ต้อกระจกในผู้สูงอายุ ภัยทางสายตาที่อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
ต้อกระจกในผู้สูงอายุ คือ ภาวะที่เลนส์ตามีความขุ่นมัวหรือเปลี่ยนสี ส่งผลให้การมองเห็นของผู้ป่วยพร่ามัวและลดลงตามระยะเวลา
“จู่ๆ ก็มองเห็นจุดสีดำหรือฝุ่นลอยไปลอยมา” “เห็นเหมือนแสงวาบเข้าตา ทำไงดี?” นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนสำคัญที่กำลังบ่งบอกว่าคุณมีโอกาสเป็นโรคจอประสาทตาลอก
จอประสาทตาลอก เป็นภาวะที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย มักเกิดขึ้นแบบฉับพลัน จึงทำให้ในระยะแรกเริ่มไม่สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนนัก ซึ่งอันตรายอย่างมาก เนื่องจากหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลให้เกิดการบกพร่องทางการมองเห็นได้
ฉะนั้น บทความนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องของจอประสาทตาหลุดลอกกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาการจอประสาทตาลอกเป็นอย่างไร เกิดจากสาเหตุอะไร การรักษาจอประสาทตาลอกทำอย่างไรได้บ้าง พร้อมทั้งแนวทางการป้องกันที่สามารถทำได้ เพื่อดูแลตนเองและคนที่เรารัก
สารบัญบทความ
จอประสาทตาลอก หรือ จอตาลอก คือ การที่เนื้อเยื่อบางๆ ที่อยู่บริเวณลูกตาส่วนหลังเกิดการหลุดลอกออกจากผนังลูกตา ทำให้เซลล์จอประสาทตาที่มีหน้าที่ในการเปลี่ยนแสงที่เข้าสู่ดวงตาเป็นสัญญาณประสาทเพื่อนำไปแปลผลในสมองได้รับความเสียหาย เนื่องจากขาดสารอาหารและออกซิเจน ส่งผลให้ภาพที่มองเห็นมีประสิทธิภาพลดลง
หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา จะทำให้จอประสาทตาบริเวณนั้นไม่สามารถทำงานได้ถาวร ส่งผลให้บุคคลนั้นสูญเสียการมองเห็นได้
จอประสาทตาลอก สามารถเกิดขึ้นได้จาก 3 ชนิดหลัก ดังนี้
จอประสาทตาลอกชนิดที่มีรูฉีกขาดของจอตา (Rhegmatogenous Retinal Detachment หรือตัวย่อว่า RRD) เป็นประเภทที่พบได้มากที่สุดและเมื่อเป็นแล้วควรรีบเข้ารับการรักษาโดยเร็ว เนื่องจากจอประสาทตาเกิดการฉีดขาดจนเป็นรูรั่ว ทำให้มีโอกาสที่ของเหลวภายในวุ้นตาไหลเข้าไปสะสมอยู่ภายใต้จอประสาทตา ส่งผลให้จอประสาทตาหลุดลอกออกมาในที่สุด
จอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากพังผืดดึงรั้ง (Tractional Retinal Detachment หรือตัวย่อว่า TRD) เกิดจากการที่พังผืดดึงรั้งจอประสาทตาเป็นอย่างมาก จนทำให้จอประสาทตาหลุดลอกจากผนังด้านหลังลูกตา ซึ่งมักพบได้ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานขึ้นตา หรือผู้ที่มีการอักเสบอย่างรุนแรงของวุ้นตาหรือจอประสาทตา
จอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากน้ำเหลืองรั่ว (Exudative Retinal Detachment หรือตัวย่อว่า ERD) เป็นภาวะที่เกิดจากหลอดเลือดรั่วไหล มีอาการบวมที่ด้านหลังของดวงตา จึงส่งผลให้เกิดการสะสมของเหลว ณ บริเวณนั้น ทั้งๆ ที่ไม่มีรูฉีกขาดของจอตา มักพบได้ในกลุ่มที่มีอาการอักเสบ หรือเกิดเนื้องอกที่ภายในลูกตา
จอประสาทตาลอกแต่ละชนิด เกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
ปัจจัยที่มีส่วนส่งผลให้กระจกตาลอก ได้แก่
อาการจอประสาทตาลอก ในระยะแรกเริ่มอาจสังเกตถึงความผิดปกติได้ยาก โดยส่วนใหญ่มักมีอาการปรากฏชัดเจนในระยะที่มีความรุนแรงของอาการมากขึ้น หากพบว่ามีอาการข้อใดข้อหนึ่งดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ ให้รีบเข้ารับการรักษาโดยเร็ว
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการเป็นโรคจอประสาทตาลอก มีดังนี้
กลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดจอประสาทตาลอก ได้แก่
หลายๆ คนอาจสงสัยว่า “แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่ที่ควรเข้าพบแพทย์” คำตอบก็คือ เพียงแค่คุณมีอาการในข้อใดข้อหนึ่งตามที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น ก็ควรค่าแก่การรีบเข้าพบแพทย์แล้ว เพราะจอประสาทตา เป็นตำแหน่งที่สำคัญต่อการมองเห็นอย่างมาก หากรั้งรอที่จะเข้าพบแพทย์ อาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียทางการมองเห็นได้อย่างถาวร
หากคุณตัดสินใจเข้าพบจักษุแพทย์ จะมีขั้นตอนในการตรวจวินิจฉัยโรคประสาทตาลอก ดังนี้
การรักษาจอประสาทตาลอกด้วยการฉายแสงเลเซอร์ (Laser) ผู้เชี่ยวชาญจะทำการฉายแสงเลเซอร์เข้าไปยังบริเวณที่เกิดการฉีกขาดของจอประสาทตา เพื่อให้รอยไหม้ขนาดเล็กรอบบริเวณที่ฉีกขาดกลายเป็นแผลเป็นขนาดเล็กที่ช่วยยึดจอประสาทตาให้อยู่ที่เดิม
หากคุณเข้ารับการรักษาจอประสาทตาลอกด้วยวิธีนี้ จักษุแพทย์จะหยอดตาและฉายแสงเลเซอร์ผ่านรูม่านตา จากนั้นเมื่อเสร็จสิ้นแล้ว แพทย์จะให้ยาหยอดตา เพื่อป้องกันอาการตาบวม และให้คำแนะนำการดูแลตนเองหลังรักษาเพิ่มเติม
การจี้ด้วยความเย็น (Cryopexy) เป็นการนำเครื่องมือขนาดเล็กที่มีอุณหภูมิเย็นมากมาใช้บริเวณตาขาวเหนือรอยฉีกขาด เพื่อทำให้เกิดแผลเป็นบริเวณโดยรอบที่ฉีกขาด ส่งผลให้สามารถช่วยยึดจอประสาทตาให้อยู่ที่เดิมได้
หากคุณเข้ารับการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว แพทย์จะหยอดตาและนำเครื่องมือแตะลงบริเวณพื้นที่ตาขาวใกล้กับรอยฉีกขาดที่ตรวจพบ จากนั้นเมื่อเสร็จสิ้นแล้ว แพทย์จะให้ยาหยอดตาป้องกันอาการตาบวมและแนะนำวิธีการดูแลตนเองต่อไป
การฉีดแก๊ส (Pneumatic Retinopexy) จักษุแพทย์จะฉีดแก๊สเข้าสู่วุ้นตา เพื่อให้แก๊สนั้นลอยขึ้นไปดันบริเวณที่จอประสาทหลุดลอกให้กลับเข้าสู่พื้นที่เดิม รูปแบบนี้มักจะใช้ในกรณีจอประสาทตาลอกชนิดที่มีรูฉีกขาดของจอตา (Rhegmatogenous Retinal Detachment) ซึ่งหากเกิดการฉีกขาดที่บริเวณด้านบน จะต้องทำการจัดท่าทางผู้รับบริการให้อยู่ในท่าคว่ำหรือตะแคงหลังจากฉีดแก๊สเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้แก๊สลอยขึ้นในตำแหน่งที่ต้องการ
การฉีดแก๊สเข้าสู่วุ้นตา อาจต้องทำร่วมกับการใช้เลเซอร์ เนื่องจากต้องยิงเลเซอร์เข้าไปรอบบริเวณที่เกิดการฉีกขาด และในขณะเดียวกันจะต้องค่อยๆลดปริมาณและความเข้มข้นของแก๊สลง เมื่อจอประสาทตาเริ่มแนบติดกันแล้ว
การผ่าตัดประเภทนี้ จะใช้วัสดุอย่างเช่น ยาง หรือฟองน้ำซิลิโคน เข้าหนุนที่บริเวณตาขาว เพื่อดันจอประสาทตาให้กลับเข้าสู่ที่เดิม ซึ่งวิธีการนี้คุณจะมองไม่เห็นวัสดุที่หนุนอยู่ภายนอกลูกตาและไม่จำเป็นต้องจัดท่าผู้รับบริการให้อยู่ในท่าคว่ำหน้า
การผ่าตัดวุ้นตาและซ่อมจอตาภายในลูกตาโดยตรง มักใช้ในกรณีจอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากพังผืดดึงรั้ง (Tractional Retinal Detachment) โดยเทคนิคนี้ จะใช้เครื่องมือที่สามารถผ่านเข้าไปยังตาขาวตำแหน่ง Pars Plana เพื่อทำการดึงน้ำวุ้นตาและตัดเนื้อเยื่อพังผืดที่ดึงรั้งจอประสาทตาออก และใช้เทคนิคอื่นๆ ในการทำให้จอประสาทตากลับเข้าสู่ที่เดิมร่วมด้วย ยกตัวอย่างเช่น การเลเซอร์ การฉีดแก๊ส เป็นต้น
จอประสาทตาลอก ส่วนใหญ่มักสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น จึงทำให้เราไม่สามารถที่จะป้องกันจอประสาทตาลอกได้ 100% แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีแนวทางในการชะลอหรือลดความเสี่ยงที่จะเกิดจอประสาทตาลอกได้ ดังนี้
มาถึงจุดนี้ หลายๆ คนคงเริ่มสนใจเกี่ยวกับการเข้ารับการตรวจสุขภาพดวงตาขึ้นมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังคงกังวลใจว่า แล้วเราจะเลือกเข้ารับการตรวจสุขภาพดวงตาหรือรักษาจอประสาทตาลอกที่ไหนดี ที่จะให้ทั้งความคุ้มค่าและไม่ก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาในภายหลัง
ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะการเลือกสถานพยาบาลในการเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม สามารถพิจารณาได้ตามแนวทางดังต่อไปนี้
หากใครยังนึกไม่ออกว่าจะเข้ารับการรักษาที่ไหนดี ให้โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกให้แก่คุณ เพราะทีมของเราพร้อมบริการคุณด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยครบครัน สะอาด ปลอดภัย ร่วมกับทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่จะดูแลคุณตั้งแต่การตรวจสุขภาพตาอย่างละเอียด การเข้ารับการผ่าตัด ไปจนถึงสิ้นสุดกระบวนการรักษา ให้คุณวางใจคลายกังวลได้ยิ่งกว่าเคย
สำหรับคำถามยอดฮิตที่ว่า “จอประสาทตาลอก รักษาหายไหม?” คำตอบก็คือ การรักษาจอประสาทตาลอก จะขึ้นอยู่กับชนิดจอประสาทตาลอก ระยะเวลาในการเป็นโรคจอประสาทตาลอกก่อนเข้ารับการรักษา กล่าวคือ หากความรุนแรงหรือความซับซ้อนของจอประสาทตาลอกน้อย เข้ารับการรักษาเร็ว สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที ก็มีโอกาสที่การมองเห็นจะกลับมามีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับปกติ
แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้นาน จนเกิดเป็นอาการที่รุนแรง เรื้อรัง ก็จะทำให้ไม่สามารถที่จะรักษาจอประสาทตาในส่วนที่เสียหายไปแล้วได้ ทำให้ประสิทธิภาพในการมองเห็นบางจุดของภาพสูญเสียไป ในระดับที่อันตรายกว่านั้น คือ หากไม่รีบเข้ารับการรักษา อาจทำให้การมองเห็นค่อยๆลดลง จนกลายเป็นการสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรในที่สุด
โดยทั่วไป จอประสาทตาลอก ค่ารักษาจะอยู่ที่ประมาณ 50,000 - 173,000 บาท ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของแต่ละสถานพยาบาลกำหนด
จอประสาทตาลอก เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัยกลางคนไปจนถึงวัยสูงอายุ ที่มีโอกาสเสี่ยงสูงในการต้องเผชิญกับโรคจอประสาทตาหลุดลอก การเข้ารับการตรวจสุขภาพดวงตาอย่างละเอียด จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพราะในระยะแรกเริ่ม อาการมักไม่เด่นชัด จึงทำให้ใครหลายๆคนเข้าใจผิดว่าไม่ได้เป็นอะไรมาก แต่แท้ที่จริงแล้ว การเกิดโรคจอประสาทตาลอก เป็นภาวะอันตราย หากไม่รีบเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เกิดการสูญเสียทางการมองเห็นได้อย่างถาวร
หากใครต้องการเข้ารับการตรวจสุขภาพดวงตา มีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น หรือต้องการสอบถามข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ Line: @samitivejchinatown หรือ เบอร์ 02-118-7893 ตลอด 24 ชั่วโมง
เอกสารอ้างอิง
Boyd, K. (2022, October 13). Detached Retina. American Academy of ophthalmology. https://www.aao.org/eye-health/diseases/detached-torn-retina
Mayo Clinic Staff. (2022, September 07). Retinal detachment. Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/retinal-detachment/symptoms-causes/syc-20351344
Retinal Detachment. (2022, April 21). National Eye Institute. https://www.nei.nih.gov/learn-about-eye-health/eye-conditions-and-diseases/retinal-detachment
Seltman, W. (2022, April 04). Retinal Detachment. WebMD. https://www.webmd.com/eye-health/eye-health-retinal-detachment
Types and Causes of Retinal Detachment. (2020, December 23). National Eye Institute. https://www.nei.nih.gov/learn-about-eye-health/eye-conditions-and-diseases/retinal-detachment/types-and-causes-retinal-detachment
Laser Surgery and Freeze Treatment for Retinal Tears. (2020, December 23). National Eye Institute. https://www.nei.nih.gov/learn-about-eye-health/eye-conditions-and-diseases/retinal-detachment/laser-surgery-and-freeze-treatment-retinal-tears
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)