บทความสุขภาพ

รู้จักแสงสีฟ้า (Blue Light) ภัยเงียบทำร้ายดวงตา เป็นอันตรายอย่างไร

บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567

“แสงสีฟ้า” จัดเป็นภัยร้ายเงียบต่อสายตาของมนุษย์เป็นอย่างมาก เพราะหากดวงตาของคุณทำการจดจ้องกับแสงสีฟ้าโดยไม่มีตัวกรองคัดแสงใด ๆ ส่งผลให้กล้ามเนื้อในดวงตาของคุณมีภาวะอาการตาล้า ตามัว และสร้างความระคายเคืองแก่ดวงจนเกิดเป็นแผลในนัยส์ตาได้ นำไปสู่อายุของดวงตาเสื่อมสภาพการมองเห็นก่อนวัย 

เพื่อป้องกันแสงสีฟ้าสร้างผลกระทบแก่ดวงตา ที่นำปัญหาภาวะค่าสายตาแก่ผู้ผ่วยในชีวิตประจำวันได้ ทางทีมแพทย์ได้จัดบทความความรู้แสงสีฟ้า และวิธีป้องกันแสงสีฟ้าแก่ผู้ป่วยได้ในบทความนี้
 


สารบัญบทความ
 


แสงสีฟ้า (Blue Light) คืออะไร

แสงสีฟ้า หรือ Blue Light คือ คลื่นพลังงานแสงสีฟ้าธรรมชาติที่แตกแยกออกมาจากรังสียูวี (Ultra violet) ธรรมชาติที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และแสงสีฟ้าสามารถหาเจอได้จากสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเองอีกด้วย
 


แสงสีฟ้ามีที่มาจากอะไร

1. แสงสีฟ้าจากแหล่งธรรมชาติ

 


นอกจากแสงสีฟ้าหาได้จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว ยังสามารถหาต้นกำเนิดแสงสีฟ้าได้จากธรรมชาติอีกด้วย เช่น แสงดวงอาทิตย์ที่ผ่านชั้นบรรยกาศ มีพลังงานสูงแต่ระยะของคลื่นสั้น จึงเกิดการประทะระหว่างโมเลกุลของน้ำและอากาศจนกระจายฟุ้งออกทั่วท้องฟ้าในยามกลางวัน จึงทำให้ผู้คนมองเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้านี่เอง
 

2. แสงสีฟ้าจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

 


แสงสีฟ้าที่เกิดจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์จอสัมผัสอย่าง สมาร์ทโฟน อุปกรณ์ทัชสกีนรูปแบบต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งหลอดไฟฟ้า ซึ่งความเข้มของแสงสีฟ้าแต่ละอุปกรณ์จะมีปริมาณความหนาแน่นแตกต่างกันออกไป


อันตรายของแสงสีฟ้าต่อดวงตา

ภัยอันตรายจากแสงสีฟ้า คือ ไม่ว่าจะเป็นแสงสีฟ้า จากโทรศัพท์ หรือจอจากอุปกรณ์ทัชสกีนและแสงสีฟ้าธรรมชาติ สามารถสร้างคลื่นพลังงานสูงต่เซลล์ภายในเลนส์ตา โดยเฉพาะส่วนจอตา (Retina) ที่ทำหน้าที่เป็นรูรับแสงแล้วส่งภาพไปยังจุดภาพชัด (Macula) เสื่อมสภาพการส่งภาพไปยังส่วนประสาทตาได้ไม่มีประสิทธิภาพ 

ทำให้การมองเห็นผู้ป่วย มองเห็นภาพเบลอ ตามัว มองเห็นไม่ชัด ไม่สามารถปรับรูม่านแสงชั่วขณะได้ ดวงตาอาจต้องใช้เวลาในการปรับแสงสักพักเพื่อให้รูรับแสงปรับตัวกับแสงตามสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม
 


แสงสีฟ้าก่อให้เกิดภาวะใดได้บ้าง

โดยทั่วไป แสงสีฟ้าเป็นสิ่งที่เป็นอันตรายต่อดวงตาที่ก่อให้เกิดภาวะ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่
 

1. โรคจอประสาทตาเสื่อม

 


โรคจอประสาทตาเสื่อม (Macular Degeneration) เกิดขึ้นจากภาวะจอตาบวมและจุดภาพชัด (Macula) รับคลื่นพลังงานแสงสีฟ้าจากหน้าจอ โดยไม่ได้ใช้อุปกรณ์อย่างแว่นกรองแสงสีฟ้าถนอมดวงตาไว้ 

จึงทำให้เกิดการเสื่อมสภาพการส่งสัญญาณการมองเห็นไปยังส่วนเส้นประสาทตา เกิดอาการตามัว การมองเห็นเสื่อมสภาพไปเรื่อย ๆ เช่น เห็นภาพสีเพี้ยนมองไม่ชัด  ตาไม่สู้แสง เห็นจุดดำตรงกลางภาพ หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ตาบอดได้ในที่สุด
 

2. อาการตาล้า ตาแห้ง

 


อาการตาล้า (Asthenopia) และตาแห้ง (Dry Eyes) เกิดขึ้นจากการจดจ้องคอมพิวเตอร์ที่มีรังสี UV คลื่นแสงสีฟ้าที่มีความเข้มข้นสูง สร้างผลข้างเคียงให้เกิดการคันตาและตาแดงร่วมด้วย หากปล่อยทิ้งอาการดังกล่าว อาจนำไปสู่ภาวะผิวกระจกตาอับเสบพร้อมกับรอยแผลบนกระจกตาได้ อีกทั้งพื้นผิวกระจกตามีความขรุขระส่งผลให้เกิดความระคายเคืองแก่ดวงตา สร้างความรำคาญแก่ผู้ป่วยในขณะใช้สายตาในชีวิตประจำวัน
 

3. ผลกระทบต่อการนอนหลับ

 


ผลกระทบต่อการนอนหลับ (Insomnia) การได้รับคลื่นพลังงานแสงสีฟ้ามากเกินไป มีผลต่อ นาฬิกาชีวิต (Circadian rhythm) ของระบบทำงานภายในร่างกายแต่ละบุคคลเปลี่ยนไป แสงสีฟ้าจากหน้าจอทำให้ต่อมไพเนียล(Pineal gland) ที่สร้างฮอรโมนเมลาโทนิน (Melatonin) จากสมองน้อยลง สร้างผลกระทบให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ และหลับไม่สนิท


แสงสีฟ้าก็มีข้อดีเช่นกัน

แสงสีฟ้ามีข้อดีดังนี้
- เป็นแสงที่ช่วยปรับสภาวะทางอารมณ์ให้ตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า และโฟกัสในสิ่งที่ทำได้อย่างกระฉับกระเฉง
- แสงสีฟ้าช่วยปรับสมองมีความจำที่ดีขึ้น เมื่อมีการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ สามารถเข้าใจได้ง่าย
- เป็นแสงสีฟ้าที่ช่วยบรรเทาโรคซึมเศร้า(Depression) และโรคอารมณ์ตามฤดูกาล (SAD)


วิธีปกป้องดวงตาจากแสงสีฟ้า

1. ใช้แว่นกรองแสงสีฟ้า

 


การเลือกใช้เลนส์กรองแสงสีฟ้า สามารถช่วยลดภาระการใช้งานดวงตาได้เบาลง กล้ามเนื้อที่ใช้ในการเพ่งมองผ่านดวงตาลดความตึงเครียดลง และลดอาการอักเสบ ที่นำไปสู่ภาวะตาแดงได้

นอกจากนี้ผู้ป่วยสามารถเลือกคุณภาพของเลนส์ตัดแสงสีฟ้า ให้เหมาะตามปัจจัยดังนี้

- เลือกร้านตัดแว่นที่มีแบบผลสเปกตรัมสำหรับป้องกันแสงสีฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง โดยวิธีทดสอบแว่นกรองแสงสีฟ้า เลนส์ควรมีคุณสมบัติป้องกันแสงสีฟ้าได้ถึง 10-65%

- ในกรณีที่ร้านตัดแว่นไม่มีผลสเปกตรัมในการวัดผลคุณภาพของเลนส์ การใช้แผนภูมิ RGB เป็นหลักในการคัดกรองคุณภาพการป้องกันแสงสีฟ้าได้

- การทดสอบเม็ดสีของเลนส์ โดยสวมแว่นไปทางวัตถุที่สว่างและขาว หากเลนส์สามารถกรองแสงสีฟ้าได้ ลักษณะสีของเลนส์กรองแสงจะเปลี่ยนเป็นเนื้อผิวสีโทน warm light

- การกรองแสงสีฟ้าด้วยวิธีสะท้อนแสงของเลนส์ สามารถดูประสิทธิภาพการเลนส์นั้นสามารถสะท้อนแสงสีฟ้าได้เต็มที่หรือไม่ หากเลนส์ไม่สามารถสะท้อนแสงสีฟ้าได้ แสดงว่าเลนส์คู่นั้นไม่มีประสิทธิภาพในการต้านทานคลื่นแสงสีฟ้าได้เท่าที่ควร
 

2. ปรับความสว่างแสงหน้าจอให้พอดี

 


ควรปรับระดับแสงจากหน้าจอเป็นสีแนวโทน Warm light ให้สอดคล้องกับแสงสว่างในห้องของผู้ใช้ให้พอดี หากทำงานเวลากลางคืน ควรเปิดโคมไฟแสงสีขาวคู่กับหน้าจอคอม
 

3. ใช้หลักการพักสายตา 20-20-20

 


การถนอมสายตาโดยใช้กฎ 20-20-20 เพื่อพักดวงตาที่ได้รับรังสีแสงสีฟ้าจากคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือการทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ใช้สายตาจดจ้องมากเกินไป มีวิธีเริ่มต้นคือ การหลับตา หรือมองออกไปยังทิวทัศน์มุมอื่น ๆออกไปประมาณ 20 วินาที ในระยะอย่างน้อย 20 ฟุต ในทุก ๆ 20 นาทีในขณะทำกิจกรรม
 

4. ติดฟิล์มกรองแสงที่หน้าจอ

 


ฟิล์มกรองแสงจอคอม ช่วยป้องกันแสงสีฟ้าที่มีคลื่นรังสี UV พลังงานสูงแก่ดวงตาของผู้ใช้ได้สูง ลดภาวะอาการตาล้า สายตามัว และตาเบลอ จากการจ้องจอนานๆ และชะลออายุดวงตาให้สามารถใช้งานได้นานมากขึ้น อีกทั้งฟิล์มกรองแสงสีฟ้าสามารถช่วยลดภาระการปรับตัวโฟกัสสายตาจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งได้
 

5. ใช้น้ำตาเทียมช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น

 


น้ำตาเทียม(Artificial tears) เป็นสารมีมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับน้ำตาธรรมชาติ ช่วยหล่อลื่นและเพิ่มความชุ่มชื่นแก่ดวงตา บรรเทาอาการตาล้า ตาแห้ง จากการปะทะแสงสีฟ้าในจอคอม ให้หายอาการตาล้า บรรเทาความระคายเคืองในดวงตาให้ทุเลาลงได้
 

6. ตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำ

 


บุคคลที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน เช่น พนักงานออฟฟิศ ฟรีแลนด์สายงานดิจิตอล โปรแกรมเมอร์ และอาชีพอื่น ๆ เกิดภาวะอาการตาล้าสะสมจากการจดจ้องหน้าจอคอมมากเกินไป 

หรือบุคคลที่มีภาวะสายตาสั้นอยู่แล้ว และบุคคลที่มีอายุ 40 ปีเป็นต้นไปที่เริ่มมีอาการสายตายาวเริ่มต้น สามารถทำการนัดตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อดูสภาพการทำงานของดวงตาปัจจุบัน พร้อมให้คำแนะนำวิธีถนอมสายตาจากแสงสีฟ้า อย่างการสวมใส่แว่นที่มีเลนส์กรองแสงสีฟ้า  และการให้ยาบำรุงสายตาแก่ผู้ป่วย เป็นต้น


ข้อสรุป

สาเหตุของแสงสีฟ้าที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ที่มีอาการตาล้าระยะเริ่มต้นควรหมั่นดูแลบำรุงสายตา และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมองเห็นของดวงตาทั้งสองคู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาอาการทางสายตา และโรคแทรกซ้อนทางดวงตาที่มีผลกระทบต่อการมองเห็นได้ในอนาคต  หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติทางด้านสายตาสามารถติดต่อสอบถามกับทีมจักษุแพทย์เฉพาะทางเพื่อนัดตรวจสายตาที่โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
 


แอดไลน์ สมิติเวช ไชน่าทาวน์
บทความและสุขภาพอื่นที่น่าสนใจ
pdpa-icon

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว​ (Privacy Policy)​