กระดูกเท้าปูด (Hallux Valgus) เกิดจากอะไร ต้องผ่าตัดไหม?
กระดูกเท้าปูด หนึ่งในโรคเท้าที่พบได้บ่อย เป็นภาวะที่นิ้วหัวแม่เท้าเบนเข้าไปชิดกับนิ้วชี้ สาเหตุของผู้ที่มีอาการข้อนิ้วปูดส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการสวมใส่รองเท้าที่บีบเท้า
จากสถิติในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเผยว่า มีคนไทยเพียง 2% เท่านั้นที่ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และมีคนถึง 59% ที่คิดว่าตนเองมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพประจำปี แต่ว่าหัวใจสำคัญของการมีสุขภาพดีอย่างการกินอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างที่เคยบอกต่อๆกันมาอาจไม่พอ
เราอาจคิดว่าเรามีไลฟ์สไตล์ที่ดี ดูแลสุขภาพอย่างดี แต่โรคต่างๆ อาจจะกำลังเกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้แสดงอาการหรือบอกให้เรารู้ ส่วนผู้ที่มีพฤติกรรมที่ทำให้สุขภาพแย่ลง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ นอนดึก ไม่ชอบออกกำลังกาย มีภาวะน้ำหนักเกิน ชอบอาหารรสจัด ชอบอาหารปิ้งย่างหรือทอด ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจได้
การตรวจสุขภาพประจำปีจึงเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพ สามารถตรวจได้ทุกช่วงวัยโดยมีรายละเอียดการตรวจที่แตกต่างกัน
สารบัญบทความ
การตรวจสุขภาพประจำปี คือ การตรวจระบบการทำงานของอวัยวะและตรวจระดับสารต่างๆ ภายในร่างกาย เพื่อค้นหาความเสี่ยงหรือความผิดปกติที่ก่อให้เกิดโรคในระยะเริ่มต้น ส่งผลให้ผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีสามารถป้องกันระดับความรุนแรงของโรคและลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที
ด้วยเหตุนี้ จึงมีโปรแกรมการตรวจสุขภาพที่รวบรวมการตรวจต่างๆที่สำคัญ ได้แก่ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจระดับไขมันในเลือด ตรวจการทำงานของตับ ไต ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น
“การตรวจสุขภาพประจำปี” นอกจากจะเป็นพื้นฐานการดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอแล้ว ยังเป็นการวางแผนครอบครัวอีกด้วย เช่น หากเรามีโรคที่ถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรมที่อาจส่งต่อให้ลูกหลานเรา เราจะได้วางแผนในกรณีที่สุขภาพกระทบไปถึงสมาชิกในครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แม้ว่าเราอาจจะมีไลฟ์สไตล์ที่ดีและออกกำลังกายสม่ำเสมอ อาจมีปัจจัยภายนอกอื่นๆที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยที่เราไม่รู้ตัวได้ เช่น ฝุ่น PM 2.5 ควันพิษจากท่อไอเสีย สารเคมีและสารก่อมะเร็งที่ตกค้างในผักและผลไม้ หรือโรคระบาดอย่างไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่หรือโรคโควิด-19
รวมถึงปัจจัยภายในอย่างโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และพฤติกรรมของบุคคล เช่น การออกกำลังกายน้อยลง การทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์มากขึ้น การสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น มีความเครียดสะสมมากขึ้น พักผ่อนน้อย ปัจจัยทั้งภายนอกและภายในเหล่านี้ส่งผลต่อสุขภาพได้
การดูแลตัวเองที่มีประสิทธิภาพและสามารถป้องกันการเกิดโรค คือ การตรวจสุขภาพประจำปีนั่นเอง
หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมเราต้องตรวจสุขภาพประจำปีด้วย? นานๆ ตรวจทีไม่ได้หรอ? เหตุผลหลักที่คุณควรตรวจสุขภาพประจำปี มีดังนี้
ถึงแม้ว่าเราจะเข้าใจถึงความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจำปีแล้ว แต่ก็ยังคงมีประเด็นคำถามที่ว่า “แล้วเราควรตรวจสุขภาพตอนอายุเท่าไหร่?”
แท้ที่จริงแล้ว การตรวจสุขภาพครั้งแรกสามารถทำได้ตั้งแต่วัยแรกเกิดเป็นต้นไป เพราะหากสามารถตรวจได้ตั้งแต่เด็กๆ จะทำให้เช็คเรื่องพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ พฤติกรรมเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตได้
นอกจากนี้ การตรวจสุขภาพของแต่ละช่วงวัย ก็จะมีจุดที่ต้องให้ความสำคัญแตกต่างกัน โดยช่วงอายุที่ควรเข้ารับการตรวจมากที่สุด คือ ช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่เริ่มพบความเสื่อมสภาพของร่างกาย ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นเริ่มน้อยลง ส่งผลให้โรคหรือสภาวะต่างๆ มีโอกาสเกิดได้ง่ายแบบไม่รู้ตัว
บ่อยครั้งมักจะแสดงอาการตอนช่วงวัยสูงอายุ ซึ่งอาการเหล่านี้มักอยู่ในช่วงระยะกลางถึงระยะท้ายๆของโรคแล้ว ทำให้มีความยากลำบากในการรักษา และมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนมาก หากเราตรวจสุขภาพ รู้แนวโน้มของการเกิดโรค หรือตรวจเจอตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะทำให้เข้ารับการรักษาได้เร็วยิ่งขึ้น
“การตรวจสุขภาพประจำปี ต้องตรวจอะไรบ้าง?” อย่างที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น แต่ละช่วงวัยมีความแตกต่างกัน ทั้งเรื่องสภาวะหรือโรคที่มักพบบ่อยในแต่ละช่วงวัย ความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ความเสื่อมสภาพของร่างกาย ฯลฯ ทำให้ต้องมีการกำหนดเกณฑ์ตามช่วงอายุ เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการตรวจที่เหมาะสมกับช่วงวัยของตนเอง
การตรวจสุขภาพสามารถตรวจได้ตั้งแต่วัยแรกเกิด เมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวัยกลางคนขึ้นไป จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพอายุ 50 ปีขึ้นไป เพื่อเช็คร่างกายอย่างละเอียด ป้องกันการเกิดโรคร้าย ลดระดับความรุนแรงของโรค และจะได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งการตรวจแต่ละช่วงอายุมีรายละเอียดดังนี้
การตรวจสุขภาพสามารถตรวจได้ทุกช่วงอายุโดยแต่ละช่วงอายุจะมีความละเอียดต่างกัน ทุกคนควรเข้ารับการตรวจสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบุคคลที่อายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประวัติการเจ็บป่วยของแต่ละบุคคลด้วย โดยทั่วไปมักจะตรวจเบื้องต้น อย่างการซักประวัติทางสุขภาพ ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด และอื่นๆ เพื่อประเมินสภาพร่างกายโดยทั่วไป
สำหรับการตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับช่วงอายุต่ำกว่า 30 ปีนั้นมักจะเป็นการตรวจทั่วไป สามารถดูรายละเอียดได้ในตารางด้านล่าง
“อายุ 30 ควรตรวจสุขภาพอะไรบ้าง?” การตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 30 ปีขึ้นไปจะมีความละเอียดมากขึ้นเนื่องจากเป็นวัยที่มีแนวโน้มในเรื่องของพฤติกรรมเสี่ยงค่อนข้างมากในด้านการทำงาน อาจมีปัจจัยทางด้านความเครียดที่เพิ่มขึ้น จึงควรตรวจสุขภาพให้เป็นประจำทุกปี โดยการตรวจสุขภาพในช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไปจะมีความละเอียดมากขึ้นด้วย นอกจากการประเมินสภาพร่างกายโดยทั่วไปแล้วอาจมีการตรวจที่เพิ่มขึ้นเพื่อเจาะจงอาการเจ็บป่วยที่อาจเกิดได้ตามช่วงอายุ สามารถดูรายละเอียดได้ในตารางด้านล่าง
คนแต่ละช่วงวัยจะมีโปรแกรมตรวจที่แตกต่างกันเพื่อให้ครอบคลุมโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ตามอายุ โดยมีตัวอย่างตามช่วงวัยดังนี้
การตรวจที่แนะนำ
|
ต่ำกว่า 30 ปี | 30-39 ปี | 40-49 ปี | 50-59 ปี | 60 ปีขึ้นไป |
---|---|---|---|---|---|
การซักประวัติทางสุขภาพ สอบถามประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว ประวัติการใช้ยา | ● | ● | ● | ● | ● |
การตรวจเบื้องต้น เช่น การตรวจความดันโลหิต ตรวจหาดัชนีมวลกาย | ● | ● | ● | ● | ● |
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ได้แก่ เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด เพื่อหาความผิดปกติของของเลือด เช่น ภาวะโลหิตจาง ภูมิคุ้มกันของร่างกาย รวมถึงโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว | ● | ● | ● | ● | ● |
ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) และน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) เพื่อประเมินความเสี่ยง และคัดกรองโรคเบาหวาน | ● | ● | ● | ● | ● |
ตรวจระดับไขมันในเลือด เพื่อดูระดับคอเลสเตอรอล คอเลสเตอรอลชนิดดี คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และไตรกลีเซอไรด์ เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง | ● | ● | ● | ● | ● |
ตรวจระดับกรดยูริก เพื่อประเมินความเสี่ยงโรคเก๊าท์ | ● | ● | ● | ● | ● |
ตรวจการทำงานของไต เช่น ครีเอตินิน (creatinine) ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อ และ ค่า BUN (Blood Urea Nitrogen) ซึ่งเป็นของเสียจากการย่อยสลายโปรตีน ทั้งสองตัวนี้ช่วยเพื่อประเมินความสามารถในการขับของเสียของไต | ● | ● | ● | ● | ● |
ตรวจการทำงานของตับ เป็นการตรวจดูเอ็นไซม์และสารต่างๆ ในเลือด เพื่อหาภาวะตับอักเสบ ภาวะดีซ่าน | ● | ● | ● | ● | ● |
ตรวจไวรัสตับอักเสบ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี โดยตรวจจากส่วนประกอบของเชื้อ (HBsAg) และระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ (HBsAb) | ● | ● | ● | ● | ● |
ตรวจปัสสาวะ ช่วยในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินปัสสาวะเบื้องต้น รวมถึงโรคเบาหวาน | ● | ● | ● | ● | ● |
ตรวจอุจจาระ ช่วยในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินอาหารเบื้องต้น เช่น ภาวะการอักเสบติดเชื้อในลำไส้ พยาธิ รวมถึงตรวจหาภาวะเลือดปนในอุจจาระซึ่งอาจเกิดจากแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ริดสีดวงทวาร มะเร็งทางเดินอาหารและลำไส้ | ● | ● | ● | ● | ● |
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เป็นการประเมินการทำงานของหัวใจในขณะพัก เพื่อดูความผิดปกติเช่นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด | ● | ● | ● | ● | ● |
เอกซเรย์ปอด เพื่อดูความผิดปกติในช่องทรวงอก เช่น ขนาดของหัวใจ วัณโรคและโรคต่างๆ ของปอด เช่น โรคปอดเกิดจาก PM 2.5 และ Covid-19 | ● | ● | ● | ● | ● |
ตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้อง ตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายใน เช่น ตับอ่อน ม้าม ตับ ไต รวมถึงมดลูกและรังไข่ในผู้หญิงและต่อมลูกหมากในผู้ชาย | ● | ● | ● | ● | ● |
ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ เช่น TSH และ Free T4 | ● | ● | ● | ||
ตรวจสุขภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (EST: Exercise Stress Test) เพื่อตรวจคัดกรองว่ามี เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ หรือไม่ขณะออกแรงและช่วยหาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจากการออกกำลังกาย (ควรงดอาหารมื้อหนักๆ ก่อนทำการตรวจประมาณ 4 ชั่วโมง) | ● | ● | ● | ||
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram : ECHO) เพื่อดูการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ , ขนาดของห้องหัวใจ , การไหลเวียนเลือดในหัวใจ สามารถใช้วินิจฉัยโรคหัวใจแต่กำเนิด, โรคลิ้นหัวใจพิการ, โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ, โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ (ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร) | ● | ● | ● | ||
การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งทางเดินอาหาร (CEA) การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ (AFP) | ● | ● | ● | ● | ● |
สารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน ท่อน้ำดี ถุงน้ำดี (CA19-9) | ● | ● | |||
สารบ่งชี้มะเร็งเต้านม (CA15-3) และมะเร็งรังไข่ (CA125) ในสตรี | ● | ● | |||
สารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) ในสุภาพบุรุษ | ● | ● | |||
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยการตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) เพื่อดูความผิดปกติของเซลล์และการตรวจหาเชื้อไวรัสมะเร็งปากมดลูก แนะนำในสตรีทุกคนที่อายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป หรือ 3 ปีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก หลังจากนั้นทำการตรวจทุก 1-2 ปี ส่วนสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจทุกปี หากผลตรวจเป็นปกติติดต่อกัน 3 ปี สามารถตรวจทุก 3 ปีได้ ยกเว้นกลุ่มที่มีความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก เช่น มีการติดเชื้อไวรัสเอช พี วี (HPV) | ● | ● | ● |
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)