บทความสุขภาพ

เท้าเหม็นแก้ยังไง แค่เข้าใจปัญหาก็หายขาด

บทความโดย: seoteam seoteam วันที่อัพเดท: 20 มกราคม 2568

 

เท้าเหม็น

คนที่สวมรองเท้าตลอดวัน มักต้องเจอกับปัญหาเท้าเหม็น โดยเฉพาะช่วงที่สภาพอากาศร้อนชื้นทำให้เหงื่อออกง่าย กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ย่อมส่งผลกระทบต่อการเข้าสังคม เป็นจุดเริ่มต้นของการสูญเสียความมั่นใจ หรือทำให้บุคลิกภาพแย่ลงได้ 

ดังนั้น การเข้าใจถึงต้นตอของปัญหาและรู้จักวิธีการดูแลสุขอนามัยเท้าที่เหมาะสม จะช่วยลดโอกาสเกิดโรคเท้าเหม็นและเป็นการป้องกันตัวเองจากโรคเท้า ใครอยากรู้ว่าควรดูแลเท้าอย่างไรให้ไร้กลิ่นเหม็น มาเริ่มศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดกลิ่นเท้าและวิธีแก้ไขอย่างถูกต้องได้เลย


สารบัญบทความ


สาเหตุของอาการเท้าเหม็นเกิดจากอะไร

ปัญหาเท้าเหม็นเกิดจากหลายปัจจัย โดยสามารถแยกเป็นสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ 

  • เหงื่อออกมาก เท้าเป็นส่วนของร่างกายที่มีต่อมเหงื่อจำนวนมาก จึงมีโอกาสที่จะเกิดความอับชื้นและพอรวมเข้ากับแบคทีเรียที่สะสม ส่งผลให้เกิดกลิ่นเหม็นอับที่เท้า
  • รองเท้าไม่ระบายอากาศ วัสดุที่ใช้ทำรองเท้าบางชนิดไม่ยอมให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีผลให้เกิดการสะสมของเหงื่อมากขึ้น จนทำให้เกิดความอับชื้นและเท้าเหม็นขึ้นกว่าเดิม
  • การสะสมเชื้อแบคทีเรีย เหงื่อที่สะสมอยู่ในถุงเท้าและรองเท้า ทำให้เกิดการก่อตัวของเชื้อแบคทีเรีย และทำให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ได้
  • การดูแลสุขอนามัยที่เท้าไม่เพียงพอ การล้างเท้าไม่สะอาดหรือไม่เช็ดเท้าให้แห้ง อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดกลิ่นเหม็นได้เช่นกัน
  • โรคผิวหนังหรือมีแผลที่เท้า เชื้อจุลินทรีย์จากโรคทางผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็น โรคเท้าเปื่อย หรือโรคหูดที่เท้า อาจเป็นสาเหตุให้เท้ามีกลิ่นที่รุนแรงได้

เท้าเหม็นมีวิธีแก้แบบไหนให้เห็นผล

วิธีแก้เท้าเหม็น

การดูแลสุขภาพเท้าไม่ใช่เรื่องยากหากเข้าใจวิธีต่าง ๆ และปฏิบัติตามอย่างถูกต้อง ตั้งแต่การดูแลสุขอนามัยขั้นพื้นฐาน ตลอดจนการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดกลิ่นที่เหมาะสม วิธีแก้เท้าเหม็นมีดังนี้

1. ดูแลรักษาสุขอนามัยเท้าอยู่เสมอ

หากไม่อยากมีกลิ่นเท้า การล้างเท้าด้วยสบู่เป็นวิธีการพื้นฐานที่ทุกคนควรทำทุกวัน โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาเล็บขบยิ่งต้องใส่ใจความสะอาดให้มากขึ้น ทั้งนี้ แนะนำให้เลือกสบู่ที่มีส่วนผสมของสารต้านแบคทีเรีย และใช้แปรงขัดเท้าเบา ๆ เพื่อขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกไป เพียงเท่านี้ก็จะช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ได้แล้ว

2. เปลี่ยนถุงเท้าและรองเท้า หลีกเลี่ยงการใส่คู่เดิมซ้ำ ๆ

การใส่ถุงเท้าและรองเท้าคู่เดิมติดต่อกันหลายวัน จะยิ่งเกิดการสะสมเหงื่อและแบคทีเรีย ดังนั้น จึงควรเปลี่ยนถุงเท้าคู่ใหม่ทุกวัน และหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าคู่เดิมติดต่อกันหลายวัน รวมถึงเลือกเก็บรองเท้าในที่ที่ระบายอากาศได้ดี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีแก้รองเท้าเหม็นที่เห็นผลได้จริง

3. เลือกถุงเท้าและรองเท้าที่เหมาะสม

การเลือกสวมถุงเท้าและรองเท้าที่ผลิตจากวัสดุที่ระบายอากาศหรือระบายเหงื่อได้ดี รวมถึงหลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าที่คับเกินไป จะช่วยป้องกันปัญหาเท้าเหม็นได้

4. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร

อาหารบางประเภทอาจกระตุ้นให้ร่างกายมีการปล่อยกลิ่นออกมากับเหงื่อได้ โดยเฉพาะอาหารที่มีส่วนประกอบของกระเทียมหรือเครื่องเทศบางชนิด หากไม่อยากเท้าเหม็นจึงควรควบคุมการบริโภคอาหารในกลุ่มนี้

5. แช่เท้าในน้ำส้มสายชูหรือน้ำเกลือ

การแช่เท้าในน้ำอุ่นที่ผสมน้ำส้มสายชูหรือเกลือ มีส่วนช่วยลดการเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราได้ โดยแนะนำให้แช่เท้าสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 15-20 นาที

6. อย่าปล่อยให้เท้าเปียก พยายามทำให้เท้าแห้งอยู่เสมอ

การปล่อยให้เท้าเปียกเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดกลิ่นเท้าได้ง่าย ดังนั้น การเช็ดเท้าให้แห้งทุกครั้ง หรือใช้แป้งฝุ่นช่วยดูดซับความชื้น จึงเป็นวิธีแก้เท้าเหม็นที่เริ่มต้นได้ง่ายที่สุด

7. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยกำจัดกลิ่นเท้า

ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบสเปรย์หรือแป้งที่มีคุณสมบัติในการกำจัดกลิ่นเท้า จะมีส่วนผสมของสารต้านแบคทีเรียที่ช่วยลดกลิ่นและควบคุมเหงื่อได้ ดังนั้น จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่มีปัญหากลิ่นเท้ารุนแรง

8. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการเท้าเหม็น

หากอาการเท้าเหม็นไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีข้างต้น การปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม จะช่วยบรรเทากลิ่นเหม็นได้อย่างเห็นผล ทั้งนี้ แพทย์อาจให้ยาต้านเชื้อราหรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เพื่อกำจัดต้นตอของปัญหาและแก้เท้าเหม็นอย่างถาวร


หมดกังวลเรื่องเท้าเหม็นแค่แก้ไขให้ถูกวิธี

หากปัญหาเท้าเหม็นรบกวนการใช้ชีวิตและทำให้ความมั่นใจลดลง จำเป็นต้องรีบแก้ปัญหาเหล่านี้ให้หายขาดโดยด่วน ทีมแพทย์จากโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ พร้อมให้คำปรึกษาและให้การดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นปัญหากลิ่นเท้าที่เกิดจากเหงื่อ การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราบนผิวหนัง แพทย์จะช่วยวิเคราะห์สาเหตุและแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้คุณมั่นใจว่ากลิ่นเท้าจะไม่รบกวนการเข้าสังคมอีกต่อไป

นอกจากนี้ โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ยังให้ความสำคัญกับการรักษาโรคอื่น ๆ เกี่ยวกับเท้าอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น แผลเบาหวานที่เท้า หรือตาปลาที่เท้า ด้วยการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัย หากคุณกำลังมีความกังวลเกี่ยวกับอาการป่วยใด ๆ สามารถติดต่อโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ เพื่อสอบถามข้อมูลหรือนัดหมายเข้าพบแพทย์ได้ที่ 

ช่องทางติดต่อ


References 

Healthline. (2017, July 26). How to Get Rid of Smelly Feet (Bromodosis). https://www.healthline.com/health/how-to-get-rid-of-smelly-feet#home-treatments

Mayo Clinic. (2020, July 28). Reducing Foot Odor. https://connect.mayoclinic.org/blog/take-charge-healthy-aging/newsfeed-post/reducing-foot-odor/#:~:text=To%20keep%20foot%20odor%20in,the%20cool%20setting%20can%20help.

National Health Service. (2022, February 22). Smelly Feet. https://www.nhs.uk/conditions/smelly-feet/#:~:text=Treatment%20for%20smelly%20feet%20depends,or%20treatment%20to%20reduce%20sweating.

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​