บทความสุขภาพ

แผลเบาหวานที่เท้า ดูแลรักษาแผลก่อนสายเกินไป

บทความโดย: seoteam seoteam วันที่อัพเดท: 29 พฤศจิกายน 2567

 แผลเบาหวานที่เท้า

ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่ย่อมทราบดีว่าโรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่มีอาการซับซ้อนและยากต่อการรักษา อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย และหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยคือ การอักเสบที่เนื้อเยื่อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แผลเบาหวานที่เท้า” หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้ทำการดูแลอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่แผลเบาหวานติดเชื้อที่รุนแรง มีอาการแทรกซ้อนจากโรคเท้า และทำให้แผลเบาหวานลุกลามมากขึ้นจนต้องตัดขาในท้ายที่สุด


สารบัญบทความ


แผลเบาหวานที่เท้า คืออะไร รู้ทันสาเหตุ!

แผลโรคเบาหวาน

แผลเบาหวานที่เท้า (Diabetic Foot Ulcers) เป็นแผลเรื้อรังบริเวณเท้าของผู้ป่วยเบาหวานซึ่งมีผลมาจากการที่ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดสูงจนไปจับกับเส้นเลือดทำให้หลอดเลือดตีบแข็งหรืออุดตัน ส่งผลให้แผลบริเวณเท้าฟื้นฟูตัวเองช้า ติดเชื้อได้ง่าย และลุกลามได้เร็ว

เมื่อระบบประสาทส่วนปลายถูกทำลายจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง การรับรู้ความรู้สึกที่เท้าจะลดลง ผู้ป่วยอาจไม่รู้สึกถึงการเป็นแผลที่เท้า หรือการกดทับในบริเวณเท้า อาจทำให้แผลเบาหวานที่เท้าขนาดเล็ก อย่างเช่น เล็บขบหรือตาปลาที่เท้าลุกลามเป็นแผลใหญ่โดยไม่รู้ตัว


ทำไมแผลเบาหวานมักเกิดที่เท้า 

สาเหตุของการเกิดแผลเบาหวานที่เท้าพบได้บ่อยมากกว่าส่วนอื่น ๆ เป็นเพราะเท้าคืออวัยวะที่ถูกใช้งานมากที่สุดในชีวิตประจำวัน เมื่อระบบประสาทส่วนปลายถูกทำลายจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง การรับรู้ความรู้สึกที่เท้าจะลดลง ทำให้เมื่อเดินไปเตะหรือเหยียบวัตถุที่ทำให้เกิดแผล จะรู้สึกชา ๆ ไม่ได้รู้สึกเจ็บ ทำให้กว่าจะรู้ตัวแผลก็ติดเชื้อ หรือเรื้อรังเสียแล้ว


ลักษณะของแผลเบาหวานที่เท้าเป็นอย่างไร?

แผลคนเป็นเบาหวานจะเกิดขึ้นบริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยทั่วไปลักษณะแผลเบาหวานที่เท้าจะแตกต่างจากแผลปกติอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะขนาดของบาดแผล การลุกลาม และระยะเวลาการสมานแผล โดยรายละเอียดลักษณะของแผลเบาหวานที่เท้า มีดังนี้

  • แผลหายช้า เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีปัญหาเส้นเลือดแดงส่วนปลายตีบหรืออุดตัน ซึ่งทำให้เลือดไปไหลเวียนที่เท้าไม่เพียงพอ ส่งผลทำให้แผลเบาหวานบริเวณเท้าหายช้ากว่าปกติหรืออาจจะลุกลามไปตรงบริเวณอื่น
  • แผลติดเชื้อ เนื่องจากการไหลเวียนเลือดที่เท้าไม่ดีเท่าที่ควรและการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ลดลง ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายเมื่อเกิดแผลเบาหวานที่เท้าและบริเวณอื่น ๆ 
  • แผลเส้นประสาทเสื่อม บาดแผลนี้เกิดจากการที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม ผู้ป่วยมักจะไม่รู้สึกเจ็บปวดที่บาดแผล ถึงแม้ว่าบาดแผลจะมีขนาดใหญ่หรือติดเชื้อก็ตาม
  • แผลขาดเลือด เนื่องจากหลอดเลือดแดงอุดตันในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทำให้เลือดไปเลี้ยงไม่พอ แผลจึงมีลักษณะแห้ง แผลหายได้ช้า และถ้าหากเกิดการติดเชื้อร่วมด้วยความรุนแรงของอาการจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอันตรายถึงขั้นจะต้องตัดขาทิ้งเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อไปลุกลามบริเวณอื่น ๆ

กลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดแผลเบาหวานที่เท้า

กลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดแผลเบาหวานที่เท้าคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานและไม่ได้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเหมาะสม รวมถึงผู้ที่มีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบหลอดเลือดและระบบประสาทที่เท้า หรือผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดเลือดส่วนปลายตีบ หรือภาวะเส้นประสาทเสื่อม มักจะเสี่ยงต่อการเกิดแผลพุพอง แผลเบาหวานที่เท้ามากขึ้น 

เนื่องจากการไหลเวียนเลือดไม่ดีและสูญเสียความรู้สึกที่เท้า ทำให้ไม่รู้ตัวเมื่อเกิดการบาดเจ็บหรือกดทับที่เท้า อีกทั้งผู้ที่ติดเชื้อซ้ำก็จะมีโอกาสเกิดแผลได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังรวมถึงผู้ที่สูบบุหรี่ มีเท้าผิดรูป เท้าเป็นตาปลา และผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงหรือไขมันในเลือดสูงก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลเบาหวานที่เท้าได้เช่นกัน


อันตรายและความรุนแรงจากแผลเบาหวานที่เท้า

แผลเบาหวานที่เท้าเป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงและซับซ้อนของโรคเบาหวาน ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวาน แผลที่ดูเหมือนเล็กน้อยอาจลุกลามจนเกิดการติดเชื้อรุนแรงได้ โดยอันตรายและความรุนแรงจากแผลเบาหวานที่เท้า ดังนี้

  • แผลติดเชื้อ ผู้ป่วยที่มีแผลเบาหวานที่เท้า แผลอาจติดเชื้อแบคทีเรียได้ง่ายและเกิดการลุกลามอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานลดลง
  • สูญเสียการทรงตัว เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ส่งผลทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้สึกที่เท้าลดลง และไม่รู้สึกเจ็บเมื่อเท้าเกิดการบาดเจ็บ
  • แผลเรื้อรังหายช้า เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเรื้อรัง ทำให้การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงที่ปลายประสาทได้ไม่ดีพอ ส่งผลให้แผลได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอที่จะซ่อมแซมตัวเอง จึงทำให้แผลเรื้อรังหายช้า
  • เสี่ยงต่อการสูญเสียอวัยวะ ในกรณีผู้ป่วยเป็นแผลเบาหวานเกิดติดเชื้ออย่างรุนแรงและไม่สามารถรักษาแผลเบาหวานที่เท้าได้ จำเป็นต้องตัดเท้าที่เป็นแผลเบาหวาน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
  • เส้นปลายประสาทเสื่อม ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีภาวะเส้นปลายประสาทเสื่อม ส่งผลทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บ และทำให้ไม่รู้ว่าเกิดแผล ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่แผลจะติดเชื้อและลุกลามมากยิ่งขึ้น

การวินิจฉัยแผลเบาหวานที่เท้า เป็นอย่างไร?

  • ซักประวัติ แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับประวัติอาการของผู้ป่วย เช่น อาการที่เกิดขึ้น ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การใช้ยา เป็นต้น
  • ตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจดูแผลที่เท้าของคุณอย่างละเอียด เช่น ขนาด ความลึก สีของแผล และบริเวณรอบ ๆ แผล 
  • ตรวจเลือด (ABI) เป็นการตรวจวัดแรงดันโลหิตของหลอดเลือดแดงที่ข้อเท้ากับข้อแขน หากได้ค่ามากกว่า 0.9 ถือว่าการไหลเวียนของเลือดส่วนปลายขาปกติ แต่ถ้าหากน้อยกว่า 0.9 การไหลเวียนของเลือดส่วนปลายขามีปัญหา
  • ตรวจคลื่นเสียง เพื่อดูว่าเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเท้าอุดตันหรือเส้นเลือดตีบหรือไม่
  • ตรวจวัดระดับออกซิเจนบริเวณรอบแผล เป็นการตรวจวัดปริมาณออกซิเจนจากหลอดเลือดส่วนปลายสู่ผิวหนังที่ขา เพื่อประเมินว่าเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงแผลมากน้อยเพียงใด หากเลือดไหลเวียนไม่ดี แผลก็จะหายได้ช้า

แผลเบาหวานที่เท้า ดูแลก่อนที่แผลจะลุกลาม จนรักษาให้หายได้ยาก

แผลเบาหวาน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีแผลเบาหวานที่เท้าต้องคอยสังเกต ดูแลรักษา และป้องกันไม่ให้เกิดแผลบริเวณเท้า เนื่องจากแผลเบาหวานอาจลุกลามจนติดเชื้อรุนแรงและนำไปสู่การสูญเสียอวัยวะได้ ดังนั้นการตรวจเบาหวานและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเป็นสิ่งสำคัญที่สุด หมั่นรักษาความสะอาด และใส่รองเท้าที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดแผลเบาหวานที่เท้า 

ที่สมิติเวช ไชน่าทาวน์ พร้อมให้บริการรักษาผู้ป่วยที่อยากทำการรักษาแผลเบาหวานที่เท้าด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการและมีประสบการณ์ พร้อมให้บริการด้วยมาตรฐานการรักษาระดับสากล ร่วมกับเครื่องมือที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ช่วยรักษาผู้ป่วยแผลเบาหวานตั้งแต่ระยะเริ่มต้นโดยการดูแลแผลเฉพาะจุด การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไปจนถึงการให้คำแนะนำในการดูแลเท้าอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและระงับการลุกลามที่แผลเบาหวานของผู้ป่วย 

ช่องทางติดต่อ


อ้างอิง

Amit Sapra; Priyanka Bhandari. (2023, June 21). Diabetes. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK551501/#:~:text=Diabetes%20mellitus%20(DM)%20is%20a,%2C%20and%20steroid%2Dinduced%20diabetes

Erika F. Brutsaert. (2023, Nov). Diabetes Mellitus (DM). https://www.merckmanuals.com/home/hormonal-and-metabolic-disorders/diabetes-mellitus-dm-and-disorders-of-blood-sugar-metabolism/diabetes-mellitus-dm

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​