ต้อกระจกในผู้สูงอายุ ภัยทางสายตาที่อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
ต้อกระจกในผู้สูงอายุ คือ ภาวะที่เลนส์ตามีความขุ่นมัวหรือเปลี่ยนสี ส่งผลให้การมองเห็นของผู้ป่วยพร่ามัวและลดลงตามระยะเวลา
ทราบหรือไม่ว่า ปัจจุบันอัตราการเกิดต้อกระจกในเด็กกำลังเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะปัญหาต้อกระจกในเด็กแรกเกิด ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงตาบอดตลอดชีวิตได้
บทความนี้จะพามาทำความรู้จักกับโรคต้อกระจกในเด็กว่ามีข้อสังเกตยังไง มีสัญญาณเตือนว่าเด็กอาจมีอาการตาเป็นต้อกระจกอย่างไรบ้าง รวมถึงวิธีการป้องกันโรค และข้อแนะนำหากพบความเสี่ยงโรคต้อกระจกในเด็ก
สารบัญบทความ
ต้อกระจกในเด็ก คือ โรคทางสายตาที่ทำให้เลนส์ตาเกิดอาการขุ่นมัว สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งช่วงกลางของการมองเห็น หรือด้านข้างของเลนส์ตาได้ ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานโดยที่ไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้
อย่างไรก็ตาม การสรุปอย่างชัดเจนว่าต้อกระจกในเด็กเกิดจากอะไรนั้น ควรได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้มีประสบการณ์ หรือจักษุแพทย์ โดยโรคต้อกระจกในเด็กที่มีแต่กำเนิดข้างเดียวส่วนใหญ่ยังมีสาเหตุไม่แน่ชัด อาจเกิดจากความผิดปกติตั้งแต่ในครรภ์ ในส่วนของต้อกระจกที่เป็นทั้งสองข้าง มีความเป็นไปได้ว่าจะมีสาเหตุจากโรคทางกรรมพันธุ์ หรือมารดามีประวัติเป็นโรคหัดเยอรมัน
ถึงแม้ว่าสาเหตุของการเป็นต้อในเด็กจะไม่แน่ชัด แต่ผู้ปกครองสามารถสังเกตได้ว่าลูก ๆ มีอาการของโรคต้อกระจกในเด็กจากอาการเริ่มต้นต่อไปนี้ได้
โรคทางสายตาในเด็กเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากโรคต้อกระจกในเด็กแล้ว ยังมีภาวะทางสายตาอื่น ๆ ที่มักพบบ่อยในเด็กอีกด้วย
หากสังเกตแล้วพบว่าเด็กมีความเสี่ยงของการเป็นต้อกระจก ในเบื้องต้นมีข้อแนะนำว่าควรพาเด็กไปพบจักษุแพทย์ในทันที รวมถึงศึกษาว่าการรับบริการผ่าตัดต้อกระจก ราคาเท่าไหร่ เนื่องจากถ้ามีการวินิจฉัยออกมาแล้วว่าเป็นโรคต้อกระจกในเด็ก การรักษาจะต้องทำการผ่าตัดเพื่อลอกเลนส์ตาที่ขุ่นออก และใส่เลนส์เทียมทดแทนซึ่งสามารถใส่ได้ตลอดชีวิต
ทั้งนี้ยิ่งได้รับการรักษาเร็วก็ยิ่งดีต่อเด็กมากยิ่งขึ้น เพราะหลังการผ่าตัดจะต้องมีการดูแลด้านพัฒนาการมองเห็นร่วมกับการรักษาต้อกระจกในเด็ก ป้องกันสภาวะตาขี้เกียจด้วยการปิดตาข้างดี ซึ่งผู้ปกครองจะต้องให้ความใส่ใจดูแลอย่างใกล้ชิด รวมถึงมาติดตามอาการกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
แม้ว่าภาวะต้อกระจกในเด็กอาจเกิดขึ้นได้จากพันธุกรรม แต่ทั้งนี้ก็อาจเกิดขึ้นเองภายหลังได้เช่นกัน ดังนั้นผู้ปกครองควรศึกษาวิธีป้องกันไม่ให้เด็กเป็นโรคต้อกระจก โดยมีวิธีดังนี้
ต้อกระจกในเด็กเป็นภาวะที่อาจเกิดได้จากพันธุกรรมแต่กำเนิด หรือความผิดปกติของการเจริญเติบโตของเลนส์ตาตั้งแต่ภายในครรภ์ ซึ่งอาการที่สังเกตได้คือจะมีจุดสีขาวขุ่นอยู่ในเลนส์ตาตรงบริเวณกลางตาซึ่งบดบังการมองเห็น และส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นในอนาคตได้ หรืออยู่บริเวณข้าง ๆ เลนส์ตา
ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตอาการของเด็กที่บ้านอย่างใกล้ชิดว่ามีสัญญาณเตือนของโรคต้อกระจกหรือไม่ โดยสังเกตได้ทั้งจุดสีขาวในตา หรืออาการร่วมอื่น ๆ เช่น เด็กมีอาการระคายเคืองตา หรือพัฒนาการในการมองเห็นดูผิดปกติ ไม่เป็นไปตามวัย เป็นต้น
หากพบเจอว่าเด็กเป็นโรคต้อกระจกในเด็ก วิธีการรักษาคือการผ่าตัดต้อกระจก ซึ่งเป็นวิธีรักษาโดยการลอกเลนส์ตาที่ขุ่นออก และต้องมีการดูแลหลังผ่าตัดเพื่อป้องกันสภาวะทางสายตาอื่น ๆ ร่วมอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้หากสังเกตว่าเด็กมีภาวะเสี่ยงต้อกระจก เข้ารับการปรึกษาแพทย์กับศูนย์ที่ศูนย์โรคตาและเลสิค สมิติเวช ไชน่าทาวน์ เราให้บริการดูแลทางจักษุวิทยาด้วยทีมหมอรักษาตาที่มากประสบการณ์ และมีเทคโนโลยีการรักษาต้อกระจกที่ทันสมัย พร้อมให้คำปรึกษารับแผนการรักษาต้อกระจกในเด็กด้วยเทคโนโลยีสลายต้อกระจกด้วยคลื่นอัลตราซาวด์แห่งแรกในไทย หรือติดต่อสอบถามได้ผ่านช่องทางดังนี้
References
Cataracts in Children. (2024. October 14). Stanford Medicine Children’s Health. https://www.stanfordchildrens.org/en/topic/default?id=cataracts-in-children-90-P02105
Reena Mukamal, (2022, February 22). Pediatric Cataracts. American Academy of Ophthalmology. https://www.aao.org/eye-health/diseases/what-are-pediatric-cataracts
Cataracts. (2024, October 14). Boston Children’s Hospital. https://www.childrenshospital.org/conditions/cataracts
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)