บทความสุขภาพ

ต้อกระจก ภาพที่เห็นเป็นอย่างไร จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคต้อกระจก

บทความโดย: seoteam seoteam วันที่อัพเดท: 26 ตุลาคม 2567

ต้อกระจก ภาพที่เห็น

ต้อกระจก คือ ภาวะเลนส์ตาขุ่นขาวจนไปรบกวนการหักเหของแสง ส่งผลให้จอประสาทตารับแสงได้น้อยลงจนการมองเห็นมีความผิดปกติ เมื่อเป็นต้อกระจกจึงทำให้ภาพที่เห็นขุ่นมัว ไม่ชัด เห็นเป็นภาพซ้อน หรือเป็นวงรอบแสงไฟ 

ภาพที่เห็นเมื่อเป็นต้อกระจกในระยะแรกจะไม่ได้รุนแรงมากนัก แต่ถ้าหากไม่รับการรักษาอย่างถูกต้อง เลนส์ตาจะขุ่นมัวขึ้นเรื่อย ๆ การมองเห็นก็จะแย่ลงจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน กรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วยก็อาจสูญเสียการมองเห็นได้


สารบัญบทความ


อาการบ่งชี้ของโรคต้อกระจก

เห็นภาพซ้อน

ต้อกระจกเป็นโรคที่พบได้ในทุกช่วงอายุ ไม่ว่าจะเป็นต้อกระจกในผู้สูงอายุหรือเด็ก ซึ่งจะมีอาการบ่งชี้ดังนี้

  • เห็นภาพมัว เบลอ ไม่ชัด เป็นฝ้า
  • เห็นเป็นวงแหวนรอบแสงไฟ
  • สายตาไวต่อแสง มองเห็นที่มีแสงไม่ค่อยดี
  • เห็นภาพซ้อนหรือเห็นภาพซ้อนเฉียบพลันหากมีอาการรุนแรง
  • เลนส์ตาขุ่นขาวบริเวณตรงกลาง

หมายเหตุ ต้อกระจกในเด็กเล็กสามารถสังเกตจากพฤติกรรมทางสายตา เช่น ตาไม่โฟกัสมองตามสิ่งของ เจ็บตาบ่อย น้ำตาไหลบ่อย ดังนั้นหากพบว่ามีอาการดังกล่าวควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจดวงตาอย่างละเอียด


ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคต้อกระจก

ต้อกระจกเป็นโรคที่เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้

  • เลนส์ตาเสื่อมสภาพลงตามอายุ
  • ดวงตาถูกแสงรังสีอัลตราไวโอเลตต่อเนื่องในระยะยาว
  • ดวงตาได้รับการกระทบกระเทือนรุนแรงหรือเคยผ่าตัดตามาก่อน
  • โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน
  • ใช้ยาสเตียรอยด์
  • ดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่มากจนเกินไป
  • พันธุกรรม (สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นต้อกระจก)

นอกจากนี้แล้วต้อกระจกยังสามารถพบในกลุ่มเด็กแรกเกิดได้ด้วยเช่นกัน โดยทารกอาจรับเชื้อหัดเยอรมันระหว่างอยู่ในครรภ์หรืออาจเกิดโดยไม่มีสาเหตุ


การรักษาเมื่อพบว่าตัวเองเป็นโรคต้อกระจก

ในปัจจุบันวิธีที่ช่วยรักษาต้อกระจกในกลุ่มผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ การผ่าตัดต้อกระจก โดยมีวิธีดังนี้

เครื่องสลายต้อกระจก

เครื่องสลายต้อกระจก Phaco (Phacoemulsification) คือ เครื่องที่ช่วยสลายต้อกระจกด้วยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง โดยจะเปิดแผลขนาดเล็กบริเวณกระจกตา ฉายคลื่นให้เลนส์ตาสลายตัวแล้วดูดออก จากนั้นจึงนำเลนส์ตาเทียมใส่เข้าไปแทนที่ได้โดยไม่ต้องเย็บแผล จึงเป็นวิธีรักษาต้อกระจกที่ได้รับความนิยมเพราะรอยแผลเล็ก ฟื้นตัวไว

ผ่าตัดลอกต้อกระจก

  • การผ่าตัดลอกกระจกตา (ICCE)

การผ่าตัดลอกกระจกตา (Intracapsular Cataract Extraction) คือ การผ่าตัดที่เหมาะกับต้อที่อาการรุนแรง โดยจะเปิดแผลที่รอบกระจกตาดำขนาด 10 มิลลิเมตร ลอกเลนส์ตาและถุงหุ้มเลนส์ออกไปทั้งหมด แล้วใส่เลนส์ตาเทียมในช่องว่าง แต่วิธีนี้มีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนสูง

  • การผ่าตัดแบบแผลใหญ่ (ECCE)

การผ่าตัดแผลแบบใหญ่ (Extracapsular Cataract Extraction) คือ การผ่าตัดเปิดแผลขนาด 10 มิลลิเมตร แล้วนำเลนส์ตาออกโดยเหลือถุงหุ้มเลนส์ไว้ จากนั้นก็จะใส่เลนส์ตาเทียมกลับเข้าไปในถุงหุ้มเลนส์แล้วเย็บปิดแผล เป็นวิธีที่ปลอดภัยกว่าการลอกกระจกตา


เลนส์แก้วตาเทียม หลังผ่าตัดต้อกระจกตา

ภาพที่เห็นเมื่อเป็นต้อกระจก

เมื่อผ่าตัดต้อกระจกนำเลนส์ตาที่เสื่อมสภาพออกไปแล้ว จะต้องนำเลนส์แก้วตาเทียมมาใส่แทนที่เพื่อช่วยให้เลนส์ตาหักเหแสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้หลังผ่าต้อกระจก ภาพที่เห็นจะมีความคมชัดมากขึ้น ในปัจจุบันก็จะมีเลนส์แก้วตาเทียมที่นำมาใช้แทนเลนส์ที่สูญเสียไป ดังนี้

  • Monofocal IOL (เลนส์แก้วตาเทียมสำหรับใช้โฟกัสระยะเดียว)

Monofocal IOL คือ เลนส์แก้วตาเทียมสำหรับแก้ไขปัญหาการมองเห็นระยะไกล ทำให้กลับมามองเห็นระยะไกลชัดขึ้น แต่เนื่องจากเลนส์ชนิดนี้ช่วยการมองเห็นระยะไกลเพียงอย่างเดียว จึงต้องสวมใส่แว่นตาเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้ดวงตาสามารถโฟกัสระยะใกล้ได้ดีขึ้น

  • Multifocal IOL (เลนส์แก้วตาเทียมสำหรับใช้โฟกัสหลายระยะ)

Multifocal IOL คือ เลนส์แก้วตาเทียมสำหรับแก้ไขปัญหาการมองเห็นหลายระยะ ทั้งระยะไกล ระยะกลาง และระยะใกล้ หลังจากผ่าตัดใส่เลนส์ชนิดนี้เข้าไปแล้วจะสามารถมองเห็นทุกระยะได้ดีขึ้นแต่ไม่ได้มองเห็นชัดเจนเหมือนผู้ที่มีสายตาปกติ ในบางครั้งก็อาจจะต้องใส่แว่นตาเพื่อเสริมการมองเห็น 

  • Toric IOL (เลนส์แก้วตาเทียมสำหรับรักษาสายตาเอียง)

Toric IOL คือ เลนส์แก้วตาเทียมที่ช่วยแก้ไขปัญหาสายตาเอียงจากกระจกตาโค้งไม่เท่ากันหรือเลนส์กระจกตาไม่เรียบ ให้กลับมาเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น แต่ก็จะต้องพึ่งพาแว่นสายตาอยู่เพราะเลนส์ชนิดนี้ช่วยแก้ปัญหาสายตาเอียงอย่างเดียวเท่านั้น

  • Multifocal Toric (เลนส์แก้วตาเทียมสำหรับรักษาสายตาเอียงและช่วยโฟกัสหลายระยะ)

Multifocal Toric คือ เลนส์แก้วตาเทียมที่ช่วยแก้ไขปัญหาสายตาเอียงพร้อมกับช่วยให้สายตาสามารถโฟกัสระยะไกล ระยะกลาง ระยะใกล้ได้ดีขึ้น เพราะค่าสายตากลับมาใกล้เคียงปกติ แต่เนื่องจากเลนส์ตาไม่ได้กลับมามองเห็นชัดสมบูรณ์ ในบางครั้งจึงจำเป็นต้องใช้แว่นสายตาอยู่


ไม่ผ่าตัดต้อกระจก เสี่ยงอันตรายมากแค่ไหน

เห็นภาพซ้อน

ต้อกระจก อันตรายไหม? หากไม่ผ่าตัดต้อกระจก ในระยะแรกภาพที่เห็นจะเริ่มมัวหรือเห็นภาพซ้อนเล็กน้อย ซึ่งเป็นอาการที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นมากนัก แต่ถ้าหากปล่อยอาการของโรคต้อกระจกทิ้งไว้ ก็จะทำให้ตาขุ่นขาวตรงกลางมากขึ้น และดวงตาจะเริ่มสูญเสียประสิทธิภาพการมองเห็นมากขึ้นเรื่อย ๆ 

ที่สำคัญเมื่อเป็นโรคต้อกระจกก็อาจมีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ต้อลม ต้อเนื้อ ต้อหิน ซึ่งอาการแทรกซ้อนดังกล่าวล้วนส่งผลต่อการมองเห็นทั้งสิ้น หากไม่ผ่าตัดหรือไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีก็อาจจะเสี่ยงอันตรายถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้


วิธีการป้องกันไม่ให้เป็นโรคต้อกระจกตา

  • หากต้องใช้สายตาเยอะควรหาเวลาพักตาอย่างน้อย 30 นาที
  • ใส่แว่นกันแดดหรือแว่นกรองแสงกรณีที่ตาเสี่ยงถูกแสงแดดหรือแสงอัลตราไวโอเลต
  • รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และอาจทานอาหารเสริมช่วยบำรุงสายตาเพิ่มเติม
  • งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาหยอดตาโดยที่ไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์
  • เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไปควรเริ่มตรวจตาเพื่อลดโอกาสเป็นต้อก่อนวัยอันควร
  • หากมองเห็นภาพมัว เห็นภาพซ้อน มองเห็นไม่ชัด ให้เข้าพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการ

วิธีการดูแลตัวเองหลังผ่าตัดต้อกระจกตก

หลังผ่าต้อกระจกแล้วภาพที่เห็นจะชัดเจนขึ้น แต่ช่วงแรกหลังผ่าตัดจะต้องดูแลตนเองให้ดีเพื่อป้องกันการติดเชื้อหรือเกิดอันตรายอื่น ๆ กับดวงตา ดังนี้

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ในช่วง 1 เดือนแรกให้ใส่ที่ครอบตาเพื่อป้องกันไม่ให้ตากระแทก และป้องกันไม่ให้เผลอนำมือไปสัมผัสหรือขยี้ตา
  • ทำความสะอาดที่ครอบตาทุกวัน โดยจะต้องล้างให้สะอาดและเช็ดให้แห้งก่อนใส่
  • ทำความสะอาดดวงตาทุกวันโดยใช้น้ำเกลือเช็ดขอบตาและบริเวณรอบดวงตาเบา ๆ 
  • ใส่แว่นกันแดดเวลาอยู่กลางแจ้ง
  • งดออกกำลังกาย ยกของหนัก หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ทำให้ตากระเทือนอย่างน้อย 1 เดือน
  • หากเกิดอาการผิดปกติ เช่น ปวดตาผิดปกติ ตาแดงก่ำ มีขี้ตาเยอะ เห็นภาพซ้อน ให้รีบพบแพทย์ทันที

ต้อกระจก ภาพที่เห็นผิดปกติ ต้องรีบดูแลรักษา

ต้อกระจก มองภาพ

ต้อกระจกเป็นโรค ที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของเลนส์แก้วตา ทำให้บริเวณตรงกลางรูม่านตามีสีขาวขุ่นมัว ในช่วงแรกที่เป็นต้อกระจก ภาพที่เห็นจะเบลอมัวเหมือนมีฝ้าบดบัง บางครั้งอาจเห็นภาพซ้อนหรืออาจเห็นวงรอบแสง ซึ่งอาการดังกล่าวไม่ได้ส่งผลต่อการมองเห็นมากนัก แต่ยิ่งปล่อยอาการไว้นานขึ้นเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้การมองเห็นแย่ลง และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนตาบอดได้

ดังนั้นหากพบความผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็น ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษาต่อไป สำหรับผู้ที่กำลังประสบภาวะต้อกระจก สามารถเดินทางมาสมิติเวชไชน่าทาวน์เพื่อรักษาให้ดวงตากลับมามองเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้ง ที่นี่เรามีจักษุแพทย์และเครื่องมือสำหรับรักษาต้อกระจกด้วยเทคโนโลยีรุ่นใหม่ล่าสุด สามารถสอบถามข้อมูลผ่าตัดต้อกระจก ราคากับเจ้าหน้าที่เพิ่มเติมได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้

ช่องทางติดต่อ


References

WebMD Editorial Contributors. (2024, 13 February). What Are Cataracts?. WebMD. https://www.webmd.com/eye-health/cataracts/what-are-cataracts

McDonnell, PJ. Patel, A. Green, WR. (1985, Sep). Comparison of intracapsular and extracapsular cataract surgery. Histopathologic study of eyes obtained postmortem. Ophthalmology. 92(9):1208-25. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/4058884/

Linebarger, EJ. Hardten, DR. Shah, GL. Lindstrom, RL. (1999, Sep-Oct). Phacoemulsification and modern cataract surgery. Surv Ophthalmol. 44(2):123-47. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10541151/

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​