้อภายในทางกระดูกอย่าง วัณโรคกระดูก และมะเร็งกระดูก
การเอกซเรย์ปอดด้วยคอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (LDCT) คือ การตรวจเช็คสภาพอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในบริเวณทรวงอกโดยเฉพาะ เป็นเครื่องมือนืยมในการตรวจสอบการทำงานของเซลล์มะเร็งในปอดโดยใช้รังสีเอ็กซ์ในปริมาณฉายแสงต่ำ
โดยการประมวลภาพปอดจะเป็นการลงภาพถ่ายแบบ 3 มิติ ที่แสดงภาพในการดูก้อนมะเร็งแต่ละจุดที่แพร่กระจายไปยังส่วนของปอด และอวัยวะบริเวณอื่นๆ ได้อย่างละเอียดและชัดเจน เพื่อให้แพทย์ได้ดำเนินการรักษาได้อย่างแม่นยำ
โดยวิธีการทำงานของเอกซเรย์ปอดนี้ ทางแพทย์จะทำการตรวจเช็ควิธีการนี้ ในกรณีก้อนมะเร็งที่มีขนาดใหญ่ แต่ไม่บดบังส่วนซอกบริเวณปอดต่าง ๆ เช่น หัวใจ กระดูก เป็นต้น
การเอกซเรย์ปอดด้วยเครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) คือ การนำร่างกายของผู้ป่วย เข้าสู่เครื่องตรวจที่มีคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า จากนั้นตัวสนามไฟฟ้าจะปล่อยคลื่นความถี่วิทยุ เพื่อทำการฉายภาพประมวลเป็นภาพถ่าย 3 มิติ ที่แสดงผลภาพส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ละเอียดและชัดเจนกว่าการตรวจเอกซเรย์ปอดแบบ CT scans
โดยวิธีการทำงานของเอกซเรย์ปอดนี้ ทางแพทย์จะใช้เครื่องส่งสัญญาณคลื่นวิทยุความถี่จำเพาะ (Radiofrequency) เข้าไปกระตุ้นระบบอวัยวะที่จะตรวจ และหยุดการทำงานของโมเลกุลอะตอมชนิดไฮโดรเจนภายในร่างกาย ให้มีการคายพลังงานกำทอน (Resonance) ในบริเวณที่ถูกกระตุ้น และส่งต่อตัวรับสัญญาณที่ได้ แล้วแปลงเป็นสัญญาณภาพถ่ายออกมา
การตรวจเอกซเรย์ปอด ทำให้คนไข้รับทราบสภาวะการทำงานภายในบริเวณส่วนทรวงออกในปัจจุบันได้อย่างชัดเจน เพื่อวินิจฉัยอาการผิดปกติ และโรคที่เกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ จากส่วนประกอบ 3 อวัยวะสำคัญดังต่อไปนี้
ผลเอกซเรย์ปอด สามารถตรวจเช็คส่วนประกอบการทำงานที่ผิดปกติภายในปอด ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเช็คขนาด ปริมาณ และการติดเชื้อจากระบบทางเดินหายใจ เช่น ขนาดถุงลมในปอด ภาวะปอดบวม เนื้องอก ปอดเป็นจุดคล้ายวัณโรค หรือแม้แต่สภาวะปอดทำงานผิดปกติอันเนื่องมาจากอาการโควิด เป็นต้น
การเอกซเรย์ปอด สามารถตรวจเช็คอาการทำงานและโรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติได้ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจหัวใจเพื่อดูขนาดหรือเส้นเลือด เช่น หัวใจบวมมีรูปร่างปกติ และการทำงานผิดปกติของหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดง
ภาพถ่ายโครงกระดูก เป็นข้อมูลภาพให้ทางแพทย์สามารถตรวจเช็ค สภาพการทำงานของกระดูกที่หู่อหุ้มอวัยวะส่วนอื่น ๆภายในบริเวณทรวงอกได้อย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นสภาพกระดูกที่มีการเสื่อมสภาพของแคลเซียมที่ ร้าว แตกหัก หรือสภาพรูปร่างที่มีความผิดเป็นธรรมชาติที่เกิดการบิด งอ ในส่วนซี่โครงและกระดูกสันหลัง
คนไข้ที่สมควรได้รับการเข้าตรวจเอกซเรย์ปอด เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการตรวจสุขภาพประจำปี ในการติดตามสภาพอาการอย่างใกล้ชิด มีดังต่อไปนี้
วิธีการเตรียมตัวก่อนเอกซเรย์ปอด มีดังต่อไปนี้
ขั้นตอนการเอกซเรย์ปอดมี 4 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
อย่างที่พวกเราทราบกันดีว่า ผลเอกซเรย์ปอดมักมาในรูปแบบแผ่นภาพฟิล์ม แล้วแบบนี้เราจะรู้ได้ยังไงว่าภาพเอกซเรย์ปอดปกติหรือผิดปกติ? มันมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร? ทิ้งความกังวลใจไปได้เลย เพราะทางเรามีวิธีดูฟิล์ม X-ray ปอดฉบับง่ายๆ มาให้คุณได้ลองดูไปพร้อมๆ กัน ดังนี้
สภาพผลเอกซเรย์ปกติ จะดูจากสภาพรูปร่าง โครงสร้างกระดูก เนื้อเยื่อห่อหุ้มภายในอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในบริเวณทรวงอก มีการทำงานปกติ ไม่บวม และไม่มีส่วนใดที่โดนอวัยวะส่วนไหนกดทับกัน
สภาพผลเอกซเรย์ผิดปกติ จะดูจาก สภาพรูปร่าง โครงสร้างกระดูก เนื้อเยื่อห่อหุ้มภายในอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในบริเวณทรวงอก มีการทำงานไม่เป็นไปตามกลไกลธรรมชาติ ส่วนใดส่วนหนึ่งของอวัยวะเกิดการติดเชื้อหรือมีการกดทับอวัยวะส่วนอื่น ๆ จนเกิดการทำงานติดขัด หรือระบบการทำงานหายใจไม่เป็นไปตามจังหวะ ทำให้ส่วนของปอด หรือ หัวใจ เกิดอาการบวมได้
โดยรูปแบบที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน เช่น การตรวจเจอภาวะโควิดลงปอด หรือหลังจากเข้ารับการรักษาโรคโควิดเสร็จสิ้นแล้ว ยังตรวจพบเรื่องของอาการลองโควิดที่ปรากฏขึ้นรบกวนการทำงานของอวัยวะภายใน เป็นต้น
การเอกซเรย์ปอด คนไข้ต้องถอดเสื้อออกทั้งหมดเพื่อเตรียมตัวสวมใส่เสื้อสำหรับการเอกซเรย์โดยเฉพาะ ในขั้นตอนการดำเนินการตรวจคนไข้ต้องถอดเครื่องประดับที่มีส่วนผสมโลหะออก และหากผมยาวควรมัดรวบผมให้พ้นบริเวณต้นคอ
การเอกซเรย์ปอดไม่สร้างอันตรายให้กับบริเวณที่ถูกฉายรังสีแต่อย่างใด คนไข้ที่ได้รับฉายรังสีการสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการเอกซเรย์ปอดด้วย CT scan อาจได้รับรังสีชนิดพิเศษในระหว่างการสแกนร่างกายที่ก่อให้เกิดสารมะเร็งได้ คนไข้ต้องรับเงื่อนไขการตรวจประเภทนี้ และสามารถงดระยะการตรวจเป็นครั้งเป็นคราวได้ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งจากการเอกซเรย์ปอด
ขณะเอกซเรย์ปอดจะรู้สึกปกติ ไม่มีสิ่งใดมากระทบกระเทือนในขณะที่ตรวจใด ๆ
ระยะเวลาการรอผลเอกซเรย์ปอดแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความละเอียดและความซับซ้อนของข้อมูล โดยส่วนใหญ่ ผู้ที่เอกซเรย์ปอดแบบทั่วไป (CXR) มักจะสามารถทราบผลหลังการตรวจจากแพทย์ผู้ดูแลได้เลย ส่วนวิธีการเอกซเรย์ปอดอื่นๆ เช่น CT Scan, LDCT, MRI อาจต้องใช้ระยะเวลาในการรอผลค่อนข้างนาน เนื่องจากต้องส่งข้อมูลให้แพทย์เฉพาะทางด้านรังสีวิทยา เพื่อความแม่นยำในการแปลผลนั่นเอง
การเอกซเรย์ปอดเป็นสิ่งสำคัญในการตรวจดูสภาพภายในของอวัยวะส่วนทรวงอก เพื่อดูระบบการทำงานและโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากอาการที่แสดงออกจากร่างกายภายนอกของผู้ป่วย เพื่อเป็นภาพถ่ายในการวินิจฉัยสภาพอาการในการรักษาได้อย่างถูกจุด
ผู้สนใจที่ต้องการเอกซเรย์ปอด หรือเอกซเรย์อวัยวะบริเวณทรวงอกอย่างการตรวจหัวใจและตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ สามารถติดต่อสอบถามกับทีมแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เอกสารอ้างอิง
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)