ต้อกระจกในผู้สูงอายุ ภัยทางสายตาที่อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
ต้อกระจกในผู้สูงอายุ คือ ภาวะที่เลนส์ตามีความขุ่นมัวหรือเปลี่ยนสี ส่งผลให้การมองเห็นของผู้ป่วยพร่ามัวและลดลงตามระยะเวลา
ในปัจจุบันผู้คนมีค่าสายตากันมากขึ้น ทั้งสายตาสั้น และสายตาเอียง จากการใช้สายตามากเกินพอดี ใช้สายตาผิดวิธี หรือจากปัจจัยอื่นๆ จนทำให้เกิดการรักษาค่าสายตาขึ้น ซึ่ง PRK ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งเช่นกัน
PRK เป็นการรักษาค่าสายตาโดยการปรับกระจกตาด้วยเลเซอร์คล้ายกับการทำเลสิค แต่แล้ว PRK คืออะไร? PRK กับ Lasik ต่างกันอย่างไร? ผู้มีสายตาแบบใดจึงเหมาะกับการทำ PRK ? ในบทความนี้ทางสมิติเวช ไชน่าทาวน์ จะให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำ PRK
สารบัญบทความ
PRK (Photorefractive Keratectomy) หรือ PRK Lasik คือวิธีการรักษาค่าสายตาแบบหนึ่ง ที่จะปรับค่าสายตาด้วยการแก้ไขกระจกตาคล้ายกับการทำเลสิค โดยจะต่างกับเลสิคในเรื่องวิธีการผ่าตัด ในบางครั้งการทำ PRK จึงถูกนับเป็นการทำเลสิคอย่างหนึ่งเช่นกัน
PRK เป็นวิธีการรักษาค่าสายตาที่ทำกันมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 มีมาก่อนเลสิค และยังคงนิยมทำกันอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากให้ผลที่ถาวร ผลข้างเคียงน้อย ข้อจำกัดในการทำน้อยกว่าเลสิค อีกทั้งยังเป็นวิธีการรักษาค่าสายตาวิธีเดียวที่สามารถทำได้ หากมีอาชีพนักบิน ทหาร หรือตำรวจ
การทำ PRK จะช่วยแก้ปัญหาสายตาสั้น สายตาสั้นข้างเดียว และสายตาเอียง โดยสามารถแก้ไขสายตาสั้นไม่เกิน 500 (5.00 diopters) และเอียงไม่เกิน 200 (2.00 diopters)
นอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดมาก เช่น กระจกตาบาง หรือตาแห้ง คนกลุ่มนี้จะไม่สามารถทำเลสิคได้ เนื่องจากเลสิคต้องตัดกระจกตาชั้นบนออกชั่วคราวเพื่อปรับความโค้งกระจกตา ด้านใน
ในกรณีที่ตาแห้งอยู่แล้ว การทำเลสิกจะทำให้ตาแห้งกว่าเดิม ผู้ที่มีข้อจำกับเหล่านี้จึงควรแก้ปัญหาสายตาด้วยการทำ PRK มากกว่า
PRK กับ Lasik ต่างกันที่วิธีการผ่าตัด และส่วนของกระจกตาที่เลเซอร์จะเข้าไปแก้ไขค่าสายตา
เป็นการแก้ไขที่กระจกตาชั้นบน โดยแพทย์จะใช้สารละลาย ละลายเยื่อหุ้มที่กระจกตาด้านบนออก แล้วใช้เลเซอร์ปรับพื้นผิวกระจกตา ในส่วนบนของกระจกตาให้เข้ากับค่าสายตาที่คำนวนไว้ จากนั้นให้ใส่คอนแทคเลนส์ไว้ประมาณ 5 - 7 วัน เพื่อรอให้ร่ายกายสร้างเยื่อหุ้มครอบกระจกตาไว้เหมือนเดิม
เมื่อเทียบกับการทำเลสิคแล้ว การทำ PRK มีข้อดีดังนี้
ส่วนการทำเลสิค เป็นการแก้ไขกระจกตาชั้นกลาง
เลสิคบางรูปแบบเช่น Microkeratome LASIK และ FemtoLASIK จะกรีดผิวกระจกตาชั้นบนออกเป็นฝา เรียกว่าแฟลบ (Flap) แล้วจึงใช้เลเซอร์ปรับกระจกตาชั้นกลางที่อยู่ด้านในให้เข้ากับค่าสายตาที่คำนวนไว้ แล้วจึงปิดแฟลบกลับเข้าไปเหมือนเดิม
ส่วนเลสิคแบบ ReLEx จะไม่ต้องผ่าเปิดแฟลบออกมา แต่ใช้เลเซอร์แก้ไขกระจกตาชั้นกลางที่อยู่ด้านในโดยตรง แล้วเจาะแผลเล็กๆ เพื่อนำชิ้นส่วนกระจกตาที่เหลือจากการปรับแต่งออกมา
เมื่อเทียบกับ PRK เลสิคมีข้อดี คือ
การทำ PRK คือการปรับแก้ไขสายตาโดยไม่เปิดฝากระจกตาเป็นการแก้ไขที่กระจกตาชั้นบน โดยแพทย์จะใช้ใช้วิธีการลอกผิวกระจกตาชั้นนอกสุด แล้วใช้เลเซอร์ปรับพื้นผิวกระจกตา การทำ PRK ต้องใช้เวลาในการฟื้นตานานขึ้นเพราะหลังรักษาต้องใส่คอนแทคเลนส์ไว้ประมาณ 5 - 7 วัน เพื่อรอให้ร่างกายสร้างเยื่อหุ้มครอบกระจกตาไว้เหมือนเดิม
และในส่วนของกระบวนการ femto lasikนี้ วิธีการจะกรีดผิวกระจกตาชั้นบนออกและยิงเลเซอร์ในทุก ๆ ขั้นตอน ซึ่งวิธีการจะกรีดผิวกระจกตาชั้นบนออกเปิดฝากระจกและยิงเลเซอร์ จากนั้นแพทย์จะใช้เลเซอร์ Excimer เพื่อล้างชั้นเนื้อเยื่อตาชั้นกลางที่อยู่ด้านในให้เข้ากับค่าสายตาสั้น เอียง และในขั้นตอนสุดท้ายฝา กระจกตาจะถูกวางกลับลงมาที่เดิม
หรือสรุปได้อย่างสั้น ๆ ว่า PRK เป็นเทคนิคที่มีมานาน จะใช้การลอกผิวกระจกตาชั้นนอกสุดออกแล้วใช้เลเซอร์ยิงปรับค่าสายตา หลังจากการรักษาต้องหยอดยาประมาณ 3 เดือน แต่ส่วนยิงเลเซอร์แก้ไขปัญหา Femto LASIK จะมีการเปิดฝากระจกตาด้วยเลเซอร์ และต่อด้วยเลเซอร์ตัวที่สองไปที่กระจกตาชั้นกลางในปรับค่าสายตาสั้นเอียงและปิดดฝากระจกตา หลังจากการรักษาจะต้องหยอดยา 7 วัน
ReLEx SMILE การผ่าตัดที่ไม่ต้องใช้ใบมีดในการกรีดชั้นตาหรือเปิดฝากระจกตา มีความแม่นยำสูงในการแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติด้วยการใช้เลเซอร์ Femtosecond เข้าไปในกระจกตาชั้นกลาง และกระจกตาส่วนเกินจะถูกทำให้มีลักษณะเป็นรูปเลนส์ เรียกว่า Lenticule และใช้เลเซอร์ทำแผลขนาดเล็กบนผิวตาเพื่อเข้าถึง Lenticule และทำการลบ Lenticule ออกจากตา โดยทำผ่านทางรอยเจาะเล็กบนผิวตา หลังจากการลบลอนเซอร์แล้ว เนื้อเยื่อตาจะเริ่มสร้างรอยเรียบร้อยและเจริญเติบโตเพื่อฟื้นตาตัวเอง ต้องให้ระยะเวลาในการฟื้นตาเพื่อให้ตากลับสู่สภาพปกติ
ReLEx SMILE มีข้อได้เปรียบที่สำคัญคือไม่ต้องลอกกระจกตาแบบ PRK ดังนั้นจะลดความเจ็บปวดและเวลาฟื้นตาที่จำเป็นหลังการรักษา แต่ ReLEx SMILE มักมีความเหมาะสมกับผู้ที่มีภาวะตาขี้เกียจที่ไม่รุนแรงมากนัก ระยะเวลาฟื้นตาอาจใช้เวลานานกว่ากระบวนการที่ใช้เลเซอร์ด้วยเทคนิคอื่น ๆ แต่ส่วนใหญ่ผู้รักษตาจะมีการฟื้นตารวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ
PRK มีข้อเสีย และข้อจำกัดต่างๆ ดังนี้
การเตรียมตัวก่อนการตรวจสายตา และทำ PRK
การเตรียมตัวในวันที่ตรวจสายตา
การเตรียมตัวในวันที่ทำ PRK
การตรวจสภาพสายตาก่อนเข้ารับการผ่าตัด แพทย์จะตรวจองค์ประกอบต่างๆเกี่ยวกับสายตา ดังนี้
การตรวจสภาพสายตานั้น เป็นไปเพื่อให้จักษุแพทย์พิจารณาว่าผู้เข้ารับการรักษาสามารถทำ PRK ได้จริงไหม จะมีผลกระทบหลังทำหรือไม่ เหมาะกับการทำเลสิคแบบอื่นมากกว่าหรือเปล่า
และเพื่อวัดว่าต้องปรับกระจกตาให้เป็นทรงไหน ค่าความโค้งเท่าไหร่ เพื่อปรับกระจกตาให้พอดีกับค่าสายตาเดิม ป้องกันสายตาขาดหรือเกินหลังทำ
การดูแลตนเองในช่วง 1 - 7 วันแรกหลังการผ่าตัด
การดูแลตนเองหลังจากถอดคอนแทคเลนส์
PRK มีผลข้างเคียง ทำให้อาจเกิดอาการต่อไปนี้
ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ การรักษาค่าสายตาด้วยการทำ PRK ราคาจะอยู่ที่ 35,000 บาท สามารถผ่อน 0% กับบัตรเครดิตได้
โปรโมชั่นอื่นนอกเหนือจากนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะ สามารถติดตามโปรโมชั่น และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line@samitivejchinatown
หมายเหตุ : ราคาดังกล่าวเป็นราคาเฉพาะสำหรับคนไทยเท่านั้น
ทีมแพทย์ผู้ชำนาญการรักษาสายตา
การทำ PRK เป็นการแก้ไขค่าสายตาโดยการปรับกระจกตา กระจกตาของเรานั้นไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ดังนั้นเมื่อปรับกระจกตาด้วยเลเซอร์ไปแล้ว กระจกตาของเราก็จะอยู่แบบนั้นอย่างถาวร
ในขณะเดียวกัน หากการรักษาผิดพลาดเกิดจากเครื่องมือไม่ได้มาตรฐานหรือแพทย์ไม่ชำนาญก็จะสามารถแก้ไขได้ยาก หรือในบางกรณี อาจจะแก้ไขไม่ได้เลย
ดังนั้น การเลือกว่าจะทำ PRK ที่ไหนดี ข้อสำคัญคือควรเลือกโรงพยาบาลที่ทำ PRK โดยจักษุแพทย์เฉพาะทาง มีความชำนาญและประสบการณ์สูง รวมถึงต้องมีอุปกรณ์ที่ทันสมัย ผ่านมาตรฐานรับรองความปลอดภัย
ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ เราดำเนินการรักษาคนไข้ทุกคนโดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ประสบการณ์สูงกว่า 4 ท่าน พร้อมด้วยเครื่องมือผ่าตัดที่ทันสมัย และผ่านการรับรองความปลอดภัยแล้ว
นอกจาก PRK แล้วทางโรงพยาบาลยังรักษาค่าสายตาด้วยวิธีอื่นๆด้วย อย่าง ReLEx SMILE, FemtoLASIK, LASIK, และ Implantable Collamer Lens สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาค่าสายตาด้วยวิธีการอื่นๆ ได้ที่บทความเรื่องการรักษาสายตาสั้น
ทำ PRK พักฟื้นกี่วัน?
หลังทำ PRK ต้องพักฟื้นประมาณ 5 - 7 วัน เนื่องจากแผลผ่าตัดค่อนข้างใหญ่ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย และจะระคายเคืองตามากหลังทำ จนไม่สามารถใช้สายตาได้มากนักในช่วงสัปดาห์แรก ผู้ที่จะทำ PRK จึงควรลางานเพื่อเข้ารับการผ่าตัด ประมาณ 5 - 7 วัน
ขั้นตอนการทำ PRK ใช้เวลาไม่นาน เพียง 30 นาทีก็เสร็จสิ้นการผ่าตัด ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล แต่หากต้องการนอนโรงพยาบาลเพื่อรอการตรวจในวันรุ่งขึ้น ก็สามารถทำได้เช่นกัน
ทำ PRK กี่วันชัด?
หลังทำ PRK สายตาของเราจะใช้เวลาปรับตัวกับกระจกตาใหม่ประมาณ 7 วัน หลังจากนั้นจึงจะเห็นชัด หากหลัง 7 วันไปแล้วยังมีภาพซ้อนหรือภาพมัวอยู่ไม่ต้องตกใจ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ หลังจากนั้นสายตาจะชัดขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป
ทำ PRK แล้วมองไม่ชัด เป็นเรื่องปกติ
หลังทำ PRK การมองเห็นจะยังไม่ชัดทันที ดวงตาของผู้เข้ารับการรักษายังต้องปรับตัวกับกระจกตาที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะใช้เวลาค่อนข้างนาน ในคนไข้แต่ละคนระยะเวลาการปรับสายตาก็จะแตกต่างกันไป หากใครยังมองไม่ชัด ไม่ต้องกังวล เนื่องจากแพทย์จะนัดติดตามผลเป็นระยะอยู่แล้ว
เมื่อพบแพทย์ ให้แจ้งอาการกับแพทย์ แพทย์ผู้รักษาจะประเมินว่าการมองไม่ชัดที่เป็นอยู่เป็นระยะการปรับตัวปกติ หรือเกิดจากแก้ไขค่าสายตาขาดหรือเกิน ซึ่งอาการนี้ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการเติมเลเซอร์ ไม่ใช่เรื่องน่ากังวลอะไร
เนื่องจากหลังการทำเลสิก จะเกิดแผลรอบกระจกตาจากการเปิดแฟลบ ซึ่งแฟลบนี้จะไม่ได้เชื่อมติดกับกระจกตา แต่จะยึดอยู่ติดกันด้วยเทคนิคที่ทำขึ้นจากเลเซอร์ ทำให้กระจกตาอาจจะได้รับอันตรายหากประสบอุบัติเหตุที่ดวงตาอย่างรุนแรง
อาชีพนักบิน ทหาร ตำรวจ เป็นอาชีพที่เสี่ยงเกิดการกระทบการเทือนรุนแรงที่ดวงตาได้มาก ทำให้มีกฎว่าผู้ที่ประกอบอาชีพเหล่านี้ ไม่สามารถทำเลสิคได้นั่นเอง
การทำ PRK เป็นการแก้ไขค่าสายตาด้วยการแก้ไขพื้นผิวกระจกตาด้านบนให้เข้ากับค่าสายตา ทำให้กลับมามองเห็นได้อย่างปกติ การทำ PRK มีข้อดีคือ ข้อจำกัดน้อยกว่าการทำเลสิค ผู้ที่มีกระจกตาบาง ตาแห้ง สามารถทำได้ แต่ก็มีข้อเสียคือแก้ไขค่าสายตาได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
หากสนใจทำ PRK หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำ PRK รวมถึงเลสิคชนิดต่างๆ สามารถติดต่อสอบถาม หรือนัดเวลากับจักษุแพทย์ของโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ได้ที่ Line@samitivejchinatown
Reference
Boyd, K. (2017, Sep 27). What Is Photorefractive Keratectomy (PRK)?. American Academy of Ophthalmology (AAO). https://www.aao.org/eye-health/treatments/photorefractive%20-keratectomy-prk
Shortt, A.J., Allan, B.D.S., Evans, J.R. (2013, Jan 31). Laser-assisted in-situ keratomileusis (LASIK) versus photorefractive keratectomy (PRK) for myopia. PubMed. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23440799/
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)