การตรวจไขมันในเลือด (Lipid Profile) มีประโยชน์กว่าที่คุณคิด
บทความโดย: วันที่อัพเดท: 26 มีนาคม 2567
“ไขมัน” เป็นสารประกอบที่สำคัญในร่างกาย ที่ให้พลังงาน บำรุงสมอง ดูดซึมวิตามิน และให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายให้มีอุณหภูมิสมดุลอยู่เสมอ แม้การได้สารไขมันจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย หากได้รับในปริมาณเกินความจำเป็นอาจเป็นโทษแก่ร่างกายได้เช่นกัน
จึงทำให้การตรวจไขมันในเลือดเป็นเกณฑ์การพิจารณามวลไขมันร่างกายของมนุษย์มีมากน้อยแค่ไหน ระดับไหนควรต้องลดและเพิ่มปริมาณสารไขมันบ้าง แล้วการตรวจไขมัน ต้องงดอาหารไหม ช่วงวินิจฉัยไขมันในร่างกาย ใช้เครื่องในการวัดผลอะไร และมีวิธีลดไขมันอย่างไรบ้าง ทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ จะพาผู้อ่านทำความเข้าใจการตรวจไขมันในเลือดได้ในบทความนี้
สารบัญบทความ
ภาวะไขมันในเลือดสูง คือ ภาวะผลตรวจไขมันในเลือดชนิด คอลเลสตอรอล (Cholesterol) และ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เกิดการอุดตันภายในทางเดินหลอดเส้นเลือดส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ทำให้การขนส่งของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และน้ำเลือดนั้น ไม่สามารถลำเลียงส่งไปยังส่วนอวัยวะภายในร่างกายเพื่อทำการหล่อเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอ และไขมันบางส่วนที่ไม่ได้รับการย่อยสลายจากตับนั้น อาจรั่วไหลไปยังส่วนไตและถูกรองจนขับออกมาในรูปแบบของเสียสถานะของเหลวจากการ
ตรวจปัสสาวะได้
ด้วยภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นภัยเงียบที่ผู้ป่วยไม่สามารถเห็นสภาพอาการระบบการทำงานเส้นเลือดได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปี เป็นสิ่งสำคัญในการตรวจไขมันในเลือดของร่างกายคุณได้อย่างชัดเจนว่า มวลไขมันปัจจุบันของคุณมีมวลสะสมอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อเป็นวินิจฉัยให้แพทย์แนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมไขมันได้อย่างถูกต้อง
สาเหตุของภาวะไขมันในเลือดสูง
จุดเริ่มต้นของภาวะไขมันในเลือดสูง คือพฤติกรรมการบริโภคของผู้ป่วย ที่เน้นทานอาหารที่มีไขมันที่ไม่ดีและไขมันเลวเข้าไปในปริมาณเกินความจำเป็นต่อร่างกายมากเกินไป ทำให้พบไขมันชนิดอื่น ๆ จากการตรวจคอเลสเตอรอลและการตรวจตรวจไตรกลีเซอไรด์ในไขมันองค์ประกอบหลักของร่างกายนั้น เกิดการล้นจนเป็นภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือดในที่สุด
อีกทั้งการไม่ออกกำลังกาย เป็นหนึ่งปัจจัยที่การเผาผลาญพลังงานในร่างกายได้ และก่อให้เกิดไขมันสะสมอีกด้วย รวมถึงกรรมพันธุ์ของครอบครัวที่มีปัญหาการผลิตฮอร์โมนในการแปลงสภาพไขมันเป็นพลังงานเสื่อมสภาพ มีผล
ตรวจเบาหวานและไทรอยด์ เป็นต้น
วิธีสังเกตอาการ
การสังเกตเพื่อตรวจไขมันในเลือดแบบเบื้องต้น ผู้ป่วยจะมีอาการจุกเสียด แน่นบริเวณหน้าอก หายใจไม่ทั่วท้อง ส่งผลไปถึงอาการใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ลักษณะทางด้านกายภาพมือเท้าสั่น เหนื่อยง่าย วินเวียนศีรษะ หน้ามืดและหมดสติชั่ววูบได้
หากละเลยการตรวจไขมันในร่างกาย อาจทำให้เกิดไขมันสะสมจนก่ออันตรายต่อระบบร่างกายให้เกิดโรคแทรกซ้อน และมีความเสี่ยงสูงที่ภาวะไขมันอุดตันนี้คร่าชีวิตผู้ป่วยได้ หากใครมีลักษณะอาการดังกล่าวบ่อย ๆ ควรทำการตรวจไขมันในเลือดโดยเร็วที่สุด
การตรวจไขมันในเลือด หรือ การตรวจ Lipid Profile คือ การเช็คระดับไขมันทุกส่วนประกอบของเส้นเลือดในร่างกายทั้งหมด เช่น ไขมันชนิดคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันชนิดเลว และไขมันชนิดดี มีการไหลเวียนที่ปกติหรือมีปริมาณการอุดตันในหลอดเลือดมากน้อยแค่ไหน
เพื่อนำผลการตรวจระดับไขมันในเลือดไปวินิจฉัยภาวะโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะขาดเลือดเช่น โรคหัวใจ (Heart disease) และภาวะไขมันในหลอดเลือดสูงจาเกิดการอุดตันอย่าง โรคหลอดเลือดตีบตัน (Arteriosclerosis) ที่เป็นโรคแทรกซ้อนยอดนิยมของคนไทย ให้ได้รับการติดตามรักษาอย่างใกล้ชิด
1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)
คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คือไขมันชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในผนังเซลล์ทุกส่วนของอวัยวะภายในร่างกายทั้งหมด และเป็นไขมันที่ประกอบในน้ำดีในตับ สำหรับย่อยสลายสารไขมันอีกด้วย ปริมาณของคอเลสเตอรอลจะเพิ่มหรือลดลง ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยบริโภคอาหารที่มีสารคอเลสเตอรอลมากน้อยแค่ไหน เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน หนังสตว์ เครื่องในสัตว์ ไข่ นม และสัตว์ทะเลปลา กุ้ง ปู เป็นต้น
หากตรวจไขมันในเลือดและพบว่าปริมาณการตรวจ Cholesterol มีมากเกินความต้องการของร่างกาย ไขมันส่วนเกินนี้จะเกาะกลุ่มบริเวณผนังหลอดเลือดจนเกิดเส้นเลือดอุดตัน นำไปสู่ภาวะขาดเลือดอย่างโรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองอุดตันได้
2. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) คือ ไขมันที่ร่างกายเกิดจากการสังเคราะห์ภายในตับ ปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ จะเพิ่มหรือลดลง ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยบริโภคอาหารที่่เป็นไขมันแท้โดยตรง และสารอาหารที่มีน้ำตาลประกอบสูง เช่น แอลกอฮอลล์ เครื่องดื่มผสมน้ำตาล น้ำมัน แป้ง ผลไม้รสหวานจัด เนยในส่วนประกอบของหวาน เป็นต้น
หากตรวจไขมันในเลือดและพบว่าปริมาณการตรวจ Triglyceride มีมากเกินความต้องการของร่างกาย ไขมันส่วนเกินนี้จะเกาะกลุ่มเนื่อเยื่อภายในส่วนของอวัยวะภายในร่างกายจนพอกพูน นำไปสู่ภาวะไขมันสะสมอย่างโรคไขมันเกาะตับ โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และมะเร็งเต้านม
3. ไขมันชนิดเลว (Low Density Lipoprotein: LDL)
ไขมันชนิดเลว (Low Density Lipoprotein: LDL) คือ สารไขมันที่เป็นตัวนำเลี้ยงคอเลสเตอรอลพัดพาไปสู่อวัยวะภายในร่างกายต่าง ๆ ปริมาณของไขมันเลวจะเพิ่มหรือลดลง ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยบริโภคอาหารที่่มีสารไขมันเลวมากน้อยแค่ไหน เช่น น้ำมันจากสัตว์ กะทิ เนย ครีมเทียม มาการีน และมันฝรั่งทอด เป็นต้น
หากตรวจไขมันในเลือดและพบว่าปริมาณไขมันชนิดเลวฃ มีมากเกินความต้องการของร่างกาย ไขมันส่วนเกินนี้จะเกาะกลุ่มตามผนัวเส้นเลือดไปทั่วตามร่างกายจนท่อนำเลียงเลือดอุดตัน นำไปสู่ภาวะเส้นหลอดเลือดตีบตัน
4. ไขมันชนิดดี (High Density Lipoprotein: HDL)
ไขมันชนิดดี (High Density Lipoprotein: HDL) คือ สารไขมันที่เป็นท่อนำเลียงไขมันจากอวัยวะภายในและกรดไขมันทั้งหมด นำไปสู่การย่อยสลายที่อวัยวะส่วนตับและผลิตน้ำดีออกมา อีกทั้งไขมันดีจะช่วยกีดกันไขมันเลวจากการสะสมในบริเวณหลอดเลือดแดงอีกด้วย อาหารที่มีส่วนประกอบไขมันชนิดดี เช่น เนื้อปลาที่มีกรดไขมันสูง ชีส ไข่เต็มฟอง อะโวคาโด และดาร์ดช็อกโกแลต เป็นต้น
บุคคลที่ควรได้รับการตรวจไขมันในเลือด มีดังนี้
- ชายและหญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป
- บุคคลที่เสพสารเสพติดอย่างสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์บ่อย
- กรรมพันธ์จากคนในครอบครัวที่มีประวัติ โรคหัวใจ ไทรอยด์ และไขมันในเลือดสูง
- บุคคลที่มีดัชนีมวลน้ำหนักจากการคํานวณค่า BMI (Body Mass Index) ที่สูงกว่าตามมาตรฐาน
- บุคคลที่แสดงอาการผิดปกติทางกายภาพเช่น แน่นหน้าอก หน้ามืด ใจสั่น วินเวียนศีรษะร่วมติดต่อกัน
ทางแพทย์จะใช้การเจาะเลือดตรวจไขมันไปวิเคราะห์ไขมันชนิดต่าง ๆ เพื่อวินิจฉัยสภาพมวลไขมันของผู้ป่วยในปัจจุบัน จึงมีวิธีการแนะแนวผู้ป่วย สำหรับตรวจไขมันในเลือด เตรียมตัวมีดังนี้
- ก่อนตรวจไขมันในเลือด 3 สัปดาห์ ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารตามปกติ
- ดื่มน้ำเปล่า และงดดื่มเครื่องดื่มประกอบสาร คาเฟอีน แอลกอฮอร์ และน้ำเกลือแร่ ก่อนวันตรวจไขมันในเลือด 1 วัน
- สวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่ง สบาย สำหรับการถกแขนเสื้อเพื่อเจาะเลือดได้สะดวก
- วันนัดตรวจไขมันในเลือด งดอาหารกี่ชั่วโมงนั้น ให้ผู้ป่วยอดอาหารและดื่มน้ำเปล่า 12 ชั่วโมงก่อนตรวจไขมันในเลือด ในกรณีสำหรับการตรวจไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์
- หากเป็นการหาไขมันชนิด Cholesterol ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องอดอาหารสามารถมาโรงพยาบาลแล้วเตรียมรอเจาะเลือดได้เลย
ลำดับวิธีตรวจไขมันในเลือดแต่ละขั้นตอน มีดังนี้
- ผู้ป่วยนั่งและหลังตัวตรงและยื่นแขนสำหรับการเจาะเลือดในไขมัน
- แพทย์จะทำการใช้เข็มรูเล็กเจาะเลือดในเส้นเลือดดำในบริเวณแขนของผู้ป่วย
- หากทำการเจาะเลือดที่นิ้ว แพทย์จะทำการเจาะด้านข้างของนิ้วกลาง หรือนิ้วนาง แล้วใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ภายหลัง
- เลือดที่ถูกดูดจะถูกกักเก็บในหลอดทดลอง แพทย์จะนำหยดเลือดหยดลงเครื่องตรวจระดับไขมันในเลือด
- ผู้ป่วยรอฟังผลลัพธ์หลังจากการรตรวจไขมันในเลือดเสร็จเรียบร้อย
การอ่านค่าไขมันในเลือด เป็นการตรวจเช็คไขมันทุกชนิดในร่างกายของผู้ป่วยให้ทราบว่า ผลตรวจไขมันในเลือดทั่วทั้งร่างกายอยู่ระดับเกณฑ์ไหนบ้าง โดยแบ่งระดับเป็น 3 รูปแบบดังนี้
ชนิดไขมันในเลือด
|
ระดับไขมันเกณฑ์มาตรฐาน |
ระดับไขมันเกณฑ์สูง-ต่ำกว่ามาตรฐาน |
ระดับไขมันเกณฑ์ที่เสี่ยงต่อสุขภาพ |
ไขมันคอลเลสตอรอลชนิดดี (HDL) |
60
Ml/dL. |
35-45
Ml/dL. |
< 35
Ml/dL. |
ไขมันคอลเลสตอรอลชนิดเลว (LDL) |
60-130
Ml/dL. |
130-159
Ml/dL. |
160-189
Ml/dL. |
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) |
< 150
Ml/dL. |
150-199
Ml/dL. |
200-499
Ml/dL. |
ปริมาณไขมันทั้งหมด |
< 200
Ml/dL. |
200-239
Ml/dL. |
240
Ml/dL. |
วิธีรักษาไขมันในเลือดสูงแบบเบื้องต้น ทางแพทย์จะให้ยาลดสารไขมันในเส้นเลือด เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคแทรกซ้อนจากไขมันเกินความต้องการของร่างกาย
โดยยาสำหรับรักษาภาวะไขมันในเลือดสูงนิยมเป็นยาประเภท 3 กลุ่มได้แก่
- ยากลุ่มสแตติน (Statins) มีคุณสมบัติลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดเลว ในเลือด
- ยากลุ่มไฟเบรต (Fibrates หรือ Fibric Acid Derivatives) ยากลุ่มกรดนิโคตินิก (Nicotinic Acid) และยากลุ่มอะนาล็อก (Analogue) มีคุณสมบัติลดระดับไตรกลีเซอไรด์และคอลเลสตอรอลในเลือด
- กลุ่มยาต้าน HIV ในกลุ่มโปรตีเนสอินฮิบิเตอร์ (Protease Inhibitor) เช่น เจ็มไฟโบรซิล (Gemfibrozil) ไซโคลสปอริน (Cyclosporine)
นอกจากการทานยาแล้ว ผู้ป่วยสามารถปรับพฤติกรรมในกิตวัตรประจำวันที่ลดความเสี่ยงจากการเพิ่มปริมาณไขมันในร่างกายด้วยการทานอาหารประเภทโปรตีน และกินอาหารคลีนมากขึ้น หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารที่ใช้ส่วนประกอบเป็นน้ำมันสัตว์ และงดของกินจุกจิกอย่างขนมเค้ก ดื่มน้ำเปล่า
พักผ่อนให้เพียงพอ พร้อมออกกำลังกายลดไขมันร่างกายฝนการเผาพลาญมากขึ้น อีกทั้งหมั่นตรวจไขมันในเลือดเพื่อติดตามปริมาณไขมันในร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
วิธีดูแลตัวเองเมื่อไขมันในเลือดสูง มีดังนี้
- รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- เลือกอาหารที่เพิ่มสารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย
- เลือกวิธีการปรุงอาหารเป็นนึ่ง ต้ม ตุ๋ม อบ แทนการทอดด้วยน้ำมัน
- บริหารการออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นไขมันได้รับการเผาพลาญอย่างน้อย 30-45 นาทีต่อวัน
- หมั่นตรวจชั่งน้ำหนักเพื่อควบคุมมวลร่างกายให้อยู่ในเกฑณ์ปกติ
- ตรวจไขมันในเลือดด้วยตัวเองตลอดช่วงการปรับพฤติกรรมทุก 1 เดือนต่อครั้ง
การตรวจไขมันในเลือด เป็นการตรวจเช็คภาวะไขมันในกระแสเส้นเลือดของตามทั่วร่างกาย มีมากน้อยแค่ไหน เพื่อหลีกเลี่ยงโรคแทรกซ้อนจากไขมันอุดตันภายในเส้นเลือดในอนาคต ทางแพทย์ขอแนะนำการตรวจสุขภาพประจำปีของทางโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ภายใต้การปฎิบัติของแพทย์มืออาชีพ และพร้อมรายงานผลของระดับไขมันแต่ละชนิดภายในร่างกายทันที โดยติดต่อสอบถามได้ที่ Line @samitivejchinatown หรือเบอร์ 02-118-7893 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เอกสารอ้างอิง
Mayo Clinic Staff (2021, May 15). Cholesterol test
mayoclinic
https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/cholesterol-test/about/pac-20384601
Hoffman,M (2021, May 18). Cholesterol Testing and the Lipid Panel
webmd
https://www.webmd.com/cholesterol-management/guide/tests-for-high-cholesterol-lipid-panel
Clinic medical professional (2021, Nov 11). 12 Lipid Panel
clevelandclinic
https://my.clevelandclinic.org/health/diagnostics/17176-lipid-panel