เท้าบวมเบาหวาน เกิดจากสาเหตุใดบ้างวิธีป้องกันและการรักษา
เท้าบวมเบาหวาน เป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากเลือดไปเลี้ยงที่เท้าไม่เพียงพอทำให้ของเหลวคั่ง และอาการบาดเจ็บ ติดเชื้อที่บริเวณเท้าก็เป็นอีกสาเหตุ
กระดูกเท้าปูด คือ ภาวะที่กระดูกบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้าผิดรูป ทำให้นิ้วหัวแม่เท้าเบนเข้าหานิ้วชี้ และเกิดเป็นลักษณะกระดูกปูดออกมาด้านข้าง ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดโดยเฉพาะเมื่อเดินหรือใส่รองเท้า โรคเท้านี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ ทั้งจากโครงสร้างเท้าผิดปกติ หรือมาจากพฤติกรรมการสวมใส่รองเท้าที่คับเกินไป
สารบัญบทความ
กระดูกเท้าปูด (hallux valgus) คือ ภาวะที่มีความผิดรูปของกระดูกบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า ลักษณะกระดูกเท้าที่ปูดออกมานี้สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เกิด ช่วงวัยรุ่น ไปจนถึงผู้สูงอายุ ส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ ที่สร้างความเจ็บปวดตอนที่สวมใส่รองเท้าและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน โดยรายละเอียดลักษณะของอาการกระดูกเท้าปูด มีดังนี้
รู้หรือไม่ ในบางเคสของผู้ป่วยโรคกระดูกเท้าปูดจะพบร่วมกับโรคเท้าแบน เพราะทั้งสองโรคมีสาเหตุมาจากโครงสร้างของเท้าที่ผิดปกติ เมื่อเท้าแบนจะทำให้การกระจายน้ำหนักของร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เกิดแรงกดทับบริเวณข้อต่อนิ้วหัวแม่เท้า ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่เสริมให้เกิดภาวะกระดูกนิ้วโป้งเท้าปูดได้
สาเหตุของอาการกระดูกเท้าปูดสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะปัจจัยทางพันธุกรรม อาการบาดเจ็บ โรคที่ทำให้เกิดอาการอักเสบอย่าง เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ รวมถึงการสวมรองเท้าที่ไม่เหมาะสม เพราะจะทำให้รู้สึกปวดโคนนิ้วหัวแม่เท้าและยิ่งทำให้อาการภาวะกระดูกเท้าปูดหนักยิ่งขึ้น รายละเอียดสาเหตุของอาการกระดูกเท้าปูด มีดังนี้
ภาวะกระดูกเท้าปูดไม่ได้น่ากังวลเพียงเรื่องของความสวยงามเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่ว่ากระดูกเท้าปูดจะเกิดจากสาเหตุอะไร? แต่ผลกระทบของอาการกระดูกเท้าปูดสามารถสร้างปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
กระดูกเท้าปูดส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและการทรงตัวอย่างชัดเจน เนื่องจากนิ้วหัวแม่เท้าที่ผิดรูปอาจทำให้การเดิน การวิ่ง หรือการยืนเป็นเวลานานเกิดความลำบากมากขึ้น ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดนิ้วโป้งเท้าหรือข้อเท้า ส่งผลให้ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนไหวร่างกายลดลง และอาจกระทบต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
ผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกเท้าปูดทำให้การเลือกรองเท้าเป็นเรื่องยากมากกว่าบุคคลทั่วไป เพราะความผิดรูปของกระดูกบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้าและรองเท้าที่มีพื้นที่จำกัด ผู้ป่วยมักจะประสบปัญหารองเท้าคับเกินไปจนเกิดการเสียดสีและทำให้นิ้วโป้งเท้าบวม นอกจากนี้หากใส่รองเท้าที่ขนาดไม่พอดีก็ยิ่งทำให้เจ็บเนื้อใต้เล็บอีกด้วย
ภาวะกระดูกเท้าปูดส่วนใหญ่มักจะมีอาการเจ็บปวด บวมแดงที่บริเวณข้อนิ้วปูด และมีอาการเรื้อรัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การเดิน วิ่ง ออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งการยืนในระยะเวลาสั้น ๆ
หากไม่ได้รับการรักษาหรือหาวิธีแก้อาการปวดนิ้วเท้าเอียงอย่างเหมาะสม อาการกระดูกเท้าปูดอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรครองช้ำ เล็บขบ ตาปลา นิ้วเท้าหงิกผิดรูป และถุงน้ำอักเสบบริเวณนิ้วเท้า
เนื่องจากภาวะกระดูกเท้าปูดทำให้ลักษณะของเท้าเกิดการผิดรูป ส่งผลทำให้เมื่อผู้ป่วยสวมใส่รองเท้าที่เปิดหน้าเท้า หรือรองเท้าแตะ เกิดความรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเองได้
การวินิจฉัยภาวะกระดูกเท้าปูด หรือกระดูกนิ้วโป้งเท้าเอียงจำเป็นต้องอาศัยการประเมินโดยละเอียดจากแพทย์ โดยมีขั้นตอนพื้นฐานการวินิจฉัย ดังนี้
วิธีรักษากระดูกเท้าโปนหรือกระดูกเท้าปูด มีวิธีรักษาอยู่ด้วยกัน 2 วิธีหลัก ได้แก่ รักษาด้วยการผ่าตัด และรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งแต่ละวิธีในการรักษาจะขึ้นอยู่ระดับความรุนแรงของอาการกระดูกเท้าปูด รวมถึงดุลยพินิจของแพทย์ในการเลือกใช้รักษาผู้ป่วยแต่ละราย โดยวิธีการรักษาอาการกระดูกเท้าปูด มีดังนี้
วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัด เหมาะกับผู้ป่วยภาวะกระดูกเท้าปูดที่มีอาการรุนแรงและมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันโดยวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาด้วยการปรับแนวทั้งกระดูกส่วนต้นและส่วนปลาย ทำให้นิ้วตรงขึ้นและหน้าเท้าแคบลง
วิธีการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัด เหมาะกับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงมากนักและไม่มีอาการปวดรุนแรง เป็นการรักษาประคับประคองอาการ อาทิ
จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมการสวมใส่รองเท้าที่คับเกินไปเป็นประจำ ถือเป็นการทำร้ายเท้าของคุณโดยไม่รู้ตัว และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพเท้าที่ร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดเมื่อย ปัญหาเล็บขบ หรือแม้แต่ภาวะกระดูกเท้าปูด
อย่าปล่อยให้ปัญหาความผิดปกติตรงเท้าเป็นเรื่องเล็กน้อยกลายเป็นปัญหาใหญ่ เพราะเท้าเป็นส่วนที่ต้องรับน้ำหนักตัวและช่วยให้เราเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวก หากมีอาการผิดปกติใด ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง
โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีทีมแพทย์ผู้มีความรู้ความเข้าใจด้านกระดูก ข้อ และโรคเท้าทุกประเภทเป็นอย่างดี พร้อมให้คำปรึกษาและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการรักษาแบบไม่ผ่าตัด เช่น การทำกายภาพบำบัด หรือการรักษาด้วยยา หรือการผ่าตัดในกรณีที่อาการรุนแรง
ช่องทางติดต่อ
References
James Kuhn; Farhan Alvi. (2023 August 28). Hallux Valgus. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK553092/
Thomas Schneider. (2022 November 28). Hallux valgus: A minimally invasive surgery corrects the position of the big toe. https://www.joint-surgeon.com/orthopedic-services/foot-and-ankle/hallux-valgus-hallux-rigidus-bunion-surgery.html
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)