กระดูกเท้าปูด (Hallux Valgus) เกิดจากอะไร ต้องผ่าตัดไหม?
กระดูกเท้าปูด หนึ่งในโรคเท้าที่พบได้บ่อย เป็นภาวะที่นิ้วหัวแม่เท้าเบนเข้าไปชิดกับนิ้วชี้ สาเหตุของผู้ที่มีอาการข้อนิ้วปูดส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการสวมใส่รองเท้าที่บีบเท้า
คุณเคยรู้สึกเจ็บปวดที่ฝ่าเท้าทุกครั้งที่ก้าวเดินไหม? อาการปวดที่ส้นเท้าหรือนิ้วเท้า อาจเป็นสัญญาณเตือนของ "เอ็นนิ้วเท้าอักเสบ" หรือเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ โรคเท้ายอดฮิตที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะผู้ที่ต้องยืนเดินเป็นเวลานาน หรือชอบออกกำลังกาย หากปล่อยทิ้งไว้ อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
สารบัญบทความ
หากคุณเป็นคนที่อยู่ ๆ ก็ชอบมีอาการเจ็บเท้าเวลาเดิน เจ็บนิ้วเท้าไม่มีสาเหตุ คาดเดาว่าอาจเป็นอาการของ เอ็นนิ้วเท้าอักเสบ ที่เกิดจากการอักเสบของเอ็นที่เชื่อมระหว่างกระดูกกับกล้ามเนื้อบริเวณนิ้วเท้า ซึ่งดูเหมือนเป็นอาการเล็กน้อยที่เกิดขึ้นเฉพาะบริเวณนิ้วเท้า แต่ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม อาจส่งผลกระทบในระยะยาวและนำไปสู่การเกิดโรคอื่น ๆ ได้
โรครองช้ำ (Plantar Fasciitis) คือ ภาวะที่เกิดการอักเสบบริเวณเอ็นใต้ฝ่าเท้า ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการปวดเท้าด้านข้างและด้านใน อาการปวดมักเด่นชัดในช่วงเช้าหลังตื่นนอน หรือหลังจากการนั่งพักเป็นเวลานาน โดยอาการอาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวและหายไปเอง แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจพัฒนาไปสู่ภาวะเรื้อรัง ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและการเคลื่อนไหวในระยะยาว
อาการของโรครองช้ำ
ปวดส้นเท้า อาการจะรุนแรงมากในตอนเช้าหลังตื่นนอน หรือหลังจากนั่งนาน ๆ เมื่อลงน้ำหนักครั้งแรกในตอนเช้าจะรู้สึกปวดมาก และอาการปวดเท้าจะทุเลาลงเมื่อเดินไปสักพัก
การรักษาเบื้องต้น
การรักษาโรครองช้ำเบื้องต้นมุ่งเน้นไปที่การลดอาการปวดและอักเสบ รวมถึงการฟื้นฟูความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเอ็นข้อเท้า วิธีการรักษาเบื้องต้นที่สามารถทำได้เอง ได้แก่ การประคบเย็นเพื่อลดการอักเสบ การใส่แผ่นรองส้นเท้าเพื่อลดแรงกดทับ ยืดกล้ามเนื้อน่องและเอ็นร้อยหวายอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานยาแก้ปวดตามคำแนะนำของแพทย์
เอ็นนิ้วเท้าอักเสบอาจเป็นที่มาของโรคปมประสาทเท้าอักเสบ (Morton Neuroma) เพราะเกิดจากเส้นประสาทที่อยู่ระหว่างกระดูกฝ่าเท้าของเราอักเสบและหนาตัวขึ้นจนกลายเป็นปม โดยเฉพาะบริเวณระหว่างนิ้วเท้าที่ 3 และ 4
อาการของโรคปมประสาทเท้าอักเสบ
การรักษาเบื้องต้น
เมื่อมีอาการดังกล่าวควรหยุดพักการใช้เท้าจนกว่าอาการจะดีขึ้น หรือใช้แผ่นรองเท้าเมื่อต้องสวมใส่รองเท้าเพื่อลดการกดทับบริเวณเส้นประสาท และทานยาแก้ปวดกลุ่มยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์
โรคเอ็นใต้นิ้วเท้าบาดเจ็บ (turf toe) เป็นภาวะที่เกิดจากการที่เอ็นใต้ข้อนิ้วหัวแม่เท้าซ้นอย่างรุนแรง มักเกิดจากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬาที่ต้องใช้แรงดันที่นิ้วเท้า เช่น ฟุตบอล หรือบาสเกตบอล ทำให้เอ็นบริเวณนั้นอักเสบหรือฉีกขาดได้
อาการของโรคเอ็นใต้นิ้วเท้าบาดเจ็บ
รู้สึกได้ว่าเอ็นนิ้วเท้าอักเสบ เจ็บปวดโดยเฉพาะบริเวณใต้ข้อนิ้วหัวแม่เท้า หรือจับนิ้วเท้ากระดกขึ้นแล้วเจ็บ แต่เมื่อกระดกลงจะเจ็บน้อยกว่า ถ้าเป็นมากอาจเดินกะเผลกเพื่อไม่เดินกดทับบริเวณที่เจ็บ
การรักษาเบื้องต้น
หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เจ็บฝ่าเท้าหรือตรงใต้ข้อนิ้วหัวแม่เท้า ทานยาแก้อักเสบระยะสั้น และอาจประคบเย็นร่วมด้วยเพื่อช่วยลดอาการบวมและปวด
สุดท้ายเอ็นนิ้วเท้าอักเสบยังบ่งบอกว่าคุณอาจเป็น โรคปวดฝ่าเท้าจากการเทน้ำหนักมากเกินไป (Transfer Metatarsalgia) เกิดจากการที่นิ้วหัวแม่เท้าซึ่งปกติทำหน้าที่รับน้ำหนักส่วนหนึ่งของร่างกายขณะยืนหรือเดิน ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ เนื่องจากอาจมีการผิดรูปหรือการหลวมของข้อ ทำให้น้ำหนักส่วนที่นิ้วหัวแม่เท้าควรรับไปตกอยู่ที่บริเวณใต้นิ้วเท้าที่สองหรือสามแทน โรคปวดฝ่าเท้าจากการเทน้ำหนักมากเกินไปนี้มีมักเกิดขึ้นได้บ่อยกับผู้ที่มีปัญหาเท้าแบน ไม่มีอุ้งเท้า
อาการของโรคปวดฝ่าเท้าจากการเทน้ำหนักมากเกินไป
ปัญหาที่นิ้วหัวแม่เท้า ทำให้เกิดการกระจายน้ำหนักที่ผิดปกติไปยังส่วนอื่นของเท้า ก่อให้เกิดอาการอักเสบและเจ็บปวดบริเวณใต้นิ้วเท้าที่สองหรือสาม ปวดฝ่าเท้า และอาจเกิดตาปลาที่เท้า ลักษณะเป็นหนังแข็ง ๆ ตามมา
การรักษาเบื้องต้น
หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้อาการเจ็บรุนแรงมากขึ้น เช่น การวิ่ง การเดินเป็นระยะทางไกล หรือการยืนนาน ๆ หมั่นทำกายภาพโดยการยืดบริเวณน่อง และใส่รองเท้าพื้นนุ่ม มีที่ว่างสำหรับนิ้วเท้า
กลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นเอ็นนิ้วเท้าอักเสบ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีลักษณะการใช้ชีวิต กิจกรรม หรือปัจจัยบางอย่างที่ส่งผลให้เส้นเอ็นบริเวณนิ้วเท้าถูกใช้งานหนัก หรือได้รับแรงกดทับซ้ำ ๆ ต่อเนื่อง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มดังนี้
การรักษาเอ็นอักเสบที่เท้า สามารถรักษาด้วยการดูแลตัวเองเบื้องต้นที่บ้าน เพื่อบรรเทาการอักเสบและป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจแนะนำวิธีการรักษาเพิ่มเติม เช่น การทำกายภาพบำบัด การใช้ยาแก้ปวด หรือการใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงเท้า เพื่อช่วยให้บริเวณเส้นเอ็นหายเร็วขึ้นและกลับมาใช้งานได้ตามปกติ
การใช้งานเท้ามากเกินไปและความผิดปกติของโครงสร้างเท้า เป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดอาการเอ็นนิ้วเท้าอักเสบได้ หรือเจ็บฝ่าเท้าเวลาเดิน ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาการอาจเรื้อรังและส่งผลต่อการเคลื่อนไหวระยะยาวได้
หากมีอาการเอ็นนิ้วเท้าอักเสบ หรือปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับเท้า เช่น เล็บขบ ปวดฝ่าเท้าตอนยืนนาน ๆ โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ พร้อมให้บริการด้วยทีมแพทย์ผู้มีความชำนาญเฉพาะทางเรื่องโรคเท้าและข้อ พร้อมวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย
ช่องทางการติดต่อ:
References
Cleveland Clinic. (2021, October 26). Foot Tendonitis. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/22378-foot-tendonitis
Damien Richardson. (2020, Nov 20). What You Should Know About Extensor Tendonitis. https://www.hoagorthopedicinstitute.com/blog/2020/november/what-you-should-know-about-extensor-tendonitis/
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)