สีตกขาว สัญญาณช่วยเตือนความผิดปกติของร่างกาย
ตกขาวมีลักษณะเป็นของเหลวสีขาวใสหรือขุ่นที่หลั่งออกจากช่องคลอด แต่ถ้าตกขาวเป็นสีอื่นก็อาจจะบ่งบอกถึงความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นภายในร่างกายได้
HIGHLIGHTS:
ปัจจุบันพบว่ามะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศหญิง และยังไม่มีวัคซีนป้องกันเหมือนมะเร็งปากมดลูก วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดในขณะนี้จึงเป็นการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาสุขภาพของตนเองให้ปลอดภัยมากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ โดยวิธีการป้องกันและการคัดกรองความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมที่ผู้หญิงทุกคนควรทราบมีดังนี้
วิธีการ | ช่วงอายุที่แนะนำ | ความถี่ในการตรวจ | ผู้ควรเข้ารับการตรวจ |
---|---|---|---|
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง | ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป | ประมาณเดือนละ 1 ครั้ง และตรวจเป็นประจำทุกเดือน | ผู้หญิงทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป |
การตรวจพันธุกรรม BRCA | อายุมากกว่า 30 ปี | – | ผู้หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม หรือเคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน |
การตรวจอัลตราซาวด์ | น้อยกว่า 40 ปี | 1-2 ครั้งต่อปี |
– ผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี โดยเฉพาะผู้ที่
• ชาวเอเชียที่มีเนื้อเต้านมค่อนข้างแน่นมากกว่าชาวตะวันตก
• พบความผิดปกติ เมื่อทำการตรวจโดยแพทย์หรือการตรวจแมมโมแกรม
• หญิงมีครรภ์ที่ต้องการหลีกเลี่ยงการได้รับรังสี |
การตรวจแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ | ตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป | 1-2 ครั้งต่อปี |
– ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ที่
• มีลูกหลังอายุ 30 ปี
• เริ่มมีประจำเดือนเร็ว (ตั้งแต่อายุ 12 ปี) • หมดประจำเดือนช้า (หลังอายุ 65 ปี) • ไม่มีบุตร
• ได้รับฮอร์โมน หรือยาคุมกำเนิดมาเป็นเวลานาน • เคยมีประวัติฉายแสงบริเวณเต้านม |
การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง (Breast Self-Examination)
สิ่งที่ควรสังเกต
ขนาด ลักษณะ รูปร่างของผิวและสีผิวเต้านม หากพบสิ่งผิดปกติดังต่อไปนี้ให้รีบปรึกษาแพทย์
หลักการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
ใช้สัมผัสของปลายนิ้ว 3 นิ้วคือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง โดยสัมผัสเป็นวงกลมและเคลื่อนไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องยกนิ้วมือสัมผัสขึ้นจากผิวของเต้านม และการคลำหรือคลึงต้องทำให้ได้ทุกพื้นที่ของเต้านม รวมถึงบริเวณหางนม (บริเวณระหว่างช่วงหัวนมถึงไหล่ข้างนั้น) และบริเวณรักแร้ การคลำอาจจะทำได้หลายรูปแบบด้วยกันเช่น เป็นรูปวงกลมก้นหอย รูปซิกแซกขึ้นลง หรือรูปรัศมีพระอาทิตย์ เมื่อตรวจเต้านมข้างดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการตรวจเช่นเดียวกันในเต้านมอีกข้าง หากสัมผัสได้ก้อนหรือไม่แน่ใจว่าเป็นก้อนอย่าลังเลที่จะไปพบหรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
การตรวจดิจิตอลแมมโมแกรม (Digital Mammogram)
ควรเริ่มทำเมื่ออายุ 35 ปี และควรตรวจทุก 1-2 ปี เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป การตรวจเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม หรือ ดิจิตอลแมมโมกราฟฟี่นั้นเป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ ที่ถ่ายภาพและเก็บรักษาภาพไว้ในฐานข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้แพทย์สามารถอ่านผลได้สะดวก และตรวจพบมะเร็งได้ง่ายขึ้นด้วยความสว่างและคมชัดของภาพ เมื่อแพทย์พบจุดที่น่าสงสัยหรือสังเกตเห็นความผิดปกติก็สามารถขยายภาพให้เห็นได้ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถตรวจหาความผิดปกติได้แต่เนิ่นๆ เนื่องจากสามารถเห็นเงาการเกาะตัวของแคลเซียมในเต้านมได้ชัดเจนกว่าการตรวจแบบเดิม ยิ่งไปกว่านั้น การตรวจด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้รับการตรวจที่มีเนื้อเยื้อเต้านมลักษณะเฉพาะ ซึ่งอาจดูกลมกลืนกับเนื้อร้ายได้ จึงทำให้ตรวจพบความเปลี่ยนแปลงที่จะนำไปสู่มะเร็งเต้านมได้เร็วยิ่งขึ้น และพบว่าการตรวจเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม (Digital Mammogram) ในกลุ่มผู้หญิงวัย 40 ปีขึ้นไปสามารถลดความเสี่ยงการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมได้ถึง 30%
ข้อดีของการเอ็กซเรย์เต้านม โดยใช้เครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม
การเตรียมตัวก่อนตรวจแมมโมแกรม (mammogram)
การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound)
การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เป็นการตรวจโดยการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปในเนื้อเต้านม เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับเนื้อเยื่อต่างๆ จะสะท้อนกลับขึ้นมาที่เครื่องตรวจ ทำให้สามารถตรวจจับความแตกต่างของเนื้อเยื่อปกติกับก้อนในเต้านมได้ และยังสามารถตรวจสอบได้ว่าก้อนในเต้านมนั้นมีองค์ประกอบเป็นน้ำ หรือเป็นก้อนเนื้อ ในกรณีที่เป็นน้ำก็ค่อนข้างจะสบายใจเพราะไม่เหมือนมะเร็ง แต่หากเป็นก้อนเนื้อ อัลตราซาวด์ จะช่วยบอกว่าก้อนเนื้อนั้นมีขอบเขตที่ดูเรียบร้อย หรือดูค่อนไปทางเป็นเนื้อร้ายมากน้อยเพียงใด
หลายคนสงสัยว่าทำไมต้องตรวจอัลตราซาวด์ร่วมด้วย เป็นเพราะว่าคนไทยหรือชาวเอเชียส่วนใหญ่มีเนื้อเต้านมค่อนข้างแน่น (Dense breast) กว่าชาวตะวันตก หากมีก้อนเนื้อหรือความผิดปกติใดๆ ก็มีโอกาสถูกบดบังจากภาพแมมโมแกรม และการตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ยังสามารถเห็นรอยโรคขนาดเล็ก 2-3 มิลลิเมตร ซึ่งช่วยในการตรวจหาความผิดปกติได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่าการตรวจแมมโมแกรมเพียงอย่างเดียวมีผลลบลวง (false negative) ซึ่งหมายความว่า ผู้ป่วยเป็นมะเร็งแต่มองไม่เห็นจากแมมโมแกรม 4-34 % แต่เมื่อทำการตรวจอัลตราซาวด์ร่วมด้วย จะทำให้ผลลบลวงลดเหลือ 2-3 % เท่านั้น
การตรวจพันธุกรรม BRCA
พบว่า สาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็งเต้านมเกิดจากความผิดปกติในรหัสพันธุกรรมของยีน BRCA ซึ่งสามารถถ่ายทอดสู่ลูกได้ทั้งจากบิดาหรือมารดา ผู้ที่ได้รับยีนที่ผิดปกตินี้จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมเกือบร้อยละ 90 และยังมีแนวโน้มเป็นมะเร็งรังไข่ถึงร้อยละ 50 หากตรวจแล้วพบได้ว่าตนเองมีความผิดปกติในพันธุกรรมก็สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีป้องกันการเป็นมะเร็งข้างต้นได้ก่อนที่จะมีอาการ
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)