ต้อกระจกในผู้สูงอายุ ภัยทางสายตาที่อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
ต้อกระจกในผู้สูงอายุ คือ ภาวะที่เลนส์ตามีความขุ่นมัวหรือเปลี่ยนสี ส่งผลให้การมองเห็นของผู้ป่วยพร่ามัวและลดลงตามระยะเวลา
ต้อกระจก จัดเป็นภัยร้ายเงียบของความผิดปกติทางสายตาที่เกิดขึ้นจากอาการตาพร่ามัว มองภาพเบลอหรือเห็นภาพซ้อน ที่ไม่สามารถใช้สายตาในขณะโฟกัสภาพจุดๆหนึ่งได้ในชั่วคราว ผู้ป่วยหลายรายที่กำลังประสบปัญหาทางด้านการมองเห็น อาจมีความเป็นไปได้ที่ดวงตาของคุณเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจกในระยะเริ่มต้น
สำหรับคำถามที่ว่า ต้อกระจก ตาบอดไหม หากปล่อยละเลยปัญหาทางดวงตานี้ไปในระยะเริ่มต้น หากไม่รักษาโดยเร็วที่สุดอาจเป็นผลข้างเคียงสะสมที่ก่อให้เกิดโรคต้อ รูม่านตา (Retina) ขุ่นมัว นำไปสู่อาการเริ่มต้นของโรคแทรกซ้อนจากต้อกระจกได้ในภายหลัง
อาการต้อกระจกอันตรายไหม มีปัจจัยโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่มาพร้อมกับโรคต้อกระจกมากแค่ไหน ทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ จะมาอธิบายความอันตรายของโรคต้อกระจก รวมถึงการอธิบายอาการและสาเหตุของการเกิดต้อกระจกแต่ละชนิด และแนะแนววิธีรักษาต้อกระจกโดยไม่ต้องผ่าตัดในระยะแรกให้กับผู้ประสบปัญหาทางด้านสายตาได้ในบทความนี้
ต้อกระจกอันตรายไหม โดยเป็นที่แน่นอนว่าโรคต้อกระจก (Cataract) สามารถเกิดขึ้นได้ในทุก ๆ วัย ไม่ว่าจะเป็นอายุที่มากขึ้น เกิดจากยีนส์กรรมพันธ์ หรือการติดเชื้อช่วงระหว่างการตั้งครรภ์
ต้อกระจกเป็นโรคภัยที่เกิดจากความเสื่อมสภาพของโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการทำงานของเลนส์ตา เกิดภาวะการตกตะกอนที่ส่งผลให้ตัวเลนต์ตาขุ่นมัว มีสภาพพื้นผิวที่แข็งกร้านขึ้น มีผลข้างเคียงที่ทำให้วิสัยทัศน์ของดวงตาผู้ป่วย มองเห็นภาพได้ไม่ชัดเจน ภาพเบลอไม่โฟกัสกับสิ่งที่จดจ้อง และประสิทธิภาพของการมองเห็นไม่คมชัด
ผู้ป่วยที่ประสบพบเจอต้อกระจกในระยะเริ่มต้น สามารถรักษาได้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างสม่ำเสมอ หากในกรณีที่โรคต้อกระจกอยู่ในช่วงตัวต้อสุก ตัวเลนส์ขาวโปน บดบังการมองเห็นของผู้ป่วย ควรทำการนัดพบแพทย์และทำการผ่าตัดโดยเร็วที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงการเกิดตาบอด และภาวะแทรกซ้อนจากโรคต้อกระจกได้ในภายหลัง
ภาวะแทรกซ้อนของโรคต้อกระจกอันตรายไหม ในกรณีที่ผู้ป่วยละเลยอาการต้อกระจก อาจส่งผลให้ความเสื่อมสภาพของโปรตีนในเลนส์ตาขุ่นเป็นก้อนขาวและกระจายไปยังส่วนกระจกตาดำ (Cornea) ทำให้ประสิทธิภาพการใช้สายตาของผู้ป่วยไม่สามารถมองเห็นได้ปกติ และเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนที่สามารถส่งผลกระทบระบบการทำงานของส่วนประกอบของอวัยวะส่วนอื่น ๆ ต่อดวงตาได้ ด้วย 3 โรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากต้อกระจก ได้แก่
หากถามว่าภาวะแทรกซ้อนที่กล่าวมาข้างต้นที่เกิดจากต้อกระจกอันตรายไหม แน่นอนว่าโรคเหล่านี้สามารถสร้างผลกระทบการมองเห็นของผู้ป่วยในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก หากไม่รีบทำการรักษา อาจส่งผลให้ดวงตาของผู้ป่วยไม่สามารถใช้ดวงตาได้ และโรคแทรกซ้อนเหล่านี้อาจทำลายการมองเห็นและดวงตาบอดได้ในที่สุด
สัญญาณเตือนอาการเริ่มต้นของต้อกระจก โดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
การใช้สายตาสำหรับการจดจ้องภาพตรงหน้า จะไม่สามารถควบคุมจุดโฟกัสสายตาได้เหมือนในช่วงสายตาปกติ เกิดภาวะสายตามัว มองเห็นภาพซ้อนเล็กน้อย การมองเห็นแสงสว่างอย่าง แสงไฟ อาจทำเห็นภาพสะท้อน ทำให้ตารู้สึกเหนื่อยล้ามากกว่าปกติ ในระยะนี้สามารถแก้ปัญหาอาการต้อกระจกโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน และทำการรักษาต้อกระจกโดยไม่ต้องผ่าตัดได้ในระยะเริ่มต้น
ส่วนประของแก้วตามีความขุ่นเป็นก้อนขาวบาง ๆ ในตรงส่วนกลางของดวงตา โดยในระยะก่อนเข้าต้อแก่ควรหลีกเลี่ยงการใช้สายตาในการมองภาพด้วยตาเปล่า ควรหาอุปกรณ์ช่วยถนอมสายตาอย่างการสวมใส่แว่นตาในการช่วยโฟกัสการมองเห็นได้ชัดยิ่งขึ้น
บริเวณตรงส่วนของแก้วตามีความขุ่นมากขึ้นอย่างชัดเจน โดยตัวก้อนขาวที่เกิดจากโปรตีนที่ตกตะกอน ได้ทำการแพร่กระจายไปยังส่วยประกอบต่าง ๆ ของอวัยวะตาทั้งหมด ส่งผลข้างเคียงต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ในระยะนี้แพทย์จะทำการนัดผ่าตัดเพื่อป้องกันตัวต้อแพร่กระจายไปยังขั้วประสาทตาโดยเร็วที่สุด
ส่วนของแก้วตามีความขุ่นมากขึ้น ตัวต้อมีความหนาและกดทับเส้นเส้นใยประสาทส่วนตาที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณภาพไปยังส่วนประสาทสมอง หากตัวต้อกดทับเส้นใยไปเป็นจำนวนมาก อาจทำให้ภาพส่งไปยังส่วนสมองได้น้อยลง ระยะนี้จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดโดยด่วนที่สุด หากปล่อยตัวต้อสุกโดยไม่ได้รับการรักษาใด ๆ อาจส่งผลให้ตัวต้อเกิดอาการแทรกซ้อนอย่าง อาการต้อหิน ที่มีผลทำให้เส้นใยตรงขั้วประสาทตาถูกตัวต้อกดทับ และอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
วิธีรักษาต้อกระจกอันตรายไหม ควรได้รับการรักษาวิธีไหนบ้าง ทางแพทย์ได้เตรียมประเภทวิธีรักษาสำหรับผู้ป่วยที่่มีผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต้อกระจกแต่ละระยะทั้งหมด 3 วิธีการหลัก ได้แก่
ผู้ป่วยที่เป็นโรคต้อกระจกในระยะเริ่มต้น สามารถหลีกเลี่ยงการผ่าตัดดวงตา ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สายตา ตามคำแนะนำของแพทย์ พร้อมกับใช้อุปกรณ์ถนอมสายตาอย่างแว่นสายตาสำหรับป้องกันผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดต้อกระจกโดยเฉพาะ ในการปรับวิถีการใช้ชีวิตเพื่อดูแลรักษาดวงตาสองคู่ได้อย่างยั่งยืน
วิธีการรักษาต้อกระจกด้วยการรับประทานยาหรือการหยอดตาในปัจจุบัน ไม่สามารถรักษาโรคต้อกระจกให้หายขาดได้ ในกรณีผู้ป่วยอยู่ในระยะต้อแก่และต้อสุก ทางแพทย์จะทำการแนะนำการผ่าตัดต้อกระจก 2 รูปแบบดังนี้
Phaco เป็นวิธีการรักษาแบบใหม่ของแพทย์ โดยการรักษารูปแบบนี้จะทำการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคต้อกระจกระยะต้อแก่ ช่วงเริ่มต้นของการผ่าตัด ทางแพทย์จะจัดเตรียมยาหยอดยาชาเข้าสู่ดวงตา จากนั้นจะทำการผ่าตัดเปิดแผลเลนส์ตาด้วยขนาดความกว้าง 3 มล. เพื่อเป็นการนำเครื่องมือรักษาสลายบริเวณตะกอนขุ่นมัวของตัวเลนส์ตาทั้งหมด
หลังใช้เครื่องมือสลายตัวต้อเรียบร้อย จะเหลือเปลือกหลังของเลนส์ตา ทางแพทย์ได้จัดเตรียมเลนส์แก้วตาเทียม (Intraocular Lens) เข้าไปแทนที่ หลังจากการผ่าตัดบริเวณแผลที่ผ่าจะมีขนาดเล็ก ตัวตาของผู้ป่วยสามารถทำการฟื้นฟูได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องทำการเย็บแผลทั้งสิ้น หากตัวตาผ่านพ้นระยะการรักษาเรียบร้อย ผู้ป่วยสามารถใช้ดวงตาในการมองเห็นได้อย่างปกติ และดำเนินการใช้ชีวิตประจำวันได้โดยไม่มีปัญหาใด ๆ
เป็นวิธีการรักษาแบบดั้งเดิมของแพทย์ โดยการรักษารูปแบบนี้จะทำการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคต้อกระจกระยะต้อสุก โดยบริเวณเลนส์ตามีความแข็งมากจนไม่สามารถผ่าตัดด้วยการสลายตัวของคลื่นอัลตราซาวด์ได้
ช่วงเริ่มต้นของการผ่าตัด ทางแพทย์จะทำการผ่าตัดเปิดแผลขนาดความยาว 10 มล. ตรงส่วนครึ่งบนของลูกตาในการนำเลนส์ตาที่เป็นต้อกระจกออก จนเหลือแค่เปลือกหุ้มเลนส์ตาทางด้านหลังแล้วนำเลนส์แก้วตาเทียมใส่เข้าไป แล้วทำการเย็บแผลที่ผ่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการผ่าตัด
ทางแพทย์ได้จัดเตรียมการตรวจสายตาสำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่ต้องการรักษาค่าสายตาในทีเดียว ด้วยทุกกระบวนการผ่าตัดต้อกระจกจะใช้เลนส์แก้วตาเทียมสวมใส่ตรงส่วนบริเวณเปลือกหลังเลนส์ตาอยู่เสมอ โดยตัวคุณสมบัติของเลนส์ตาเทียมสามารถรักษา สายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง ให้กลับมาเป็นดวงตาปกติที่มองเห็นคมชัดเหมือนแต่ก่อน
โดยทั่วไป เลนส์แก้วตาเทียมแบ่งชนิด 2 ประเภทหลักในการฟื้นหูค่าสายตา แบ่งเป็น
ในระยะช่วงหลังผ่าตัด ทางแพทย์จะทำการแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการใช้นิ้วมือ ทำการสัมผัสบริเวณดวงตาโดยตรง รวมถึงการไปในนสถานที่ที่มีลมพัด แสงแดดจ้า และน้ำเข้าตาเป็นเวลา 1 อาทิตย์ หากผู้ป่วยต้องการทำความสะอาดบริเวณใบหน้า ควรใช้ผ้าชุบน้ำและบิดให้แห้งแทนการล้างหน้าผ่านน้ำโดยตรง พร้อมกับรับประทานยาและทำการนัดพบแพทย์ตามเวลาที่กำหนด หากในช่วงระหว่างการรักษาตัวเกิดอาการผิดปกติทางดวงตาที่ป่าตัด ควรรีบพบแพทย์โดยทันที
การหลีกเลี่ยงไม่ผ่าตัดต้อกระจกนั้นอันตรายไหม? จะเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคต้อกระจกในระยะเริ่มต้น ที่มีสภาพการมองเห็นเลือนลาน เห็นภาพร่ามัวเป็นบางครั้ง และยังไม่มีปัจจัยโรคแทรกซ้อนของโรคต้อกระจกมาขัดขวางการใช้สายในชีวิตประจำวัน หากในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในระยะต้อแก่จนไปถึงต้อสุก ควรทำการผ่าตัดโดยเร็วที่สุด เนื่องจากหากปล่อยตัวต้อแพร่กระจายในบริเวณตัวตาทั้งหมดอาจทำลายสายใยขั้วประสาทตาและตาบอดในที่สุด
การผ่าตัดต้อกระจก (Cataract Surgery) ไม่ส่งผลอันตรายต่อดวงตาแต่อย่างใด เนื่องจากในช่วงขั้นตอนการผ่าตัด ทีมแพทย์จะไม่ใช้ยาสลบแก่ผู้ป่วยแต่อย่างใด อีกทั้งระยะการผ่าตัดต้อกระจกใช้เวลาเพียงแค่ 25-30 นาที หลังจากทำการผ่าตัดเสร็จเรียบร้อยผู้ป่วยสามารถนั่งพักฟื้นซักระยะ และสามารถเดินทางกลับบ้านได้ตามปกติ
ในช่วงระยะเริ่มต้นของโรคต้อกระจก ผู้ป่วยสามารถทำการปรึกษาแพทย์รับยาควบคู่กับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบำรุงสายตา หากในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นต้อกระจกระยะต้อแข็งหรือต้อสุก ควรทำการนัดผ่าตัดกับจักษุแพทย์โดยทันที เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนของโรคต้อกระจกที่มีปัจจัยในการทำลายด้านการมองเห็น โดยติดต่อสอบถามกับทีมจักษุแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ได้ที่ Line @samitivejchinatownหรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)