บทความสุขภาพ

เชื้อราในช่องคลอด ความผิดปกติบนร่างกายที่ไม่ควรมองข้าม

บทความโดย: seoteam seoteam วันที่อัพเดท: 15 พฤษภาคม 2567

เชื้อราในช่องคลอด

เชื้อราในช่องคลอดเป็นปัญหาที่ไม่ได้ส่งผลอันตรายถึงชีวิต แต่ก็เป็นหนึ่งในปัญหาที่ทำให้รู้สึกไม่สบายกาย เพราะเมื่อมีเชื้อราแล้วก็จะรู้สึกคันปากช่องคลอด หรืออาจพบอาการตกขาวและอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สบายใจได้ และในบางครั้งเชื้อราในช่องคลอดก็เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคอันตรายได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นถ้าพบอาการอย่างปล่อยทิ้งไว้ ให้เข้ารับการตรวจร่างกายและรักษาเชื้อราในช่องคลอดให้หาย


สารบัญบทความ


ทำความรู้จักข้อมูลเบื้องต้นของโรคเชื้อราในช่องคลอด

เชื้อราในช่องคลอด คือ โรคที่เกิดจากเชื้อ Candida albicans ซึ่งเป็นเชื้อราที่แต่เดิมมีอยู่ในร่างกายอยู่แล้ว ในปริมาณน้อยซึ่งไม่ส่งผลเสียใด ๆ แต่เมื่อถูกปัจจัยต่าง ๆ กระตุ้นทำให้มีเชื้อ Candida albicans อยู่ในช่องคลอดเยอะเกินไป ก็จะทำให้เกิดอาการคันช่องคลอดและอาการอื่น ๆ 


อาการที่มักพบเมื่อเป็นโรคเชื้อราในช่องคลอด

โดยปกติแล้วเชื้อราในช่องคลอดมักจะแสดงอาการบริเวณปากช่องคลอดหรืออวัยวะเพศซึ่งเป็นบริเวณที่สังเกตค่อนข้างยาก ทำให้ผู้คนบางส่วนไม่ทราบว่าตนเองกำลังเป็นโรคเชื้อราในช่องคลอด แต่ก็มีอาการอื่น ๆ ที่สามารถสังเกตได้ ดังนี้

  • ตกขาวเหนียว มีสีขาวข้น
  • รู้สึกคันช่องคลอดและบริเวณรอบอวัยวะเพศ
  • รู้สึกแสบขัดเวลาปัสสาวะ
  • อวัยวะเพศหญิงบวม
  • เวลามีเพศสัมพันธ์แล้วจะรู้สึกเจ็บ

ในกรณีที่พบอาการผิดปกติดังกล่าวควรเข้าพบแพทย์เพื่อสืบหาสาเหตุและรักษาเชื้อราในช่องคลอดต่อไป


โรคเชื้อราในช่องคลอดมีสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง

สาเหตุเชื้อราในช่องคลอด

เชื้อราในช่องคลอดเกิดจากอะไร? ในปัจจุบันสามารถจำแนกสาเหตุการเกิดเชื้อราในช่องคลอดได้ดังนี้

  • การรับประทานยาปฏิชีวนะ

เมื่อทานยาปฏิชีวนะ ตัวยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งทำลายเชื้อแบคทีเรียดีที่อยู่ภายในร่างกายออกไป ทำให้ไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อราได้

  • การมีเพศสัมพันธ์

การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อราก็จะทำให้มีโอกาสติดเชื้อราได้ และยังมีโอกาสได้รับเชื้อโรคติดต่ออื่น ๆ เช่น หนองใน, ซิฟิลิส, HPV, หูด และอื่น ๆ ด้วย

  • ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง

สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจากการเป็นโรค HIV โรคหัด การรักษาโรคมะเร็ง หรือถ้าหากทานยากดภูมิก็จะมีโอกาสเป็นโรคเชื้อราในช่องคลอดได้เหมือนกัน

  • โรคประจำตัว

ผู้ที่มีภาวะโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำตาลในร่างกายได้ดีก็จะทำให้เชื้อราในช่องคลอดแพร่ขยายตัวได้ง่าย

  • การทำความสะอาดช่องคลอด

หากทำความสะอาดช่องคลอดบ่อยเกินไป จะทำให้ภายในช่องคลอดเสียสมดุลจนเกิดเชื้อราในช่องคลอด

  • ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง

ปัจจัยที่ทำให้ฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ ใช้ยาคุมกำเนิด ก็จะมีโอกาสทำให้ภายในช่องคลอดไม่สมดุล โอกาสที่จะติดเชื้อราในช่องคลอดจึงมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น


ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเชื้อราในช่องคลอด

โรคเชื้อราในช่องคลอดสามารถเกิดได้กับผู้หญิงทุกคนไม่ว่าจะเคยหรือไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีลักษณะหรือพฤติกรรมดังต่อไปนี้จะมีความเสี่ยงเป็นเชื้อราในช่องคลอด ดังนี้

  • ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องทานยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่อง
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเฉพาะกลุ่มที่คุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีจะมีโอกาสเป็นเชื้อราในช่องคลอดมากกว่าคนทั่วไป
  • ผู้ที่ร่างกายมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทั้งจากการทานยากดภูมิ ทานยากลุ่มสเตียรอยด์ หรือผู้ป่วยโรค HIV โรคมะเร็ง และอื่น ๆ 
  • ผู้ที่มีระดับฮอร์โมนแปรปรวน เช่น ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ผู้ทานยาคุมกำเนิด
  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อรา
  • ผู้ที่สวนล้างช่องคลอดบ่อย
  • ผู้ที่ชอบใส่ผ้าเนื้อหนา ระบายอากาศไม่ดี ชอบใส่กางเกงรัดตัว

กระบวนการวินิจฉัยโรคเชื้อราในช่องคลอด

วินิจฉัยเชื้อราในช่องคลอด

ในกรณีที่ป่วยเป็นเชื้อราในช่องคลอดแพทย์จะสืบหาต้นตอการเกิดโรค โดยแพทย์จะซักถามประวัติของผู้ป่วยอย่างละเอียดก่อน จากนั้นจึงเริ่มตรวจภายนอกอวัยวะเพศ แล้วจึงเก็บตัวอย่างตกขาวที่อยู่ภายในช่องคลอดไปส่งตรวจเพื่อรักษาเชื้อราในช่องคลอดตามสาเหตุ

อย่างไรก็ตามผู้คนบางส่วนอาจมองว่าเชื้อราในช่องคลอดไม่ใช่โรคร้ายแรง เลยรอให้หายไปเอง หรือหายาทานและยาเฉพาะที่มารักษาด้วยตนเอง แต่ที่จริงแล้วปัญหาโรคเชื้อราในช่องคลอดนั้นไม่ควรหายามาใช้เอง เพราะถ้าไม่รู้สาเหตุการเกิดที่แท้จริงหรือรักษาไม่ตรงจุดอาจทำให้เกิดโรคซ้ำจนกลายเป็นอาการเรื้อรังได้


วิธีรักษาโรคเชื้อราในช่องคลอดมีอะไรบ้าง

วิธีรักษาเชื้อราในช่องคลอดอย่างมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องใช้ยาในการรักษา ดังนั้นจึงควรให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาจ่ายยาตามระดับความรุนแรงของอาการเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ซึ่งยารักษาเชื้อราในช่องคลอดจะมีดังนี้

  • ยาเฉพาะที่

ยาเฉพาะที่ที่ใช้ในการรักษาเชื้อราในช่องคลอดจะมียาเหน็บ ครีมทา แต่เนื่องจากยาแก้เชื้อราในช่องคลอดอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น ระคายเคืองผิว แสบร้อนได้ จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง

  • ยาทาน

ยาทานมักเป็นวิธีรักษาอาการแสบช่องคลอดให้อาการดีขึ้นได้ แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรงมากนัก เช่น ปวดท้องคลื่นไส้ ปวดศีรษะ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามหากรักษาเชื้อราในช่องคลอดหายแล้วแต่กลับมาเป็นซ้ำอีก ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาตามสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคต่อไป


วิธีการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเชื้อราในช่องคลอด

โรคเชื้อราในช่องคลอดสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีการดูแลตนเอง ดังนี้ 

  • หมั่นทำความสะอาดร่างกายอยู่เสมอเพื่อไม่ให้บริเวณอวัยวะเพศหมักหมมจนเกิดเชื้อราในช่องคลอด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวกายที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองกับบริเวณช่องคลอด
  • ไม่สวนล้างช่องคลอดบ่อย เพราะจะทำให้เป็นเชื้อราในช่องคลอดง่ายขึ้น
  • ในช่วงที่มีประจำเดือนให้เปลี่ยนผ้าอนามัยสม่ำเสมอ
  • ใส่เสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าระบายอากาศได้ดี ไม่แน่นจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่ได้อยู่ในความดูแลของแพทย์
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย 
  • ทานอาหารที่มีแลคโตบาซิลลัสซึ่งเป็นแบคทีเรียดี เพื่อช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันแข็งแรง โดยแลคโตบาซิลลัสมักพบในโยเกิร์ต นมเปรี้ยว
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอและพยายามควบคุมร่างกายให้มีน้ำหนักตามเกณฑ์

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคเชื้อราในช่องคลอด

เป็นเชื้อราในช่องคลอด ไม่ควรทานอะไร?

เมื่อเป็นเชื้อราในช่องคลอดจะต้องใส่ใจกับอาหารที่ทานเข้าสู่ร่างกายเป็นพิเศษ เพราะอาหารบางชนิดจะไปกระตุ้นให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี อาหารที่ไปกระตุ้นทำให้เชื้อราเพิ่มขึ้นจะมีน้ำตาล ผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง แป้งขาว แอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์จากนม และอื่น ๆ ดังนั้นจึงควรเลี่ยงอาหารดังกล่าวเพื่อไม่ให้เชื้อราในช่องคลอดมีปริมาณเพิ่มขึ้น

เชื้อราในช่องคลอดสามารถหายเองได้ไหม

เชื้อราในช่องคลอดมีโอกาสหายเองได้ในกรณีที่อาการติดเชื้อไม่รุนแรง ซึ่งการรักษาจำเป็นจะต้องใช้เวลาระดับหนึ่ง แต่ถ้ามีอาการติดเชื้อรุนแรงก็จำเป็นต้องใช้ยารักษาเชื้อราในช่องคลอด ถ้าหากใช้ยาไม่ถูกวิธีหรือทานยาไม่ครบโดสก็จะมีโอกาสทำให้อาการเชื้อราในช่องคลอดเรื้อรังได้ ดังนั้นจึงไม่ควรซื้อยาเชื้อราในช่องคลอดมารักษาเอง

เมื่อเป็นโรคเชื้อราในช่องคลอดเสี่ยงเป็นโรคทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ด้วยไหม? 

เชื้อราในช่องคลอดไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคทางเพศสัมพันธ์แต่อย่างใด แต่ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์ก็จะมีโอกาสได้รับเชื้อราหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จากอีกฝ่ายได้ ดังนั้นควรทำความสะอาดร่างกายให้พร้อมก่อนเริ่มมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงตรวจร่างกายเป็นประจำเพื่อลดโอกาสติดโรคร้ายจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น เริม, ซิฟิลิส, หนองใน, HIV เป็นต้น


สรุปเรื่อง เชื้อราในช่องคลอดรักษาให้หาย ปราศจากอาการกวนใจ

เชื้อราในช่องคลอดเป็นโรคจากเชื้อราที่มีสาเหตุการเกิดหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต โรคประจำตัวหรือการใช้ยา รวมถึงการติดเชื้อราจากการมีเพศสัมพันธ์ เมื่อเป็นแล้วจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการตกขาว คันบริเวณปากช่องคลอดและรอบอวัยวะเพศ รู้สึกเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์และอื่น ๆ 

จากที่กล่าวข้างต้นดูเหมือนว่าอาการเชื้อราในช่องคลอดจะไม่รุนแรงมากนัก แต่ก็เป็นหนึ่งในอาการที่สร้างปัญหารำคาญกายและใจ และอาจเป็นอาการที่เกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย ดังนั้น ในกรณีที่มีอาการเข้าข่ายเชื้อราในช่องคลอดจากการมีเพศสัมพันธ์ควรตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และตรวจ hiv เพิ่มเติม

หากมีเชื้อราในช่องคลอดอย่างปล่อยทิ้งไว้ ควรเข้ารับการรักษาให้หายไม่กลับมาเป็นซ้ำ โดยสามารถเข้าพบแพทย์เฉพาะทางจากสมิติเวช ไชน่าทาวน์เพื่อรักษาโรคและปัญหาคันในช่องคลอดให้หายขาดได้โดยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ดังนี้

ช่องทางการติดต่อ


References
 

Cleveland Clinic medical professional. (2022, November 2). Vaginal Yeast Infection. Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/5019-vaginal-yeast-infection

Powell Key, A. (2024, March 7). Vaginal Yeast Infections. WebMD. https://www.webmd.com/women/understanding-vaginal-yeast-infection-basics

McDermott, A. & Santos-Longhurst . (2024, March 28). 11 Home Remedies for Vaginal Yeast Infections. Healthline. https://www.healthline.com/health/womens-health/yeast-infection-home-remedy

Bennington-Castro, J. (2022, September 27). Preventing Vaginal Yeast Infections. Everyday health. https://www.everydayhealth.com/yeast-infection/guide/prevention/

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​