บทความสุขภาพ

สัญญาณเตือนก่อนตรวจไทรอยด์ มีอะไรบ้าง? เช็กก่อน รักษาก่อน!

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567



โรคไทรอยด์ เป็นอาการผลิตปริมาณฮอร์โมนได้มากกว่าหรือต่ำกว่าปกติ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายทั้งหมดเกิดภาวะรวน นำไปสู่สภาพร่างกายเสื่อมโทรมและจิตใจที่แปรปรวนได้
 
โดยโรคไทรอยด์นี้พบได้ในเพศหญิงส่วนใหญ่ที่อายุ 16-40 ปี  เป็นโรคภัยที่มองข้ามไม่ได้ หากปล่อยไว้ โรคร้ายนี้สามารถนำอันตรายสู่ชีวิตคุณได้

ดังนั้นการ “ตรวจไทรอยด์” เป็นจุดเริ่มต้นของการตรวจเช็คสุขภาพที่สำคัญในการยับยั้งและรักษาโรคไทรอยด์นี้ได้ แล้วขั้นตอนการตรวจไทรอยด์ มีวิธีการดำเนินการรักษาอะไรบ้าง วิธีตรวจคอพอกเป็นอย่างไร และใครบ้างที่ควรตรวจ ทางทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ จะพาผู้อ่านทำความเข้าใจการตรวจหาไทรอยด์ได้ในบทความนี้


สารบัญบทความ


ทำความรู้จักโรคไทรอยด์



โดยทั่วไปการตรวจไทรอยด์แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่
 

1. โรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ (Hyperthyroidism)


โรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ (Hyperthyroidism) เป็นภาวะอาการของต่อมไทรอยด์ที่สร้างฮอร์โมน เมตาบอลิซึม (Metabolism) ในช่วยเผาผลาญสารอาหารที่เข้าสู่ร่างกายให้กลายเป็นพลังงานมากเกินไป จนกลายเป็นพิษที่ทำให้ร่างกายของคนไข้เกิดความเสียสมดุล 

ยกตัวอย่างอาการ เช่น น้ำหนักลดลงแบบเฉียบพลัน การทำงานของเลือดไม่คงที่นำไปสู่การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติและมีประจำเดือนน้อยลง อีกทั้งยังสร้างภาวะอารมณ์ไม่มั่นคง หงุหงิดง่าย ฉุนเฉียว เป็นต้น   
 

2. โรคต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ (Hypothyroidism)


โรคต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ (Hypothyroidism) หรือภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นภาวะอาการของต่อมไทรอยด์ที่สร้างฮอร์โมนเมตาบอลิซึม (Metabolism) ภายในเลือด เพื่อช่วยเผาผลาญสารอาหารที่เข้าสู่ร่างกายให้กลายที่น้อยเกินไป จนกลายเป็นพิษที่ทำให้ร่างกายของคนไข้เกิดความเสียสมดุล

ตัวอย่างอาการ เช่น น้ำหนักเพิ่มขึ้นแบบรวดเร็ว ตัวบวม หน้าบวม อ่อนเพลียง่าย ง่วงนอนบ่อย การเต้นของหัวใจช้าลง ท้องผูก และสร้างภาวะจิตใจให้เศร้าหมอง นำไปสู่โรคทางจิตใจอย่างโรคซึมเศร้าอีกด้วย   
 

3. โรคก้อนเนื้อที่ต่อมไทรอยด์


โรคก้อนเนื้อที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Nodule) เป็นภาวะความผิดปกติที่เกิดเนื้องอกเป็นก้อนเจริญเติบโตอยู่ในต่อมไทรอยด์ข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง โดยชนิดก้อนเนื้อที่งอกบริเวณต่อมไทรอยด์แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ 

เนื้องอกชนิดไม่ร้ายของต่อมไทรอยด์ (Thyroid Adenoma) และ เนื้องอกชนิดเป็นพิษร้ายของต่อมไทรอยด์ (Toxic Adenoma) ที่มีผลต่อการสร้างฮอร์โมนที่ผิดปกติต่ออวัยวะภายในร่างกาย ซึ่งอาจนำไปสู่ โรคไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ และ ไทรอยด์ขาดฮอร์โมนได้ หรือหากก้อนเนื้อเป็นก้อนเนื้อร้ายอาจนำไปสู่มะเร็งต่อมไทรอยด์  (Thyroid Carcinoma) ที่ทำลายระบบการทำงานของร่างกายทั้งหมด 


อาการสัญญาญเตือนโรคไทรอยด์



โดยทั่วไป อาการเริ่มต้นของผู้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไทรอยด์จะแตกต่างกันไปตามชนิดของโรค มีดังนี้
 

โรคต่อมไทรอยด์ชนิดทำงานมากกว่าปกติ (Hyperthyroidism)
 

  • ผมแห้ง
  • นอนไม่หลับ
  • หงุดหงิดง่าย
  • ขับถ่ายบ่อย
  • ผิวด่างขาว ซีดเซียว
  • ขี้ร้อน เหงื่อออกมากกว่าปกติ
  • หัวใจเต้นไม่คงที่ ใจสั่น เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • กินเยอะมากขึ้นแต่น้ำหนักลดลงมากกว่าปกติ

โรคต่อมไทรอยด์ชนิดทำงานต่ำกว่าปกติ (Hypothyroidism)

  • ผมร่วง
  • ง่วงนอนง่าย
  • เกิดภาวะซึมเศร้า
  • ท้องผูก ขับถ่ายไม่ออก
  • ผิวแห้ง หยาบกระด้าน
  • ขี้หนาว เหงื่อออกน้อยกว่าปกติ
  • กินน้อยลงแต่น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ

 


วิธีเช็คต่อมไทรอยด์เบื้องต้นด้วยตนเอง

วิธีตรวจหาไทรอยด์ด้วยตัวเองแบบเบื้องต้น มีดังต่อไปนี้

  1. ให้ผู้ป่วยยืนตัวตรงอยู่หน้ากระจก ยืดลำคอ แล้วหันทางซ้ายและขวาช้า ๆ เพื่อสังเกตบริเวณลำคอมีก้อนบวมขึ้นหรือไม่
  2. ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางทั้งสองข้าง แล้วกดคลำเบา ๆ ขึ้นและลง จากด้านหลังไปหน้าของลำคอพร้อมกัน
  3. ระหว่างการคลำหากได้รับสัมผัสก้อนเนื้อบวมบริเวณลำคอ ให้ผู้ป่วยคลึงเบา ๆ เล็กน้อย
  4. เมื่อพบว่าสิ่งที่สัมผัสเป็นก้อนที่บวมออกมาผิดปกติบริเวณลำคอ ให้ทำการนัดโรงพยาบาลเพื่อเตรียมตัวก่อนตรวจไทรอยด์กับแพทย์เฉพาะทาง

การตรวจคัดกรองโรคไทรอยด์



การตรวจหาความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ เป็นการตรวจสภาพการทำงานต่อมไทรอยด์ของคนไข้แบบเบื้องต้น โดยวิธีการตรวจไทรอยด์นั้น จะใช้วิธีตรวจเลือดเพื่อดูระดับการทำงานของฮอร์โมนภายในร่างกาย การตรวจฮอร์โมนภายในต่อมใต้สมอง และการตรวจแอนติบอดี้ของต่อมไทรอยด์โดยตรง ในแต่ละการวินิจฉัยตรวจไทรอยด์แต่ละวิธีการนั้น ทางแพทย์จะหาวิธียับยั้งและรักษาโรคไทรอยด์ได้ถูกจุด

การตรวจไทรอยด์ มีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากต่อมไทรอยด์เป็นอวัยวะที่ผลิตและควบคุมฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดไปทั่วตามร่างกายทุกที่ หากละเลยการตรวจไทรอยด์ อาจทำให้ตัวฮอร์โมนที่ถูกผลิตแบบไม่สม่ำเสมอนั้น สร้างกระทบกระเทือนต่อการทำงานอวัยวะทั่วร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้าได้ 


ใครที่ควรเข้ารับการตรวจไทรอยด์

บุคคลที่ควรตรวจไทรอยด์ มีดังต่อไปนี้

  • บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
  • มีอาการกลืนน้ำลายและอาหารลำบาก
  • การสูดเข้า-ออกหายใจไม่เต็มปอด
  • เสียงแหบ เปล่าเสียงออกมาไม่สุด
  • พันธุกรรมของครอบครัวที่เคยเป็นโรคไทรอยด์ หรือ มีเนื้องอกบริเวณต่อมหมวกไตมาก่อน

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจไทรอยด์

การเตรียมตัวก่อนตรวจไทรอยด์ ผู้ป่วยสามารถทานอาหารมาก่อนเข้าตรวจไทรอยด์ได้ตามปกติ ก่อนเข้าห้องตรวจ ให้ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลก่อนเวลา 2 ชม. เพื่อทำการเจาะเลือดวัดผลส่งเข้าสู่ห้องปฎบัติการสำหรับวินิจฉัยชนิดอาการของโรคไทรอยด์ที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ให้เร็วที่สุด


วิธีตรวจไทรอยด์มีอะไรบ้าง



วิธีตรวจไทรอยด์ตามาตรฐาน แบ่งรูปแบบการตรวจ 3 วิธีการดังต่อไปนี้
 

1. ตรวจวัดปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์


การตรวจวัดปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์ไทรอยด์ (Thyroid Hormones) เป็นการวัดผลการทำงานของฮอร์โมนชนิด T3 หรือ free t3 คือ ฮอร์โมนที่ไหลเวียนอยู่ในเลือด และฮอร์โมนชนิด T4 ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อตรวจวัด 2 ฮอร์โมนนี้ มีการทำงานที่ผิดปกติหรือไม่ เนื่องจาก T3 และ T4 มีหน้าที่แปลงสภาพสารอาหารให้กลายเป็นพลังงานแก่ร่างกายเป็นหลัก 

ซึ่งขั้นตอนการตรวจไทรอยด์รูปแบบนี้มีวิธีการ คือ เจาะเลือดตรวจไทรอยด์ เพื่อดูโมเลกุลของฮอร์โมน T3 T4 โดยเฉพาะ หากมีการทำงานผิดปกติจะทำให้ผลตรวจไทรอยด์เกิดภาวะเป็นพิษ และนำไปสู่ภาวะ ไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ และ ไทรอยด์ขาดฮอร์โมน  
 

2. ตรวจวัดการทำงานของต่อมใต้สมอง


การตรวจวัดการทำงานของต่อมใต้สมอง (Thyroid-Stimulating Hormone: TSH) เป็นการวัดการทำงานของปริมาณฮอร์โมนที่ถูกผลิตออกมาจากต่อมใต้สมอง ที่มีหน้าที่ควบคุมการผลิตฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์อีกที  

ซึ่งขั้นตอนการตรวจไทรอยด์รูปแบบนี้มีวิธีการ คือ การเจาะเลือดตรวจไทรอยด์เช่นเดียวกับวิธีการด้านบน แต่จะเห็นได้ชัดเมื่อการวัดระดับการทำงานของ TSH ต่ำ แต่ T3, T4 สูง จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น ภาวะ ไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ หาก TSH สูง แต่ T3, T4 ต่ำ จะถูกวินิจฉัยว่าเป็น ไทรอยด์ขาดฮอร์โมน
 

3. ตรวจวัดระดับปริมาณแอนติบอดีของต่อมไทรอยด์


การตรวจวัดระดับปริมาณแอนติบอดีของต่อมไทรอยด์ (Thyroid Antibodies) เป็นการวัดการทำงานของปริมาณแอนติบอดีในไทรอยด์ ทีมีหน้าที่สร้างระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย เพื่อต่อสู้กับสารแปลกปลอม เช่น ไวรัสและแบคทีเรียโดยเฉพาะ

ซึ่งขั้นตอนการตรวจไทรอยด์รูปแบบนี้มีวิธีการ คือ การเจาะเลือดตรวจไทรอยด์เช่นเดียวกับวิธีการด้านบน หากการวัดค่าแอนติบอดีมีการทำงานผิดปกติ จะทำให้ถูกวินิจฉัยได้ว่าระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายสร้างบาดแผลให้กับเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะของร่างกายแบบฉับพลัน
 

4. ตรวจบริเวณลำคอด้วยการเจาะคอตรวจไทรอยด์


การตรวจบริเวณลำคอด้วยการเจาะคอตรวจไทรอยด์ (Fine Needle Aspiration) เป็นการนำชิ้นส่วนของเซลล์ที่งอกขึ้นผิกปกติตรงบริเวณต่อมไทรอยด์ 

ซึ่งขั้นตอนการตรวจไทรอยด์รูปแบบนี้มีวิธีการ การเจาะบริเวณส่วนลำคอด้วยเข็มขนาดเล็ก ( Needle Biopsy) เพื่อดูดเซลล์ก้อนเนื้องอกเล็ก ๆ จากต่อมไทรอยด์มาทำการวิเคราะห์ชิ้นเนื้อในห้องปฎิบัติการมาทำการประเมินเซลล์ที่ได้รับการเจาะชิ้นเนื้อไทรอยด์ว่า มีความเสี่ยงที่ก้อนเนื้อนั้นเป็นเนื้อมะเร็งหรือไม่


แนะนำวิธีรักษาโรคไทรอยด์ผิดปกติ


 

1. การรักษาด้วยการทานยา


การรักษาด้วยการทานยาต้านไทรอยด์ (Antithyroid Drugs) มีคุณสมบัติการออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ ซึ่งการทานยาต้านไทรอยด์เป็นการรักษาระยะยาว ผู้ป่วยต้องทานยาอย่างสม่ำเสมอเพื่อเห็นผลการรักษาที่ดีขึ้น การตรวจไทรอยด์ในการรักษาวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ผู้ป่วยที่มีอาการไทรอยด์ระยะเริ่มต้น    
 

2. การกลืนแร่ไอโอดีน-131


การกลืนแร่ไอโอดีน-131 (Radioactive Iodine Therapy) เป็นวิธีรักษาผู้ป่วยโดยให้ยาชนิดน้ำหรือแคปซูล ที่มีสารกัมมันตรังสีไอโอดีนกระจัดกระจายทั่วทั้งร่างกาย การกลืนแร่ไอโอดีน-131 ช่วยลดอาการบวมของก้อนเนื้องอกไทรอยด์ให้หายไป การตรวจไทรอยด์ในการรักษาวิธีนี้เหมาะสำหรับ ผู้ป่วยไทรอยด์เริ่มต้น และไม่เหมาะสำหรับหญิงกำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากตัวแร่เป็นน้ำที่ขับเคลื่อนไปทั่วทุกร่างกาย อาจส่งผลให้รสชาติน้ำนมในการให้บุตรมีรสชาติที่เปลี่ยนไป
 

3. การผ่าตัดต่อมไทรอยด์


การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ (Thyroid Surgery) เป็นการผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกบริเวณไทรอยด์ออกให้หมด การตรวจไทรอยด์ในการรักษาวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีก้อนโตตรงต่อมไทรอยด์ หรือ มีภาวะคอพอก จนบริเวณลำคอบวมเกินทำให้ระบบการหายใจและระบบการกลืนอาหารติดขัดเท่านั้น 


ข้อสรุป

การตรวจไทรอยด์ เป็นการตรวจเช็คสุขภาพของการผลิตปริมาณฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ เพื่อตรวจเช็คการทำงานที่ผิดปกติ เพื่อป้องกันไม่ให้สารฮอร์โมนผิดปกติเหล่านี้ทำการกระจัดกระจายเข้าเส้นเลือดทั่วระบบอวัยวะส่วนอื่น ๆ ภายในร่างกายให้เสียสมดุล 

หากต้องการตรวจไทรอยด์ ทางแพทย์ขอแนะนำการตรวจสุขภาพประจำปีของทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ พร้อมอุปกรณ์ตรวจไทรอยด์ ที่ทันสมัย สะอาด และอยู่ภายใต้การควบคุมกับทีมแพทย์มือาชีพ โดยติดต่อสอบถามได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


แอดไลน์ สมิติเวช ไชน่าทาวน์
บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​