บทความสุขภาพ

ตรวจความเข้มของเลือด คืออะไร​ ทำไมต้องตรวจ บอกอะไรได้บ้าง

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567



“เลือด” คือเซลล์ที่มีความเข้มของเลือดเม็ดสีแดง มีลักษณะเป็นทรงโดนัทก้อนจิ๋ว ไร้รูเจาะ ในจำนวนปริมาตรนับไม่ถ้วน ที่ทำการกระจัดกระจายไหลเวียนและหล่อเลี้ยงอวัยวะภายในร่างกายมนุษย์ตลอดเวลา 

ตัวเม็ดเลือดแดงนี้ เป็นปัจจัยสำคัญในการตรวจสุขภาพ เพื่อวินิจฉัยความเข้มของเลือดในตัวของคนไข้มีลักษณะรูปร่าง สี ปริมาณการผลิต และองค์ประกอบในเลือด ที่ผิดปกติหรือไม่ เพื่อให้ทางแพทย์ได้พิจารณาในการค้นหาต้นตอของโรคเจ็บป่วยที่ผู้ป่วยประสบปัญหาความเจ็บป่วย

จึงทำให้ “การตรวจความเข้มของเลือด” เป็นการวัดระดับกลไกลการผลิตของเลือดที่มีผลต่อการทำงานภายในร่างกายทั้งหมด โดยมีวิธีการตรวจอย่างไร ความเข้มข้นของเลือดสามารถเกิดโรคแทรกซ้อนได้จากภัยอย่างไรบ้าง ทางทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ จะพาผู้อ่านทำความเข้าใจการตวจความเข้มของเลือดได้ในบทความนี้
 


สารบัญบทความ


การตรวจวัดความเข้มของเลือด (Hematocrit)

การตรวจความเข้มของเลือด (Hematocrit) คือ การตรวจสอบความสมบูรณ์แบบของจำนวนปริมาตรเลือดที่ถูกผลิตออกมานั้น มีจำนวนมากพอหรือไม่ ในการทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนส่งออกซิเจน สำหรับขับของเสียออกจากร่างกาย นำก๊าชคาร์บอนไดออกไซต์ เป็นตัวควบคุมอุณหภูมิและเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันแก่เจ้าของร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
 

ความเข้มข้นของเลือดคืออะไร

 

ความเข้มข้นของเลือด คือ ปริมาตรเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ควบแน่นกับสารประกอบโปรตีนอย่าง ฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ที่ทำหน้าที่ลำเลียงเซลล์เม็ดเลือดแเดงไปยังส่วนอวัยวะภายในต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โดยการวัดค่าปกติของระดับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงแต่ละเพศ จะอยู่ที่ เพศชาย : 13–17 , เพศหญิง : 12–15 gl/dL.
 
ในกรณีที่ตรวจค่าความเข้มของเลือดสูงกว่าปกติ ผู้ป่วยอาจมีภาวะเลือดข้น นำไปสู่ อาการตัวแดง เลือดกำเดาไหล ปวดศีรษะ รู้สึกคลื่นไส้ เหนื่อยล้า และการมองเห็นเป็นภาพซ้อนได้
 
ในทางกลับกันค่าความเข้มของเลือดต่ำกว่าปกติ ผู้ป่วยอาจมีภาวะเลือดจาง นำไปสู่ อาการหน้ามืด  หน้าเหลือง เหนื่อยง่าย ใจสั่น เบื่ออาหาร และอาจทำให้ระบบหัวใจวายและหมดสติชั่ววูบได้
 

ทำไมต้องตรวจความเข้มของเลือด



โดยทั่วไป การตรวจความเข้มของเลือด มีประโยชน์ดังต่อไปนี้

 

  • เป็นการตรวจเช็คองค์ประกอบของสุขภาพชนิดเลือดทั้งหมดภายในร่างกาย มีสภาพการผลิตและภาวะการทำงานที่บกพร่องหรือไม่ เช่น ความเข้มของเลือดมีสีจางหรือเข้มขึ้นผิกปติ หรือส่วนของเม็ดเลือดขาวมีปริมาตรที่ผลิตน้อยลง เพื่อนำปัญหาการทำงานของเลือดแต่ละชนิด เข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างถูกต้อง
  • การตรวจความเข้มของเลือดเพื่อดูสถานะเชื้อโรค ไวรัส และอาการติดเชื้ออื่น ๆในร่างกายผู้ป่วยปัจจุบันว่า มีผลการทำลายประสิทธิภาพของการทำงานของเลือดมากแค่ไหน
  • การตรวจความเข้มของเลือดของคนไข้ในช่วงก่อนการผ่าตัด เป็นผลการพิจารณาที่สำคัญในการวัดปริมาณของเกล็ดเลือดสามารถหยุดการหลั่งเลือดและแข็งตัวระหว่างการทำผ่าตัดได้
  • ความเข้มของเลือดเป็นผลชี้วัดในการเลือกและห้ามนำเคมีหรือรังสีบางชนิดรักษาคนไข้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงเม็ดเลือดแต่ละชนิดได้รับผลกระทบจากสารรักษาชีวภาพไปทำลายเซลล์ส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

ขั้นตอนการตรวจความเข้มข้นของเลือด


การเตรียมตัวก่อนตรวจความเข้มของเลือด


คนไข้ไม่ต้องเตรียมตัวใด ๆ สำหรับการตรวจความเข้มของเลือดทั้งสิ้น เมื่อถึงเวลานัด ทางแพทย์จะจัดเตรียมเครื่องมือการตรวจความเข้มของเลือดในห้องปฎิบัติการ เมื่อทำการตรวจเลือดเรียบร้อย คนไข้สามารถรอฟังการวัดผลได้ในภายหลัง
 

วิธีการตรวจความเข้มของเลือด


วิธีการตรวจความเข้มของเลือดที่ได้ยอมแบบเป็นสากล คือ แพทย์จะทำการเจาะเลือดเส้นดำในบริเวณข้อแขนหรือข้อมือประมาณ 2.-3 มล. แล้วนำเก็บใส่หลอดแก้วที่บรรจุสาร EDTA เพื่อลดเลือดเกิดการแข็งตัวลง จากนั้นแพทย์จะนำหยดเลือดหยดลงแผ่นสไลด์แล้วใช้กล้องจุลทรรศ์ทำการส่องโมเมกุลในตัวปริมาณเลือดที่หยดลงไป
 

อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังการตรวจ


หลังคนไข้ที่ได้รับการตรวจความเข้มของเลือด บริเวณที่ถูกเจาะจะมีอาการบวมช้ำสีเขียวสีม่วง โดยกระบวนการนี้จะไม่เป็นอะไรแก่คนไข้ เนื่องจากอาการบวมช้ำเป็นกระบวนการซ่อมแซมภายในร่างกายที่เกิดจากน้ำเลือดออกจากชั้นใต้ผิวหนังขึ้นมา อาจใช้เวลา2-3 วันลอยช้ำจะจางหายไปเองตามธรรมชาติ
 


ค่าความเข้มของเลือดปกติอยู่ที่เท่าไหร่

ค่าความเข้มของเลือดปกติในระดับปกติของเพศชายและหญิงจะมีความหนาแน่นแตกต่างกัน โดยแบ่งเป็นสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ความเข้มเลือดปกติและสมบูรณ์แบบ ดังต่อไปนี้
 

  • การวัดเม็ดเลือดแดงชนิดฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) คือ การวัดความหนาแน่นของโปรตีนในเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ส่งออกซิเจนไปลำเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยคิดเป็นค่าปกติ
    • เพศหญิง 12-15 g/dl.
    • เพศชาย 13-17 g/dl.
  • การวัดเม็ดเลือดแดงชนิดเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (hematocrit) คือ การตรวจมวลความเข้มข้นจำนวนเม็ดเลือดแดง โดยคิดเป็นค่าปกติ
    • เพศหญิง 36-45 %
    • เพศชาย 38-50 %
  • การวัดเม็ดเลือดแดงชนิดปริมาณเม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell) คือ การตรวจจำนวนปริมาณของเซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด โดยคิดเป็นค่าปกติ
    • เพศหญิง 3.9-5.0 ml.
    • เพศชาย 4.3-5.7 ml.

หากค่าความเข้มของเลือดผิดปกติ บอกอะไรได้บ้าง

ค่าความเข้มของเลือดต่ำกว่าปกติ



 

  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia)
  • ภาวะโลหิตจาง (Anemia)
  • โรคตับแข็ง (Cirrhosis)
  • โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease)
  • ภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะ (Nephrotic Syndrome)
  • โรคไขกระดูกมีความผิดปกติ (Bone Marrow Failure)

ค่าความเข้มของเลือดสูงกว่าปกติ




ความเข้มของเลือดสูงส่งผลทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนและเกิดจากพันธุกรรมที่เกิดจากการทำงานผิดปกติภายในร่างกาย เช่น
 

  • ภาวะเม็ดเลือดแดงมาก (Erythrocytosis)
  • โรคหัวใจมาแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease)
  • โรคเม็ดเลือดแดงมากเกิน (Polycythemia Vera)

ปัจจัยที่อาจทำให้ผลลัพธ์คาดเคลื่อน



ปัจจัยที่ทำให้ผลตรวจความเข้มของเลือดของคนไข้คลาดเคลื่อนได้ มีปัจจัยดังต่อไปนี้
 

  • การตั้งครรภ์
  • ภาวะขาดน้ำรุนแรง
  • อาศัยอยู่ในพื้นที่สูง
  • ผู้ป่วยที่ได้รับการถ่ายเลือด
  • ผู้ป่วยอยู่ในพื้นที่สูง

เมื่อการตรวจความเข้มของเลือดเกิดผลคลาดเคลื่อน ทางแพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างเลือดใหม่อีกครั้ง หรือ การใช้เครื่องตรวจอุปกรณ์อื่นแทนในการวัดค่าองค์ประกอบความเข้มของเลือดในกรณีที่ การตรวจแบบเดิมให้ผลลัพธ์ที่ไม่แน่นอน


ข้อสรุป

การตรวจความเข้มของเลือด เป็นปัจจัยสำคัญในการวัดประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดแดง ทั้งรูปร่าง ปริมาณ และส่วนประกอบเซลล์ที่สำคัญ ในการลำเลี้ยงอวัยวะภายใน หากคนไข้ต้องการตรวจดูเลือด ทางแพทย์ขอแนะนำการตรวจสุขภาพประจำปีของทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ พร้อมอุปกรณ์สำหรับตรวจความเข้มของเลือดที่วัดผลได้ใน 1 นาที โดยติดต่อสอบถามได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

แอดไลน์ สมิติเวช ไชน่าทาวน์

บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​