บทความสุขภาพ

สำรวจทุกข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับไทรอยด์ เพื่อหาแนวทางรักษาอย่างทันท่วงที!

บทความโดย: seoteam seoteam วันที่อัพเดท: 26 สิงหาคม 2567

ทำความรู้จักไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์ คือ ต่อมที่มีความสำคัญในร่างกาย ซึ่งการทำงานที่ผิดปกติของก้อนไทรอยด์นั้นอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม โดยอาจทำให้เกิดความผิดปกติในหลาย ๆ ส่วนของร่างกาย ในบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับต่อมไทรอยด์ทั้งเรื่องของหน้าที่และความสำคัญ รวมถึงภาวะโรคไทรอยด์เป็นพิษ เพื่อให้คุณได้มีความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพในส่วนที่เกี่ยวข้องกับต่อมนี้


สารบัญบทความ


ไทรอยด์คืออะไร และภาวะไทรอยด์ที่ผิดปกติมีอะไรบ้าง?

ไทรอยด์ หรือ Thyroid คือ อวัยวะที่อยู่บริเวณลำคอ ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการทำงานของร่างกาย โดยเฉพาะกระบวนการเมแทบอลิซึม (Metabolism) เมื่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ จะส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การเผาผลาญพลังงาน การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย และการขับถ่าย โดยความผิดปกติของไทรอยด์มีอาการที่สามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบหลัก ๆ ดังนี้

ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) 

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินหรือไฮเปอร์ไทรอยด์เกิดจากการที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินความจำเป็น หลายคนอาจเรียกว่าภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งจะมีอาการข้างเคียงต่าง ๆ เช่น น้ำหนักลด หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น มือสั่น หงุดหงิดง่าย เหงื่อออกมาก นอนหลับยาก ตาโปน หรือผมร่วง เป็นต้น โดยการรักษาอาจทำได้หลายวิธี เช่น การใช้ยาไทรอยด์เป็นพิษเพื่อลดการทำงานของต่อม หรือการผ่าตัดไทรอยด์ในกรณีที่มีอาการรุนแรง

ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ (Hypothyroidism)

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำหรือไฮโปไทรอยด์เป็นอาการผิดปกติจากสภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์น้อยกว่าปกติ ทำให้กระบวนการเผาผลาญในร่างกายทำงานช้าลง ผู้ป่วยจะมีอาการต่างจากไทรอยด์เป็นพิษ เช่น น้ำหนักเพิ่ม รู้สึกเหนื่อยล้า ง่วงนอนบ่อย ผิวแห้ง ท้องผูก หนาวง่าย และมีอาการเป็นไทรอยด์บวม โดยการรักษาไทรอยด์ประเภทนี้คือให้ฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทน เพื่อปรับระดับฮอร์โมนให้กลับสู่ภาวะปกติ

ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติอาจเกิดขึ้นแม้ระดับการผลิตฮอร์โมนเป็นปกติ โดยมักเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของต่อม เช่น อาการของไทรอยด์โตที่ส่งผลให้เกิดก้อนที่คอหรือเนื้องอก ซึ่งส่วนใหญ่มักไม่ใช่มะเร็ง แต่ภาวะคอโตอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะใกล้เคียงจึงมักมีอาการตามมา ไม่ว่าจะเป็นเสียงแหบ หรือกลืนอาหารลำบาก โดยการรักษาขึ้นอยู่กับขนาดและลักษณะของก้อน และอาจจำเป็นจี้ก้อนไทรอยด์หรือผ่าตัดร่วมด้วย


ไทรอยด์ อาการมีอะไรบ้าง เช็กอย่างไรว่าเป็นโรคไทรอยด์หรือไม่?

อาการของโรคไทรอยด์สามารถแสดงออกได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับว่าต่อมไทรอยด์มีความผิดปกติอย่างไร โดยอาการของโรคไทรอยด์มีดังต่อไปนี้

  • การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งเพิ่มขึ้นหรือลดลง
  • ความรู้สึกเหนื่อยล้าง่ายหรือใจสั่นผิดปกติ
  • การเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะหรือเร็วกว่าปกติ
  • ความไวต่ออุณหภูมิ อาจรู้สึกร้อนหรือหนาวง่ายกว่าคนทั่วไป
  • ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย
  • อาการบวมที่คอหรือตาโปน

โรคไทรอยด์เกิดจากสาเหตุใด มีวิธีป้องกันไหม?

โรคไทรอยด์เกิดจากความผิดปกติในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของต่อมไทรอยด์ โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสในการเกิดโรคไทรอยด์ เช่น พันธุกรรม การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การพักผ่อนไม่เพียงพอ และไทรอยด์จากความเครียด ซึ่งแม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันได้อย่างสมบูรณ์ แต่การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ก็อาจช่วยลดโอกาสการเกิดโรคได้


การวินิจฉัยโรคไทรอยด์มีวิธีตรวจอย่างไร?

การวินิจฉัยโรคไทรอยด์มีหลายขั้นตอน เริ่มจากการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์ ซึ่งรวมถึงการคลำบริเวณคอเพื่อตรวจหาความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นขั้นตอนสำคัญ โดยเฉพาะการเจาะเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมนไทรอยด์ นอกจากนี้ การตรวจภาพด้วยอัลตราซาวนด์ก็ช่วยให้แพทย์ประเมินขนาดและลักษณะของต่อม รวมถึงตรวจหาก้อนหรือถุงน้ำได้อีกด้วย ซึ่งการวินิจฉัยที่ถูกต้องและรวดเร็วจะช่วยให้สามารถวางแผนการรักษาที่เหมาะสม


การรักษาไทรอยด์ในปัจจุบันมีแนวทางอย่างไรบ้าง?

การรักษาโรคไทรอยด์

การรักษาโรคไทรอยด์ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าและหลากหลายมากขึ้น โดยแนวทางการรักษาจะขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรงของโรค รวมถึงสภาพร่างกายของผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด นอกจากนี้ การติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่องก็เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้มั่นใจว่าการทำงานของต่อมไทรอยด์กลับสู่ภาวะปกติและคงที่ โดยมีแนวทางการรักษาโรคไทรอยด์ ดังนี้

รักษาด้วยการรับประทานยา

การรักษาโรคไทรอยด์ด้วยการรับประทานยา แพทย์จะสามารถกำหนดชนิด และปริมาณยาให้เหมาะกับอาการและความรุนแรงของโรค โดยการรักษาวิธีนี้ต้องใช้เวลายาวนานประมาณ 1-2 ปี เพื่อให้ร่างกายปรับสมดุลของฮอร์โมนไทรอยด์ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งความสม่ำเสมอในการรับประทานยาเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการรักษา โดยที่หากขาดความต่อเนื่องในการรักษา อาจส่งผลให้อาการของโรคกลับมารุนแรงได้

รักษาด้วยวิธีกลืนแร่ไอโอดีน

สำหรับผู้ป่วยที่มีอายุมากหรืออาการรุนแรง วิธีการกลืนแร่ไอโอดีนมักถูกนำมาใช้เมื่อการรักษาด้วยยาไม่ประสบความสำเร็จ หรือรักษาแล้วกลับมาเป็นซ้ำ ซึ่งเป็นการรักษาโดยให้ผู้ป่วยกลืนสารกัมมันตรังสีไอโอดีนในรูปแบบน้ำหรือแคปซูล ซึ่งจะถูกดูดซึมโดยเซลล์ต่อมไทรอยด์และทำลายเซลล์เหล่านั้น ทำให้การผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ลดลง โดยข้อควรระวังคือหลังการรักษาจะต้องได้รับการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เพราะอาจเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำในภายหลัง

รักษาด้วยวิธีการผ่าตัด 

การรักษาไทรอยด์ด้วยวิธีการผ่าตัด แพทย์อาจแนะนำการผ่าตัดในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เมื่อพบว่าต่อมไทรอยด์มีขนาดโตขึ้น หรือพบว่าผู้ป่วยแพ้ยาที่ใช้ แพทย์จะเลือกรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ซึ่งขอบเขตของการผ่าตัดอาจแตกต่างกันไปตามความรุนแรง ตั้งแต่การตัดต่อมไทรอยด์ออกบางส่วนไปจนถึงการตัดออกทั้งหมด ถึงแม้ว่าการผ่าตัดจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ แต่ผู้ป่วยอาจต้องได้รับฮอร์โมนทดแทนตลอดชีวิต เพื่อรักษาสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย


ไทรอยด์ต่อมสำคัญในร่างกายที่คุณไม่ควรมองข้าม!

ต่อมไทรอยด์เป็นอวัยวะสำคัญที่ควบคุมการเผาผลาญและการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่มีผลต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ความผิดปกติของไทรอยด์อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม ดังนั้น การตรวจไทรอยด์เป็นประจำจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยหากคุณมีข้อสงสัยหรือต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับไทรอยด์ สามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพประจําปีได้ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ พร้อมให้บริการด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตลอด 24 ชั่วโมง 

สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 


References

Thyroid Disease. (2020, April 19). Cleveland Clinic. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/8541-thyroid-disease

Medline Plus. (2019). Thyroid Diseases. Medlineplus.gov; National Library of Medicine. https://medlineplus.gov/thyroiddiseases.html

Wallace, R. (2015, May 26). The 6 Common Thyroid Problems & Diseases. Healthline. https://www.healthline.com/health/common-thyroid-disorders

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​