บทความสุขภาพ

สายตาพร่ามัวเกิดจากสาเหตุใด พร้อมวิธีการรักษาและป้องกัน

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567



สายตามัว เป็นอีกหนึ่งปัญหาของอาการผู้ป่วยทางด้านสายตาล้าสะสม ที่เกิดจากใช้ดวงตาจดจ้องกับการทำ

กิจกรรมสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะยาวมากจนเกินไป, ความเสื่อมสภาพร่างกายแต่ละวัย, ปัญหาทางด้านสายตาแต่กำเนิด หรือการติดเชื้อจากโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ และรวมถึงโรคเกี่ยวกับทางระบบประสาทอีกหนึ่งปัจจัย 

โดยอาการสายตาพร่ามัวมีลักษณะอย่างไร มีความรุนแรงต่อดวงตามากแค่ไหน ทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ จะมาอธิบายจุดเริ่มต้นของอาการและสาเหตุสายตามัว และแนะแนววิธีแก้ไขให้กับผู้ประสบปัญหาภาวะตามัวได้ในบทความนี้
 


สารบัญเนื้อหา
 


ตามัว (Blurry Vision)

สายตามัว (Blurry Vision) คือ  สภาวะดวงตาที่มีวิสัยทัศน์ในการดูสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ได้ไม่ชัดเจน มีอาการภาพเบลอทับซ้อน และการมองเห็นเป็นแบบเลือนลาง ทำให้การประสิทธิภาพของดวงตาพร่ามัว สูญเสียความคมชัดในช่วงของการโฟกัสชั่วขณะ โดยอาการตามัวเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ทั้งสายตามัวข้างเดียว หรือทั้งสองข้างได้เช่นกัน

ตามัว ส่งผลสภาวะการมองเห็นที่ผิดปกติได้ในระยะยาว หากไม่รีบรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น อาจส่งผลให้การทำงานของดวงตาอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมและนำไปสู่โรคทางสายตาต่าง ๆ ที่มีผลข้างเคียงก่อให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นได้ในอนาคต ผู้ป่วยท่านไหนมีอาการตามัวดังกล่าว ควรทำการนัดพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาแนวทางในการบำรุงสายตาทันที


ตามัวเกิดจากสาเหตุใด

โดยทั่วไป สายตาพร่ามัวเกิดจากโรคแทรกซ้อนภายในร่างกาย และปัจจัยสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่เกิดภาวะตามัวขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ดวงตาของผู้ป่วยอีกด้วย จึงได้ทำการจำแนกประเภทสาเหตุสายตาพร่ามัวที่เห็นได้ชัดเป็น 3 ปัจจัยหลัก ที่นำไปสู่ความผิดปกติทางด้านสายตา ยกตัวอย่างเช่น
 

1. ตามัวจากปัญหาค่าสายตา

 

  • สายตาสั้น (Myopia) - ภาวะสายตาสั้น เป็นสภาวะผิดปกติทางสายตาทั่วไปที่ผู้ป่วยจะมองเห็นวัตถุในระยะไกลไม่ชัดเจน หากจดจ้องมากเกินไปอาจส่งผลกระทบให้กล้ามเนื้อตรงส่วนดวงตาอ่อนหล้าและลามไปถึงส่วนของศีรษะ เกิดการมองเห็นภาพเบลอ และส่งผลให้สายตาพร่ามัวในที่สุด สายตามัวในภาวะสายตาสั้นอาจเกิดขึ้นได้ทั้งสายตามัวข้างเดียวและทั้งสองข้างได้
  • สายตายาว (Hyperopia) - ภาวะสายตายาว ผู้ป่วยจะมองเห็นวัตถุในระยะใกลไม่ชัดเจน แต่สามารถโฟกัสวัตถุในระยะไกลได้คมชัด ส่งผลกระทบให้กล้ามเนื้ออ่อนหล้า และลามไปถึงการปวดศีรษะที่คล้ายคลึงกับภาวะสายตาสั้น
  • สายตาเอียง (Astigmatism) - ภาวะสายตาเอียง เกิดจากสภาวะของกระจกตามีรูปร่างที่ผิดปกติ จึงทำให้ตัวกระจกไม่สามารถรับรังสีแสงที่กระทบให้ถูกจุดโฟกัสนัยน์ตาได้ถูกจุด
  • สายตายาวตามวัย (Presbyopia) - ภาวะสายตาตามวัย เกิดขึ้นจากผู้สูงวัย ที่มีอาการสายตามัวในระยะการมองเห็นวัตถุในระยะใกล้ไม่คมชัด เนื่องจากเลนส์ภายในดวงตาแข็งตัวขึ้น จอตา และวุ้นในตาเสื่อม ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นอาการสายตายาวตามวัยผู้สูงอายุส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบไปตามธรรมชาติ

2. ตามัวจากโรคบางชนิด


โรคที่เกี่ยวกับทางดวงตา :

  • โรคต้อกระจก (Cataract) - ต้อกระจก เกิดจากภาวะสูงวัยที่สะสมพฤติกรรมจากการจดจ้องแสงสว่างอย่างแสงยูวี การติดเชื้อจากแบคทีเรีย หรือภาวะโปรตีนในตาได้ทำการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของสารเคมีในเลนส์ตาขุ่นมัว มีพังผืดเยื่อบุขาวบาง ๆ สะสมจนเป็นโรคต้อ ทำให้แสงเข้ามากระทบตรงส่วนเลนส์น้อยลง ผู้ป่วยจะมองเห็นภาพไม่ชัด ตามัว เบลอ และอาจเกิดภาพซ้อนขณะการใช้สายตา
  • โรคเยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis) - เกิดจากการติดเชื้อของไวรัส แบคทีเรีย หรือสารเคมีและธรรมชาติที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ ทำให้เมือกขาวในบริเวณเปลือกตาทำการหลั่งออกมา เพื่อทำการระบายสารก่ออักเสบภายดวงตาออกไป หรืออาจก่อให้เกิดตาแดง ตามัว ตาแฉะ ขี้ตาสีเหลือง และเยื่อบุในดวงตาอักเสบ
  • โรคเส้นประสาทตาอักเสบ (Optic Neuritis) - อาการตามัวสะสมเป็นระยะเวลานาน เกิดการเห็นภาพพร่ามับแบบฉับพลัน จุดโฟกัสไม่สามารถจดจ้องภาพตรงกลางในลานสายตาได้ กลอกตาแล้วเจ็บลูกเบ้าในดวงตา เป็นผลข้างเคียงที่ทำให้เส้นประสาทของตาส่งสัญญาณไปยังส่วนประสาททางสมองเสื่อมสภาพการทำงานลง โดยทั่วไปเส้นประสาทตาอักเสบเกิดขึ้นจากอาการตามัวข้างเดียว

โรคที่ไม่เกี่ยวกับตา :

  • โรคเบาหวาน (Diabetes) - ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน อาจเกิดโรคแทรกซ้อนที่ลามไปจนถึงบริเวณดวงตาได้ หรือเรียกว่า เบาหวานขึ้นตา(Diabetic Retinopathy) โดยผลข้างเคียงนี้เกิดจากภาวะระดับน้ำตาลในเลือดมีความดันสูงจนมากกว่าระดับปกติ ส่งผลให้จอตา(Ratina)บวมและจุดภาพชัด(Macula) ในเส้นขาดเลือด เกิดอาการตามัว มองไม่เห็นช่วงคราว หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ตาบอดได้ในที่สุด
  • ไมเกรน (Migraine) - เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากภาวะหลอดเลือดแดงในส่วนของสมองคลายตัวอย่างฉับพลัน ทำให้ผู้ป่วยปวดศีรษะรุนแรง และลามไปถึงส่วนของบริเวณดวงตา โดยผลข้างเคียงของอาการที่เห็นได้ชัดคือ ตามัว มองเห็นแสงเป็นทอดและเห็นภาพเป็นระยิบระยับ
  • ไซนัส (Sinus) - ผลข้างเคียงของโรคภูมิแพ้ชนิดนี้อาจลามไปยังบริเวณดวงตา(Ethmoid sinus)ได้ เนื่องจากเนื้อเยื่อบุในดวงตาเกิดอาการระคายเคืองจนไปถึงขั้นอักเสบ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดตา ตามัว ตาแดง และกลอกลูกตาได้ไม่เต็มที่ หากปล่อยอาการไซนัสไว้อาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นได้

3. ตามัวจากปัจจัยอื่นๆ

 

  • ตาแห้ง - ระบบการทำงานภายในดวงตาไม่สามารถผลิตน้ำในปริมาณที่มากพอไปหล่อเลี้ยงดวงตาให้เกิดความชุ่มชื้นได้ หรือเกิดจากภาวะพฤติกรรมของผู้ป่วยที่โฟกัสการใช้ดวงตามากเกินไป ยกตัวอย่างเช่น พฤติกรรมการเล่นโทรศัพท์มากตามัวเป็นชั่วครู่
  • การตั้งครรภ์ - ในระยะคุณแม่อยู่ในภาวะการตั้งครรภ์ มีผลข้างเคียงทำให้แหล่งสะสมน้ำในร่างกายมีมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการตามัว ตาบวมบริเวณรอบ ๆ บนดวงตา
  • ผลจากการทำเลสิค - การทำเลสิคทุกประเภทอย่าง การทำเลสิคไร้ใบมีด (Femto LASIK) มีผลข้างเคียงจากการใช้เลเซอร์เช่นกัน ผู้ป่วยอาจได้รับผลกระทบการมองเห็นเป็นภาพเบลอ ตามัว หรือมีอาการเจ็บปวดในบริเวณที่ผ่าตัด
  • การสวมใส่คอนเทคเลนส์ - การสวมใส่คอนเทคเลนส์ในระยะเวลานาน ทำให้โปรตีนในดวงตาเกิดการสะสมของตัวคอนเทคเลนส์มากขึ้น การไหลเวียนของน้ำตาที่หล่อเลี้ยงกระจกตานั้นน้อยลง เกิดอาการระคายเคือง ตามัว ตาแดง และอาจเกิดการติดเชื้อเข้าผ่านการเข้าดวงตาโดยตรง

ลักษณะของอาการของตามัว



อาการตามัวโดยทั่วไป มีดังนี้  

  • กล้ามเนื้อที่ใช้ในการเพ่งมองผ่านดวงตาอ่อนหล้า ตามัวมองไกลไม่ชัด และดวงตาไม่สามารถปรับรูม่านตาในการมองเห็นในยามกลางคืนได้ไม่เต็มที่
  • ปวดบริเวณศีรษะ ใบหน้าบิดเบี้ยว ทำให้การควบคุมดวงตาเบลอ ไม่โฟกัสกับสิ่งแวดล้อมที่มองเห็นรอบ ๆ ได้ชัดเจน
  • การทำงานของรูม่านตาหดลง เมื่อสบตากับแสงกลางวัน หรือแสงสว่างจากสิ่งของอย่าง ดวงไฟ ทำให้ดวงตาเกิดภาวะไม่สู้แสงแบบฉับพลัน สายตามัว มองไม่ชัด รู้สึกไม่สบายตา จึงทำให้ผู้ป่วยต้องหรี่ตาลง ตาแฉะ และมีน้ำบนบริเวณดวงตาในปริมาณมากกว่าผิดปกติ
  • เส้นเลือดฝอยสีแดงขึ้นบริเวณนัยน์ตาขาว ทำให้ดวงตาของผู้ป่วยเกิดอาการระคายเคือง มีขี้ตา ตาแห้ง และนำไปสู่ภาวะอาการสายตาพล่ามัวได้
  • เห็นเงาจุดดำลอยรอบ ๆ บนกรอบจอตาข้างใดข้างหนึ่ง เกิดจากวุ้นในตาเสื่อมสภาพ นำเป็นเหตุเข้าไปสู่สายตามัวข้างเดียว

อาการตามัวที่ควรพบแพทย์


อาการตามัวที่สามารถสังเกตได้ชัดคือ ปวดศีรษะขณะใช้สายตาในการโฟกัสจุด ๆ หนึ่งเป็นเวลานาน ทำให้ภาวะเลนส์ตาของผู้ป่วยเกิดภาวะตามัวเหมือนมีหมอกขาวชั้นบางขุ่นบดบัง ส่งผลกระทบการทำงานของดวงตาไม่สามารถโฟกัสกับภาพที่มองเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือบริเวณนัยน์ตาขาวเริ่มเป็นสีแดงก่ำและผู้ป่วยใช้ดวงตาในการจดจ้องในช่วงที่มีอาการตามัวอยู่นั้น อาจส่งผลเส้นประสาทลามไปถึงส่วนการทำงานภายศีรษะได้  

หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงที่เข้าเขตอาการตามัวขั้นต้นที่กล่าวมานั้น ควรทำการนัดพบแพทย์โดยเร็วที่สุด หากปล่อยอาการตามัวไว้นั้น อาจส่งผลทำให้อาการพร่ามัวสะสม นำไปสู่โรคร้ายแรงอย่าง โรคต้อกระจกได้ 


การวินิจฉัยตามัวโดยจักษุแพทย์



แพทย์จะทำการตรวจสอบดวงตา โดยใช้เครื่องมือ 4 ประเภทหลัก ที่ช่วยในการวินิจฉัยอาการตามัวได้ชัดเจนมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
 

1. การตรวจสายตา


การวัดประสิทธิภาพของดวงตาโดยภาพรวมของผู้ป่วย ในการใช้เครื่องมือเป็นแบบทดสอบเพื่อวัดผลความแม่นยำของการมองเห็น ตั้งแต่ การทำแบบทดสอบมองเห็นสี (Color vision) การทดสอบลานสายตา (Visual field)  และการตรวจสายตา แบบอ่านแผนภูมิในระยะไกล (Snellen chart) เพื่อเป็นตัวชี้วัดในการประเมินของผลคาดคะเนที่มีผลข้างเคียงเป็นตามัวหรือไม่ในภายหลัง
 

2. การตรวจวัดความดันลูกตา


การวัดปริมาณของเหลวภายในลูกเบ้าตา เป็นข้อมูลเพื่อหาค่าความสมดุลของวัฎจักรการผลิตของเหลวในดวงตาและการระบายของเหลออกจากดวงตาได้อย่างสม่ำเสมอ โดยข้อมูลดัชนีนี้สามารถวัดค่าในการคาดคะเนโรคเกี่ยวกับดวงตาอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดสภาวะตามัวได้ อย่างโรคตระกูลต้อเนื้อ ต้อหิน ต้อลม และต้อกระจก
 

3. การตรวจตาด้วย Slit-lamp


กล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษสำหรับใช้ในการตรวจดูส่วนประกอบของดวงตาทุกส่วน ตั้งแต่ สภาพผิวหนังรอบดวงตา เปลือกตาและขนตา ตาขาว กระจกตา ม่านตา และเลนส์ตา ในการตรวจสอบสภาพผิดปกติของดวงตาและเป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยหาต้นตอของโรคเกี่ยวกับตาและการรักษาตามัวได้อย่างแม่นยำ เช่น การรักษาสายตาสั้น หรือ การผ่าตัดต้อกระจก เป็นต้น
 

4. การตรวจเลือด


เป็นการตรวจสอบความผิดปกติของการทำงานของเลือดที่นำไปหล่อเลี้ยงในบริเวณจอประสาทตา เพื่อค้นหาโรคแทรกซ้อนที่มีผลค้างเคียงในบริเวณดวงตาให้เกิดอาการตามัวและเห็นภาพไม่คมชัด อย่าง โรคไมเกรน ไซนัส และโรคเบาหวาน


วิธีรักษาอาการสายตามัว



วิธีการรักษาอาการสายตามัวทั่วไป แบ่งออกเป็น 4 วิธีหลัก ยกตัวอย่างเช่น
 

1. ยาแก้สายตาพร่ามัว


การทานอาหารเสริมสำหรับบำรุงสายตามัว เป็นการทดแทนและเติมเต็มส่วนที่สึกหรอในระบบร่างกายที่มีไม่สามารถผลิตสารบำรุงตาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยสารสกัดจากธรรมชาติที่มีส่วนผสมหลัก ๆ จากลูทีน ซีแซนทีน และบิลเบอร์รี่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารในการบำรุงตาอย่างเต็มที่
 

2. อาหารบำรุงตา

 

  • เนื้อปลา - ปลาทะเลเป็นแหล่งอุดมไปด้วยสาร omega-3 ที่มีสรรพคุณในการบำรุงสายตามัวได้ เช่น ปลาแซลมอน ปลาแม็คเคอเรล และปลาทูน่า หรือปลาในน้ำจืด อย่าง ปลาช่อน ปลาสวาย และปลาดุก
  • พืชผัก - มีสาร omega-3 ที่ช่วยบำรุงการสายตามัวได้อีกเช่นกัน ตั้งแต่ผักใบเขียวอย่างอะโวคาโด บรอคโคลี่ ดอกกะหล่ำ แครอท ผักขม หรือการหาโปรตีนจากเมล็ดถั่วอย่าง เมล็ดวอลนัท ถั่วเหลือง และเต้าหู้ เพื่อช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของดวงตาให้แข็งแรงอยู่เสมอ
  • ผลไม้ - การรับประทานผลไม้หลากสี มีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย และช่วยการเกิดโรคเกี่ยวข้องกับทางตาโดยตรง อย่าง ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ส้ม กีวี่ และลูกพลับ

3. บริหารกล้ามเนื้อบริเวณดวงตา


การบริหารส่วนของกล้ามเนื้อบริเวณดวงตาและลูกตา จะช่วยบรรเทาอาการตามัวได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการขยับตรงส่วนดวงตาทำให้กล้ามเนื้อไม่เกร็งกับการโฟกัสสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากจนเกินไป เป็นการออกกำลังกายบนดวงตาให้มีความหยืดหยุ่น สามารถทำได้ทุกวันของก่อนนอนและตื่นนอนตอนเช้าเป็นกิจวัตรประจำวัน
 

4. น้ำตาเทียม (Artificial Tears)


น้ำตาเทียม คือ น้ำหล่อลื่นที่มีสรรพคุณในการเติมเต็มความชุ่มชื่นให้กับสภาพดวงตาแห้ง และผู้ป่วยที่ประสบปัญหาจากการผ่าตัดต้อกระจก หรือการทำเลสิคประเภท ReLEX SMILE, Femto LASIK และ PRK ในการรักษาค่าสายตากลับมามีการมองเห็นปกติ


แนะนำวิธีป้องกันตามัว



วิธีป้องกันตามัวโดยทั่วไป มีดังนี้  

  • ล้างมือให้สะอาดก่อนสวมใส่คอนเทคเลนส์อยู่เสมอ เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงสิ่งแปดปลอมหรือเชื้อแบคทีเรียเข้าสัมผัสบริเวณเนื้อตาโดยตรง
  • เมื่อออกไปข้างนอกควรสวมใส่แว่นกันแดด หรือกางร่มในบริเวณที่มีแสงแดดจ้า เพื่อป้องกันรังสี UV (Ultraviolet) กระทบดวงตา
  • ตรวจวัดสายตาอย่างสม่ำเสมอปีละ 1 ครั้ง/ปี
  • สวมใส่แว่นตากรองแสงสีฟ้าในขณะอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์จอสัมผัสทุกชนิด

ข้อสรุป

ผู้ป่วยมีเกณฑ์ที่เข้าข่ายอาการตามัวนั้น สามารถชะลออาการด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวันที่ถนอมสายตาได้ด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอ หากในกรณีที่อยู่ในภาวะตามัวสะสม ไม่สามารถแก้ไขด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตัวเอง และติดต่อสอบถามอาการเกี่ยวกับนัยน์ตาต่าง ๆ หรือนัดเวลากับจักษุแพทย์

จากทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
 

แอดไลน์ สมิติเวช ไชน่าทาวน์


บทความอ้างอิง

  • Hammond,N. (2019, March 19). 12 What causes blurred vision and a headache? medicalnewstoday

https://www.webmd.com/eye-health/why-is-my-vision-blurry

  • Griff,A. (2020, May 21). 12 causes of sudden blurry vision medicalnewstoday

https://www.webmd.com/eye-health/why-is-my-vision-blurry

  • Seltman,W. (2020, August 31). Why Is My Vision Blurry? Webmd

https://www.webmd.com/eye-health/why-is-my-vision-blurry

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​