บทความสุขภาพ

“เท้าเปื่อย” ต้นเหตุของโรคน้ำกัดเท้า ป้องกันยังไงให้ถูกวิธี

บทความโดย: seoteam seoteam วันที่อัพเดท: 3 มกราคม 2568

เท้าเปื่อย

ด้วยสภาพอากาศเมืองไทยที่ร้อนชื้นตลอดปี เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาด้านผิวหนังมากมาย โดยเฉพาะบริเวณเท้า หนึ่งในปัญหาที่พบได้บ่อยคือ “อาการเท้าเปื่อย” ซึ่งเป็นหนึ่งในโรคเท้าที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรียที่สะสมจนทำให้ผิวหนังอักเสบ แดง คัน และลอกเป็นขุย หากปล่อยไว้โดยไม่รักษาอย่างถูกวิธี อาจลุกลามจนกลายเป็นแผลติดเชื้อรุนแรงได้ในที่สุด

ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับสาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาอาการเท้าเปื่อยอย่างถูกต้องไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้เข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคและสามารถป้องกันได้อย่างถูกต้อง


สารบัญบทความ


โรคน้ำกัดเท้าและอาการเท้าเปื่อย คืออะไร

เท้าเปื่อย คืออะไร

เท้าเปื่อย เป็นอาการที่ผิวหนังบริเวณเท้ามีลักษณะเปื่อย นิ่ม และลอกเป็นขุย มักเกิดจากความชื้นสะสมเป็นเวลานาน เป็นโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนที่สวมรองเท้าปิดทึบตลอดวัน ซึ่งสภาวะดังกล่าวเป็นแหล่งเพาะเชื้อราที่เท้าได้ดี เมื่อมีเชื้อราเข้ามาเจริญเติบโต จะทำให้เกิดโรคน้ำกัดเท้าที่มีอาการคัน ผิวหนังแตก และอาจมีกลิ่นเหม็น ดังนั้นอาการเท้าเปื่อยจึงมักพบร่วมกับการติดเชื้อราที่เท้าเสมอ เพราะสภาพความชื้นที่ทำให้ผิวเปื่อยนั้น เอื้อต่อการเจริญของเชื้อราด้วยนั่นเอง


โรคน้ำกัดเท้ามีอาการเป็นอย่างไร?

โรคน้ำกัดเท้าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในคนที่ต้องสวมรองเท้าเป็นเวลานาน หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง ซึ่งเป็นสภาวะที่เชื้อราจะเริ่มเจริญเติบโตและแพร่กระจายตามผิวหนังเท้า โดยโรคน้ำกัดเท้าจะมีระดับของอาการ 3 ระยะ ดังนี้

  • ระยะเริ่มต้น: โรคน้ำกัดเท้าอาการระยะแรก จะมีอาการเท้าเปื่อย ผิวหนังเท้าจะเริ่มมีอาการคันเล็กน้อย โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้า ผิวอาจดูขาวซีดและนิ่มกว่าปกติ บางคนอาจสังเกตเห็นผื่นคันหลังเท้าเป็นจุดแดงเล็ก ๆ ในช่วงนี้จะยังไม่มีกลิ่นเหม็นอับเกิดขึ้น
  • ระยะกลาง (ติดเชื้อแบคทีเรีย): มีลักษณะคล้ายเชื้อราที่เท้า มีตุ่มใสเล็ก ๆ เกิดขึ้นตามผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้าและฝ่าเท้า พร้อมอาการคันที่รุนแรงขึ้น ผิวหนังจะเริ่มลอกเป็นขุย มีกลิ่นเหม็นอับชัดเจน และอาจมีอาการแสบร้อนร่วมด้วย
  • ระยะรุนแรง (ติดเชื้อรา) : เท้าเป็นเชื้อราระยะลุกลาม ผิวหนังจะแตกและลอกเป็นแผล มีการอักเสบแดงชัดเจน ตุ่มน้ำใสอาจแตกออกทำให้เกิดแผลเปียกชื้น เสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ทำให้มีอาการปวด บวม และอาจมีหนองได้ ในระยะนี้การเดินอาจเจ็บปวดและทำได้ลำบาก

กลุ่มเสี่ยงต่ออาการเท้าเปื่อย

สำหรับกลุ่มคนที่เสี่ยงต่ออาการเท้าเปื่อย มักจะเป็นกลุ่มที่ต้องทำกิจกรรมในพื้นที่เปียกชื้นอย่าง

ช่วงที่เกิดน้ำท่วมหลายพื้นที่ การต้องลุยน้ำเป็นเวลานานทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอาการเท้าเปื่อยได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคดังนี้

  • คนทำงานที่ต้องสวมรองเท้าเป็นเวลานานเช่น พนักงานออฟฟิศ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พนักงานขาย ที่สวมรองเท้าตลอดทั้งวันทำให้เท้าอับชื้นและเกิดการสะสมเชื้อแบคทีเรีย
  • นักกีฬาหรือคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ เหงื่อที่ออกมากทำให้รองเท้าและถุงเท้าชื้นแฉะ
  • ผู้ที่ทำงานในพื้นที่เปียกชื้น เช่น แม่ครัว พ่อครัว พนักงานล้างจาน คนทำความสะอาด
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้าหรือมีภูมิต้านทานต่ำ
  • ทหารหรือตำรวจ ที่ต้องสวมรองเท้าบูทหรือรองเท้าหนังตลอดวัน

วิธีการป้องกันโรคน้ำกัดเท้า

การดูแลเท้าให้แห้งสะอาดอยู่เสมอและสวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม เป็นวิธีป้องกันอาการเท้าเปื่อยและโรคน้ำกัดเท้าที่ดีที่สุด นอกจากนี้มาดูวิธีป้องกันที่ทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • เช็ดเท้าให้แห้งทุกครั้งหลังจากล้างทำความสะอาด โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้า
  • สวมถุงเท้าที่ระบายอากาศได้ดีเช่น ถุงเท้าฝ้าย และไม่ใส่ถุงเท้าเดิมซ้ำ ๆ ควรจะเปลี่ยนถุงเท้าทุกวันหรือเมื่อถุงเท้าเริ่มเปียกชื้นควรเปลี่ยนออกทันที
  • เลือกรองเท้าที่พอดีเท้า มีช่องระบายอากาศ และสลับคู่ที่ใส่ทุกวันเพื่อให้รองเท้าแห้งสนิท ไม่เหม็นอับ
  • ใช้แป้งโรยเท้าก่อนสวมถุงเท้าและรองเท้า ช่วยดูดซับความชื้น
  • หากต้องลุยน้ำ ให้รีบล้างเท้าและเช็ดให้แห้งทันที

วิธีรักษาอาการเท้าเปื่อย โรคน้ำกัดเท้า

วิธีรักษาโรคน้ำกัดเท้า

การรักษาอาการเท้าเปื่อยและน้ำกัดเท้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แนวทางหลัก ๆ ดังนี้

การรักษาด้วยยา: การรักษาโรคน้ํากัดเท้าสามารถใช้ยาทาฆ่าเชื้อราตามที่แพทย์สั่ง โดยใช้อย่างต่อเนื่อง 2-4 สัปดาห์ แม้อาการดีขึ้นแล้ว หากยังมีอาการเท้าเปื่อย ลอก เชื้อรา รุนแรง อาจต้องรับประทานยาต้านเชื้อราร่วมด้วย

การรักษาด้วยวิธีพื้นฐาน: รักษาความสะอาด เช็ดเท้าให้แห้งสนิท โดยเฉพาะซอกนิ้วเท้า และสวมรองเท้าที่ระบายอากาศได้ดี หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าที่เปียกชื้น

การรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ: การรักษาน้ำกัดเท้าด้วยวิธีธรรมชาติ สามารถทำได้โดยแช่เท้าในน้ำเกลือหรือน้ำส้มสายชูเจือจาง วันละ 15-20 นาที ทาน้ำมันมะพร้าว หรือใช้ว่านหางจระเข้ช่วยลดการอักเสบ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นใน 1-2 สัปดาห์ควรพบแพทย์ในทันที


อาการเท้าเปื่อย สัญญาณของโรคเท้า

อาการเท้าเปื่อยเป็นอาการที่เกิดจากการสะสมของความชื้นเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดแบคทีเรียและเชื้อราขึ้น และมีเป็นสาเหตุหลักของโรคน้ำกัดเท้า โดยวิธีการป้องกันและการรักษาก็สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยหลีกเลี่ยงให้เท้าเปียกเป็นเวลานาน เช็ดเท้าให้แห้งเสมอ หากอาการเท้าเปื่อยรุนแรงหรือเป็นโรคน้ำกัดเท้าควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

สำหรับใครที่มีอาการเท้าเปื่อยหรือกำลังเป็นโรคน้ำกัดเท้าและต้องการพบคุณหมอ สมิติเวช ไชน่าทาวน์ พร้อมให้การดูแลรักษาโดยทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญโรคเท้าทั้ง โรคน้ำกัดเท้า โรครองช้ำโรคเท้าแบน หรืออาการตาปลาที่เท้า ไปจนถึงแผลเบาหวานที่เท้า พร้อมเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่


References

Mayo Clinic Staff. (2023, 8 Sept). Athlete's foot - Symptoms and causes https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/athletes-foot/symptoms-causes/syc-20353841

Medical Team. (2021, 1 Dec). What Is Athlete's Foot & How Do You Treat It? https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/22139-athletes-foot-tinea-pedis

Ramin Fathi, MD. (2023, 31 May). Athlete's Foot - Symptoms and Causes https://www.pennmedicine.org/for-patients-and-visitors/patient-information/conditions-treated-a-to-z/athletes-foot

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​