บทความสุขภาพ

pm 2.5 คืออะไร เกิดจากอะไร ทำความเข้าใจและป้องกันฝุ่นไปพร้อมกัน

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567

มลพิษทางอากาศ ปัญหาหมอกควัน และ pm 2.5 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของประชาชนในหลาย ๆ ภูมิภาค จนบางจังหวัดในภาคเหนือมีค่า pm2.5 พุ่งสู่อันดับหนึ่งของโลก นับเป็นวิกฤติมลพิษทางอากาศpm 2.5 คือปัญหาหลักของประเทศในขณะนี้

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น ระยะสั้นอาจเป็นการระคายเคืองคอ ไอ คัดจมูก แต่ในระยะยาวอาการก็จะยิ่งรุนแรงและเป็นสาเหตุของโรคร้าย องค์การวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติได้ระบุว่า มลพิษทางอากาศ และฝุ่นละอองpm2.5 เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ รวมถึงเกิดโรคทางเดินหายใจ เพราะไม่ใช่แค่เพียงฝุ่น pm 2.5 คือสิ่งเดียวที่เข้ามาสู่ร่างกายของเราเท่านั้น แต่ฝุ่นเองก็ยังเป็นพาหะที่นำสารเคมีอันตราย และโลหะหนักที่อยู่ในฝุ่นเข้าสู่ร่างกายอีกด้วย

ในบทความนี้จะรวบรวมข้อมูลให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจตั้งแต่การอธิบายว่า pm 2.5 คืออะไร รู้จักกับค่า AQI สาเหตุการเกิดฝุ่น pm 2.5  ไปจนถึงวิธีการป้องกันตนเอง และสาระน่ารู้ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย 
 


สารบัญบทความ
 


PM 2.5 คืออะไร 

pm 2.5 คือ ชื่อของฝุ่นชนิดหนึ่ง คำว่า pm 2.5 ย่อมาจาก Particulate Matters เป็นคำเรียกค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่วนตัวเลข 2.5 นั้นมาจากหน่วย 2.5 ไมครอน ซึ่งฝุ่นจิ๋วนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน มีขนาดเล็กเทียบเท่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผม และจะกระจายอยู่ในอากาศได้นานกว่าฝุ่นละอองขนาดใหญ่ โดยเฉพาะฝุ่น pm 2.5 สามารถลอยอยู่ในอากาศได้เป็นระยะเวลานานและไกลถึง 1,000 กิโลเมตร

ฝุ่น pm 2.5  ที่มีขนาดเล็กมากที่ขนจมูกของเราไม่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กนั้นได้ จนสามารถสูดเข้าไปโดยผ่านทางเดินหายใจส่วนต้นจนไปยังทางเดินหายใจส่วนปลาย เมื่อเข้าถึงถุงลมแล้วมีโอกาสทะลุเข้าถึงกระแสโลหิต และจะเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหากับอวัยวะภายในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้เช่นกัน


ค่า AQI คืออะไร

เมื่อรู้จักว่า pm 2.5 คืออะไรแล้ว เชื่อว่าหลายคนเองก็ต้องคุ้นเคยกับคำว่า ค่า AQI โดย AQI นั้นย่อมาจาก Air Quality Index หรือดัชนีคุณภาพอากาศ คือ การรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่ายเพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงข้อมูลตามแต่ละพื้นที่ที่ตนเองอยู่แบบเรียลไทม์ ระบุภาพรวมของคุณภาพอากาศในบริเวณนั้น ๆ เป็นอย่างไรอยู่ในระดับใด เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่

ซึ่งทาง กรมควบคุมมลพิษ. (2562). ได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า ดัชนีคุณภาพอากาศ 1 ค่า ใช้เป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) โอโซน (O3) คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)

เกณฑ์ของดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย ดังตาราง

 

AQI
คุณภาพอากาศ
สีที่ใช้
 
คำอธิบาย
0 - 25 ดีมาก สีฟ้า  สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและเดินทางไปท่องเที่ยวได้ตามปกติ
26 - 50 ดี สีเขียว  สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและเดินทางไปท่องเที่ยวได้ตามปกติ
51 - 100 ปานกลาง สีเหลือง

ประชาชนทั่วไปสามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ

ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง

101 - 200 เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ สีส้ม

ประชาชนทั่วไปควรเฝ้าระวังสุขภาพ หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองร่วมด้วย
ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ ควรลดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองร่วมด้วย ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์

201 ขึ้นไป มีผลกระทบต่อสุขภาพ สีแดง ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองร่วมด้วย หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์

สาเหตุของ PM 2.5 คือ

ทุกวันนี้ปัญหาเรื่องpm 2.5 คือสิ่งที่ประชาชนต้องเผชิญอย่างเลี่ยงไม่ได้ คุณภาพอากาศที่เป็นอันตรายอย่างมากต่อสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หรือในต่างจังหวัดบางภูมิภาคเองก็มีระดับที่เสี่ยงเป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่นกัน ซึ่งสาเหตุของฝุ่น pm 2.5 เกิดจากหลายสาเหตุ 
 

  • การเผาป่าและไฟป่า – ไฟป่าสามารถเกิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ ทั้งเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ฟ้าผ่า กิ่งไม้เสียดสีกันของวัสดุทางธรรมชาติ หรือการเกิดปฏิกิริยาเคมีจากแสงแดดในพื้นที่แห้ง แต่ในขณะเดียวกันพบว่า 90% ของไฟป่าในประเทศไทยเกิดจากการเผาป่าโดยมนุษย์เพื่อการเก็บหาของป่า การจุดไฟให้พื้นป่าโล่งสะดวกในการเดิน การจุดเพื่อกระตุ้นการงอกและกระตุ้นการแตกใบใหม่ของพืชผัก ซึ่งการเผาป่าและไฟป่ายิ่งส่งผลให้เกิด ควันไฟ หมอก ขี้เถ้า แก๊สพิษ รวมถึงฝุ่น pm 2.5

 

  • มลพิษ ควันจากท่อไอเสียของรถยนต์ - จากข้อมูลโดยกรมควบคุมมลพิษ ด้วยการจราจรที่ติดขัดในแต่ละวัน และเครื่องยนต์ดีเซลเก่าเป็นอีกสาเหตุที่สำคัญที่สุด กระบวนการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซลทำให้เกิดเขม่า และควันดำ ซึ่งควันดำเหล่านี้ยังมีสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง และฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm 2.5

 

  • อุตสาหกรรม การก่อสร้าง - เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ถ่านหิน และเชื้อเพลิงที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กระบวนการอุตสาหกรรมอย่าง การบด การโม่ การระเบิดหิน ไปจนถึงการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองจากก่อสร้าง ส่งผลกระทบ

 

  • การเผาภาคเกษตร - การเผาในภาคการเกษตร หรือการเผาในที่โล่งเป็นอีกหนึ่งในต้นตอที่สำคัญที่ทำให้เกิดฝุ่น pm 2.5 การเผาเศษวัสดุการเกษตรเพื่อลดต้นทุน เช่น การเผาอ้อย การเผาในไร่ข้าวโพดนาข้าว และไร่หมุนเวียน ถือเป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
     

PM 2.5 มักเกิดขึ้นในช่วงใด

pm 2.5 คือ  ปัญหาที่ประเทศไทยต้องประสบกับปัญหานี้อย่างต่อเนื่องในหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา pm 2.5 ปกคลุมหนาไปทั่วทุกพื้นที่ทั้งในกรุงเทพ ปริมณฑล และภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งสร้างความวิตกกังวลให้คนไทย เนื่องจากค่า pm2 5 ที่พุ่งสูงไปจนติดอันดับ 1 ของโลก

ต้องอธิบายขอก่อนว่าอากาศที่อยู่บริเวณพื้นดินนั้นจะมีอุณหภูมิที่สูงกว่าอากาศที่ลอยอยู่บนฟ้า และตามปกติอากาศอุณหภูมิสูงจะเคลื่อนตัวไปยังอากาศอุณหภูมิต่ำ และจะพัดพาเอาฝุ่นละออง ควัน มลพิษต่าง ๆ ลอยขึ้นไปบนฟ้า แต่อากาศเย็นในฤดูหนาวจะเป็นช่วงที่ความกดอากาศสูงจากทางตอนเหนือของประเทศเคลื่อนตัวลงมาปกคลุมพื้นที่ของประเทศไทยทำให้เกิดลักษณะของ อากาศปิด ฝุ่นpm 2.5 ควันต่าง ๆ ไม่สามารถลอยขึ้นไปได้และไหลย้อนลงสู่พื้นดินจนสะสมมากขึ้นบวกกับสภาพอากาศไม่ถ่ายเทอีกด้วย จึงเป็นที่มาให้เราต้องสูดดมฝุ่นควันเหล่านี้อย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งpm 2.5 มักเกิดขึ้นในช่วงต้นปีและปลายปี
 

  • กรุงเทพมหานคร พบว่าสถานการณ์ฝุ่นจะรุนแรงเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวในเดือนธันวาคม - มีนาคมจึงมักเกิดฝุ่นในช่วงเดือนนี้ ช่วงเวลานี้อากาศนิ่งกว่าช่วงอื่น ๆ

 

  • ภาคกลาง พบว่าสถานการณ์ฝุ่นจะรุนแรงช่วงเดือนมกราคม – เมษายน ได้รับผลกระทบจากฝุ่นข้ามพรมแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน และการเผาภาคเกษตร

 

  • ภาคตะวันตกและตะวันออก พบว่าสถานการณ์ฝุ่นจะรุนแรงในช่วงเดือนพฤศจิกายน – มีนาคม เป็นระยะที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวนาข้าว พืชผลทางการเกษตร และจะเริ่มทำการเผาเพื่อปรับปรุงพื้นที่เตรียมเพาะปลูกรอบใหม่ 

 

  • ภาคเหนือ พบว่าสถานการณ์ฝุ่นจะรุนแรงโดยเฉพาะช่วงเดือนธันวาคม – พฤษภาคม ภาคเหนือเป็นพื้นที่ราบที่มีภูเขาล้อมรอบ ลักษณะเหมือนแอ่งกระทะ ช่วงเดือนดังกล่าวเป็นช่วงที่สภาพอากาศนิ่งและแห้ง ไร้ลมพัด มีความกดอากาศสูงเกิดไฟป่าง่าย รวมถึงมักมีการเผาภาคการเกษตรในช่วงนั้น

 

  • ภาคใต้ พบว่าสถานการณ์ฝุ่นจะรุนแรงในช่วงเดือนสิงหาคม – ตุลาคม ซึ่งมาจากช่วงอุณหภูมิอากาศสูง และความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ รวมถึงฝุ่นควันจากประเทศเพื่อนบ้านที่พัดเข้ามา

ผลกระทบต่อสุขภาพของ PM 2.5 คืออะไร

อย่างที่ทราบว่าpm 2.5 คือ ฝุ่นขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เราจะไม่มีทางรู้เลยว่าเราได้สูด ฝุ่นpm 2.5  เข้าไปเป็นจำนวนมากเท่าไรแล้ว จนจะรู้ตัวอีกทีก็เมื่อเกิดอาการผิดปกติของร่างกาย สามารถเช็ก อาการแพ้ฝุ่น pm 2.5 และทางเราได้รวบรวมผลกระทบต่อสุขภาพของpm 2.5ไว้ ดังนี้
 

  • ระบบทางเดินหายใจ เมื่อเราสูดหายใจเอาpm 2.5 เข้าไปจะก่อให้เกิดการไอ ระคายเคือง แสบจมูก หอบหืด หายใจลำบาก ในบางรายฝุ่น pm 2.5จะกระตุ้นอาการกำเริบของโรคได้ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง และอาจทำให้การทำงานของปอดเสื่อมลง

 

  • ระบบผิวหนัง ฝุ่น pm 2.5สามารถทำลายเซลล์ผิวหนังกำพร้าของมนุษย์ ก่อให้เกิดการคันตามร่างกายและปวดแสบทั้งตัว ระคายเคืองผิวหนัง ผดผื่นขึ้นตามตัว ไปจนถึงก่อให้เกิดสิวที่ใบหน้า

 

  • ดวงตา เยื่อบุตาเป็นส่วนที่สัมผัสกับปัจจัยภายนอกโดยตรง ทั้งมลพิษและฝุ่น pm 2.5ที่จะส่งผลให้เกิดการระคายเคืองที่ตา ตาแห้ง ตาแดง เยื่อบุตาอักเสบ ในระยะยาวอาจทำให้จอประสาทตาผิดปกติ ส่งผลต่อการมองเห็นได้


ดูแลร่างกายจาก PM 2.5 ด้วยการตรวจสุขภาพและวัคซีน

ปัญหาpm 2.5 คือ หนึ่งสิ่งที่เราไม่สามารถที่จะควบคุมหรือหลีกเลี่ยงได้ เมื่อทุกคนต้องออกไปทำงาน ออกไปเที่ยว หรือแม้จะไม่ได้ออกไปไหนก็ตามการอยู่แต่ในบ้านก็ยังไม่อาจหนีพ้นฝุ่น pm 2.5 นี้ไปได้ เนื่องจากฝุ่นที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่าสามารถฟุ้งกระจายและเล็ดลอดได้ทุกหนทุกแห่งตามอากาศ

การดูแลร่างกายถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนสามารถทำได้ ทั้งการในหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการสูดฝุ่นโดยตรง หรือการสวมใส่เสื้อผ้าแขนยาวขายาว ปิดร่างกายมิดชิดจนฝุ่นpm 2.5 คือไม่สามารถทะลุเข้าสู่ผิวหนังเราได้ แต่อีกวิธีที่สำคัญไม่แพ้กันคือการตรวจสุขภาพและการรับวัคซีน 

โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งปอด ของทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ จะใช้เทคโนโลยีเอกซเรย์ปอดด้วยคอมพิวเตอร์แบบใช้รังสีต่ำ หรือ low-dose computed tomography (low-dose CT) เนื่องจากการใช้ปริมาณรังสีต่ำจะทำให้ได้ภาพที่เห็นรายละเอียดบริเวณปอดชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะแรก สามารถวินิจฉัยหาวิธีการรักษาได้รวดเร็วขึ้นและมีโอกาสหายสูงถึง 90% 


วัคซีนป้องกันปอดอันเสบ ซึ่งมีด้วยกัน 2 ชนิดคือ Prevnar 13 ป้องกันเชื้อ IPD ได้ 13 สายพันธุ์ และ Pneumo 23 ป้องกันได้ถึง 23 สายพันธุ์ เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีโรคระจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต โรคปอด โรคหอบหืด และผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ หากใครที่กังวลว่าผู้สูงอายุในครอบครัวอาจมีโอกาสเสี่ยงปอดอักเสบจากpm 2.5 การฉีดวัคซีนก็เป็นทางเลือกการป้องกันที่ดีเช่นกัน



 

แพ็กเกจตรวจสุขภาพตา ของทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ pm 2.5 คือสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อดวงตาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยสารเคมี สารพิษที่พัดพามากับฝุ่นเข้าไปสู่ดวงตา การตรวจสุขภาพตาก่อนที่จะมีอาการจะยิ่งทำให้เราเริ่มระวังตัวและรักษาได้ทันถ่วงที เพราะหากปล่อยไว้นานอาจเกิดโรคร้ายได้ อาทิ โรคเยื่อบุตา โรคกระจกตาอักเสบ

แพ็กเกจรักษาภาวะตาแห้งด้วยเครื่อง IPL หรือ INTENSE PULSE LIGHT คือเครื่องกำเนิดแสงในช่วงความยาวคลื่นเฉพาะในความถี่  400 - 1200 นาโนเมตร มารักษาโรคตาแห้ง เนื่องจากฝุ่น pm 2.5 สามารถเกาะที่เปลือกตา กระจกตา และเยื่อบุตาของเรา ทำให้เกิดภาวะตาแห้งจากการระคายเคือง ถ้าปล่อยไว้จนอาการรุนแรงและเรื้อรังอาจทำให้เกิดโรคทางตาได้ 


วิธีป้องกันฝุ่น PM 2.5 

หลังจากได้ทำความรู้จักว่า pm 2.5 คืออะไร สาเหตุและช่วงเวลาที่จะเกิด รวมไปถึงผลกระทบต่อสุขภาพ การป้องกันตนเองก็ต้องเรียนรู้อย่างให้ถูกวิธี เพื่อให้ลดปริมาณฝุ่นที่เข้าสู่ร่างกายให้ได้น้อยที่สุด 
 

  • สวมหน้ากากอนามัย โดยหน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐานกรองฝุ่นควันและเชื้อไวรัสขนาดเล็กได้ถึง 0.3 ไมครอนคือ N95 หรือถ้าหากหาไม่ได้ก็สามารถใช้หน้ากากอนามัยแบบเยื่อกระดาษ 3 ชั้น หรือหน้ากากแบบผ้า ควรสวมหน้ากากเมื่อต้องออกเดินทางไปนอกบ้านหรือต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง 

 

  • อุปกรณ์ลดฝุ่น หรือเครื่องฟอกอากาศภายในบ้าน ฝุ่นสามารถฟุ้งกระจายและเล็ดลอดเข้ามาภายในบ้านของเราได้ การมีเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่าง เครื่องฟอกอากาศก็จะดูดฝุ่นละออง pm 2.5 มลพิษอนุภาคเล็กและปล่อยอากาศบริสุทธิ์ออกมาแทน ทั้งนี้ควรล้างอุปกรณ์ เช่น แผ่นกรองอย่างสม่ำเสมอเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งาน

 

  • งดกิจกรรมกลางแจ้ง หากใครไม่มีความจำเป็นในการไปทำกิจกรรมกลางแจ้งจริง ๆ ควรงดในช่วงที่ค่าฝุ่น pm 2.5 พุ่งสูง เช่น การออกกำลังกายในสวนสาธารณะ

 

  • ไม่ตากผ้าในที่โล่งแจ้ง pm 2.5 คือ ฝุ่นจิ๋วที่สามารถเกาะติดเสื้อผ้าเราได้ และการตากเสื้อผ้าในที่โล่งแจ้งก็จะนำฝุ่นเข้ามาหาเรามากยิ่งขึ้น ควรตากผ้าในที่ที่มีหลังคา ในอาคาร หรือใช้เครื่องอบผ้าก็ยิ่งดี

 

  • หลีกเลี่ยงการใช้เตาฝืน จุดธูปเทียน เนื่องจากฝุ่นละออง สารตะกั่ว ก๊าซพิษต่าง ๆจากการเผาไหม้ เหล่านี้ระดับมลพิษในอากาศเพิ่มสูงขึ้น

 

ประเภทของหน้ากากอนามัย
 

  • หน้ากาก N95 เป็นหน้ากากที่ได้รับมาตรฐานและมีประสิทธิภาพในการใช้งานสูง สามารถกรองละอองขนาดเล็กได้ถึง 0.3 ไมครอนในอากาศอย่างน้อยร้อยละ 95 สามารถป้องกัน ฝุ่น pm 2.5ได้
  • หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ช่วยปกป้องระบบทางเดินหายใจจากมลพิษ ฝุ่นละอองและเชื้อโรค โดยจะมีชั้นกรอง 3 ชั้น หากสวมอนามัยซ้อนกัน 2 ชั้น จะช่วยป้องกัน pm2.5 ได้ดีขึ้น
  • หน้ากาก KF94 เป็นหน้ากากอนามัยสัญชาติเกาหลี KF หรือ Korea Filter ผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐาน KOSHA ป้องกันฝุ่น pm 2.5ได้ถึงระดับร้อยละ 94
  • หน้ากาก 3D เป็นหน้ากากอนามัยกันฝุ่นสัญชาติญี่ปุ่น ที่มีความยืดหยุ่นเข้ากับรูปหน้าอย่างแนบชิด สามารถป้องกันเชื้อไวรัส และป้องกัน pm 2.5 ได้อีกด้วย

สรุปเรื่อง PM 2.5

วิกฤตฝุ่น pm 2.5 คือสภาพอากาศที่เป็นอันตรายต่อประชาชนทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย นอกจากประชาชนต้องหาวิธีป้องกันตนเองให้สามารถยังใช้ชีวิตตามปกติต่อไปได้ ภาครัฐเองก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยบรรเทาปัญหาฝุ่นโดยการออกมาตรการที่เคร่งครัดขึ้นเพื่อลดปริมาณการกระทำที่เป็นต้นตอสาเหตุของฝุ่น pm 2.5 อย่างยั่งยืน

ในทางกลับกันความรุนแรงของปัญหาpm 2.5 มีแนวโน้มและกินระยะเวลานานอย่างเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปีที่ผ่านมา แน่นอนว่าปัญหาสุขภาพที่สะสมฝุ่น มลพิษ และสารเคมีต่าง ๆ ยิ่งทำให้ระบบทางเดินหายใจ ระบบผิวหนัง ดวงตาเสื่อมลง จนเป็นอันตรายก่อให้เกิดโรคร้ายแรง เพราะฉะนั้นหากอยากป้องกันก่อนที่จะสายเกินไป ควรรีบไปตรวจสุขภาพร่างกาย และหากมีอาการผิดปกติที่อาจจะเป็นสาเหตุของโรคร้ายก็ควรจะรีบรักษาให้ถูกวิธีด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนั้น ๆ โดยเฉพาะ

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือจองแพ็กเกจวัคซีนและโปรแกรมการตรวจสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ Line : @samitivejchinatown หรือโทร 02-118-7893 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
 


References

Iqair. (2022). Air quality in Bangkok

california air resources board. (2023). Inhalable Particulate Matter and Health (PM2.5 and PM10)

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​