การตรวจ ABI วัดความแข็งตัวของเลือด วินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน
บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567
“โรคหลอดเลือดแดงตีบตัน” คือ ภาวะการอุดตันภายในเส้นเลือดตีบของบริเวณส่วนข้อแขนและข้อขาเป็นต้นไป โดยเกิดจากการอุดตันของไขมัน จุลินทรีย์ หรือเม็ดเลือดแดงเกิดการแข็งตัวจนเกาะกลุ่มขวางทางเดินเลือดไม่สามารถไหลเวียนช่วงแขนและขาได้
จึงทำให้ การตรวจ ABI เป็นตัวชี้วัดหาค่าสัดส่วนแปรผลเลือดจากการวัดความดันที่ขาแขน เพื่อนำผลลัพธ์นี้ไปเทียบค่า ABI แต่ละเกณฑ์ในการรักษาที่ถูกต้อง
แล้วสาเหตุโรคหลอดเลือดแดงตีบตันเกิดขึ้นจากปัจจัยใด? อาการมีผลข้างเคียงอย่างไร? มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง? ทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ จะพาผู้อ่านทำความเข้าใจการตรวจ ABI เพื่อเป็นดัชนีในการหาค่าความดันในการรักษาอย่างถูวิธีได้ในบทความนี้
สารบัญบทความ
โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ หรือ Peripheral Arterial Disease คือ ภาวะการตกตะกอนของจุลินทรีย์หรือไขมันคอเลสเตอรอลที่ตกค้างในเส้นเลือด ถูกสะสมจนเกาะติดกับช่วงผนังเส้นเลือดส่วนปลายในบริเวณช่วงแขนและขาทั้งสองข้างหรือข้างในข้างหนึ่ง จนทำให้เกิดการขาดเลือดไปเลี้ยงส่วนแขนและขาและภาวะอุดตันในเส้นเลือด
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรค
สาเหตุของการพบเจอโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ คือ ภาวะโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วย เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน และความดันในเลือดสูงกว่ามาตรฐานนั้น มีปริมาณไขมันเลวเยอะกว่าไขมันดี ทำให้พบ
ตรวจไขมันในเลือดสูง นำไปสู่โรคหลอดเลือดแดงอุดตันในเส้นเลือด ก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงที่เลือดส่วนปลายตีบไม่เดินส่วนแขนและขา ทำให้เกิดอาการชา อัมพาตในที่สุด
วิธีสังเกตอาการ
วิธีตรวจโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบด้วยตนเอง สามารถสังเกตได้จากบริเวณช่วงมือและเท้ามีอาการชา หรืออ่อนเพลียกว่าปกติหรือไม่ ลักษณะสีของแขนมีผิวสีที่ซีดลง แขนขาข้างใดข้างหนึ่งอุณหภูมิเย็นกว่าปกติ และหากช่วงแขนหรือเท้าได้รับบาดเจ็บเป็นแผลฉกรรจ์ จะมีอาการหายช้ากว่าปกติ
หากผู้ป่วยมีอาการหนึ่งในอาการดังกล่าวนี้แล้วทำการตรวจชีพจรแล้วไม่เสียงเต้นของเส้นเลือด อาจมีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบได้สูง ควรเข้ารับการตรวจ ABI เพื่อได้รับรักษากับแพทย์เฉพาะทางให้เร็วที่สุด
ABI (Ankle Brachial Index) คือ การตรวจหลอดเลือดแดงบริเวณส่วนปลายตีบส่วนเส้นเลือดใหญ่ที่ขาและแขนเพื่อวัดความดันโลหิต ด้วยการเจาะเลือดแล้วนำผลลัพธ์ทั้ง 2 ส่วนมาเปรียบเทียบกัน เพื่อนำผลชี้วัดของสัดส่วนนี้ไปวินิจฉัยอาการของหลอดเลือดตีบหรือไม่
ประโยชน์ของการตรวจ ABI มีดังนี้
- เป็นผลวินิจฉัยให้ผู้ตรวจ ABI สามารถค้นหาโรคแทรกซ้อน และพฤติกรรมของผู้ป่วย ที่นำไปสู่ภาวะโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบได้
- เพื่อดูความหยืดหยุ่นของการเดินของเลือด มีภาวะติดขัดจากไขมันหรือจุลินทรีย์ตกค้างหรือไม่
- การตรวจ ABI สามารถเป็นผลชี้วัดให้แพทย์เฉพาะทางเลือกวิธีรักษาโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบได้ของผู้ป่วยแต่ละระดับได้อย่างถูกวิธี
บุคคลที่ควรได้รับการตรวจ ABI มีดังนี้
- ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
- ผู้ป่วยที่มีอาการมือและเท้าชาเป็นบางช่วง ลักษณะสีของผิวซีดกว่าอีกข้างปกติ
- ผู้ที่มีมวลดัชนีกายภาพ จากการคํานวณค่า BMI ที่สูงมากกว่า 25 เกินตามมาตรฐาน
- ผู้ที่มีสารในเลือดเช่น โฮโมซีสทีน (Homocysteine) และ ไลโพโปรตีน (Lipoprotein) มีค่าสูงกว่าปกติ
- ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง
- บุคคลในครอบครัวมีประวัติเคยตรวจหัวใจ ผลการตรวจมีระบบการทำงานที่ไม่ปกติ เช่น เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองตีบมาก่อน
โดยทั่วไป การเตรียมตัวตรวจ ABI ผู้ป่วยสามารถทานอาหารครบ 3 มื้อและทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ตามปกติก่อนวันตรวจ หากมีโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อความดันเลือดอย่าง โรคเบาหวาน ความดันในเส้นเลือดสูง โรคอ้วน หรือโรคไต สามารถทานยาประจำได้ เมื่อถึงวันนัดตรวจ ABI ให้ผู้ป่วยสวมใส่เสื้อที่โปร่งและสบายตัว เพื่อให้แพทย์สามารถเจาะเลือดได้สะดวก
ขั้นตอนการตรวจ ABI มีดังนี้
1. ในวันตรวจ ABI ไม่ต้องงดอาหารใด ๆ หากมียาประจำตัว สามารถทานยาได้ตามปกติ
2. สวมใส่เสื้อผ้าที่สบายตัวในวันนัดตรวจ ABI เพื่อให้ทางแพทย์สามารถเจาะเลือดส่วนแขนหรือข้อขาที่มีภาวะโรคเส้นเลือดตีบได้สะดวก
3. หลังจากเจาะเลือดเสร็จเรียบร้อย แพทย์จะให้ผู้ป่วยพักผ่อนประมาณ 15-30 นาทีก่อนฟังผลตรวจ ABI
4. หากมีอาการวินเวียนศีรษะ หน้ามืด หรือจะเป็นลม ควรบอกทางทีมแพทย์เพื่อรักษาผลข้างเคียงจากการตรวจ ABI ทันที
การแปรผล ABI หรือ ABI index คือค่าปกติและค่าผิดปกติ ได้จากการนำค่า ABI index มาคำนวณหาสัดส่วนของค่าแปรผลเลือดจากเครื่อง ABI โดยใช้ความดันซิสโตลิก (Systolic) เป็นค่าตัวบนของแขน และวัดความดันไดแอสโตลิก(Diastolic)เป็นค่าตัวล่างของขา แล้วนำผลทั้งสองข้างมาเทียบค่าผลการตรวจ ABI อยู่ในเกณฑ์ระดับไหน
ในการหา ABI index มีวิธีวัดดังตัวอย่างต่อไปนี้ เช่น ความดันแขนมีค่า 120 และขา 120 จึงเป็นสัดส่วนหาค่าดัชนี 120/120 = 1
ดังนั้น สัดส่วนแปรผลเลือดมีผลลัพธ์เท่ากับ 1 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ผู้ป่วยสามารถนำผลตรวจ ABI จากการหาสัดส่วนแต่ละข้างในการแปรผลแต่ละเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- สัดส่วนของการวัดเส้นเลือดที่ข้อเท้า(Ankle ratio)และข้อแขน(Brachial ratio)ต้องอยู่ในเกณฑ์มากกว่า 0.90 อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- สัดส่วนมีค่าน้อยกว่า 0.90 ถือว่ามีการตีบในเส้นเลือดที่ขา
- สัดส่วนมีค่าน้อยกว่า 0.6 มีการตีบของหลอดเลือดและมีอาการขาดเลือดที่ขา
- สัดส่วนมีค่าน้อยกว่า 0.5 มีการตีบของหลอดเลือดที่ขาในหลายระดับดังต่อไปนี้
- สัดส่วนมีค่าน้อยกว่า 0.3 มีการตีบของหลอดเลือดที่ขาขั้นรุนแรง ต้องทำการรักษาโดยด่วน
- สัดส่วนมีค่าน้อยกว่า 0.26 มีอาการปวดขาจากอาการเส้นเลือดตีบ
- สัดส่วนมีค่าน้อยกว่า 0.2 เซลล์ในเนื้อเยื่อบริเวณช่วงขาและกล้ามเนื้อมีการตายเนื่องจากเส้นเลือดตีบ ที่เกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยง
เนื่องจากการตรวจ ABI เป็นการตรวจที่ต้องใช้วิธีการเจาะเลือดเพื่อนำไปตรวจ ดังนั้นการดูแลตัวเองหลังจากเข้ารับการตรวจ ABI ผู้ที่เข้ารับการตรวจจะต้อง
- พักฟื้นประมาณ 15-30 นาที หลังจากนั้นสามารถทำกิจกรรมตามปกติได้
- หากเฝ้าดูอาการหลังการตรวจแล้วพบว่ามีอาการอื่น ๆ นอกจากปวดเล็กน้อยบริเวณที่ตรวจ ให้รีบแจ้งแพทย์ให้ทราบ หรือหากผลตรวจมีความผิดปกติ ทางแพทย์อาจจะขอทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยอาการ
เมื่อผลตรวจ ABI ของผู้ป่วยมีเกณฑ์เข้าข่ายโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ สามารถแบ่งการรักษาได้ด้วย 2 วิธีการดังนี้
การใช้ยารักษา
ผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคความดันในโลหิตสูง สามารถรับประทานยาควบคู่กับการรักษาโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบด้วยกันได้
การผ่าตัดรักษา
- การผ่าตัดบายพาส (Coronary Artery Bypass Grafting: CABG) คือ การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจโดยใช้บอลลูนและขดลวดขยายเส้นทางของเลือดที่อุดตันโดยไขมันหรือจุลินทรีย์ เพื่อเพิ่มแรงดันหลอดเลือดส่วนของแขนและขาที่มีภาวะตีบตันหรืออุดตัน ในการส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดที่ดีขึ้น
- การรักษาด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือด (Tissue Plasminogen Activator : tPA) คือการฉีดสารละลายลิ่มเลือดเข้าสู่หลอดเลือดแดงที่ถูกปิดกั้นโดยเม็ดเลือดที่แข็งและอุดกั้นเส้นทาง ให้ถูกละลายตัวแล้วสลายในที่สุด
วิธีป้องกันโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ มีดังนี้
- เลิกเสพสารสิ่งเสพติด เช่น การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อลดค่า BMI ให้ต่ำลงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
- หากมีอาการบาดเจ็บช่วงข้อเท้าและข้อแขนเป็นต้นไป ใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง สวมใส่ถุงเท้าที่สะอาด แห้ง ไม่อับไม่ชื้น และสวมใส่รองเท้าที่พอดีกับขนาด เพื่อป้องกันรองเท้ากัดจนเกิดรอยแผลได้
- นัดพบกับแพทย์เพื่อตรวจ ABI ทุก 6 เดือน
ผู้ที่มีภาวะความเสี่ยงต่อการเป็นภาวะโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบไม่เดิน และต้องการหาสถานที่ตรวจรักษากับแพทย์ที่มีประสบการณ์ แต่ไม่ทราบจะหาสถานพยาบาลตรวจไขมันในเลือด และ
ความเข้มของเลือดบริเวณแขนและขา ที่ไหนดี ทางสถาบันรักษาโรคหลอดเลือดแขนและขาไม่เดิน โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ มีแพ็กเกจตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน และโปรโมชันสำหรับการตรวจ ABI ราคาพิเศษให้กับลูกค้าดังนี้
โปรแกรมตรวจสุขภาพ
ประจำปี
|
Basic
<30 ปี
|
Advanced
30-40 ปี
|
Executive
40-50 ปี
|
Absolute
50 ปีขึ้นไป
|
Longevity
60 ปีขึ้นไป
|
อัตราค่าบริการปกติ |
6,485 |
ชาย 13,365
หญิง 14,965 |
ชาย 29,865
หญิง 35,290 |
ชาย 38,285
หญิง 47,030 |
ชาย 43,740
หญิง 54,085 |
อัตราพิเศษ |
2,800 |
ชาย 8,000
หญิง 8,000 |
ชาย 13,500
หญิง 17,500 |
ชาย 17,700
หญิง 22,700 |
ชาย 20,000
หญิง 23,200 |
ราคา Online และหลังไลน์ @samitivejchinatown ลด 10% |
2,520 |
ชาย 7,200
หญิง 7,200 |
ชาย 12,150
หญิง 15,750 |
ชาย 15,930
หญิง 20,700 |
ชาย 18,000
หญิง 21,200 |
การตรวจ ABI เป็นการตรวจเช็คทางเดินเลือดบริเวณข้อแขนและข้อขาเป็นต้นไป ว่ามีภาวะการเดินเลือดที่ตีบตันจากปัจจัยใดบ้างไม่ว่าจะเป็นภาวะอายุมากขึ้น พันธุกรรม และพฤติกรรมของผู้ป่วย เพื่อหลีกเลี่ยงโรคแทรกซ้อนจากการเสื่อมสภาพการทำงานของการเดินเลือดช่วงแขนและขา
ทางแพทย์ขอแนะนำการ
ตรวจสุขภาพประจำปีของทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ภายใต้การปฎิบัติของแพทย์มืออาชีพ ที่มีแพคเกจตรวจค่า ABI ราคาย่อมเยาว์ และพร้อมรายงานผลตรวจค่า ABI แต่ละส่วนของช่วงแขนและขาได้ทันที โดยติดต่อสอบถามได้ที่ Line
@samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เอกสารอ้างอิง :
Mayo Clinic Staff (2021, Feb 23). 12 Ankle-brachial index
mayoclinic
https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/ankle-brachial-index/about/pac-20392934
Felson,S. (2021, Oct 31). 12 Ankle-Brachial Index (ABI) Test
webmd
https://www.webmd.com/heart-disease/ankle-brachial-test