แนะนำการตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) พร้อมวิธีสังเกตอาการเบื้องต้น
บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567
มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งเนื้อร้ายที่คร่าชีวิตเพศชายเป็นอันดับต้น ๆ ในแต่ละปี จึงทำให้การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นหนึ่งในการตรวจสุขภาพประจำปีที่สำคัญแก่ผู้ป่วยเพศชายเป็นอย่างมาก เพื่อป้องกันเซลล์มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะภายในของผู้ป่วย และหาทางวิธีรักษามะเร็งต่อมลูกหมากแต่ละระยะให้ถูกต้อง
แล้วสาเหตุมะเร็งต่อมลูกหมากเกิดขึ้นจากปัจจัยใด? อาการมีผลข้างเคียงอย่างไร? มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง? ทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ จะพาผู้อ่านทำความเข้าใจการตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากได้ในบทความนี้
สารบัญบทความ
มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer) คือ ภาวะการเจริญและการแบ่งตัวของเซลล์ภายในต่อมลูกหมากที่ผิดปกติ จนทำให้เกิดเป็นเซลล์มะเร็งชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา (Adenocarcinoma) ลามทั่วภายในต่อมลูกหมาก
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก
สาเหตุของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชายที่เห็นได้ชัด คือ อายุที่มากขึ้นทำให้ระบบสืบพันธุ์มีการเสื่อมสภาพไป พันธุกรรมจากคนในครอบครัวที่เคยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมาก่อน การรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์และไขมันสูง และพฤติกรรมการสูบบุหรี่จนติดเป็นนิสัย
สังเกตอาการมะเร็งต่อมลูกหมาก
วิธีตรวจมะเร็งต่อมลูกด้วยตนเอง สามารถสังเกตได้ด้วยการตรวจปัสสาวะเบื้องต้น เพื่อดูว่าปัสสาวะของผู้ป่วยนั้นมีภาวะติดขัดหรือไม่ เช่น ขับถ่ายแล้วรู้สึกฉี่บ่อยมากกว่าปกติ บางครั้งปลดปล่อยไม่สุด มีอาการแสบคันช่วงล่าง และลักษณะสีของปัสสาวะที่ถูกขับออกมามีเลือดหรืออสุจิปะปนในน้ำ
หากผู้ป่วยเพศชายมีอาการหนึ่งในอาการดังกล่าวนี้ อาจมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้สูง ควรเข้ารับการตรวจและได้รับรักษากับแพทย์เฉพาะทางให้เร็วที่สุด
ระยะของมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้ถูกแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่
1.ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็ก เกาะติดภายในชิ้นเนื้อของต่อมลูกหมาก ระยะนี้มะเร็งยังไม่เริ่มแพร่กระจายสามารถรักษามะเร็งต่อมลูกหมากให้หายขาดได้
2.ระยะที่ 2 ก้อนเนื้อมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น เป็นก้อนเนื้อบวมอยู่ภายในต่อมลูกหมากและเบียดไปยังบริเวณทวารหนัก ซึ่งเป็นโอกาสให้ทางแพทย์ใช้นิ้วคลำสังเกตอาการมะเร็งต่อมลูกหมากจากปากรูทวารเพื่อวินิจฉัยวิธีรักษาได้
3.ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำให้ต่อมลูกหมากบวมจนกั้นทางเดินปัสสาวะมีภาวะขับถ่ายของเหลวติดขัด ก้อนเนื้อมะเร็งกระจายนอกต่อมลูกหมาก แพทย์สามารถใช้วิธีการตรวจต่อมลูกหมากโดยสอดนิ้วคลำเข้าทวารหนักได้
4.ระยะที่ 4 เซลล์มะเร็งได้ลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง แล้วแพร่กระจายไปยังส่วนของกระดูกและอวัยวะภายในอื่น ๆ มีการทำงานที่เสื่อมสภาพลง
การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer Screening Tests) ทางแพทย์จึงจัดหาวิธีรักษาผู้ป่วยแต่ละระยะที่เหมาะสมที่สุด โดยวิธีตรวจต่อมลูกหมากตามมาตรฐาน มีทั้งหมด 5 รูปแบบ ได้แก่
1.การตรวจทางทวารหนัก (DRE)
2.การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
3.การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
4.การตรวจอัลตราซาวด์ทางทวารหนัก (TRUS)
5.การตรวจแบบ MRI-Ultrasound Fusion Biopsy
การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากทางทวารหนัก (Digital Rectal Examination : DRE) คือ การตรวจผ่านรูทวารของผู้ป่วยเพื่อคลำดูลักษณะและรูปร่างของก้อนมะเร็งต่อมลูกหมากที่บวมจนยื่นไปทับผนังลำไส้ใหญ่
ขั้นตอนการตรวจทางทวารหนัก
วิธีตรวจต่อมลูกหมากผ่านทวารหนัก มีขั้นตอนดังนี้
1.ผู้ป่วยนอนบนเตียงในท่าตะแคงหรือท่าโค้งแล้วงอตัวให้สุด
2.แพทย์จะสวมใส่ถุงมือยาง ทาเจลหรือสารหล่อลื่นบนนิ้วชี้แล้วสอดนิ้วคลำปากทางเข้าไปในช่องทวารหนัก
3.หากพบเจอก้อนลักษณะของแข็ง มีความเป็นไปได้สูงที่เกิดภาวะมะเร็งในต่อมลูกหมากบวมขึ้นจนยื่นไปเบียดผนังลำไส้ใหญ่
การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก ค่า PSA (Prostate-Specific Antigen) คือ การตรวจโปรตีนชนิด PSA ที่ถูกสร้างจากเซลล์ภายในต่อมลูกหมากผ่านกระแสเลือดเป็นหลัก และโปรตีนชนิดมีการหลั่งไหลในน้ำอสุจิอีกด้วย
ขั้นตอนการตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก PSA
วิธีตรวจต่อมลูกหมากผ่านการตรวจ PSA มีขั้นตอนดังนี้
1.แพทย์จะทำการนัดล่วงหน้าการตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากของผู้ป่วย
2.ก่อนวันตรวจเลือดนั้น จะกำกับให้งดกิจกรรมร่วมเพศ กิจกรรมกีฬาที่สร้างความสั่นสะเทือนแก่ต่อมลูกหมาก เช่น วิ่ง ขี่จักรยาน ก่อน 48 ชม.
3.หากมีโรคประจำตัวแล้วทานยาประเภทยับยั้งฮอร์โมนเพศและยับยั้งการโตของต่อมลูกหมาก ทางแพทย์จะขอให้ผู้ป่วยงดยาจำพวกชนิดนี้ เพื่อป้องกันค่า psa ต่อมลูกหมากคลาดเคลื่อนได้
4.วันตรวจค่า PSA ผู้ป่วยควรสวมใส่เสื้อที่สบายตัว ไม่รัดตัวเกินไป เพื่อให้ง่ายต่อทางแพทย์ในการเจาะเลือด
5.หลังจากจบการเจาะเลือดแล้ว แพทย์จะให้ผู้ป่วยพัก 15-30 นาที แล้วเตรียมตัวรอฟังผล
การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยคลื่น MRI (Magnetic Resonance Imaging) คือ การตรวจผ่านเครื่อง MRI ในการโฟกัสต่อมลูกหมากโดยเฉพาะ มีคุณสมบัติกระจายคลื่นสนามแม่เหล็กที่มีความเข้มข้นสูง เพื่อส่งคลื่นวิทยุส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ในการคำนวณภาพถ่ายอวัยวะภายใน ให้ถูกสแกนเป็นภาพถ่ายในภายหลัง
ขั้นตอนการตรวจด้วยคลื่น MRI
วิธีตรวจต่อมลูกหมากผ่านการตรวจ MRI มีขั้นตอนดังนี้
1.แพทย์จะให้ผู้ป่วยเปลี่ยนชุดสำหรับการตรวจผ่านเครื่อง MRI
2.นอนตัวตรงแล้วรอเข้ากระบวนการทำงานของเครื่องให้เสร็จ
3.รอตัวเครื่อง MRI ส่งคลื่นวิทยุไปยังระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อถ่ายภาพข้อมูลจากการตรวจร่างกายผู้ป่วยแล้วใช้สารทึบรังสี (Contrast media) เพื่อให้เห็นเซลล์ก้อนมะเร็งในต่อมลูกหมากได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
4.รอรับฟังผลจากแพทย์
การตรวจอัลตราซาวด์ทางทวารหนัก (Transrectal Ultrasound : TRUS) คือ การตรวจรูทวารของผู้ป่วยโดยใช้เครื่องสอดหัวอัลตราซาวด์เพื่อดูภาพลักษณะและรูปร่างของก้อนมะเร็งต่อมลูกหมากที่บวมจนยื่นไปทับผนังลำไส้ใหญ่ผ่านจอคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการตรวจอัลตร้าซาวด์ทางทวารหนัก
วิธีตรวจต่อมลูกหมากผ่านการตรวจ TRUS มีขั้นตอนดังนี้
1.แพทย์จะให้ผู้ป่วยเปลี่ยนชุดสำหรับการตรวจผ่านเครื่องอัลตราซาวด์
2.ผู้ป่วยให้นอนบนเปลี่ยนแล้วกางขาออก เพื่อให้แพทย์สอดหัวอุปกรณ์ตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากขนาดเล็กเข้าไปในปากช่องทวารหนัก
3.เมื่อแพทย์สอดความยาวของเครื่องไปในบริเวณที่ใกล้เคียงกับต่อมลูกหมาก แพทย์จะกดเครื่องให้ส่งคลื่นสะท้อนผ่านคอมพิวเตอร์ในจอแบบเรียลไทม์
การอัลตราซาวด์ตัดเนื้อต่อมลูกหมาก (MRI-Ultrasound Fusion Biopsy) คือ การใช้อุปกรณ์อัลตราซาวด์ประกอบร่วมกับเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก เพื่อเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อลำไส้ใหญ่ในทวารหนักไปวินิจฉัยตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก
ขั้นตอนการตรวจแบบ MRI-Ultrasound Fusion Biopsy
วิธีตรวจต่อมลูกหมากผ่านการตรวจ MRI-Ultrasound Fusion Biopsy มีขั้นตอนดังนี้
1.แพทย์จะซักถามประวัติการทานอาหารเสริมหรือยาประจำตัวที่มีผลต่อให้เลือดแข็งตัวช้า หากมี ทางแพทย์จะให้งดทาน 7 วันก่อนตรวจ
2.แพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อสำหรับประทานมื้อเช้าก่อนวันตรวจ 1 วัน
3.วันนัดตรวจนั้นให้ผู้ป่วยทำการสวนรูทวารช่วงเช้าก่อนตรวจ TRUS
4.ในขั้นตอนการทำ แพทย์จะทำการฉีดยาชาผ่านทางทวารหนัก แล้วใช้เข็มสำหรับการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก 10-12 ชิ้น
5.รอฟังการวัดผลจากทางแพทย์
บุคคลที่ควรได้รับการตรวจมะเร็งลูกหมากมีดังต่อไปนี้
- เพศชายอายุ 50-70 ปี
- บุคคลที่เสพติดการสูบบุหรี่
- บุคคลที่รับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง
- บุคคลที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมาก่อน
- บุคคลที่มีพฤติกรรมการขับถ่ายที่ผิดปกติ เช่น ปัสสาวะติดขัด ถ่ายไม่สุด ฉี่บ่อย อาจมีเลือดปนมาด้วย
การพบตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก สามารถรักษาได้ถาวรได้ด้วยวิธีรักษา 4 ประเภท ดังนี้
1. การฉายรังสี
การฉายรังสี (Radiation Therapy) คือ การใช้รังสีเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในต่อมลูกหมากให้เป็นก้อนเนื้อตายในที่สุด สามารถยับยั้งการแพร่กระจายเนื้อมะเร็งสู่อวัยวะภายในส่วนอื่น ๆ และลดโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับอวัยวะช่วงล่างได้อย่างปลอดภัย แพทย์จะทำการพิจารณาใช้วิธีผ่าตัดนี้เฉพาะผู้ป่วยที่ตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ 1-2 เท่านั้น
2. การผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก
การผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก แบ่งออกเป็น 2 วิธีการ ได้แก่
1.การผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (Open Myomectomy) คือ การผ่าตัดเปิดช่องท้องผู้ป่วยผ่านการตัดเลาะท่อน้ำเหลือง เพื่อเอาต่อมลูกหมากทั้งก้อน รวมถึงท่อน้ำเชื้อและถุงพักน้ำเชื้อออกไปทั้งหมด แพทย์จะทำการพิจารณาใช้วิธีผ่าตัดนี้เฉพาะผู้ป่วยที่ตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ 3-4 เป็นต้นไป
2.การผ่าตัดโดยใช้เครื่องส่องกล้อง (Transurethral Resection of Prostate Gland : TURP) คือ การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องผ่านรูท่อปัสสาวะ แพทย์จะใช้เข็มเจาะเนื้อขูดต่อมลูกหมากเป็นชิ้นเล็ก ๆ โดยแพทย์จะทำการพิจารณาใช้วิธีผ่าตัดนี้เฉพาะผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่มีอาการขับถ่ายปัสสาวะไม่ได้ ถ่ายออกมามีเลือดปน หรือขับถ่ายแล้วไม่สุด
3.การรักษาด้วยฮอร์โมน
การรักษาด้วยฮอร์โมน (Hormone Therapy) คือ การใช้ยาต้านฮอร์โมนเพศชาย เพื่อยับยั้งฮอร์โมนชนิดเทสโทสเตอร์โรน (Testosterone) ที่เป็นตัวกระตุ้นการเจริญเติบโตของต่อมลูกหมากได้ แพทย์จะทำการพิจารณาใช้วิธีผ่าตัดนี้เฉพาะผู้ป่วยที่ตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากระยะ 3-4 เป็นต้นไป
4.การใช้เคมีบำบัด (คีโม)
การใช้เคมีบำบัด (Chemotherapy) หรือการทำคีโม คือ การรักษาโดยฉีดยาต้านมะเร็งเข้าสู่ทุกส่วนของร่างกาย เพื่อให้เซลล์มะเร็งในต่อมลูกหมากและมะเร็งส่วนอื่น ๆ ของอวัยวะให้ตายให้หมด แพทย์จะทำการพิจารณาใช้วิธีผ่าตัดนี้เฉพาะผู้ป่วยที่ตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากในรอบที่ 2 หรือการรักษาด้วยฮอร์โมนไม่สามารถหยุดยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งจากต่อมลูกหมากได้สำเร็จ
ข้อปฏิบัติและการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก มีดังนี้
- หลังจากการรักษา ให้ผู้ป่วยสังเกตพฤติกรรมการขับถ่ายและลักษณะอวัยวะเพศชายเป็นระยะ หากมีอาการผิดปกติควรนัดพบแพทย์ทันที
- หากตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะที่ 3-4 เป็นต้นไป ควรทำการรักษาร่วมกับวิธีอื่น เช่น การรักษาด้วยการปรับฮอร์โมนและการใช้เคมีบำบัดควบคู่กัน
- ปรับการใช้ชีวิตแบบ Slow life ในระหว่างการรักษา ควรงดกิจกรรมที่อาจทำให้ต่อมลูกหมากได้รับการกระทบกระเทือน เช่น การวิ่ง การขี่จักรยาน เป็นต้น
- ผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก ควรให้กำลังใจและดูแลอย่างใกล้ชิด
โดยทั่วไป มีวิธีการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก ดังนี้
- ทานอาหารจำพวกพืชตระกูลกะหล่ำ ที่ให้สารซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) เพื่อขับสารพิษในร่างกายและเพิ่มภูมิคุ้มกันสูง เช่น กะหล่ำปลี บร็อคโคลี่ และดอกกะหล่ำ เป็นต้น
- ทานอาหารจำพวกเนื้อปลาที่ให้สารอาหารกรดไขมันโอเมก้า-3 สูง เช่น แซลมอน และปลาทูน่า เป็นต้น
- ทานอาหารจำพวกผักผลไม้สีแดง ส้ม และเหลือง ที่ให้สารไลโคพีน (Lycopene) เพื่อเพิ่มสารอนุมูลอิสระ เช่น แตงโม แครรอท และพริกหยวกสีเหลือง เป็นต้น
- งดทานอาหารที่มีรสเค็ม หวานจัด
- งดการสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์
- ควรหลั่งน้ำอสุจิบ่อย ๆ เฉลี่ย 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อป้องกันความเสี่ยง
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำ รวมถึงการตรวจมะเร็งลำไส้ เพื่อเช็คความผิดปกติภายในรูทวาร
ผู้ที่มีภาวะความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากสูง และต้องการหาสถานที่ตรวจรักษากับแพทย์ที่มีประสบการณ์ แต่ไม่ทราบจะหาสถานพยาบาลตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากที่ไหนดี ทางสถาบันรักษาโรคมะเร็งทุกส่วนของอวัยวะภายใน โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีแพ็กเกจตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน และโปรโมชันราคาพิเศษให้กับลูกค้าดังนี้
โปรแกรมตรวจสุขภาพ
ประจำปี
|
Basic
<30 ปี
|
Advanced
30-40 ปี
|
Executive
40-50 ปี
|
Absolute
50 ปีขึ้นไป
|
Longevity
60 ปีขึ้นไป
|
อัตราค่าบริการปกติ |
6,485 |
ชาย 13,365
หญิง 14,965 |
ชาย 29,865
หญิง 35,290 |
ชาย 38,285
หญิง 47,030 |
ชาย 43,740
หญิง 54,085 |
อัตราพิเศษ |
2,800 |
ชาย 8,000
หญิง 8,000 |
ชาย 13,500
หญิง 17,500 |
ชาย 17,700
หญิง 22,700 |
ชาย 20,000
หญิง 23,200 |
ราคา Online และหลังไลน์ @samitivejchinatown ลด 10% |
2,520 |
ชาย 7,200
หญิง 7,200 |
ชาย 12,150
หญิง 15,750 |
ชาย 15,930
หญิง 20,700 |
ชาย 18,000
หญิง 21,200 |
>> สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจสอบมะเร็งประเภทอื่น ๆ เช่น มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งลำไส้ ได้กับทางโรงพยาบาลโดยตรง
การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นการตรวจเช็คเซลล์ภายในต่อมลูกหมาก ว่ามีการแตกเซลล์ที่ผิดปกติจากปัจจัยใดบ้างไม่ว่าจะเป็นภาวะอายุมากขึ้น พันธุกรรม และพฤติกรรมของผู้ป่วย เพื่อหลีกเลี่ยงโรคแทรกซ้อนจากการเสื่อมสภาพการทำงานของต่อมลูกหมาก
ทางแพทย์ขอแนะนำการตรวจสุขภาพประจำปีของทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ภายใต้การปฎิบัติของแพทย์มืออาชีพ และพร้อมรายงานผลตรวจค่าไตแต่ละองค์ประกอบได้ทันที โดยติดต่อสอบถามได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เอกสารอ้างอิง :
Hagan Thomas,T. (2021, Nov 23). What to know about prostate cancer
medicalnewstoday
https://www.medicalnewstoday.com/articles/150086
Mayo Clinic Staff (2022, May 25). Prostate cancer
mayoclinic
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/prostate-cancer/symptoms-causes/syc-20353087
Urology Care Foundation (2020, Jan). What is Prostate Cancer?
urologyhealth
https://www.urologyhealth.org/urologic-conditions/prostate-cancer