ไทรอยด์เป็นพิษ คืออะไร? ทำความรู้จักโรคและวิธีสังเกตอาการด้วยตัวเอง!
ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism, Overactive Thyroid) คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินความจำเป็น ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์โต ระบบเผาผลาญมีปัญหา ฯลฯ
อาการหายใจไม่อิ่ม มักมาพร้อมกับอาการแน่นหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บางครั้งมีอาการจุกที่คอ เจ็บหน้าอก หรืออาจมีอาการรุนแรงอย่างเจ็บหน้าอกหรือตัวบวมรวมอยู่ด้วย สาเหตุของอาการแน่นหน้าอกทั้งอาการธรรมดา อาการรุนแรง เป็นครั้งคราว หรือเป็นอย่างเรื้อรัง เกิดจากอะไร? บทความนี้ Samitivej Chinatown จะมาให้ข้อมูลทั่วไปที่ควรทราบ เกี่ยวกับอาการหายใจไม่อิ่ม
สารบัญบทความ
โรคหายใจไม่อิ่ม (Dyspnea หรือ Shortness of Breath) เป็นลักษณะการหายใจที่จะหายใจเร็ว หายใจสั้น ทำให้ร่างกายรู้สึกว่าได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ จนรู้สึกเหนื่อย อึดอัด หัวใจเต้นเร็วตามมา บางครั้งรู้สึกว่าหายใจเข้าลึกแล้ว แต่ยังไม่สุดปอด รู้สึกว่าต้องการหายใจเพิ่มอีก
โดยอาการหายใจไม่อิ่ม สามารถเกิดได้ทั้งชั่วคราวและเรื้อรัง หายใจไม่อิ่มชั่วคราว อาจเกิดจากอารมณ์ การออกกำลังกาย สภาพอากาศ หรืออื่นๆ ส่วนอาการหายใจไม่อิ่มเรื้อรังมักจะเกิดจากโรคบางอย่าง มีทั้งที่ไม่ได้อันตรายมาก และโรคที่อันตรายจนอาจส่งผลถึงชีวิตได้เลย ดังนั้นเราควรสังเกตการหายใจและความผิดปกติอื่นๆที่เกิดขึ้นกับร่างกายอยู่เสมอ หากรู้สึกผิดปกติ จะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที
อาการหายใจไม่อิ่ม เกิดจากหลายปัจจัย ทั้งความผิดปกติของร่างกาย อารมณ์ และสภาพแวดล้อม โดยสาเหตุของอาการหายใจไม่อิ่ม สามารถแบ่งออกตามความถี่ของการเกิดอาการได้ ดังนี้
อาการแน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่มที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เกิดจากสภาพอารมณ์และการใช้ร่างกายในช่วงเวลานั้นๆ เป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้เกิดอาการหายใจไม่อิ่ม แน่นอกในระยะสั้น เมื่อหยุดการกระทำที่ก่อให้เกิดอาการหายใจไม่อิ่ม อาการดังกล่าวจะหายไปเองได้โดยไม่ต้องพบแพทย์ ซึ่งสาเหตุอาการหายใจไม่อิ่มเฉียบพลัน มีดังนี้
หายใจไม่อิ่มเรื้อรัง ตั้งแต่ช่วงที่ติดเชื้อโควิด ถึงช่วงหลังจากหายโควิดแล้ว อาจเป็นผลมาจากอาการป่วยและเป็นไข้ได้ ซึ่งเป็นอาการที่ไม่รุนแรง แต่หากหายใจไม่อิ่มรุนแรง เหนื่อยง่าย กลั้นหายใจหรือขยับตัวเล็กน้อยก็เหนื่อยมาก วัดออกซิเจนในเลือดได้ต่ำกว่า 94 %SpO2 อาจเป็นผลมาจาก โควิดลงปอด ได้
ผู้ที่เป็นโควิดสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลตัวเองหลังติดโควิดได้ที่ : การดูแลตัวเองหลังติดโควิด
หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการหนึ่งที่พบได้จากภาวะลองโควิด เพราะเมื่อหายจากโควิดแล้ว ปอดยังคงมีรอยโรคจากการอักเสบอยู่ ทำให้เกิดพังผืด เกิดฝ้าในปอด ถุงลมไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ดีเท่าเดิมจนหายใจไม่อิ่ม ผู้ที่มีอาการดังกล่าวควรเข้ารับการตรวจสุขภาพหลังเป็นโควิดเพิ่มเติมด้วย
เจ็บหน้าอกซ้าย หายใจไม่อิ่มอย่างเรื้อรัง เป็นสัญญาณความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ ทั้งโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ, หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, โรคของลิ้นหัวใจ, เส้นเลือดในปอดอุดตัน, กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม, ถ้ามีความเสี่ยงเป็นโรคดังกล่าว แพทย์จะให้ตรวจหัวใจ และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วย
โรคที่เกิดขึ้นกับปอด สามารถทำให้เจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่มได้ ซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อ หรือการอักเสบภายในปอด ถ้าอาการเข้าข่าย แพทย์จะให้เอกซเรย์ปอด และตรวจปอด เพื่อวินิจฉัยต่อไป
การหายใจต้องใช้กล้ามเนื้อถึง 2 ส่วน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นความผิดปกติของระบบประสาท หากเป็นโรคดังกล่าวอาจส่งผลต่อกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ จนรู้สึกหายใจไม่อิ่มได้
ระบบเลือดสามารถมีผลต่อการหายใจได้ หากเลือดจางจะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
หายใจไม่อิ่ม จุกที่คอ มักเกิดจากกรดไหลย้อน มักเกิดขึ้นบ่อยในช่วงก่อนนอน หรือเวลาที่รับประทานอาหารมากเกินไป
โรคอื่นๆ อาจมีผลกับระบบฮอร์โมน ระบบเลือด ระบบหายใจ และระบบควบคุมการหายใจได้ เช่น โรคที่เกี่ยวกับไต ตับ ต่อมไทรอยด์ และสมองส่วนกลาง (Central Sleep Apnea หรือ CSA)
สรีระร่างกายอาจมีผลกับหลอดลมได้ ทำให้หายใจไม่สะดวก หรือมีบางอย่างขวางการหายใจชั่วขณะได้ อาจเกิดขึ้นเองจากร่างกาย หรือเกิดจากอุบัติเหตุก็ได้ ที่พบได้มากคือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) ที่มักจะพบในผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์
จะรู้ได้อย่างไรว่าตนเองกำลังมีอาการหายใจไม่อิ่ม? อาการหายใจไม่อิ่ม มีข้อบ่งชี้คือ
ความรู้สึกหายใจไม่ออก หรือรู้สึกจะขาดใจ ไม่ใช่ข้อบ่งชี้เดียวของการเป็นโรคหายใจไม่อิ่ม ข้อสังเกตอีกอย่างที่จะรู้ได้จากการสังเกตตัวเอง คือระดับความเหนื่อยหอบเมื่อทำกิจกรรมต่างๆ โดยทางการแพทย์จะแบ่งออกเป็นสเกล เรียกว่า “Dyspnea Scale” (mMRC (Modified Medical Research Council) Dyspnea Scale) ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
หากมีอาการดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย รักษาต้นเหตุของอาการ และป้องกันไม่ให้อาการหายใจไม่อิ่ม หรืออาการของโรคต้นเหตุรุนแรงขึ้น
ในการวินิจฉัย แพทย์จะซักประวัติเป็นอย่างแรก เพื่อสอบถามอาการหายใจไม่อิ่ม ความรุนแรงของอาการ ระยะเวลาที่เกิด และความถี่ของการเกิด รวมถึงสอบถามประวัติอาการป่วยอื่นๆ ร่วมด้วยเพื่อประเมินความเสี่ยงของการเป็นโรคต้นเหตุของอาการหายใจไม่อิ่ม หากมีความเสี่ยงแพทย์จึงจะตรวจละเอียดในด้านนั้นๆ อีกครั้ง เช่น การตรวจเลือด ตรวจปอด ตรวจหัวใจ ตับ ไต ไทรอยด์ หรือสมอง
ดังนั้น ทุกคนควรสังเกตตัวเองอยู่เสมอ หากมีการจดบันทึกอาการและช่วงเวลาที่เกิดอาการด้วยก็จะมีประโยชน์กับการวินิจฉัยอย่างมาก ยิ่งทราบต้นเหตุของอาการได้เร็ว ยิ่งสามารถรักษาได้ไวขึ้น โอกาสเกิดอาการรุนแรงก็จะยิ่งลดลง
เนื่องจากหายใจไม่อิ่ม สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งที่เป็นชั่วคราว และเป็นอย่างเรื้อรัง ดังนั้นจะต้องมีการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการอย่างละเอียดก่อนการรักษา เพื่อจะได้รักษาได้อย่างตรงจุด
หากอาการหายใจไม่อิ่มเกิดจากโรคบางอย่าง ผู้ป่วยจำเป็นต้องรักษาโรคต้นเหตุให้หายเพื่อหยุดอาการหายใจไม่อิ่ม หากเป็นโรคเกี่ยวกับปอดและกล้ามเนื้อควบคุมการหายใจ แพทย์จะให้บริหารฝึกปอด ด้วยการฝึกหายใจอย่างถูกวิธีด้วย เพื่อกระตุ้นการทำงานของปอดให้กลับมาแข็งแรงขึ้นอีกครั้ง
หากหายใจไม่อิ่มชั่วคราวจากพฤติกรรมเสี่ยง แพทย์จะแนะนำวิธีการดูแลตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง สาเหตุของอาการหายใจไม่อิ่มต่อไป
วิธีแก้อาการหายใจไม่อิ่ม มีด้วยกัน 2 วิธีที่แพทย์แนะนำให้ทำ ได้แก่ การฝึกหายใจ และการปรับอิริยาบถให้สามารถหายใจได้สะดวกมากขึ้น
สำหรับผู้ที่หายใจไม่อิ่ม สามารถฝึกหายใจเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวได้ด้วยการ
อิริยาบถที่ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น ขณะรู้สึกหายใจไม่อิ่ม มีทั้งท่ายืน ท่านั่ง และท่านอน ดังนี้
1. ท่ายืน
ท่าที่ 1 : ยืนหันหลังให้กำแพง ห่างจากกำแพงเล็กน้อย แยกขาให้ขากว้างเท่าไหล่ ใช้สะโพกยันกำแพงไว้ ทิ้งแขนลงข้างลำตัว ผ่อนคลายไหล่ แล้วโน้มตัวมาด้านหน้าเล็กน้อย ให้แขนทิ้งอยู่ด้านหน้าโดยไม่ต้องเกร็ง
ท่าที่ 2 : ยืนหันหน้าเข้าโต๊ะที่มีความสูงต่ำกว่าไหล่ประมาณหนึ่ง ยืนห่างจากโต๊ะเล็กน้อย วางมือลงที่โต๊ะ โน้มตัวไปที่โต๊ะ ทิ้งน้ำหนักลงเล็กน้อย ผ่อนคลายคอ สามารถพักศีรษะไว้ที่แขนได้ จากนั้นจึงผ่อนคลายหัวไหล่
2. ท่านั่ง
ท่าที่ 1 : นั่งเก้าอี้ที่มีความสูงพอเหมาะ ให้เท้าสามารถวางราบไปกับพื้นได้สะดวก โน้มตัวมาด้านหน้า ใช้ศอกวางไว้บนหัวเข่า แล้ววางคางไว้ที่มือ จากให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อคอและไหล่
ท่าที่ 2 : นั่งเก้าอี้ที่มีความสูงพอเหมาะ ให้เท้าสามารถวางราบไปกับพื้นได้สะดวก ด้านหน้าควรมีโต๊ะ ความสูงอยู่ในระดับที่สามารถฟุบลงไปได้สะดวก ให้วางแขนหรือหมอนไว้ด้านหน้า แล้วฟุบลงในท่าที่หายใจได้ง่าย
3. ท่านอน
ท่าที่ 1 : นอนตะแคงข้างใดข้างหนึ่ง หมอนที่หนุนจะเป็นหมอนสูง ใช้ขาหนีบหมอนอีกใบไว้ขณะนอนด้วย
ท่าที่ 2 : นอนหงายหนุนหมอนสูง ใช้หมอนอีกใบรองเข่าให้ตั้งขึ้นเล็กน้อย
ตรวจสุขภาพประจำปี สำคัญอย่างไร? อาการป่วยที่ทำให้หายใจไม่อิ่ม บางครั้งอาจไม่ได้แสดงอาการมากนัก จนตัวเราเองอาจไม่ทันสังเกต โรคร้ายบางโรคก็อาจไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า ทำให้พบความผิดปกติได้ช้า การตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี จึงจำเป็นต้องทำเพื่อให้พบโรคต่างๆ ตั้งแต่เนิ่นๆ รีบรักษาก่อนอาการลุกลาม
มีทั้งที่อันตรายและไม่อันตราย ที่ไม่อันตรายคือเกิดตากพฤติกรรม ปรับพฤติกรรมก็จบ ที่อันตรายคือที่เกิดจากโรค แล้วไม่ได้รักษาแต่เนิ่นๆ หรือโรคหยุดหายใจขณะหลับ
หายใจไม่อิ่มตอนกลางคืน เป็นอาการที่เรารู้สึกได้ว่าเราหายใจสั้นมากขณะหลับ จนบางครั้งอาจจะสะดุ้งตื่นด้วยความรู้สึกเหมือนขาดอากาศหายใจชั่วขณะ อาการแบบนี้สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ความเครียด โรคหอบหืด ภูมิแพ้ ไปจนถึงอาการของโรคเกี่ยวกับปอดและหัวใจ
อีกสาเหตุหนึ่งคือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) เป็นภาวะการหายใจที่ผิดปกติ เกิดขึ้นขณะหลับ โดยอาการจะมีตั้งแต่กรน นอนกัดฟัน ละเมอ ฝันร้าย ไปจนถึงอาการรุนแรงอย่างอาการชัก หรือหยุดหายใจไปชั่วขณะ ซึ่งภาวะดังกล่าวอาจนำมาสู่การขาดอากาศจนเสียชีวิตได้โดยไม่รู้ตัว
หากมีอาการที่กล่าวมาข้างต้น แพทย์แนะนำให้ทำ Sleep Test เพื่อวินิจฉัย จะได้รักษาภาวะดังกล่าวต่อไป
หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ตามปกติ แต่ในขณะเดียวกัน ก็อาจเป็นผลมาจากโรคร้ายด้วย ดังนั้นเราทุกคนควรสังเกตตัวเอง และมีการจดบันทึกความผิดปกติต่างๆ อยู่เสมอ เพื่อรู้ทันโรค มีข้อมูลที่ดีต่อการวินิจฉัยของแพทย์ต่อไป
หากมีอาการหายใจไม่อิ่ม ต้องการพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการ โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ พร้อมให้คำปรึกษา และให้การรักษากับผู้เข้ารับการรักษาทุกคน สามารถติดต่อเพื่อสอบถามและนัดพบแพทย์ได้ทาง Line: @samitivejchinatown หรือโทรสอบถามได้ที่เบอร์ 02-118-7893 ตลอด 24 ชั่วโมง
References
6 Anxiety Breathing Symptoms and How to Stop Them. Real Life Counseling. https://reallifecounseling.us/anxiety-breathing-symptoms/
Mahler, D. A. mMRC (Modified Medical Research Council) Dyspnea Scale. Mdcalc. https://www.mdcalc.com/calc/4006/mmrc-modified-medical-research-council-dyspnea-scale
Positions to Reduce Shortness of Breath. (2018, September 14). Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/articles/9446-positions-to-reduce-shortness-of-breath
Barrell, A. (2023, January 11). What causes shortness of breath when lying down (orthopnea)?. https://www.medicalnewstoday.com/articles/325539
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)