ต้อกระจกในผู้สูงอายุ ภัยทางสายตาที่อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
ต้อกระจกในผู้สูงอายุ คือ ภาวะที่เลนส์ตามีความขุ่นมัวหรือเปลี่ยนสี ส่งผลให้การมองเห็นของผู้ป่วยพร่ามัวและลดลงตามระยะเวลา
ก่อนจะเริ่มทำความเข้าใจการผ่าตัดต้อเนื้อ ต้อเนื้อรักษายังไง ต้องรู้จักเสียก่อนว่า ต้อเนื้อเป็นโรคที่พบได้บ่อยในบรรดาโรคทางจักษุ โดยมีลักษณะเป็นแผ่นพังผืดสีชมพูออกแดงที่เรียบหรือนูนขึ้นมาเล็กน้อย รูปร่างเป็นเหมือนสามเหลี่ยมยื่นออกจากบริเวณเยื่อบุตาและเมื่อเวลาผ่านไป แผ่นพังผืดนี้จะค่อย ๆ ลุกลามไปในกระจกตา ซึ่งส่วนใหญ่มักพบในบริเวณหัวตา ณ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของการเกิดโรคต้อเนื้อ อาจจะเกิดจากการถูกแสงอาทิตย์ที่มีรังสีอัลตราไวโอเลต หรือ UV เป็นประจำจนเกิดการอักเสบ ระคายเคืองเรื้อรังจนเกิดความผิดปกติที่เยื่อบุตา จนต้องนำไปสู่ขั้นตอนการผ่าตัดต้อเนื้อ หรือ ลอกตา
ต้อเนื้อไม่ใช่โรคอันตราย แต่ก็ไม่ได้มีทางรักษาอื่นๆนอกจากการผ่าตัดต้อเนื้อ หลายคนอาจจะคิดว่าการผ่าตัดเป็นเรื่องน่ากลัวจนปล่อยให้ต้อลุกลามเข้าไปในตาดำ ซึ่งหากปล่อยไว้ อาจจะทำให้ต้อเข้าไปปิดตาดำจนทำให้ตาบอดชั่วคราวได้
การผ่าตัดต้อเนื้อไม่ใช่เรื่องน่ากลัวและซับซ้อนอย่างที่คิด ในบทความนี้ทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ จะมาอธิบายเกี่ยวกับการผ่าตัดต้อเนื้อ หรือการลอกต้อเนื้อ ว่าทำอย่างไรบ้าง อันตรายไหม มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ราคาแพงหรือไม่ และต้องมีอาการแค่ไหนจึงจำเป็นต้องผ่าตัดต้อเนื้อ
สารบัญบทความ
การผ่าตัดต้อเนื้อ หรือPterygium Excision คือเป็นวิธีรักษาต้อเนื้อเพียงวิธีเดียวที่สามารถทำได้ในปัจจุบัน บางคนก็เรียกการผ่าตัดต้อเนื้อว่าการลอกต้อเนื้อ ซึ่งกระบวนการรักษาผ่าตัดต้อเนื้อนั้นเป็นขั้นตอนสำหรับผู้ที่เริ่มมีอาการที่แผ่นพังผืดลักษณะสามเหลี่ยมนั้นเริ่มลุกลามเข้าสู่ตาดำหรือบริเวณกระจกตา และบดบังการทัศนะการมองเห็น หรือหากใครที่มองว่าเป็นปัญหาด้านความสวยงามของดวงตาก็สามารถเข้ารับการผ่าต้อเนื้อได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามการรักษาก็ควรได้คำแนะนำในเบื้องต้นจากหมอรักษาตา
ต้อเนื้อ (Pterygium) คือส่วนของเยื่อบุตาขาวที่เสื่อมสภาพ จนเปลี่ยนรูปร่างเกิดเป็นผังผืดเนื้อเยื่อสีแดงรูปสามเหลี่ยมยื่นเข้าสู่ตาดำ จนสมัยก่อนมีการเรียกต้อเนื้อว่า “ต้อลิ้นหมา”
ต้อเนื้อนี้พัฒนามาจากต้อลม และยังไม่ปรากฎข้อมูลที่แน่นอนว่าการเสื่อมของเยื่อบุตาขาวที่ทำให้เกิดต้อลมและต้อเนื้อนั้นเกิดจากอะไร แต่การแพทย์ปัจจุบันเชื่อว่าเกิดจากการที่ดวงตาถูกรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์มากเกินไป
ประกอบกับการระคายเคืองที่เกิดจาก ลม ฝุ่น ควัน และมลภาวะต่างๆ จึงไปกระตุ้นให้เยื่อบุตาขาวเสื่อมสภาพ จนเป็นก้อนนูนสีขาวเหลืองที่เรียกว่าต้อลม และพัฒนาเป็นพังผืดสีแดงยื่นเข้าสู่ตาดำที่เรียกว่าต้อเนื้อ
ต้อเนื้อจึงพบมากในผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง ผู้ใช้แรงงาน และเกษตรกร และพบมาในประเทศที่มีแดดจัด อากาศร้อน อยู่ใกล้แนวเส้นศูนย์สูตร ซึ่งประเทศไทยเองก็อยู่ในบริเวณดังกล่าวด้วยเช่นกัน
ในปัจจุบันยังไม่มียาหยอดตา ยาทา ยาป้าย หรือยารักษาต้อเนื้อ ผู้ที่เป็นต้อเนื้อมีตัวเลือก 2 อย่างเมื่อเกิดต้อเนื้อขึ้น
อย่างแรกคือปล่อยทิ้งไว้ แล้วหลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะทำให้ต้อเนื้อลุกลาม อย่างการอักเสบจากการระคายเคือง ซึ่งหากเป็นต้อเนื้อ การอักเสบจะเกิดขึ้นง่ายมาก เพราะต้อเนื้อจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บหรือคันตา เมื่อไหร่ที่ไปขยี้ตาก็จะเกิดการอักเสบได้
อย่างที่สองคือรักษาด้วยการผ่าตัด วิธีนี้แพทย์จะแนะนำให้ทำก็ต่อเมื่อต้องการให้ดวงตากลับมาสวยงาม ไม่มีพังผืด หรือทำเมื่อต้อลุกลามเข้าสู่ตาดำจนทำให้มีผลต่อการมองเห็น แต่หลังจากลอกต้อแล้ว ต้อเนื้อก็มีโอกาสกลับมาได้อีกเช่นกัน
หากเป็นแบบนี้แล้ว ต้อเนื้อรักษาหายไหม?
คำตอบคือรักษาหายได้ แต่ไม่ใช่กับทุกคน แม้ในปัจจุบันจะมีการผ่าตัดต้อเนื้อวิธีใหม่ที่ทำให้โอกาสจะกลับมาเป็นอีกลดลง แต่ก็ยังมีโอกาสประมาณ 5 - 10% ของผู้เข้ารับการรักษา ที่สามารถกลับมาเป็นต้อเนื้อใหม่ได้ แม้จะผ่าตัดด้วยการปลูกเนื้อเยื่อแล้วก็ตาม
ทางที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคต้อเนื้อ คือต้องใส่แว่นกันแดดกันลมทุกครั้งเมื่ออยู่ในที่แจ้ง ปกป้องสายตาจากรังสียูวี ฝุ่น ควัน ลม และมลภาวะต่างๆ เพื่อลดโอกาสเกิดต้อเนื้อลง
ณ ปัจจุบันการผ่าตัดต้อเนื้อช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายได้อย่างถาวร ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล วิธีในการผ่าตัด และการลุกลามของต้อเนื้อ ผู้ป่วยหลายท่านอาจมีความกังวลว่าตนเองจะเข้ารับการผ่าตัดแบบใดถึงจะดี การผ่าตัดต้อเนื้อต้องขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของจักษุแพทย์ร่วมด้วย
ซึ่งวิธีการผ่าตัดต้อเนื้อมีด้วยกัน 2 วิธี โดยแบ่งออกตามการจัดการกับแผลที่เกิดจากเยื่อบุตาขาวบางส่วนถูกตัดออกไปพร้อมต้อเนื้อ ได้แก่ การผ่าตัดลอกต้อเนื้อแบบปกติ และการผ่าตัดลอกต้อเนื้อพร้อมปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ โดยทั้ง 2 วิธีมีจุดเด่น และในระยะยาวการเกิดโรคซ้ำก็มีความแตกต่างกันอยู่
การผ่าตัดลอกต้อเนื้อแบบปกติ เป็นการลอกต้อเนื้อออก โดยไม่ได้มีการหาเนื้อเยื่ออื่นมาเย็บติดลงไปแทนที่เยื่อบุตาขาวที่ถูกตัดออกไปพร้อมกับต้อเนื้อ เมื่อเวลาผ่านไป เยื่อบุดังกล่าวจะงอกกลับขึ้นมาเอง วิธีนี้ใช้เวลาเพียง 10 - 15 นาทีในการผ่าตัดต้อเนื้อ แต่โอกาสที่ต้อเนื้อจะกลับมาเป็นซ้ำมีได้มากถึง 40 - 50%
การผ่าตัดลอกต้อเนื้อพร้อมปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ เป็นการผ่าตัดที่จะปลูกเนื้อเยื่อลงไปแทนที่เยื่อบุตาขาวที่ถูกตัดออกไปพร้อมกับต้อเนื้อ เนื้อเยื่อที่ใช้ปลูกจะเป็นเนื้อเยื่อจากรก หรือเยื่อบุตาขาวบริเวณใกล้กับแผลผ่าตัดของคนไข้เองก็ได้
การผ่าตัดลอกต้อเนื้อพร้อมปลูกถ่ายเนื้อเยื่อจะใช้เวลาผ่าตัดนานกว่าการลอกต้อเนื้อธรรมดา แต่ข้อดีคือมีโอกาสเกิดต้อเนื้อใหม่น้อยกว่า โดยจะมีโอกาสเกิดซ้ำเพียง 5 - 10%
แต่ในบางกรณีที่พื้นที่ของต้อเนื้อน้อย แพทย์ก็ไม่แนะนำให้ปลุกเนื้อเยื่อเช่นกัน ดังนั้นการเลือกวิธีการผ่าตัดส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของจักษุแพทย์เจ้าของไข้มากกว่า
นอกจากสองวิธีนี้ ยังมีการผ่าตัดต้อเนื้อโดยการวางแร่เบต้าเรย์ไว้บนดวงตาขณะผ่าตัดด้วย เพื่อให้รังสีเบต้าลดโอกาสเกิดต้อเนื้อซ้ำ วิธีนี้ได้ผลและทำให้โอกาสที่ต้อเนื้อจะกลับมาเป็นซ้ำลดลงเหลือประมาณ 15% แต่วิธีนี้ก็ไม่นิยมทำกันแล้วในปัจจุบัน เนื่องจากอาจเกิดผลข้างเคียงจากรังสี เป็นวิธีที่ไม่ปลอดภัยมากนัก
ก่อนอื่นต้องเริ่มจากคำถามที่ว่า ต้อเนื้ออันตรายไหม?
คำตอบคือ ต้อเนื้อไม่ใช่โรคที่อันตราย แม้จะเกิดจากเยื่อบุตาเสื่อม แต่ก็ไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายอะไรนอกจากอาการคัน ระคายเคืองเหมือนมีเม็ดทรายอยู่ในดวงตา และอาการอักเสบ
คนส่วนใหญ่มักคิดว่า โรคที่ไม่อันตรายไม่จำเป็นต้องรักษา แต่เมื่อไหร่ก็ตามโรคที่ไม่อันตราย ส่งผลต่อการใช้ชีวิตจนทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ หรือมีผลข้างเคียงเป็นอาการอันตราย ก็ควรจะรักษา
ต้อเนื้อแม้จะไม่อันตราย แต่ถ้าลามไปจนถึงตาดำจะมีผลกับการมองเห็น ทำให้ภาพมัวลงจนใช้สายตาตามปกติได้ยาก ทั้งยังสร้างความรำคาญ และการอักเสบเป็นระยะจากการระคายเคือง
นอกจากการอักเสบแล้ว อาการการระคายเคืองที่ดูไม่ใช่เรื่องใหญ่นี้ทำให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งไม่มาพบแพทย์ และหาซื้อยาหยอดตาลดการระคายเคือง ลดอักเสบตามร้านขายยามาใช้เอง
ยาเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวมักมาพบแพทย์ด้วยผลกระทบอันตรายที่เกิดจากการใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน นั่นคือการเป็นต้ออื่นๆ อย่างต้อกระจก และต้อหินนั่นเอง
ดังนั้นหากถามว่าทำไมต้องผ่าตัดต้อเนื้อ นั่นเป็นเพราะว่าการผ่าตัดเป็นวิธีเดียวที่จะรักษาอาการเรื้อรังของต้อเนื้อได้ และเป็นการแก้ไขปัญหาการมองเป็นที่เกิดจากต้อเนื้อ อีกทั้งยังเป็นการป้องกันผลข้างเคียงรุนแรงที่อาจเกิดตามมาจากการใช้ยาหยอดตาเพื่อบรรเทาโรคต้อเนื้ออีกด้วย
การผ่าตัดต้อเนื้อถือเป็นการรักษาที่แก้ปัญหาได้ตรงจุดและลดโอกาสการลุกลามของต้อเนื้อที่อาจจะเกิดขึ้นซ้ำได้ ที่สำคัญในบางรายที่ต้อเนื้อเริ่มที่จะบดบังการมองเห็นก็สามารถรักษาให้หายขาดได้
อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าทุกรายจะรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดต้อเนื้อ หากในกรณีที่บางรายที่มีอาการไม่มาก ก้อนเนื้อยังไม่เกิดการลุกลามจากเดิม อาจมีเพียงแค่อาการอักเสบระคายเคือง คันตา รู้สึกเหมือนมีเศษผงเข้าตาอยู่ตลอดเวลา สามารถรักษาด้วยการหยอดน้ำตาเทียมหรือยาหยอดตาที่มีสเตียรอยด์หรือยาป้ายตาเพื่อรักษาและลดอาการเหล่านี้ได้ โดยไม่ต้องถึงขั้นตอนการผ่าตัด
การผ่าตัดต้อเนื้อก็อาจสร้างความกังวลใจให้กับหลายท่านที่สนใจอยากจะเข้ารับการรักษาโดยการผ่าต้อเนื้อ ทั้งลอกต้อเนื้อเจ็บไหม อาการหลังลอกต้อเนื้อ ผลข้างเคียงต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่ควรจะศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจผ่าตัดต้อเนื้อ
อาจเกิดผลข้างเคียงจากการผ่าตัดโดยทั่วไป เช่น การติดเชื้อ หรือการแพ้ยาจากการหยอดตาหลังผ่าตัดและยาชาที่ใช้ระหว่างผ่าตัด ซึ่งมีความเสี่ยงที่อาจเกิดผลข้างเคียงจากการผ่าตัดต้อเนื้อดังต่อไปนี้
ผู้ที่ทานยาประจำควรแจ้งจักษุแพทย์ว่ามียาอะไรบ้าง ถ้ายาตัวใดมีผลต่อการผ่าตัด อย่างยาที่มีผลกับการแข็งตัวของเลือด แพทย์จะให้หยุดยาก่อนผ่าตัดประมาณ 1 สัปดาห์
เมื่อแพทย์วินิจฉัยให้มีการรักษาโดยการผ่าตัดต้อเนื้อเรียบร้อยแล้ว มีการแนะนำการเตรียมตัวก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการรักษา โดยแต่ละขั้นตอนจะมีรายละเอียด ดังนี้
ในการผ่าตัดต้อเนื้อแบบปกติ แพทย์จะลอกเยื่อบุตาขาวในส่วนที่กลายเป็นต้อเนื้อออก โดยไม่ได้เย็บเยื่อบุตาขาวในส่วนที่เหลือให้กลับมาเชื่อมกัน แต่จะรอให้เนื้อเยื่อส่วนนั้นฟื้นฟูตัวเองจนกลับมาเชื่อมกันเองตามธรรมชาติ
การผ่าตัดแบบปกตินี้มีข้อดีคือจะไม่มีการเย็บแผลหลังลอกต้อออกไปแล้ว แพทย์จะปล่อยให้เยื่อบุตาขาวฟื้นฟูตัวเองจนเป็นปกติ ทำให้มีการระคายเคืองหลังผ่าตัดน้อยกว่า แต่ก็มีข้อเสียคือทำให้มีโอกาสกลับมาเป็นต้อเนื้อซ้ำได้มาก
วิธีนี้จะเริ่มโดยการลอกต้อเหมือนวิธีแรกเลย เพียงแต่พอนำต้อเนื้อออกแล้ว แพทย์จะนำเยื่อบุตาขาวบางส่วนหรือเยื่อหุ้มรก มาแปะลงบนส่วนที่ผ่าต้อออกไปอีกที วิธีนี้จะทำให้เนื้อเยื่อฟื้นฟูตัวเองได้เร็ว และมีโอกาสกลับมาเป็นต้อเนื้อซ้ำน้อยกว่าแบบปกติ
แต่วิธีนี้ก็มีข้อเสียตรงที่บางกรณีอาจจะต้องเย็บแผล ไหมเย็บแผลอาจจะทำให้รู้สึกระคายเคืองได้มาก และต้องมาตัดไหมที่โรงพยาบาลในอีกประมาณ 7 - 10 วัน
การดูแลหลังลอกต้อเนื้อ มีข้อปฏิบัติดังนี้
หลังการผ่าตัดต้อเนื้ออาจเกิดอาการดังนี้
หากมีอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น ตาแดงมาก บวมเป็นเวลานาน ตาพร่ามัว เกิดภาพซ้อน ปวดตามากแม้ทานยาแก้อักเสบแล้ว มีขี้ตามากกว่าปกติ อาเจียน ควรรีบแจ้งแพทย์โดยเร็ว เนื่องจากเป็นความผิดปกติที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา
ปัจจุบันไม่มียาหยอดตา ยาป้ายตา หรือยากินอื่น ๆ ที่ใช้รักษาต้อเนื้อให้หายได้ ส่วนยาที่แพทย์ให้เป็นยาช่วยลดอาการอักเสบและระคายเคืองเท่านั้น เมื่อเริ่มมีอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์ตามกำหนดเพื่อติดตามอาการ หากอาการแย่ลงแพทย์อาจจะพิจารณาให้ผ่าตัดต้อเนื้อ
ผู้ที่เป็นโรคต้อเนื้อไม่ควรซื้อยาหยอดตาใช้เองโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากเภสัชหรือแพทย์ และไม่ควรใช้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพราะอาจเกิดผลข้างเคียง อย่างโรคต้อหิน ซึ่งเป็นโรคอันตราย มีผลทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้
ค่าใช้จ่ายในการลอกต้อเนื้อขึ้นอยู่กับจำนวนหัวที่ผ่าตัด และการใช้ Fibrin Glue
จำนวนหัว หมายถึงจำนวนตำแหน่งของต้อ หากเป็นต้อเนื้อที่หัวตาที่เดียว จะเรียกว่า 1 หัว แต่ถ้าเป็นทั้งที่หัวตา และหางตา จะเรียกว่ามีต้อเนื้อ 2 หัว ยิ่งจำนวนหัวมาก ราคาการผ่าตัดก็จะยิ่งแพง
การใช้ Fibrin Glue หมายถึงการใช้กาวตัวนี้ เชื่อมระหว่างเนื้อเยื่อที่ปลูกใหม่กับเยื่อบุตาขาว หากใช้ Fibrin Glue ในการเชื่อมเนื้อเยื่อแทนการใช้ไหมเย็บตามปกติ จะทำให้หลังผ่าตัดมีการระคายเคืองน้อยกว่า แต่ค่าผ่าตัดก็จะราคาสูงขึ้นด้วย
ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ การรักษาด้วยการลอกต้อเนื้อ ราคาดังตารางนี้
การรักษาข้างต้น ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล หลังการรักษา สามารถกลับบ้านได้ทันที
หมายเหตุ :
การตัดสินใจว่าจะผ่าตัดลอกต้อเนื้อที่ไหนดีนั้น ควรตัดสินใจเลือกสถานพยาบาลที่ปลอดภัย สะอาด เครื่องมือครบครัน เนื่องจากดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญ และเป็นอวัยวะที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายอยู่แล้ว หากจะผ่าตัดต้อเนื้อบนดวงตา ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ
นอกจากนี้ ยังควรเลือกจักษุแพทย์จากความพึงพอใจของตัวผู้เข้ารับการรักษาเอง เนื่องจากการผ่าตัดต้อเนื้อส่วนใหญ่ไม่ใช้ยาสลบ คนไข้ที่มองเห็นทุกอย่างว่าแพทย์ทำอะไรบ้าง อาจจะเกิดความเครียดและกลัวการผ่าตัดได้ หากได้รักษากับแพทย์ที่รู้สึกไว้ใจ ก็จะช่วยให้คนไข้ผ่อนคลายลงได้บ้าง
ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ เราให้ความสำคัญกับการบริการ ดูแลคนไข้เหมือนเป็นเพื่อนบ้านของเรา เรารักษาต้อเนื้อทุกเคสโดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ประสบการณ์สูง เพื่อให้คนไข้สามารถไว้วางใจได้ อีกทั้งยังผ่าตัดด้วยอุปกรณ์ทันสมัย ครบครัน สะอาด ปลอดภัย และได้มาตรฐานทางการแพทย์อีกด้วย
ผ่าตัดต้อเนื้อ พักฟื้นกี่วัน รอกี่วันหาย?
หลังผ่าตัดต้อเนื้อ ให้พักฟื้นที่บ้านอย่างน้อย 2 วัน เพราะต้องใส่ที่ครอบตาปิดไว้ตลอด 2 วัน จึงเปิดตาได้ แต่หลังจากนั้นก็จะยังระคายเคืองมากจนกว่าจะตัดไหม เป็นเวลาประมาณ 7 - 10 วัน และยังต้องระวังอย่าให้น้ำเข้าตาหรือขยี้ตาอยู่ ผู้เข้ารับการรักษาจะใช้ชีวิตได้ตามปกติเมื่อผ่านไปแล้วประมาณ 2 สัปดาห์
ต้อเนื้อไม่อันตราย ไม่ผ่าได้ แต่เมื่อไหร่ที่รำคาญ อักเสบตาแดง หรือมีผลกับการมองเห็นมากจนใช้ชีวิตยากก็ไม่ควรปล่อยไว้ แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดต้อเนื้อ เพราะยังไม่มีวิธีรักษาอื่นนอกจากการผ่าตัด
ผ่าตัดต้อเนื้อจะเจ็บในขั้นตอนการฉีดยาชา หลังจากยาชาออกฤทธิ์ จะรู้สึกว่าแพทย์ทำอะไรบางอย่างกับดวงตา แต่จะไม่เจ็บเลย ทั้งนี้ ก่อนการฉีดยาชาเฉพาะที่ แพทย์จะหยอดยาชาให้ก่อน ดังนั้นการฉีดยาชาจะไม่ได้เจ็บมาก
ผ่าตัดต้อเนื้อใช้เวลาไม่นาน การผ่าตัดต้อเนื้อแบบปกติจะใช้เวลาแค่ประมาณ 10 - 15 นาที ถ้าเป็นการผ่าตัดต้อเนื้อแบบปลูกเนื้อเยื่อก็จะใช้เวลาประมาณ 30 นาที
เนื่องจากการผ่าตัดต้อเนื้อเป็นการผ่าตัดเล็กผู้ป่วยที่ทำผ่าตัดเสร็จแล้ว สามารถกลับบ้านไปพักฟื้นอาการได้เลย ไม่จำเป็นต้องนอนที่โรงพยาบาล โดยหลังการผ่าตัดแพทย์จะให้ปิดที่ครอบตาไว้ประมาณ 48 ชั่วโมง จากนั้นก็สามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้แต่ก็ต้องระมัดระวังในช่วงแรกเช่นกัน
การผ่าตัดต้อเนื้อไม่ได้อันตรายอะไร เป็นเพียงการนำต้อเนื้อพร้อมเยื่อบุตาขาวออกบางส่วนเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไปร่างกายของเราจะสามารถฟื้นฟูตัวเองจนเนื้อเยื่อส่วนนั้นหายเป็นปกติได้ แต่อย่างไรก็ตาม ต้อเนื้อสามารถเกิดซ้ำที่เดิมได้หากไม่ดูแลตัวเองให้ดี
หากไม่อยากเกิดต้อเนื้อซ้ำ ควรหลีกเลี่ยงแสงแดด สม ฝุ่น ควัน และมลภาวะต่างๆ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรใส่แว่นกันแดด กันลม หรืออุปกรณ์ป้องกันดวงตาทุกครั้งเมื่อจำเป็นต้องสัมผัสกับปัจจัยที่ทำให้เกิดต้อเนื้อ
สนใจผ่าตัดต้อเนื้อ ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดเวลากับจักษุแพทย์จากโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ สามารถติดต่อได้ที่ Line @samitivejchinatown
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก
Parker, J. (2021, January 15). Surgical Approaches to Pterygium. Review of Ophthalmology.
https://www.reviewofophthalmology.com/article/surgical-approaches-to-pterygium
Nuzzi, R. &Tridico, F. (2018, November 19). How to minimize pterygium recurrence rates: clinical
perspectives. PubMed. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6251440/
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)