กระดูกเท้าปูด (Hallux Valgus) เกิดจากอะไร ต้องผ่าตัดไหม?
กระดูกเท้าปูด หนึ่งในโรคเท้าที่พบได้บ่อย เป็นภาวะที่นิ้วหัวแม่เท้าเบนเข้าไปชิดกับนิ้วชี้ สาเหตุของผู้ที่มีอาการข้อนิ้วปูดส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการสวมใส่รองเท้าที่บีบเท้า
ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนมากมาย หากไม่มีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม อาจเกิดภาวะที่เรียกว่า “เท้าบวมเบาหวาน” ที่มีสาเหตุจากระบบไหลเวียนเลือดทำงานผิดปกติ เมื่อเลือดไม่สามารถไหลเวียนได้สะดวก จะนำไปสู่การเกิดอาการข้อเท้าบวมข้างเดียว เบาหวานขาบวม และโรคเท้าอื่น ๆ ที่ร้ายแรง
การเข้าใจสาเหตุที่เกิดขึ้นและการป้องกันภาวะเท้าบวมเบาหวานในผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อรักษาคุณภาพชีวิตและลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงอื่น ๆ
สารบัญบทความ
เท้าบวมเบาหวาน (peripheral edema) คือ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยส่วนใหญ่เกิดจากระบบไหลเวียนเลือดที่ทำงานผิดปกติ และอาจเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทส่วนปลายที่เสื่อมลงจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นระยะเวลานาน
ลักษณะของเท้าบวมเบาหวาน มักจะมีอาการบวมตรงบริเวณเท้าและบริเวณขาที่บวมจากเบาหวาน ซึ่งเกิดขึ้นได้กับเท้าข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง บางกรณีผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดหรือชาบริเวณเท้า อาการเหล่านี้เกิดจากเส้นเลือดที่ทำหน้าที่ส่งเลือดกลับสู่หัวใจทำงานได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้เลือดคั่งค้างบริเวณเท้า นอกจากนี้ การเสื่อมของระบบประสาทส่วนปลายยังส่งผลให้ผู้ป่วยเท้าบวมเบาหวานสูญเสียความรู้สึกบริเวณเท้า ทำให้ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัวเมื่อเกิดแผลที่เท้า และกลายเป็นแผลเบาหวานที่เท้า ซึ่งถือเป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่มีโอกาสลุกลามไปสู่การติดเชื้ออย่างรุนแรง และบางรายต้องตัดอวัยวะส่วนนั้นเพื่อป้องกันเชื้อลุกลาม
เนื่องจากอาการเท้าบวมเบาหวาน เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน และสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นคือ การบริโภคอาหารที่มีรสเค็มมากจนเกินไป เมื่อร่างกายได้รับโซเดียมในปริมาณสูงจะทำให้เกิดการกักเก็บน้ำในร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการบวมบริเวณเท้าและขา โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหากับระบบไหลเวียนเลือดและการทำงานของไตที่เสื่อมลง
นอกจากนี้ อาการเบาหวานขาบวมยังมีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทส่วนปลายที่เสื่อมทำให้เกิดอาการคันข้อเท้าเบาหวานร่วมด้วย อาการคันนี้มักเกิดจากตรงบริเวณผิวหนังแห้งและระบบประสาทตอบสนองผิดปกติ หากผู้ป่วยเกาที่ข้อเท้าหรือที่เท้าบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดบาดแผลและเกิดภาวะแทรกซ้อนกลายเป็นแผลเรื้อรังส่งผลให้เป็นเล็บขบได้
ความน่ากลัวของโรคเบาหวานไม่เพียงแต่จะเสี่ยงก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างเท้าบวมเบาหวาน แต่ยังสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงอื่น ๆ ได้อีกมากมาย ซึ่งภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ล้วนเกี่ยวข้องกับการไหลเวียนเลือดและระบบประสาทที่เสื่อมลงจากโรคเบาหวาน
อาการของโรคเท้าดำเกิดจากระบบไหลเวียนเลือดที่ส่งเลือดไม่เพียงพอต่อการหล่อเลี้ยงบริเวณเท้า ทำให้เนื้อเยื่อขาดออกซิเจนและขาดสารอาหารที่จำเป็น ส่งผลให้แผลหายยากและเกิดการตายของเนื้อเยื่อ เท้าจึงเปลี่ยนสีจนเป็นโรคเท้าดำ หากไม่รักษา อาจนำไปสู่การติดเชื้อรุนแรงและอาจต้องตัดอวัยวะเท้าหรือขาออก นอกจากนี้ยังอาจนำไปสู่การเกิดเท้าเปื่อย ที่ผิวหนังบริเวณเท้าเกิดการติดเชื้อและเน่าเปื่อย
อาการเบาหวานลงขา (Diabetic polyneuropathy) เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน ทำให้เส้นประสาทส่วนปลายของร่างกาย เช่น เท้าและมือเสื่อมสภาพ ส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียการรับรู้ความรู้สึกบริเวณเท้า และไม่สามารถรับรู้ถึงการบาดเจ็บหรือแผลที่เกิดขึ้นได้ ทำให้แผลหรือการติดเชื้อที่เท้าลุกลามมากขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว
อย่างที่ทราบกันว่า โรคเบาหวานเป็นโรคที่สามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง ทั้งเท้าบวมเบาหวาน ข้อนิ้วดําเบาหวาน เท้าดำ เบาหวานลงเท้า และอาการอื่น ๆ ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำการรักษาหรือป้องกันอาการ อาจเกิดการติดเชื้อและทำให้ผู้ป่วยสูญเสียอวัยวะเท้าหรือขาส่วนหนึ่งไป
โดยวิธีการป้องกันสำหรับคนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ควรเริ่มจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม รับประทานอาหารที่มีค่าน้ำตาลต่ำ โซเดียมต่ำ ควบคุมน้ำหนักตัว ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพเป็นประจำ อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคเบาหวานได้
วิธีรักษาอาการเท้าบวมเบาหวาน คือ การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดการบวม ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน เช่น การอักเสบ การติดเชื้อ หรือปัญหาการไหลเวียนเลือด แพทย์จะทำการวินิจฉัยและใช้วิธีรักษาเท้าบวมที่เหมาะสมควบคู่ไปกับการรักษาโรคเบาหวาน
การดูแลตนเองเมื่อมีอาการเท้าบวมเบาหวาน มีความสอดคล้องกันกับวิธีรักษาเท้าบวม โดยจะเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น
โดยปกติแล้วผู้ป่วยเบาหวานจะมีการนัดพบแพทย์เป็นประจำเพื่อติดตามผลการรักษาและอาการต่าง ๆ แต่ในกรณีที่ถ้าคุณมีอาการเท้าบวมจากโรคเบาหวานร่วมกับอาการเหล่านี้ ควรไปพบแพทย์ทันที เช่น
และถ้าเป็นกรณีสตรีมีครรภ์ที่เท้าบวมเฉียบพลัน หรือผู้ที่มีประวัติลิ่มเลือดอุดตันแล้วเท้าบวมขึ้นมา ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เนื่องจากอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรง เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำลึกได้
หากปล่อยปละละเลยอาการเท้าบวมเบาหวาน โดยไม่รีบไปพบแพทย์ อาจพบภาวะแทรกซ้อนลุกลามไปสู่ระยะของโรคที่รุนแรงขึ้น การรักษาจะยิ่งยากและใช้เวลานานขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายได้มากขึ้น ในบางกรณีนำไปสู่การรักษาด้วยการตัดเท้าหรือตัดขา
ดังนั้น เมื่อมีอาการเท้าบวม หรือเบาหวานลงขาควรสังเกตอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย หากมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงและรับการรักษาที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุด
ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีทีมแพทย์ผู้มีความรู้ความเข้าใจด้านโรคเบาหวานและโรคเท้า พร้อมตรวจวินิจฉัยและให้คำแนะนำการรักษาโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ รวมถึงปัญหาเรื่องเท้าบวมในผู้ป่วยเบาหวานด้วยวิธีการที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
ติดต่อเรา
References
American Academy of Family Physicians. (2023, November). Edema. https://familydoctor.org/condition/edema/?adfree=true
Merck Manual. (2024, August). Swelling (Edema). https://www.merckmanuals.com/home/heart-and-blood-vessel-disorders/symptoms-of-heart-and-blood-vessel-disorders/swelling?query=edema
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)