ต้อกระจกในผู้สูงอายุ ภัยทางสายตาที่อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
ต้อกระจกในผู้สูงอายุ คือ ภาวะที่เลนส์ตามีความขุ่นมัวหรือเปลี่ยนสี ส่งผลให้การมองเห็นของผู้ป่วยพร่ามัวและลดลงตามระยะเวลา
อาการตาแห้งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ไม่ใช่เฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น วัยทำงาน หรือวัยรุ่น ก็สามารถพบอาการตาแห้งได้ การจ้องหน้าจอโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือเกิดจากสภาพอากาศภายในห้องแอร์ที่ความชื้นต่ำ ก็สามารถทำให้เกิดอาการเคืองตา รู้สึกตาแห้ง แสบตา แพ้แสงได้เช่นกัน
บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับ สาเหตุของโรคตาแห้ง พร้อมวิธีการรักษาและวิธีป้องกัน ที่จะช่วยให้อาการตาแห้งของคุณดีขึ้น โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สารบัญบทความ
ภาวะตาแห้ง (Dry eyes) คือ อาการแสบตา ตาแห้ง เคืองตา คันตา รู้สึกเหมือนมีเศษฝุ่นอยู่ในตาตลอดเวลา ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการน้ำตาไหลน้ำ และมีอาการตาแห้ง ตาแดงร่วมด้วย อาการตาแห้งส่วนใหญ่มักจะไม่ได้ร้ายแรงถึงขั้นตาบอดถาวร แต่สามารถทำให้เป็นแผลที่กระจกตา ผิวกระจกตาอักเสบ กระจกตาไม่เรียบเนียน และทำให้ผู้ป่วยเกิดความรำคาญได้
อาการตาแห้งสามารถเกิดได้หลายสถานการณ์ เช่น บนเครื่องบินหรือห้องแอร์ที่มีสภาพอากาศแห้งมากๆ ระหว่างขับขี่รถจักรยานยนต์ หรือใช้สายตาเป็นเวลานานจากการจ้องจอโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ในขณะทำงาน
สาเหตุของอาการตาแห้ง เกิดจากการที่ฟิล์มน้ำตาที่เคลือบกระจกตาถูกรบกวนจากหลายสาเหตุ หรืออาการผิดปกติที่เกิดขึ้นบริเวณชั้นต่างๆ ของน้ำตาสามารถก่อให้เกิดอาการตาแห้ง เคืองตา คันตาได้ ปกติแล้วชั้นของน้ำตา ที่อยู่บริเวณกระจกตามีอยู่ 3 ชั้น ได้แก่
ชั้นไขมันเป็นชั้นที่อยู่นอกสุดของชั้นน้ำตา โดยจะช่วยไม่ให้น้ำตาระเหยเร็วมากเกินไป ชั้นไขมันถูกสร้างจากต่อมไขมันที่มีชื่อเรียกว่า Meibomian Glans
ชั้นของเหลวที่เป็นน้ำ หรือเรียกง่ายๆว่า ชั้นน้ำ เป็นชั้นที่อยู่ระหว่างกลาง Lipid Layer และ Mucin Layer ชั้นน้ำถือเป็นส่วนประกอบหลักของน้ำตา ทำหน้าที่ปกป้องดวงตา โดยจะผลิตน้ำตาออกมาล้างสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในดวงตา ชั้นน้ำถูกสร้างมาจากต่อมน้ำตาที่มีชื่อว่า Lacrimal Glans
ชั้นเมือกเป็นชั้นที่อยู่ด้านในสุดของชั้นน้ำตา ทำหน้าที่ให้กระจกตาคงความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ชั้นเมือกสร้างมาจากเซลล์ที่มีชื่อว่า Goblet cell ที่อยู่ในเยื่อบุตาและในกระจกตา
โดยสาเหตุของอาการตาแห้งมีหลากหลาย สามารถแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ คือ
อาการตาแห้งสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อกระบวนการผลิตน้ำตาไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ทางการแพทย์เรียกว่า Keratoconjunctivitis Sicca โดยสาเหตุที่ทำให้กระบวนการสร้างน้ำตาน้อยกว่าปกติ ได้แก่
อาการตาแห้ง เคืองตา อาจมาจากการระเหยของน้ำตาที่เร็วกว่าปกติ ซึ่งมีสาเหตุจากฟิล์มน้ำตา ในชั้นนอกสุดหรือที่เรียกว่า ชั้นไขมัน เกิดการอุดตัน การอุดตันของชั้นฟิล์มน้ำตามักพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบโรซาเซีย (Rosacea) หรือโรคทางผิวหนัง รวมทั้งยังสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้การระเหยของน้ำตาเร็วกว่าปกติ ได้แก่
โดยปกติแล้วเมื่อเกิดภาวะตาแห้ง มักมีอาการพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง ซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้
หากมีอาการเหล่านี้คุณมีโอกาสที่จะเป็นโรคตาแห้ง ควรพบไปจักษุแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และรักษาโดยเร็วเพื่อความปลอดภัยของดวงตา
กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดภาวะตาแห้ง ได้แก่
หากปล่อยอาการตาแห้ง โดยไม่ไปพบจักษุแพทย์หรือรีบทำการรักษา อาจจะส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงและเกิดภาวะอื่น ๆ ตามมา ได้แก่
สำหรับผู้ป่วยบางราย ที่มาอาการตาแห้ง มีน้ำตาไหลเยอะ เนื่องมาจากผิวตาแห้งและกระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองจนเกิดการอักเสบ หากปล่อยทิ้งไว้มีโอกาสที่จะเกิดเป็นแผลเรื้อรังอาจทำให้กระจกตาทะลุ หรือถึงขั้นรุนแรงที่สุดอาจถึงขั้นตาบอดได้ ดังนั้นจึงไม่ควรละเลยภาวะตาแห้ง
หากรู้สึกตาแห้งมากไม่หายสักที รวมถึงตาแดง ระคายเคืองที่ตา เหนื่อยล้า เจ็บปวดบริเวณดวงตา หรือไม่สามารถมองเห็นได้ปกติ ควรรีบไปพบจักษุแพทย์โดยทันที เพื่อประเมินอาการและทำการรักษาได้ทันเวลา ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวันให้เหมาะสม ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาอาการและลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นได้
การรักษาอาการตาแห้งหรือ โรคตาแห้ง ควรรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่สุด นอกจากนี้การปล่อยให้ตาแห้งเป็นระยะเวลานานจะทำให้ในส่วนของการรักษายากขึ้นกว่าเดิม
เมื่อคุณมีอาการตาแห้ง แสบตา ทําไงก็ไม่หายสักที และไม่อยากปล่อยจนอาการหนักกว่าเดิมให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับดวงตา โดยสิ่งที่คุณต้องเตรียมตัวก่อนพบแพทย์
หลังจากเตรียมตัวดังกล่าว คุณควรนัดหมายพบแพทย์ทางด้านตาหรือจักษุแพทย์เพื่อการประเมินสภาพตาและการวินิจฉัยที่ถูกต้อง แพทย์จะให้คำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสมต่ออาการของคุณต่อไป
โดยปกติแล้ว การวินิจฉัยของโรคตาแห้งจะทำโดยจักษุแพทย์ ซึ่งจะเน้นประเมินปริมาณและคุณภาพของน้ำตาเป็นหลัก ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัย มีดังนี้
หลายคนคงเกิดความสงสัยว่า หากมีภาวะตาแห้ง รักษายังไงดี ? วิธีแก้ตาแห้ง และแนวทางในการรักษาตาแห้ง มีหลายวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการได้ด้วยตัวเองง่ายๆ ได้แก่
เนื่องจากน้ำตาเทียม คือ ของเหลวที่มีส่วนผสมของสารให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตา สามารถใช้เพื่อทดแทนน้ำตาตามธรรมชาติ น้ำตาเทียมจึงสามารถช่วยบรรเทาอาการตาแห้ง เคืองตา และแสบตาได้ รวมไปถึงสามารถใช้น้ำตาเทียมเพื่อเป็นสารหล่อลื่นให้กับดวงตาในขณะที่ใส่คอนแทคเลนส์ ประเภทของน้ำตาเทียมมี 3 ประเภท ดังนี้
ข้อควรระวังในการใช้น้ำตาเทียม
ผู้ป่วยที่มีตาแห้งน้อย ควรหยอดตาไม่เกินวันละ 4-5 ครั้ง และสามารถใช้น้ำยาหยอดตาที่มีสารกันเสียได้ แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการตาแห้งมาก ควรหยอดตามากกว่า 6 ครั้งต่อวัน และควรใช้ยาหยอดตาที่ไม่มีสารกันเสียเป็นส่วนผสม (Preservative - Free Tear) แทน โดยยาหยอดตาชนิดนี้จำเป็นต้องใช้ให้หมดภายใน 24 ชั่วโมงเท่านั้น เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค
การนวดเปลือกตาเพื่อบรรเทาอาการตาแห้งเรื้อรัง การนวดที่เปลือกตาเป็นการกดและรีดตามแนวการวางตัวของต่อมไขมัน (Meibomian gland) ที่ขอบเปลือกตา เมื่อต้องการนวดเปลือกตาบนให้มองลงล่าง และใช้นิ้วมือดึงหางตาให้เปลือกตาตึง ใช้นิ้วของมืออีกข้างนวดจากบนลงล่าง หากต้องการนวดเปลือกตาล่างให้มองขึ้นบน และใช้นิ้วนวดจากล่างขึ้นบน เริ่มนวดจากหัวตาไปหางตา เพื่อนวดต่อมไขมันที่อยู่บริเวณโคนขนตาได้ตลอดแนวยาวของเปลือกตา
วิธีนี้ช่วยให้ไขมันที่อุดตันท่อทางออกของต่อมไขมันละลายตัว และขับไขมันออกมาได้ดีมากขึ้น สามารถใช้เจลประคบร้อน ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ผ้าห่อไข่ต้ม โดยใช้ความร้อนที่ประมาณ 40 องศาเซลเซียส ประคบบริเวณเปลือกตาทั้งสองข้างเป็นเวลา 10 - 15 นาที ระวังอย่าให้ร้อนหรือเย็นเกินไป หากใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเมื่ออุณหภูมิลดลง สามารถนำผ้าชุบน้ำอุ่นใหม่เพื่อให้ได้อุณหภูมิที่เหมาะสมตลอดการประคบอุ่น
วิธีนี้ทำได้ง่าย และสะดวก เพียงนำสำลีชุบด้วยน้ำสะอาดที่ผสมยาสระผมสำหรับเด็กอ่อน อัตราส่วน คือ 1:10 หรืออาจใช้น้ำยาเฉพาะสำหรับทำความสะอาดเปลือกตา เช็ดบริเวณขอบเปลือกตาและโคนขนตาให้สะอาด แนะนำทำ 1 - 2 ครั้งต่อวัน
การปรับพฤติกรรมประจำวัน เป็นวิธีแก้ตาแห้ง ธรรมชาติได้ โดยการพักสายตาเป็นระยะ ควรพักสายตาทุก 20 นาที พัก (หลับตา) 20 วินาที และเตือนตัวเองให้กระพริบตาบ่อยขึ้น นอกจากนี้ ควันบุหรี่ยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ ควรหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ และสวมแว่นตาเมื่อจำเป็นที่ต้องทำกิจกรรมที่โดนลมแรงๆ
หากมีอาการตาแห้งจากสภาพอากาศที่แห้ง ภายในห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศ ลองใช้เครื่องทำความชื้นเพิ่มความชื้นในห้อง เพื่อลดอาการตาแห้ง
เนื่องจากคอนแทคเลนส์จำเป็นต้องดึงน้ำตาจากกระจกตามาใช้ เพื่อให้คอนแทคเลนส์มีความใสอยู่ตลอดเวลา ทำให้สามารถเกิดอาการเคืองตา ตาแห้งได้ และคอนแทคเลนส์ยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณภาพน้ำตาเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การไหลเวียนของน้ำตาที่กระจกตาลดลงด้วย
หากจำเป็นต้องใส่คอนแทคเลนส์ แนะนำให้ใส่แบบ Soft lens จะช่วยคงความชุ่มชื้นและทำให้สบายตามากกว่าคอนแทคเลนส์แบบปกติ
เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการรักษา ยาทุกชนิดควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
น้ำตาซีรั่ม คือ การนำเลือดผู้ป่วยมาทำเป็นยาหยอดตา ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำตาธรรมชาติ มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคตาแห้ง ทั้งนี้จักษุแพทย์จะพิจารณ์เลือกใช้ความเข้มข้น และวิธีการเตรียมซีรั่มแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่มักใช้ความเข้มข้นที่ 20% Autologyous Serum Eye Drops สามารถใช้รักษาโรคตาแห้งที่มีอาการปานกลางจนไปถึงอาการรุนแรง
วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่มีอาการรุนแรง ตาแห้งมาก การอุดระบายน้ำตาเพื่อขังน้ำตาที่มีอยู่ให้หล่อเลี้ยงตา ทำให้น้ำตาไม่ไหลลงทิ้งไป การอุดรูระบายน้ำตาเป็นเหมือนการสร้างเขื่อนกั้นน้ำเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ การอุดรูระบายน้ำมี 2 แบบ คือ อุดรูระบายน้ำชั่วคราว และ อุดรูระบายน้ำถาวร
การอุดรูระบายน้ำชั่วคราว จักษุแพทย์จะสอดคอลลาเจนขนาดเล็กเข้าไปในรูท่อน้ำตา โดยคอลลาเจนจะสลายไปเองภายใน 3 สัปดาห์ วิธีนี้ช่วยทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตามากขึ้น สำหรับการอุดรูระบายน้ำถาวรนั้นจะขึ้นอยู่กับอาการความรุนแรงของผู้ป่วย และดุลยพินิจของจักษุแพทย์
สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องสวมคอนแทคเลนส์ สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อใช้คอนแทคเลนส์ ชนิดพิเศษ หรือที่เรียกว่า Scleral Lens ที่ออกแบบมาเพื่อคนที่มีปัญหาตาแห้ง หรือระคายเคืองได้ง่าย เนื่องจากตัวเลนส์จะเก็บน้ำไว้ใต้เลนส์ตลอดเวลาทำให้ดวงตาและกระจกตาไม่แห้ง
หากคุณมีอาการตาแห้ง คันตา แสบตา หรือเคืองตา ให้ลองสังเกตพฤติกรรมประจำวันของตนเอง ว่ามีปัจจัยใดบ้าง ที่สามารถก่อให้เกิดภาวะตาแห้ง แล้วลองปรับเพื่อปกป้องดวงตาของคุณ หรือลองทำตามวิธีดังต่อไปนี้ เพื่อป้องกันดวงตาให้ห่างไกลจากภาวะตาแห้ง
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด คุณสามารถเลือกตั้งค่าความยินยอมการใช้คุกกี้ได้ นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)