แผลเบาหวานที่เท้า ดูแลรักษาแผลก่อนสายเกินไป
แผลเบาหวานที่เท้า เป็นแผลบริเวณเท้าที่ลุกลามจากการที่ผู้ป่วยเบาหวานระบบประสาทรับความรู้สึกเสื่อม ทำให้เท้าชาจนเกิดบาดแผลได้ง่ายและรู้ตัวช้าจนแผลเกินการติดเชื้อ
หัวใจ สมอง ปอด ถือว่าเป็นอวัยวะภายในร่างกายที่ทำงานหนักและมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อให้คุณมีสุขภาพที่ดีอย่างสม่ำเสมอ การหมั่นตรวจสุขภาพอยู่เป็นประจำจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะนอกจากคุณจะสามารถตรวจเช็กความผิดปกติของอวัยวะหรือการทำงานของระบบใดระบบหนึ่งได้แล้ว คุณยังสามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วย
ดังนั้น เพื่อให้การดูแลร่างกายของคุณเป็นเรื่องง่ายและสามารถวางแผนการใช้ชีวิตประจำวันให้มีสุขภาพดีไปนาน ๆ วันนี้เราได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการตรวจหัวใจ สมอง ปอด หรือแม้กระทั่งการตรวจไทรอยด์นั้นมีความสำคัญและมีการทำงานที่สัมพันธ์กันอย่างไร รวมไปถึงการแนะนำสถานพยาบาลที่น่าเชื่อถือสำหรับการตรวจสุขภาพประจำปีให้คุณได้รู้จัก
สารบัญบทความ
อวัยวะหลักสำคัญอย่างหัวใจ สมอง ปอด อวัยวะเหล่านี้ถือว่าเป็นอวัยวะที่มีระบบการทำงานสัมพันธ์กันมาโดยตลอด ซึ่งหากเกิดความผิดปกติหรือเกิดโรคที่ระบบใดระบบหนึ่งทำให้มีโอกาสสูงที่จะส่งผลต่อระบบที่สัมพันธ์กัน เรียกได้ว่า ไม่สามารถขาดอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งได้เลย
จากรายงานขององค์กรอนามัยโลก (WHO) ในปี 2019 พบว่า สาเหตุของการเสียชีวิต 3 อันดับแรกของโลก คือ โรคหัวใจขาดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง โดยทั้งสามอวัยวะมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้
อย่างที่ทราบกันว่า หัวใจ สมอง ปอดมีระบบการทำงานที่สัมพันธ์กัน ทำให้ผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจไม่ว่าจะชนิดไหน มักจะส่งผลต่อปอด เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือลิ้นหัวใจรั่วจนเกิดการบีบเลือดออกจากหัวใจได้ไม่ดี ส่งผลให้หัวใจทำงานผิดปกติมีเลือดคั่งค้างที่หัวใจและเลือดล้นกลับไปที่ปอด ทำให้เกิดน้ำท่วมปอด ปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ในที่สุด จนทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบเหนื่อยจนไม่สามารถนอนราบได้หรือต้องตื่นขึ้นมาหายใจหลังจากหลับไปแล้ว ภาวะนี้จึงเป็นอันตรายอย่างมากถึงชีวิต
ในทางกลับกันสำหรับการเกิดโรคปอดก็ส่งผลต่อหัวใจเช่นเดียวกัน โดยสาเหตุหลัก ๆ ของการเกิดโรคปอดที่พบบ่อย คือ การสูบบุหรี่ ซึ่งโรคที่พบ ได้แก่ โรคมะเร็งปอด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease-COPD) เช่น ถุงลมโป่งพอง (Emphysema) เนื่องจากโรคนี้เกิดแรงต้านในปอดที่สูงกว่าปกติ ความดันของเลือดที่ไหลกลับเข้าสู่หัวใจเพิ่มขึ้น จึงทำให้หัวใจเกิดการทำงานหนักและเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ นอกจากนี้โรคถุงลมโป่งพองทำให้เกิดความดันโลหิตของหลอดเลือดปอดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจห้องขวาล้มเหลวได้ ภาวะเหล่านี้จึงเป็นอันตรายอย่างมากเพราะสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ อีกทั้งผู้ป่วยที่มีลิ่มเลือดอุดตันในปอด หากเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันสามารถทำให้หัวใจหยุดเต้นหรือทำให้หัวใจด้านขวาวายฉับพลันได้อีกด้วย
สำหรับโรคปอดและโรคหลอดเลือดสมองที่มีความเสี่ยงร่วมกันมักมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากการสูบบุหรี่ โดยผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่มักมีโอกาสที่จะพบทั้งสองโรคนี้ได้พร้อมกัน อย่างเช่น การเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด (Pulmonary Embolism) ร่วมกับภาวะผนังกั้นหัวใจรั่ว ทำให้ลิ่มเลือดในปอดผ่านทางหลอดเลือดดำจากปอดไปยังสมอง ทำให้เกิดหลอดเลือดสมองอุดตันได้ ทั้งนี้ มีโอกาสที่จะเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดได้หลายตำแหน่ง เช่น หลอดเลือดปอด หลอดเลือดที่ขา และหลอดเลือดสมอง
เช่นเดียวกันกับผู้ป่วยที่เกิดโรคหลอดเลือดสมองและมีความทุพพลภาพ สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้น้อยลงอาจก่อให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดที่ขาและหากมีการหลุดของลิ่มเลือดจากขาเข้าสู่ปอด สามารถส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดดำอุดตันที่ปอดตามมาได้ด้วยเช่นกัน
การตรวจสุขภาพหรือการตรวจสุขภาพประจำปี คือ ตรวจสอบระบบการทำงานของอวัยวะและระดับสารต่าง ๆ ภายในร่างกาย เพื่อให้คุณสามารถรับรู้และตรวจสอบความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ในระยะเริ่มต้นและสามารถหาทางป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นระหว่างการรักษาได้อย่างทันท่วงที การหมั่นตรวจสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมที่ทำให้สุขภาพร่างกายแย่ลง เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ มีความเครียดสูง ไม่ชอบออกกำลังกาย และนอนดึกเป็นประจำ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย
ดังนั้น เพื่อให้คุณสามารถดูแลสุขภาพของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถป้องกันการเกิดโรค ควรหมั่นตรวจสุขภาพอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจหัวใจ สมอง ปอด ที่เป็นอวัยวะสำคัญ รวมไปถึงการตรวจไทรอยด์เช่นเดียวกัน
การเลือกตรวจสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจหัวใจ สมอง ปอด ไทรอยด์ หรือตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน ที่ไหนดี? สิ่งที่คุณควรพิจารณาเลือกสถานพยาบาลเพื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพ มีดังนี้
สมิติเวช ไชน่าทาวน์ พร้อมให้บริการด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพที่ครอบคลุมทุกส่วนสำคัญอย่างการตรวจหัวใจ สมอง ปอด ไทรอยด์ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เป็นมืออาชีพ มีประสบการณ์สูง อีกทั้งยังใช้นวัตกรรมและเครื่องมือที่ทันสมัย ให้คุณตรวจสุขภาพและรู้ผลอย่างแม่นยำได้ภายในวันเดียว
สำหรับโปรแกรมการตรวจหัวใจ สมอง ปอด ไทรอยด์ ที่สมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีโปรแกรมการตรวจ CT Calcium Score ซึ่งการตรวจชนิดนี้ คือ การตรวจแคลเซียมหรือหินปูนที่เกาะที่ผนังหลอดเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ, ลิ้นหัวใจ หรือที่เยื่อหุ้มหัวใจ โดยการตรวจปริมาณแคลเซียมนี้จะสามารถทำนายโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ และถ้าหากมีภาวะแคลเซียมเกาะที่หลอดเลือดจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลัน
ก่อนเข้ารับการตรวจ CT Calcium Score ควรเตรียมตัวก่อนตรวจด้วยการงดการสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา คาเฟอีน หรืองดออกกำลังกายก่อนเข้ารับการตรวจ 4 ชั่วโมง
ขั้นตอนการตรวจ CT Calcium Score มีดังต่อไปนี้
ตรวจ CT Chest Lowdose คือ การเอกซเรย์ปอดด้วยคอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำเพื่อคัดกรองมะเร็งปอด (Lung Cancer) ซึ่งการเอกซเรย์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำและใช้วิธีถ่ายภาพสามมิติจะให้ความละเอียด แม่นยำ และลดอันตรายจากรังสีได้มากกว่าการเอกซเรย์แบบธรรมดา อีกทั้งยังสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
ก่อนเข้ารับการตรวจ CT Chest Lowdose ไม่ควรสวมใส่ วัตถุที่เป็นโลหะ เช่น แหวน ต่างหู สร้อยคอ ในกรณีตั้งครรภ์หรือคิดว่าอาจจะตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้แพทย์ผู้ดูแลทราบทันที
การตรวจ Carotid doppler คือ การตรวจหาภาวะความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองกับหลอดเลือดหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง เพื่อตรวจดูหลอดเลือดแดง Carotid, เพื่อดูการไหลเวียนของเลือดที่ขึ้นไปเลี้ยงสมอง รวมไปถึงตรวจดูคราบหินปูนหรือไขมัน (Plaque) มีเกาะในหลอดเลือดหรือไม่ โดยจะวัดความหนาของผนังหลอดเลือด, วัดความเร็วของการไหลเวียนเลือดในหลอดเลือด ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้หลอดเลือดตีบตัน หรือมีลิ่มเลือดหลุดไปยังหลอดเลือดส่วนปลายจะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ เป็นเหตุให้สมองขาดเลือดและเกิดอาการอัมพาต (Stroke) ตามมา
การเตรียมตัวก่อนตรวจ Carotid doppler ไม่มีขั้นตอนการเตรียมตัวให้ยุ่งยาก ซึ่งผู้เข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องงดน้ำและอาหาร, งดสูบบุหรี่ก่อนตรวจ อย่างน้อย 2 ชั่วโมง, ไม่สวมใสสร้อยคอหรืออุปกรณ์ใด ๆ บริเวณคอ และไม่ควรทาแป้งบริเวณคอ
สำหรับการตรวจ Carotid doppler จะใช้เวลาเฉลี่ย 15-30 นาที
นอกจากการตรวจหัวใจ สมอง ปอด การตรวจไทรอยด์ ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะต่อมไทรอยด์เป็นอวัยวะที่ผลิตและควบคุมฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดในร่างกาย หากมีความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์จะสร้างผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะทั้งหมด โดยการตรวจไทรอยด์จะใช้วิธีตรวจเลือดเพื่อดูระดับการทำงานของฮอร์โมนภายในร่างกาย, ภายในต่อมใต้สมอง และการตรวจแอนติบอดี้ของต่อมไทรอยด์โดยตรง เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยและหาวิธียับยั้งและรักษาโรคไทรอยด์ได้อย่างถูกจุด
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจไทรอยด์ ผู้เข้ารับการตรวจควรพักผ่อนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา คาเฟอีนและงดสูบบุหรี่อย่างน้อย 1-2 วัน ผู้เข้ารับการตรวจสามารถทานอาหารได้ตามปกติ ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร
ขั้นตอนการตรวจไทรอยด์จะขึ้นอยู่กับวิธีตรวจ ซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัยและเลือกใช้ในการตรวจ ดังนี้
1. วิธีการตรวจเลือด
ขั้นตอนการตรวจวิธีนี้ ผู้เข้ารับการตรวจไทรอยด์จะได้รับการเจาะเลือดจากเจ้าหน้าที่ เพื่อนำเลือดไปวัดผลส่งเข้าสู่ห้องปฏิบัติการสำหรับวินิจฉัยชนิดอาการของโรคไทรอยด์
2. วิธีตรวจภาพต่อมไทรอยด์ด้วยอัลตราซาวด์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะใช้เจลทาผิวหนังตรงบริเวณที่ตรวจ ใช้เครื่องตรวจอัลตราซาวด์กดและเคลื่อนไปตามตำแหน่งที่ต้องการ เมื่อตรวจเสร็จ แพทย์จะเช็ดเจลออกให้จนหมด
3. วิธีตรวจบริเวณลำคอด้วยการเจาะคอตรวจไทรอยด์
แพทย์จะทำความสะอาดบริเวณผิวหนังที่ตะทำการเจาะ โดยเจาะบริเวณส่วนลำคอด้วยเข็มขนาดเล็ก ( Needle Biopsy) ทำการดูดเซลล์ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ นำไปวิเคราะห์ชิ้นเนื้อในห้องปฎิบัติการ เพื่อตรวจสอบเนื้อเยื่อว่าเป็นมะเร็ง คอพอกเป็นพิษ และซีสต์หรือไม่
ผู้ที่ควรได้รับการตรวจหัวใจ สมอง ปอด ไทรอยด์ มีดังต่อไปนี้
ตรวจหัวใจ สมอง ปอด ไทรอยด์ เป็นการตรวจสุขภาพเพื่อตรวจเช็กการทำงานที่ผิดปกติที่จะเกิดขึ้นกับอวัยวะที่สำคัญอย่างหัวใจ สมอง ปอด ที่มีระบบการทำงานสัมพันธ์กันมาโดยตลอด รวมไปถึงการตรวจไทรอยด์ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการผลิตฮอร์โมนในร่างกายทำงานผิดปกติจนร่างกายเสียสมดุล
หากคุณต้องการโปรแกรมตรวจหัวใจ สมอง ปอด รวมทั้งตรวจไทรอยด์ครบจบในโปรแกรมเดียว ขอแนะนำโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ พร้อมเครื่องมือที่ทันสมัย สามารถตรวจค้นหาโรคได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และใช้เวลาการตรวจเพียงวันเดียว หากคุณสนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่
References
Matt, M. (2022, Dec 9). How Your Heart and Lungs Work Together. HealthCentral.
https://www.healthcentral.com/article/how-the-heart-and-lungs-work-together
N.D. (2022, Apr 15). Cardiac CT for Calcium Scoring. Radiologyinfo.
https://www.radiologyinfo.org/en/info/ct_calscoring
N.D. (2022, Mar 24). HOW THE LUNGS WORK The Lungs. National Heart, Lung, and Blood Institute.
https://www.nhlbi.nih.gov/health/lungs#:~:text=Your%20brain%20controls%20your%20breathing,prevent%20lung%20injury%20and%20disease.
Marian, E. (2023, Jan 25). What Is a Carotid Doppler Test?. Verywellhealth.
https://www.verywellhealth.com/carotid-doppler-2967718
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)