บทความสุขภาพ

ส้นเท้าแตกอันตรายไหม เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรให้หาย

บทความโดย: seoteam seoteam วันที่อัพเดท: 20 มกราคม 2568

ส้นเท้าแตก

“ส้นเท้าแตก” อาการโรคเท้าที่มักพบบ่อย แต่หลาย ๆ คนอาจไม่ได้ใส่ใจมากนัก เพราะคิดว่าเป็นอาการที่ไม่อันตรายต่อร่างกาย และส้นเท้ายังเป็นจุดที่ไม่ค่อยมีใครมองเท่าไหร่ ก็เลยเลือกที่จะมองข้ามไป แต่รู้หรือไม่ว่าถ้าปล่อยทิ้งไว้ ไม่ดูแลรักษา อาการส้นเท้าแตกก็จะรุนแรงขึ้นจนถึงขั้นเป็นแผลลึกเรื้อรังหรือติดเชื้อได้ ในบทความนี้ก็จะมาอธิบายว่าส้นเท้าแตก คืออะไร ส้นเท้าแตกเกิดจากอะไร อันตรายไหม จะแก้ส้นเท้าแตกได้อย่างไร เพื่อรักษาส้นเท้าให้กลับมาเป็นปกติ ไม่มีแผลเรื้อรังที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย


สารบัญบทความ


ส้นเท้าแตก คืออะไร? มีอาการอย่างไร?

เท้าแตก

ส้นเท้าแตก คือ อาการของโรคผิวหนังรูปแบบหนึ่ง ทำให้บริเวณส้นเท้ามีลักษณะแห้ง แข็งกระด้าง แตกแยกเป็นแผ่น ๆ ดูไม่สวยงาม และอาจมีอาการคันระคายเคืองเล็กน้อย ซึ่งอาการดังกล่าวเป็นอาการข้างต้นที่ไม่รุนแรง แต่หากปล่อยส้นเท้าแตกไว้โดยไม่รักษา ในระยะยาวก็จะทำให้เท้าแตกเป็นร่องลึก เป็นแผล เจ็บ ปวด อาจมีเลือดซึมออกถ้าร่องลึกมาก ซึ่งจะทำให้เสี่ยงติดเชื้อและมีหนองซึมได้


สาเหตุของอาการส้นเท้าแตก

ส้นเท้าแตกเป็นอาการของโรคทางเท้าที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยอาการเท้าแตกเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้

  • กรรมพันธุ์ และอายุร่างกายที่เพิ่มขึ้น
  • โรคบางชนิด เช่น โรคข้ออักเสบเรื้อรัง โรคเบาหวาน ในกรณีที่เป็นเบาหวานอาจเสี่ยงเป็นแผลเบาหวานที่เท้าด้วย
  • น้ำหนักตัวเยอะ ทำให้น้ำหนักตัวกดทับบริเวณส้นเท้าเยอะ
  • ร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ ทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้น
  • อยู่ในสถานที่ที่มีสภาพอากาศแห้งหรือหนาวเย็นนาน
  • อาบน้ำอุ่นหรือร้อนมากเกินไป หรือแช่เท้าในน้ำร้อนบ่อยเกินไป
  • สวมใส่รองเท้าที่ไม่ถนอมผิว ทำให้ส้นเท้าเสียดสีจนเกิดอาการส้นเท้าแตก และอาจทำให้เกิดตาปลาที่เท้าได้ด้วยเช่นกัน
  • ใช้สบู่หรือผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีทำความสะอาดเท้าบ่อย ๆ ทำให้ผิวเท้าแห้งและเสี่ยงเกิดภาวะส้นเท้าแตก

ส้นเท้าแตกเสี่ยงเป็นอันตรายหรือไม่

ส้นเท้าแตกเป็นอาการที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายในระยะแรก เป็นเพียงอาการส้นเท้าแห้งแตกเล็กน้อย แต่ถ้าปล่อยไว้นานโดยที่ไม่ดูแลหรือรักษาส้นเท้า อาการส้นเท้าแตกก็จะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสังเกตได้จากรอยแยกบนส้นเท้าจะลึกขึ้น ปวดและเจ็บมาก ๆ เวลายืนหรือเดิน และอาจรุนแรงถึงขั้นมีเลือดหรือหนองซึมออกมา

โดยปกติแล้วอาการส้นเท้าแตกสามารถรักษาได้ไม่ยาก แต่ถ้าปล่อยไว้อาการที่เป็นอยู่ก็จะรุนแรงมากขึ้นจนกลายเป็นอาการเรื้อรัง ซึ่งจะต้องใช้เวลารักษานาน และยังส่งผลต่อรูปลักษณ์และบุคลิกภาพด้วย ดังนั้นหากเห็นว่าส้นเท้าแตกควรรักษาไม่ให้อาการของโรคส่งผลกระทบต่อร่างกายระยะยาว


วิธีการรักษาอาการส้นเท้าแตก

ส้นเท้าแตก รักษา

วิธีรักษาส้นเท้าแตกมีหลายวิธี ในกรณีที่ส้นเท้าแตกไม่รุนแรงส่วนมากจะใช้วิธีแก้ส้นเท้าแตกเบื้องต้นด้วยตนเอง เช่น

  • ดื่มน้ำให้มาก เพราะน้ำมีส่วนช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวบริเวณต่าง ๆ ช่วยทำให้อาการส้นเท้าแห้งแตกค่อย ๆ ดีขึ้นในระยะยาว
  • ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ส้นเท้า เช่น น้ำมันมะพร้าว เจล สเปรย์ หรือใช้ครีมทาส้นเท้าแตกที่มีส่วนผสมของสารที่ช่วยกักเก็บน้ำ เช่น Urea, Saccharide isomerate เพื่อให้เท้าด้านแข็งกลับมาชุ่มชื้นขึ้น
  • ใช้สบู่หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวสูตรอ่อนโยนต่อผิว เพื่อลดอาการระคายเคืองผิวและไม่ทำให้ส้นเท้าแห้ง
  • สวมใส่ถุงเท้าหรือรองเท้าที่มีเนื้อนุ่ม เพื่อช่วยลดการเสียดสีบริเวณส้นเท้าและช่วยลดการกดทับจากน้ำหนักตัว
  • หากมีน้ำหนักตัวเยอะ ควรลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อลดแรงกดบริเวณส้นเท้า ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเกิดปัญหาเท้าเหม็นได้ด้วย

หากรักษาส้นเท้าแตกเบื้องต้นแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการเจ็บปวดที่ส้นเท้ามาก มีเลือดหรือหนองซึม ควรพบแพทย์เพื่อรักษาอาการส้นเท้าแตกอย่างถูกวิธี ไม่ให้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยแพทย์อาจจะให้ยาทานแก้ปวด แก้อักเสบ หรืออาจจะให้ผ่าตัดเอาผิวหนังบางส่วนออกเพื่อแก้ส้นเท้าแตก


ส้นเท้าแตก อาการของโรคที่ไม่ควรมองข้าม 

ส้นเท้าแตกเป็นอาการผิวหนังบริเวณส้นเท้าแห้ง แตก แยกเป็นแผ่นแข็ง ๆ อาการส้นเท้าแตกเป็นอาการที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ก็ควรรักษาทันทีเพื่อไม่ให้อาการเล็ก ๆ น้อย ๆ สะสมกลายเป็นอาการเรื้อรังจนใช้เวลารักษานาน ซึ่งส้นเท้าแตกมีวิธีแก้ด้วยตนเองไม่ยากด้วยการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว โดยอาจใช้ครีมบำรุงผิวทาส้นเท้าหรือดื่มน้ำให้มาก รวมถึงใส่ถุงเท้าเนื้อนุ่มไม่ให้ส้นเท้าถูกกดทับมากเกิน

ในกรณีที่รักษาส้นเท้าด้วยตนเองเบื้องต้นแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น สามารถเข้าพบแพทย์จากสมิติเวช ไชน่าทาวน์เพื่อตรวจหาสาเหตุอาการส้นเท้าแตก เพราะอาการส้นเท้าแตกอาจเป็นสัญญาณบอกโรคอื่น ๆ และเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี หรือถ้าต้องการสอบถามอาการโรคเท้า เช่น เท้าเปื่อย เท้าเหม็น ตาปลาที่เท้า หรือโรคเท้าอื่น ๆ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทางต่อไปนี้

ช่องทางติดต่อ


References

Ngan, V. (2006). Cracked heel. DermNet. https://dermnetnz.org/topics/cracked-heel

Manan Mehta. (2022, 26 August). How To Treat Cracked Heels And Their True Causes. MEDANTA. https://www.medanta.org/patient-education-blog/how-to-treat-cracked-heels-and-their-true-causes

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​